การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลอาสาสาธารณภัย

การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลอาสาสาธารณภัย

ภาวะพิบัติภัย เป็นปัญหาสากลที่ทุกประเทศต้องเตรียมความพร้อมรับกับภาวะนี้ พยาบาลเป็นบุคลากรทีมสุขภาพที่สำคัญในการเข้าถึงพื้นที่พิบัติภัยและตอบสนองต่อภาวะพิบัติภัยในหลายบทบาทและในระยะต่างๆ ของการเกิดภาวะพิบัติภัยการเตรียมความพร้อมให้พยาบาลมีสมรรถนะที่เหมาะสมในการจัดการกับภาวะพิบัติภัยจึงมีความสำคัญยิ่ง

สภาการพยาบาลสากล (International Council of Nurses: ICN)ได้พัฒนากรอบสมรรถนะด้านการพยาบาลภาวะพิบัติภัย ใน 4 ระยะ คือ

1) ระยะการป้องกัน/การบรรเทาทุกข์
2) ระยะการเตรียมความพร้อมรับภาวะพิบัติภัย
3) ระยะการรับมือพิบัติภัย
4) ระยะการพักฟื้น/ฟื้นคืนสภาพของบุคคล/ครอบครัวและชุมชน

กรอบสมรรถนะการพยาบาลภาวะพิบัติภัย(Disaster Nursing Competencies Framework)

การจัดการภาวะพิบัติภัยเป็นกิจกรรมต่อเนื่องนับตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุการณ์ภาวะพิบัติภัย ขณะเกิดภาวะพิบัติภัย และหลังเกิดภาวะพิบัติภัยแล้วซึ่งเป็นรูปแบบของการจัดการภาวะพิบัติภัยอย่างต่อเนื่อง (Model of the disaster management continuum) พยาบาลมีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดการภาวะพิบัติภัยทุกระยะ ICN จึงได้กำหนดสมรรถนะของพยาบาลด้านการพยาบาลภาวะพิบัติภัยครอบคลุมระยะของการเกิดภาวะพิบัติภัย 4 ระยะหรือใน 4 หมวด มีขอบเขตสาระสำคัญด้านต่างๆ10 องค์ประกอบ (domains)

หมวดที่ 1 ระยะป้องกันหรือลดผลกระทบ/บรรเทาทุกข์

1. การลดความเสี่ยง การป้องกันโรค และการสร้างเสริมสุขภาพ
1.1 การลดความเสี่ยง และการป้องกันโรค
1.2 การส่งเสริมสุขภาพ
2. การพัฒนาและวางแผนนโยบาย

หมวดที่ 2 ระยะเตรียมความพร้อม

1. การปฏิบัติตามหลักจริยธรรม กฎหมาย และความรับผิดชอบ
1.1 การปฏิบัติตามหลักจริยธรรม
1.2 การปฏิบัติตามหลักกฎหมาย
1.3 การปฏิบัติด้วยความรับผิดชอบ
2. การสื่อสารและการแบ่งปันข้อมูล
3. การให้การศึกษาและการเตรียมความพร้อม

หมวดที่ 3 ระยะรับมือ/ตอบสนอง ภาวะพิบัติภัย

1. การดูแลชุมชน
2. การดูแลบุคคลและครอบครัว
2.1 การประเมิน
2.2 การปฏิบัติตามแผน/การดำเนินการ
3. การดูแลด้านจิตใจ
4. การดูแลประชาชนกลุ่มเปราะบาง

หมวดที่ 4 ระยะพักฟื้น/ฟื้นคืนสภาพ

การฟื้นคืนสภาพของบุคคลครอบครัว และชุมชน

สรุปจากการอบรม  การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลอาสาสาธารณภัย วันที่   2-3 ก.ย.  2558 หน่วยงานที่จัด  สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย : นายสิงห์   กาญจนอารี

(0)

Comments are closed.