ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยพนักงานกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2556

ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยพนักงานกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2556

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :   2    ตุลาคม   2556  

ผู้บันทึก :   นายวินิจฉัย   นินทรกิจ

กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศ   

ฝ่าย :   งานบริหาร

ประเภทการปฏิบัติงาน:  ประชุม

วันที่      30  กันยายน  2556       

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  กระทรวงสาธารณสุข

สถานที่จัด :   ณ  โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต กรุงเทพฯ

เรื่อง : ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยพนักงานกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2556  

รายละเอียด

ระยะเวลาชะลอการจ้างพนักงานกระทรวงสารณสุข ชะลอไว้จนกว่ากรอบอัตรากำลังคนในภาพรวมจะเสร็จ (คาดว่าภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2556) โดยการจัดลูกจ้างชั่วคราวเงินบำรุง (รายเดือน) เข้าสู่ตำแหน่งพนักงานกระทรวงสาธารณสุขให้พิจารณาจาก

1.       กรอบอัตรากำลังคน

2.       กรอบวงเงินไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของยอดค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวในภาพรวมของหน่วยบริการ หรือสามารถบริหารจัดการเงินในภาพเครือข่ายบริการระดับเขตได้โดยพิจารณาจากยอดค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าจ้าง ณ วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ (วันที่ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้หน่วยบริการทุกแห่ง ระงับการจ้างงานลูกจ้างชั่วคราวทุกตำแหน่ง)

สป. ได้มีหนังสือ ที่ สธ ๐๒๐๑.๐๓๔/ว ๔๙๗ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๖ แจ้งให้ส่วนราชการในสังกัดระงับการจ้างชั่วคราวเงินบำรุง และเงินรายได้สถานศึกษาทุกตำแหน่ง มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้

1.       จ้างทดแทนตำแหน่งเดิม เนื่องจากลูกจ้างรายเดิมได้พ้นจากราชการด้วยเหตุต่าง ๆ เช่น

ลาออก ตาย ให้ออกเพราะถูกลงโทษทางวินัย เป็นต้น โดยหน่วยงบริการมีภารกิจและจำเป็นต้องจ้างทดแทน และมีเพียงพอในการจ้าง

2.       จ้างสายงานวิชาชีพขาดแคลน เช่น ตำแหน่งนายแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ เป็นต้น

3.       จ้างเพื่อปฏิบัติงานในหน่วยบริการเปิดใหม่ และไม่สามารถปรับเกลี่ยอัตรากำลังคนจากหน่วยบริการอื่นมาได้

ทั้งนี้การจ้างงานทั้ง ๓ กรณีข้างต้น หน่วยบริการต้องเสนอเรื่องขออนุมัติจ้างต่อคณะกรรมการบริหารกำลังคนระดับจังหวัด หรือที่เรียกชื่ออย่างอื่น

ดังนั้น หน่วยบริการที่จะนำยอดเงินค่าจ้างของผู้ได้รับการจ้างหลังวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ มานับรวมเป็นเงินร้อยละ ๑๐ จึงต้องเป็นการจ้างด้วยกรณีข้างต้นเท่านั้น โดย สสจ./ รพศ./ รพท. รวบรวมหลักฐานการจ้างงาน ได้แก่ คำสั่งลาออก ใบมรณบัตร คำสั่งถูกลงโทษทางวินัย (กรณีจ้างทดแทน) พร้อมคำสั่งจ้างคนใหม่ รวมถึงคำสั่งจ้างสายงานวิชาชีพขาดแคลน และหน่วยบริการที่เปิดใหม่ ไปให้ สป. ภายในวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ เพื่อตรวจสอบในการคิดคำนวณยอดเงินร้อยละ ๑๐ ของส่วนราชการ และในภาพเครือข่ายบริการระดับเขตหน่วยบริการทุกแห่งยังคงต้องดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานของลูกจ้างชั่วคราวทุกคน และทุก ตำแหน่ง ตามหลักเกณฑ์ที่ สป.กำหนด ทั้งกรณีที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวที่ผ่านเกณฑ์ประเมินหรือไม่ผ่าน

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

การพัฒนาบุคลากร                    

การบริหารงาน

  (419)

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรในการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและประชาสัมพันธ์

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรในการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและประชาสัมพันธ์

