การกำหนดแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก

การกำหนดแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
 ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ และ นางพนิดา รัตนพรหม
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 11 พ.ค. 2554   ถึงวันที่  : 12 พ.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การกำหนดแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
  วันที่บันทึก  18 พ.ค. 2554


 รายละเอียด
แนวคิดหลักการในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ๒๕๕๔-๒๕๕๘ ระดับอุดมศึกษา โดย อ.ทิพย์ นิลนพคุณ ที่ปรึกษา สมศ. กล่าวว่า เน้นประเมินผลผลิต และผลลัพธ์ ของการจัดการศึกษา  กำหนดตัวชี้วัด ๑๘ ตัว ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ และตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม

- ตัวบ่งชี้พื้นฐาน  เป็น ตัวบ่งชี้ที่ประเมินภารกิจของสถานศึกษา โดยกำหนดตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินบนพื้นฐานที่ทุกสถานศึกษาต้องมีและปฏิบัติ ซึ่งสามารถชี้ผลหรือผลกระทบ มีความเชื่อมโยงกับการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งเป็นการพัฒนามาจากรอบแรกและรอบสอง

- ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ เป็นตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลผลิตตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา รวมถึงความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อน เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสถานศึกษา โดยได้รับการอนุมัติจากสภาสถาบันและต้นสังกัด

- ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม เป็นตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษา โดยสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดแนวทางพัฒนาเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาสังคมตามนโยบาย ของรัฐ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาและปัญหาสังคมที่เปลี่ยนไป โดยมีเป้าหมายที่แสดงถึงความเป็นผู้ชี้นำสังคมและแก้ปัญหาสังคมของสถาบัน อุดมศึกษาในการชี้นำเรื่องต่างๆ

แนวคิดในการประเมินมาตรฐานการศึกษารอบที่สาม  ใช้ระดับคะแนน ๕ ระดับ คะแนนผ่านเกณฑ์มาตรฐานคณะวิชา ๓.๕๑  ประเมินเพื่อรับรองและไม่รับรองมาตรฐาน

วิธีประเมิน  สถาบันอุดมศึกษาส่งข้อมูลให้ สมศ.  เพื่อวิเคราะห์เบื้องต้นและประสานให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์  คณะประเมินสถาบันหรือคณะวิชาเป็นคณะเดียวกัน  ผล การประเมินกลุ่มสถาบันหรือ คณะวิชาจะได้รับการเปรียบเทียบเพื่อตัดสินผลโดยคณะประเมิน ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษามีหลากหลายคณะวิชา จะเก็บผลการประเมินแต่ละคณะวิชาในระบบฐานข้อมูล  ตั้งคณะประเมินสถาบันเพื่อประเมินคณะวิชาที่ยังไม่ได้รับการประเมินโดยใช้ผลการประเมินเดิมสำหรับคณะวิชาที่ประเมินแล้ว

ตัวบ่งชี้เทียบเคียง  ได้แก่ ๑) ผู้สำเร็จการศึกษาภายในเวลาที่กำหนด  ๒) ผู้สำเร็จการศึกษาที่สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพภายใน ๑ ปี  ซี่งต้องรอข้อตกลงในการประชุมตกลงกับ สมศ. ในวันที่ ๒๐ พ.๕. ๕๓


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงานประกันคุณภาพการศึกษา


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(287)

Comments are closed.