การประชุมวิชาการประจำปี “สมวัย สบายใจ”

การประชุมวิชาการประจำปี “สมวัย สบายใจ”
  ผู้บันทึก :  นางสาวยุพาวรรณ ทองตะนุนาม
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 9 ก.ย. 2553   ถึงวันที่  : 10 ก.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช
  จังหวัด :  นครศรีธรรมราช
  เรื่อง/หลักสูตร :  การประชุมวิชาการประจำปี “สมวัย สบายใจ”
  วันที่บันทึก  21 ก.ย. 2553


 รายละเอียด
               โรคข้อเสื่อมหรือโรคข้อต่อเสื่อม (Osteoarthritis หรือ Degenrative Joint Disease หรือ Degenerative Arthritis) เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดและเป็นสาเหตุของความพิการได้มากในคนสูงอายุ พบโรคนี้ได้บ่อยขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น สาเหตุมีมากมายแต่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตามโรคนี้มีความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึมของข้อต่อ โดยมีการทำลายของกระดูกอ่อนมากกว่าการสร้าง อาการสำคัญคือการปวดข้อ ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมากควรลดน้ำหนักตัวลง การออกกำลังกายที่พอเหมาะจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและพยุงกระดูก แต่อย่างไรก็ตามควรงดการออกกำลังกายชนิดที่ทำให้ข้อต้องรับน้ำหนักมาก การออกกำลังกายที่แนะนำว่าควรปฏิบัติและเหมาะสมกับผู้สูงอายุคือ การปั่นจักรยาน แต่ควรปรับระดับของจักรยานให้เหมาะสมกับความสูงและความยาวของขาเพื่อป้องกัน การเกิดอันตรายจากการผิดท่าขณะการออกกำลังกาย นอกจากนั้นผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องใช้ไม้เท้าช่วยรับน้ำหนัก สำหรับยาที่ใช้รักษาโรคข้อเสื่อมแต่ได้เป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มยาที่รักษาตามอาการ และกลุ่มยาที่ช่วยชะลอหรือหยุดการรุดหน้าของโรค ยาในกลุ่มรักษาตามอาการ ได้แก่ ยาบรรเทาปวด เช่น ยา paracetamol ส่วนกลุ่มยา NSAIDs มีใช้ทั้งชนิดที่เป็น Cyclooxygenase (COX) nonspecific inhibitors เช่น Ibuprofen, Piroxicam เป็นต้น ส่วนยาจำพวก COX 2 specific inhibitor จะทำให้ระคายเคืองต่อทางเดินอาหารน้อยหรือไม่ระคายเคืองเลย เช่น ยา Celecoxib และ Refecoxib ส่วนยาอีกจำพวกที่ไม่ระคายเคืองต่อทางเดินอาหารคือ ยาที่ออกฤทธิ์ช้า เช่น ยา Diacerein, Chondroitin Sulfate, และ Hyaluronic acid ส่วนยาที่ช่วยชะลอหรือหยุดการรุดหน้าของโรค ประกอบไปด้วยยาที่ออกฤทธิ์ช่วยป้องกันเซลล์กระดูกอ่อนไม่ให้ถูกทำลายและช่วย ซ่อมแซมกระดูกอ่อนส่วนที่ถูกทำลายไป ยาในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย ยา Diacerein ยานี้จะใช้ในการบรรเทาปวดและลดการอักเสบ ปกป้องกระดูกอ่อน กระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อน อย่างไรก็ตามผู้ที่รับประทานยานี้อาจมีอาการไม่พึงประสงค์ ได้ เช่น ถ่ายเหลว ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน หรือแสบท้อง นอกจากนั้นผู้รับประทานยาอาจมีปัสสาวะสีเหลืองเข้มแต่ไม่พบพิษต่อไตและระบบ เลือด


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              นำไปใช้ประกอบการสอนในวิชาการส่งเสริมสุขภาพ และการให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
               นำไปใช้ประกอบการสอนในวิชาการส่งเสริมสุขภาพ และการให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน

(287)

Comments are closed.