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :  27  ธันวาคม  2556

 ผู้บันทึกนายสิงห์ กาญจนอารี

กลุ่มงาน :   งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

ฝ่าย :   ฝ่ายบริหาร   

ประเภทการปฏิบัติงาน:   ประชุม

วันที่      16   ธันวาคม    2556    ถึงวันที่    20     ธันวาคม    2556

 หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันพระบรมราชชนก   

สถานที่จัด :   ณ โรงแรมบีพี เชียงใหม่ซิตี้ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

เรื่อง :  ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรในการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและประชาสัมพันธ์

รายละเอียด

การผลิตสื่อการเรียนการสอนและสื่อประชาสัมพันธ์แบบมัลติมีเดีย คือสื่อผสม ระหว่างภาพและเสียง หรืออาจจะรวมไปถึง เทคนิคพิเศษทางคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์กราฟฟิค ซึ่งการบันทึกและตัดต่อควรคำนึงถึงหลัก 6 ประการ ดังนี้

1. แรงจูงใจ Motivation ในการตัดต่อ

2. ข้อมูล Information ซึ่งหมายถึงภาพและเสียง

3. องค์ประกอบของภาพในช็อต

4. เสียง ซึ่งมีความสำคัญมาก

5. มุมกล้อง Camera Anggle

6. ความต่อเนื่อง Continuity

 หลักการของการตัดต่อทั่วไป คือ

1. เสียงและภาพนั้นคือส่วนที่ต้องเสริมซึ่งกันและกัน

2. ภาพใหม่ควรให้ข้อมูลใหม่

3. ควรมีเหตุผลสำหรับทุกภาพที่นำเสนอ

4. ให้ระวังเรื่อง “การข้ามเส้น”

5. ยิ่งตัดต่อดี ยิ่งดูลื่นไหล

6. เลือกแบบการตัดต่อ(โปรแกรมคอมพิวเตอร์)ที่เหมาะสมกับเรื่อง

7. การตัดคือการสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่

โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการตัดต่อ เช่น

1. Pinnacle Studio (โปรแกรมตัดต่อหนัง ทำภาพยนตร์ HD) โปรแกรม Pinnacle Studio ตัดต่อวีดีโอ HD ใส่ภาพ เสียง เทียบชั้นระดับฮอลลีวูด ด้วยความสามารถของโปรแกรมนี้ที่ใช้งานง่าย รวดเร็ว ง่ายต่อการแก้ไขปรับแต่งวีดีโอ เสียงและภาพถ่าย สำหรับการสร้างสรรค์ผลงาน

2. Movie Maker (โปรแกรม Movie Maker สร้างสไลด์โชว์) 2012 โปรแกรม Movie Maker ฟรี โปรแกรมสร้างสไลด์โชว์ เป็นโปรแกรมที่เอาไว้สร้าง ภาพเคลื่อนไหว วีดีโอได้ภายในไม่กี่นาที สามารถตัดต่อวิดีโอ ได้อย่างง่ายๆ สะดวก รวดเร็ว สนับสนุน Windows 8

3. Sony Vegas Pro 12 โปรแกรมสำหรับตัดต่อวีดีโอคุณภาพสูง สามารถเนรมิตทุกสิ่งให้มาอยู่ใน VDO ได้ เหมาะสำหรับทำ วีดีโอการนำเสนอ (Presentation) ขายโฆษณา งานแต่งงาน ประชาสัมพันธ์ (PR) งานอีเว้นต์ ต่างๆ สำหรับมืออาชีพ ใช้งานง่าย

4. Avidemux (โปรแกรมตัดต่อ นิยมมากที่สุด) 2.6.7โปรแกรม Avidemux ไว้ใช้ ตัดต่อวีดี แถมแจกฟรี

รองรับไฟล์หลากหลายประเภท รวมทั้งไฟล์ MP4 ที่ ตัดต่อวีดีโอ แล้วสามารถนำไปเปิดดูบนโทรศัพท์มือถืออย่าง iPhone iPad เป็นต้น

5. VSDC Free Video Editor 1.3.2โปรแกรมตัดต่อวีดีโอฟรี VSDC Free Video Editor ใช้เพื่อ ตัดต่อวีดีโอ ด้วยลูกเล่นมากมาย มีลูกเล่นทั้งภาพและเสียง สนับสนุนไฟล์วีดีโอหลากหลาย ใช้งานง่ายมากๆ

