พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการของเครือข่ายพยาบาล

พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการของเครือข่ายพยาบาล

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :30  มกราคม  2556

ผู้บันทึก :   นางสาวขวัญหฤทัย บุญสำราญ, นางปัญจมาพร  รัตนมณี  และนางสาวปิยะนุช  ชูเกิด

กลุ่มงานฝ่ายบริหารและงานวิจัย

ฝ่ายฝ่ายบริหารทั่วไป

ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม

วันที่     30  กันยายน 2556  ถึงวันที่ 2 ตุลาคม  2556  

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  สุราษฎร์ธานี 

สถานที่จัดณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  สุราษฎร์ธานี

เรื่อง : พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการของเครือข่ายพยาบาล

รายละเอียด

ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา  ครั้งนี้

       1. ระบบบุคลากร

 จากการไปประชุมครั้งนี้ข้าพเจ้าและคณะ ได้ดำเนินการประกาศขอความร่วมมือจาก

บุคลากรของหน่วยงานเข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงขั้นตอนการทำและการเข้าใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ซึ่งในการเข้าไปใช้ระบบบุคลากรนี้  บุคลากรแต่ละท่านจะมี Username และ Password ของแต่ละท่าน ในการทำเรื่องการลาทุกชนิด การทำเรื่องขอไปประชุม อบรม/สัมมนา  และได้มีการสาธิตการปฏิบัติขั้นตอนในการคีย์ข้อมูลจริง    ซึ่ง ณ ขณะนี้ บุคลากรของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  นครศรีธรรมราช    ก็ได้ลงมือปฏิบัติจริงในทำเรื่องการลาทุกชนิด และการเดินทางไปราชการ 

       2. งานด้านวิจัย

จากการได้ไประชุม ณ ตอนนี้ได้ดำเนินการ ลงข้อมูลวิจัยของอาจารย์ 3 ปีย้อนหลังเรียบร้อย

แล้ว และจะดำเนินการลงข้อมูลวิจัยใหม่ในปี 2556-2557 ต่อไป หลังจากที่ลงข้อมูลในฐานข้อมูล อาจารย์สามารถเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโครงการวิจัยของอาจารย์ด้วยตนเองได้ ด้วยรหัสการเข้าระบบของอาจารย์แต่ละท่าน หากมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องอาจารย์สามารถเข้าไปดำเนินการแก้ไขได้ด้วยตนเอง หรือสามารถให้เลขานุการงานวิจัยเข้ามาแก้ไขในระบบให้ก็ได้

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

       – ใช้ในด้านการปฏิบัติงานจริง

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

         -การวิจัยและ/ผลงานทางวิชาการ

         -การจัดการข้อมูล

 

 

 

 

  (345)

การประชุมวิชาการสองทศวรรษสถาบันพระบรมราชชนก ตามรอยพระราชบิดา ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสาธารณ

การประชุมวิชาการสองทศวรรษสถาบันพระบรมราชชนก ตามรอยพระราชบิดา ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสาธารณ

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก : 27    ธันวาคม  2556

 

ผู้บันทึก : นางปิยรัตน์   จีนาพันธุ์

กลุ่มงานงานทะเบียน วัดและประเมินผล

ฝ่าย : กิจการนักศึกษา    

ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม

วันที่      26    ธันวาคม  2556 

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก  

สถานที่จัดณ  โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพ  

เรื่อง : การประชุมวิชาการสองทศวรรษสถาบันพระบรมราชชนก ตามรอยพระราชบิดา ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุข 

รายละเอียด

               ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา  ครั้งนี้

 ๑. พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

                สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 69 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 7 ในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า  ทรงพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ปีเถาะ ขึ้น 3 ค่ำ ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2434 ในพระบรมมหาราชวัง ได้รับพระราชทานพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชฯ”
          ทรง อภิเษกสมรสกับ นางสาวสังวาลย์ ตะละภัฎ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2463 ณ วังสระปทุม   ทรงมี พระราชโอรส และพระราชธิดา  ๓ พระองค์ คือ

  1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
    1. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
    2. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระราชกรณียกิจสำคัญของสมเด็จพระบรมราชชนก
          การปรับปรุงการศึกษาแพทย์ การศึกษาพยาบาล และการปรับปรุงโรงพยาบาลศิริราช

โดยทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลสยาม ทำความตกลงกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเล่อร์ ในการปรับปรุงการศึกษาแพทย์ของประเทศสยาม

