ผู้บันทึก : นางสาวอุทุมพร ดุลยเกษม นางสาวอมรา ภิญโญ นางนิศารัตน์ นรสิงห์ และนางวันดี แก้วแสงอ่อน | |
กลุ่มงาน : งานจัดการศึกษาและหลักสูตร | |
ฝ่าย : ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 20 ธ.ค. 2553 ถึงวันที่ : 20 ธ.ค. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : | |
จังหวัด : สงขลา | |
เรื่อง/หลักสูตร : คุณค่าการพยาบาลสร้างได้ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ | |
วันที่บันทึก 10 มี.ค. 2554 | |
|
|
รายละเอียด | |
สืบเนื่องจากวิชาชีพพยาบาล มีการทำวิจัยมากมาย แต่มิได้นำองค์ความรู้ดังกล่าวมาสังเคราะห์ และไม่มีการนำความรู้ที่ได้จากการทำวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาวิชาชีพ จึงเป็นที่มาของการสร้าง หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล (Evidence Base Practice : EBP) เพื่อการพัฒนามาตรฐานการพยาบาลให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นและเป็นที่ยอมรับของ สังคม EBP หมายถึง การปฏิบัติที่ตั้งอยู่บนหลักฐานเชิงประจักษ์ (ไม่ใช่คู่มือ) โดยนำวิธีการที่ได้รับการยืนยันมาแล้วว่าได้ผลดีมาประกอบการตัดสินใจไปสู่ การปฏิบัติ ซึ่งต้องกระทำอย่างมีสติรอบคอบ พิจารณาอย่างมีวิจารณญาณก่อนตัดสินใจและกระทำอย่างเปิดเผยและตรวจสอบได้ทุก ขั้นตอน หรือสิ่งที่ได้รับการพิสูจน์หรือยืนยันหรือได้รับการตรวจสอบมาแล้วว่าเป็น จริงตามนั้น ซึ่งวิธีการตรวจสอบที่เป็นที่ยอมรับคือการทำวิจัยโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะการทำวิจัยเชิงทดลอง ถือว่าเป็นการพิสูจน์ที่ดีที่สุด ที่มาของ EBP – การไม่นิ่งดูดายต่อปัญหาที่เกิดขึ้น – การไม่คิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องธรรมดาหรือเป็นเรื่องปกติ – การไม่คิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นหมดทางแก้ไข – การไม่ยอมจำนนต่อปัญหา วัตถุประสงค์ของการใช้ EBP 1. ลดปัญหาหรืออุบัติการณ์ 2. เพิ่มผลลัพธ์ที่ดี 3. ลดค่าใช้จ่าย 4. เพิ่มความพึงพอใจ วิธีการดำเนินการ EBP เพื่อนำมาใช้เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ 1. ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วย 2. ผลลัพธ์ที่ต้องการ 3. สืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ 4. ประเมินคุณภาพของหลักฐาน 5. คัดเลือกข้อเสนอแนะที่เหมาะสม 6. นำมาปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย 7. ประเมินผลลัพธ์
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
๑ ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงานการเรียนการสอน ๒ ด้านการนำผลการพัฒนาไปใช้ประโยชน์
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
(336)