6. Corel VideoStudio Pro (โปรแกรมตัดต่อคลิปวีดีโอ) X6 VideoStudio Pro X6 โปรแกรมตัดต่อคลิปวีดีโอ เป็น โปรแกรมตัดต่อคลิปวีดีโอ ที่จะช่วยให้ตัดต่อวีดีโอได้อย่างรวดเร็ว และง่ายดาย ไม่สำคัญว่าจะมีไฟล์วีดีโอประเภทไหน ก็จะจัดการกับวีดีโอเหล่านั้นได้เต็มประสิทธิภาพ  

7. Camtasia Studio (โปรแกรมทำวีดีโอ ทำสื่อการสอน ต่างๆ) Camtasia Studio โปรแกรมทำวีดีโอ แก้ไขวีดีโอ

8. MAGIX Video Easy HD (โปรแกรมทำวีดีโอ มือสมัครเล่น โปรแกรม MAGIX Video Easy HD เอาไว้ทำวีดีโอง่ายๆ เช่นไปเที่ยวต่างประเทศ ไปงานแต่งเพื่อนมา อยากรวมคลิปเหตุการณ์สำคัญๆ เอาไว้ หรือทำสรุปงานให้ลูกค้า โปรแกรมนี้ตอบโจทย์ได้แน่นอน

9. AVS Video Editorโปรแกรม AVS Video Editor ใช้ตัดต่อ ใส่ข้อความ

คอมเม้นต์ ใส่เอฟเฟคลูกเล่น ทำสไลด์โชว์ ซับไตเติ้ล ใส่เพลงประกอบ ทำสื่อการสอน พรีเซนเทชั่น โฆษณาสินค้า งานแต่งงาน ครบวงจรไตล์ของคุณ)

10. Ashampoo Video Styler (โปรแกรมสร้าง VDO Ashampoo Video Styler โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ ได้อย่างง่ายดาย ในสไตล์ของคุณ เป็น โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ ที่ใช้งานง่าย เหมาะกับผู้เริ่มต้น และผู้ที่สนใจใน โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

 ด้านสมรรถนะ  ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน

งานผลิตสื่อการเรียนการสอนและสื่อประชาสัมพันธ์

ภายใต้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

การใช้คอมพิวเตอร์

 

  (4204)

Toward health and happiness of Thai aging society

Toward health and happiness of Thai aging society

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :  26   พฤศจิกายน  2555

ผู้บันทึกนางสาวบุญธิดา เทือกสุบรรณ

กลุ่มงาน การพยาบาลพื้นฐานและพื้นฐานวิชาชีพ

ฝ่ายวิชาการ

ประเภทการปฏิบัติงานประชุม            

วันที่      21   พฤศจิกายน 2555     ถึงวันที่      23     พฤศจิกายน     2555

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย

สถานที่จัดณ  โรงแรมตวันนา  สุรวงศ์  กรุงเทพมหานคร  

เรื่อง :  Toward health and happiness of Thai aging society

รายละเอียด

1. Happiness in older people

ชีวิตที่มีความสุขคือชีวิตที่มีคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลักคือ

-ชีวิตที่มีสุขภาพดี ต้องผสมผสานทั้งสุขภาพกาย จิต สังคม และจิตปัญญา

-ชีวิตที่ประกอบกิจการงานดี ทั้งเพื่อตนเองและเพื่อผู้อื่น ที่สามารถกระทำได้ตาม อัตภาพของผู้สูงอายุ

-ชีวิตที่มีความมั่นคงดี คือมั่นคงทางเศรษฐกิจ  ครอบครัว  มีความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน และในสิ่งแวดล้อม

2. .Community cardiovascular health promotion for older adults

ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือด

-ประวัติครอบครัวและกรรมพันธุ์

-การสูบบุหรี่

-ความดันโลหิตสูง

-ไขมันในเลือดสูง

-เบาหวาน

-อ้วน

-ไม่ออกกำลังกาย

-มีการติดเชื้อ  อักเสบ

-ภาวะทางจิต

ดังนั้นจำเป็นต้องมีการสำรวจปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อคัดกรองโรคและ สร้างเสริมสุขภาพรวมทั้งป้องกัน โดยอาจจัดทำเป็นโครงการ ซึ่งจะต้องทำร่วมกันเป็นทีม สหสาขาวิชาชีพ

3. common pitfalls in managing a diabetic older patients

ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น มองไม่ชัด มือสั่น รวมทั้งหากขาดผู้ดูแล โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานหากต้องได้รับการฉีดยาอินสุลินด้วยตนเองในขณะที่ไม่มีผู้ดูแล ทำให้ได้รับยาฉีดอินสุลินไม่ครบจำนวนเป็นผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำตามมา  นอกจากนี้ผู้สูงอายุบางรายใช้ยาหลายตัวเนื่องจากโรคที่เป็นอยู่ซึ่งจำเป็นต้องทราบปฏิกิริยาของยา ดังนั้นผู้ให้บริการจำเป็นต้องมีการประเมินในส่วนนี้ด้วย

4.practical approach to diabetic foot ulcer

foot ulcer เป็นภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานมากที่สุด สถิติ ทุกๆ ๑ ใน ๖ คน ของผู้ป่วยเบาหวานจะเกิดเป็นแผลที่เท้า  ซึ่งสามารถรักษาแผลให้หายได้ ไม่แนะนำให้ตัดขา เพราะจะทำให้มีคุณภาพชีวิตไม่ดี เพราะขาเทียมมีน้ำหนักมาก แต่ผู้สูงอายุมีอายุเพิ่มขึ้น แต่กำลังลดลง

การประเมินเท้าผู้สูงอายุเบาหวาน

-มีประวัติเป็นแผลมาก่อนหรือไม่

-คุมเบาหวานเป็นอย่างไร

-มีปัจจัยเสี่ยงใดบ้าง

-เดินได้คล่องหรือไม่ หรือเดินๆหยุดๆ

-ใส่รองเท้าหรือไม่   ดูแลเท้าอย่างไร

-ดูว่าเท้ามีความพิการหรือไม่ คลำชีพจรที่เท้า  การรับรู้ความรู้สึก

-ดูรองเท้าที่สวมใส่ เพราะถ้ามีแผลที่เท้า พบว่ารองเท้าในส่วนนั้นจะยุบลง

-สอนการดูแลเท้า

การบริหารจัดการแผลที่เท้า

-การประเมิน (assess)

-การทำแผล (dressing)

-การลดการกระแทก (off loading)

การป้องกันแผลเบาหวานที่เท้ากลับเป็นซ้ำ ต้องทำรองเท้าตามสภาพแผล

รองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า

 -รองเท้าพลาสติก

-รองเท้าแตะแบบหนีบ

-รองเท้าส้นสูง

5.practical diabetic care in hospitals and home

ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า ๖๐ ปีที่เป็นเบาหวานไม่ควรควบคุมน้ำตาลในเลือดมากเกินไป ควรพิจารณาเฉพาะเป็นรายๆ

การควบคุมอาหารในผู้สูงอายุเบาหวาน  โดยให้กิน charbohydrate, protein, fat เหมาะสมกับ ผู้ป่วยแต่ละราย การคำนวณอาหารต้องให้พลังงานต่อวันอย่างเพียงพอ โดยพิจารณาจาก Basal Metabolic Rate (BMR)

การออกกำลังกาย แนะนำว่าการทำงานบ้านไม่ใช่การออกกำลังกาย แต่เป็น physical movement สำหรับผู้สูงอายุเบาหวานควรออกกำลังกาย ๓ วันต่อสัปดาห์ ซึ่งก่อนออกกำลังกาย ต้องประเมินว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่ ถ้ามีความเสี่ยงสูง ให้ออกกำลังกายช่วงสั้นๆ เบาๆก่อน จากนั้นค่อยๆเพิ่มช้าๆ และถ้าอยู่ในภาวะน้ำตาลต่ำหรือสูง ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ สงสัย เป็นโรคหัวใจขาดเลือด  ไม่สามารถควบคุมภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ให้งดออกกำลังกาย ในขณะนั้น หรือมีปัญหาทางตา เลี่ยงการออกกำลังกายที่เพิ่มความดันในลูกตา การออก กำลังกาย ควรเป็นแบบ moderate intensity คือ การออกกำลังกายที่เพิ่ม อัตราการเต้นหัวใจ ๕๐-๗๐%

การใช้ยาในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน เช่น metformin, กลุ่ม sulfonylurea, กลุ่มTZD, กลุ่ม DDP-IV inhibitors, insulin ซึ่งการเลือกใช้ยา จำเป็นต้องพิจารณาตามความเหมาะสมกับ ผู้สูงอายุเป็นรายๆ

6.Can we delay an aging process

วิธีการชะลอวัย๑. Detoxification ๒. Antioxidant ๓. Oxygen therapy ๔. Hormone therapy ๕. Immuno therapy   

6. Cell therapy: stem cell therapy, autologous stem cell therapy จากตัวเราเอง , alloenic stenm cell therapy จากผู้อื่น

การชะลอวัยด้วยโภชนาการ 1. อย่ามากเกินไป เช่น น้ำตาลทราย ฟรุคโตสไซรับ  ไขมัน แอลกอฮอล์ 2. ให้เพียงพอ เช่น สังกะสี โอเมก้า 3  วิตามินE  เซเลเนียม  อะเตวิน  ฟลาโวนอยด์ 3. จำกัดอาหารให้พลังงาน                 4. ปรับพฤติกรรม เช่นออกกำลังกาย  งดสูบบุหรี่

7.Can we reverse disability?

Disability คือ loss of function ทั้ง basic เช่น eating, bathing, dressing, transfer, ambulate, hygine care และ advance เช่น cooking, home making, laundry, transpotation

Disability ในผู้สูงอายุ

-multiple and chronic pathology

- reduce body reverse

-secondary life style

ปัจจัยที่ลด disability

-deficiency of vitamin D

-cognition status

-social engagement

การป้องกัน disability ควรมี physical activity : ล้างรถ  ทำกับข้าว  เดินไปหยิบแก้วน้ำ เดินซื้อของ เป็นต้น

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

-flexibility exercise : yoga, tai chi

-strengthening exercise; dumbbell, rubber band

-balancing exercise; wii fit, tai chi, hip adduction, hip abduction

-cardiovascular fitness: walking, arobic, dancing

  ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

-ภาคทดลองรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

-การเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลพื้นฐานและพื้นฐานวิชาชีพ

-การพัฒนาบุคลากร

-เพิ่มพูนความรู้ด้านการดูแลผู้สูงอายุเบาหวาน

  (303)

การคิดบวกคิดสร้างสรรค์

การคิดบวกคิดสร้างสรรค์

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 วันที่บันทึก : 6  ธ.ค 56

 ผู้บันทึก : นายสิงห์  กาญจนอารี

 กลุ่มงาน : งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

 ประเภทการปฏิบัติงาน : ประชุม

 วันที่  ๒๕ พ.ย.  ๒๕๕๖ ถึงวันที่  ๒๖  พ.ย. ๒๕๕๖ 

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพมหานคร       หน่วยงานที่จัด แก้วกัลยาสิกขาลัย สถาบันพระบรมราชชนก

ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา  ครั้งนี้

๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ

วิธีการฝึกคิดบวก 12 ขั้นตอน ง่ายๆ ต่อไปนี้

1. ให้มองไปข้างหน้า อย่ามองย้อนหลัง ทุกคนเคยทำผิดมาแล้วทั้งนั้น แต่ต้องไม่จมอยู่กับอดีตที่

ผิดดพลาด เพราะชีวิตต้องดำเนินต่อไป จงวางเป้าหมายเล็กๆที่เป็นไปได้ และพยายามทำให้สำเร็จ

2. รู้จักให้อภัยตัวเองและผู้อื่น สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต เป็นผลพวงมาจากการกระทำของตนเองทั้งสิ้น ในบางครั้งบางคราว เราต่างตัดสินใจผิดพลาด แต่เมื่อรู้สำนึกแล้ว ก็ต้องปล่อยให้มันผ่านไป เรียกว่าเป็นการให้อภัย และต้องให้อภัยตัวเองเมื่อทำผิดพลาด เพื่อที่จะเดินหน้าต่อไป รวมทั้งใช้ความผิดพลาดจากอดีตเป็นบทเรียน เพื่อก้าวย่างที่ดีกว่าในอนาคต

3. ถ้าแก้วมีน้ำแค่ครึ่งเดียว จงเติมให้เต็มแก้ว การมองว่า มีน้ำเหลืออยู่ครึ่งแก้ว หรือน้ำหายไปครึ่งแก้วนั้น ถูกทั้ง 2 อย่าง อยู่ที่ว่าผู้มองเป็นคนมองโลกในแง่ดีหรือร้าย และไม่ผิดอะไรที่จะเติมน้ำให้เต็มแก้ว

4. มองหาบุคคลต้นแบบ ทุกคนควรมีบุคคลต้นแบบที่เป็นแรงบันดาลใจ คนคนนั้นอาจเป็นผู้ที่เอาชนะอุปสรรคใหญ่ๆได้สำเร็จ และประสบความสำเร็จอย่างงดงามในที่สุด หรือเป็นผู้ที่ทำงานหนักและสัมฤทธิ์ผล จงเอาคนนั้นเป็นแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิต

5. พาตัวเองเข้าไปอยู่ในแวดวงของคนที่ประสบความสำเร็จและมอง โลกในแง่ดี มันเป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่พลังอำนาจของคนอื่น สามารถส่งผลกระทบต่อพลังในตัวเราได้ คนที่คิดในด้านบวกจะช่วยกระตุ้นและเป็นแรงบันดาลใจให้เรา เชื่อมั่นในตัวเองว่า เราสามารถทำสิ่งที่มุ่งมั่นไว้ให้สำเร็จได้ จำไว้ว่า..จงอยู่ให้ห่างคนที่คิดแต่แง่ร้าย ซึ่งจะขัดขวางการเดินหน้าของคุณ ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า “คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล”

6. เห็นคุณค่าสิ่งดีๆในชีวิต เมื่อเราพอใจกับทุกเรื่องดีๆที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม มันจะช่วยให้เราขจัดความคิดในด้านลบออกไป การโฟกัสแต่สิ่งดีๆเหล่านี้ จะทำให้อุปสรรคที่เราเผชิญอยู่ กลายเป็นเรื่องเล็กน้อยที่เราจัดการได้ง่ายขึ้น

7. รู้จักบริหารเวลาอย่างชาญฉลาด อย่าเสียเวลากับเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับสิ่งที่คุณตั้งเป้าไว้ในชีวิต ข้อสำคัญคือ มุ่งทำในเรื่องที่ทำให้ชีวิตของคุณเป็นไปดังที่หวังไว้ ซึ่งจะส่งผลให้คุณมีทัศนคติที่ดี

8. จินตนาการว่ามีสิ่งดีๆเกิดขึ้น แปลกแต่จริงที่ว่า คนส่วนมากมักชอบวาดภาพเรื่องเลวร้ายกำลังเกิดขึ้น โดยมักจะพูดว่า “ถ้ามันเกิดขึ้น…” จงฝึกนึกถึงเรื่องดีๆกำลังเกิดขึ้น มองเห็นภาพงานที่กำลังทำเดินไปด้วยดี (ไม่ว่าจะเป็นงานที่บ้านหรือที่ทำงาน) และได้รับคำชมจากคนรอบข้างว่า“เยี่ยมมาก” เพราะนั่นจะเป็นกำลังใจให้คุณคิดบวกต่อไป

9. ความผิดพลาดมีไว้ให้เรียนรู้ มิใช่แส้ที่เอาไว้เฆี่ยนตี ทุกคนล้วนเคยทำผิดทั้งนั้น และถึงแม้ว่าได้พยายามอย่างดีที่สุดแล้ว แต่ก็ยังทำพลาด ขอให้จำไว้ว่า ยังมีโอกาสให้เริ่มต้นใหม่ ความผิดพลาดต่างๆที่ผ่านมาถือเป็นบทเรียน เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข สิ่งที่จะทำต่อไปในอนาคต

10. อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ถ้ารอบๆตัวเต็มไปด้วยข้าวของวางระเกะระกะ กระจัดกระจายไปทั่วห้อง ลองหาเวลาจัดเก็บ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งจะช่วยให้คุณเปลี่ยนมุมมอง ความคิดได้มาก ใครจะมองโลกในแง่ดีได้ ถ้าต้องอยู่ท่ามกลางสภาพสกปรกรกรุงรังตลอดเวลา เพราะสภาพแวดล้อมที่ดี จะช่วยสร้างและเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดทัศนคติด้านบวก

11. รับข้อมูลข่าวสารที่ดี หมั่นอ่านบทความที่สร้างแรงจูงใจ หรือฟังธรรมะที่กระตุ้นให้รู้สึกตื่นตัว และเกิดปัญญา ซึ่งจะช่วยให้มองโลกและชีวิตได้อย่างเข้าใจ มีความหวัง และความสุข

12. ให้คำมั่นสัญญากับตัวเอง และบอกตัวเอง ซ้ำๆ เพราะคำมั่นสัญญาดีๆมีผลต่อกระบวนการคิดของตัวเอง เช่น ถ้าคุณมีอาการซึมเศร้าเป็นประจำ คำมั่นสัญญาของคุณก็คือ “ฉันมีความสุข ฉันควบคุมตัวเองได้” บอกตัวเองเช่นนี้หลายๆครั้งในแต่ละวัน แล้วคุณจะรู้สึกถึงพลังความคิดด้านบวกที่เกิดขึ้น

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

การเป็นวิทยากรและกระบวนกร /สอนวิชา กระบวนการคิด

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ (292)

การประชุมเตรียมความพร้อมการจัดประชุมวิชาการตลาดนัดความดี ครั้งที่ 4

การประชุมเตรียมความพร้อมการจัดประชุมวิชาการตลาดนัดความดี ครั้งที่ 4

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 วันที่บันทึก : 6  ธ.ค 56

 ผู้บันทึก : นายสิงห์  กาญจนอารี

 กลุ่มงาน : งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

 ประเภทการปฏิบัติงาน : ประชุม

 วันที่ 20 พ.ย.  ๒๕๕๖ ถึงวันที่  20  พ.ย. ๒๕๕๖

 หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : ณ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารสุข  จ. นนทบุรี   หน่วยงานที่จัด แก้วกัลยาสิกขาลัย สถาบันพระบรมราชชนก 

สถานที่จัด : ณ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารสุข  จ. นนทบุรี   หน่วยงานที่จัด แก้วกัลยาสิกขาลัย สถาบันพระบรมราชชนก 

  ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม  ครั้งนี้

๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ

                     การประชุมเตรียมความพร้อมการจัดประชุมวิชาการตลาดนัดความดี ครั้งที่ 4 เพื่อการเตรียมความพร้อม โดย มีประธานที่ประชุม คือ ดร.กฤษดา  แสวงดี เป็นประธาน ที่ประชุม มีระเบียบวาระการประชุมและผลการประชุมดังนี้

                     ระเบียบวาระที่ 1  ประธานแจ้งเพื่อทราบ

                            :  แนะนำ ดร.กฤษดา  แสวงดี  รอ.ผอ. สบช. ที่ดูแล แก้วกัลยาสิกขาลัย

                     ระเบียบวาระที่ 2  ทบทวนคณะกรรมการทำงาน

                            :  เป็นไปตามคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการจัดประชุมวิชาการตลาดนัดความดี สู่การพัฒนาจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ภายใต้นวัตกรรมระบบครอบครัวเสมือน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี มหามงคล 86 พรรษา 

                          ระเบียบวาระที่ 3  พิจารณากำหนดการ

                            :  ที่ประชุม เปลี่ยนแปลงพิธิเปิดเพื่อให้กระชับเวลา และเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดย ให้มีการแสดงในพิธีเปิดก่อน แล้ว ค่อยเป็นการชมวีดีทัศน์

                          ระเบียบวาระที่ 4  เรื่องพิจารณา

                           :  ที่ประชุมทบทวนหน้าที่ ของคณะกรรมการและวิทยาลัยที่รับผิดชอบ โดย วพบ.จักกรีรัช รับผิดชอบพิธีการ/ พิธีเปิด และการแสดง, วพบ.นครศรีธรรมราช รับผิดชอบนิทรรศการ/วีดีทัศน์/บันทึกวีดีโอบรรยากาศนอกห้องประชุม, วพบ.ราชบุรี รับผิดชอบ บันทึกภาพและวีดีโอในห้องประชุม

                      : เปลี่ยนแปลงผู้ดำเนินการอภิปรายหัวข้อ ประสบการณ์การเรียนรู้การสร้างสุขภาวะ หนึ่งวิทยาลัยหนึ่งตำบล เป็น อ.สิงห์ กาญจนอารี

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ (303)