         การปรับปรุงการสาธารณสุข  โดยทรงร่วมในการพิจารณาพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. 2466 โดยทรงแก้ไขข้อขัดข้อง และความขัดแย้งต่างๆ จนลุล่วงไปด้วยดี ทำให้กฎหมายฉบับนี้ ซึ่งเป็นกฎหมายการแพทย์ฉบับแรก

 ๒. การผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ

สถาบันพระบรมราชชนก ก่อตั้งจากการรวมองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการพัฒนากำลังคนด้าน สาธารณสุข ในหน่วยงานต่างๆที่กระจายอยู่ในหลายกรม กอง เข้าด้วยกัน ด้วยเหตุผลที่ว่า งานพัฒนากำลังคนอยู่ในความรับผิดชอบของกรมกองต่างๆ ไม่มีเอกภาพในการกำหนดนโยบายการวางแผนการดำเนินงาน ประกอบกับด้านการผลิตขาดความเป็นเอกภาพ ดังนั้น ในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ ได้มีพระราชกฤษฏีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้จัดตั้งเป็น สถาบันพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุข ดูแลงานด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ จึงได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระมหิตราธิเบศร อดุยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นชื่อสถาบันว่า “สถาบันพระบรมราชชนก”   สถาบันพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุขจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “สถาบันพระบรมราชชนก”

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

 

  (348)

สองทศวรรษสถาบันพระบรมราชชนก ตามรอยพระราชบิดา ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ

สองทศวรรษสถาบันพระบรมราชชนก ตามรอยพระราชบิดา ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :  28  ธันวาคม  2556

 ผู้บันทึกนางสาวจามจุรี แซ่หลู่

กลุ่มงานกลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุและบริหารการพยาบาล

ฝ่ายวิชาการ

ประเภทการปฏิบัติงานประชุม

วันที่     26   ธันวาคม  2556

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนนก

สถานที่จัดโรงแรมมิราเคิล แกรนด์  คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

เรื่อง : สองทศวรรษสถาบันพระบรมราชชนก ตามรอยพระราชบิดา ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ


รายละเอียด

 

พระกรุณาธิคุณพระบรมราชชนกต่อการสาธารณสุขไทย

               สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๖๙ ในพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ ๗ ใน สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ปีเถาะ ขึ้น ๓ ค่ำ (ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๔ ตามปฏิทินเก่า ถ้านับตามปฏิทินสากลต้องเป็น พ.ศ. ๒๔๓๕) ในเบื้องต้น ทรงเข้าศึกษา ณ โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง และเข้าเรียนโรงเรียนนายร้อยชั้นประถม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ หลังจากนั้นได้เสด็จไปศึกษาต่อในสหราชอาณาจักร พร้อมด้วยนักเรียนทุนหลวงในสมัยนั้นหลายพระองค์และหลายคนด้วยกัน และเข้าศึกษาในโรงเรียน Harrow ในกรุงลอนดอน อังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ เข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมนายร้อยปรัสเซีย ในเมืองพอทสดัม ประเทศเยอรมนี ตามพระประสงค์ของพระราชบิดา และศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยในกรุงเบอร์ลิน แล้วทรงเข้าศึกษาวิชาทหารเรือมือร์วิคในเมืองเฟนส์บวก และทรงได้ออกแบบเรือดำน้ำประกวดจนได้รับรางวัลและเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ ทรงได้รับยศนายเรือตรีทั้งในกองทัพเรือแห่งเยอรมัน และแห่งราชนาวีสยาม

ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ (ค.ศ.๑๙๑๔) สมเด็จพระบรมราชชนกทรงลาออกจากกองทัพเรือเยอรมัน เสด็จนิวัติกลับประเทศไทย เนื่องจากการอุบัติสงครามโลกครั้งที่ ๑ พระองค์ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงทหารเรือในตำแหน่งสำรองราชการ กรมเสนาธิการทหารเรือได้รับพระราชทานยศเป็นนายเรือโท ตั้งแต่วันที่ ๒ เมษายน

พ.ศ.๒๔๕๘ หลังจากทรงศึกษาวิธีบริหารราชการจาก และระเบียบราชการทหารเรือ จากกรมเสนาธิการทหารเรือ ประมาณ ๔ เดือนแล้ว ก็ทรงย้ายไปรับตำแหน่งในกองอาจารย์นายเรือ แผนกตำรากรมยุทธศึกษาทหารเรือ

ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ (ค.ศ. ๑๙๑๖) สมเด็จกรมพระยาชัยนาทนเรนทร ผู้ทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองและ ผู้บัญชาการราชแพทยาลัย ทรงพิจารณาเห็นว่า โรงเรียนแพทย์อยู่ในฐานะล้าหลังมาก เมื่อเทียบกับโรงเรียนในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวิทยาศาสตร์ ดังนั้นทรงตกลงพระทัยที่จะปรับปรุงเป็นการใหญ่ แต่ก็ต้องประสบปัญหาว่าหาผู้ที่มีวิชามาเป็นอาจารย์ไม่ได้ จึงได้ทรงพยายามชักชวนผู้รู้มาร่วมงาน พร้อมทั้งได้ขอร้องให้กระทรวงธรรมการติดต่อกับมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ ให้ช่วยจัดอาจารย์ในวิชากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยาและศัลยกรรมมา หลังจากนั้นสมเด็จกรมพระยาชัยนาทนเรนทร ได้เสด็จเข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมราชชนก ให้ทรงหันมาสนพระทัยการแพทย์ และสาธารณสุข ที่พระองค์ทรงได้เคยศึกษามา โดยพระองค์ทรงออกอุบายเชิญสมเด็จพ่อเสด็จประทับเรือยนต์ประพาสทางน้ำ ไปตามคลองบางกอกใหญ่ คลองบางกอกน้อย พอถึงปากคลองบางกอกน้อย จึงทูลเชิญขอให้ทรงแวะที่ศิริราชพยาบาล และเมื่อพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นโรงคนไข้ ซึ่งเป็นเรือนไม้หลังคาจากมีที่ ไม่พอรับคนไข้ มีคนไข้นั่งรอนอนรออยู่ตามโคนไม้ และขาดแคลนอุปกรณ์ทางแพทย์ สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงทราบถึงความยากลำบากและขาดแคลนของ   ศิริราช ทรงสลดพระทัยเป็นอย่างยิ่ง กรมพระยาชัยนาทนเรนทรจึงกราบทูลวิงวอนให้สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงเข้ามาช่วยจัดการการศึกษาแพทย์ โดยมีสาเหตุดังนี้ เพราะสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ทรงเป็นเจ้าฟ้าชั้นสูง ถ้าทรงเข้ามาจัดการเรื่องนี้จะทำให้กิจการแพทย์เด่นขึ้น มีผู้โดยเสด็จช่วยเหลืองานมากขึ้น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ทรงมีรายได้สูงเพียงพอที่จะใช้ในการบำเพ็ญพระกุศลสาธารณะ ทรงเป็นเจ้าฟ้าที่มีพระปัญญาหลักแหลม มีความเพียรกล้า ทรงทำจริงไม่ย่อท้อ จะทำให้กิจการทางการแพทย์เจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว และในที่สุดพระองค์ก็ทรงตกลงพระทัยที่จะทรงช่วยในการปรับปรุงการแพทย์ของประเทศไทย โดยจะเสด็จไปทรงศึกษาวิชาเฉพาะ เพื่อจะให้งานได้ผลจริงๆ และได้ดี

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐ สมเด็จพระบรมราชชนกได้เสด็จเข้าศึกษาวิชาสาธารณสุขที่ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น พระองค์ทรงได้พระราชทานทุนให้แก่นักเรียนแพทย์ ไปศึกษาที่สหรัฐอเมริกาจำนวน ๒ ทุน ซึ่งทางโรงเรียนแพทย์ได้คัดเลือกออกมา ปรากฏว่าได้นักเรียนพยาบาลมา ๒ คน คือสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และนางลิปิธรรม ศรีพยัตต์ สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงดูแลเอาใจใส่นักเรียนทั้ง ๒ ของพระองค์อย่างดี ทั้งทรงแนะนำวิธีการดำเนินชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณีของต่างประเทศ และทรงรับสั่งเตือนสติเสมอว่า เงินที่ฉันได้ใช้ออกมาเรียนหรือให้พวกเธอออกมาเรียนนี้ไม่ใช่เงินของฉัน แต่เป็นเงินของราษฏรเขาจ้างให้ออกมาเรียน ฉะนั้นเธอต้องตั้งใจเรียนให้ดี ให้สำเร็จเพื่อจะได้กลับไปทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ และขอให้ประหยัดใช้เงิน เพื่อฉันจะได้มีเงินเหลือไว้ช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป ขณะทรงศึกษาวิชาสาธารณสุขชั้นปีที่ ๓ ที่สมเด็จพระบรมราชชนกได้เสด็จกลับมาร่วมงาน ถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวงเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ สมเด็จพระบรมราชชนกได้อภิเษกสมรสกับนางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี)

เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๔ สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงสำเร็จการศึกษา และได้รับประกาศนียบัตรการสาธารณสุข ดังนั้นพระองค์พร้อมพระชายาจึงเสด็จยุโรปประทับที่เมืองเอดินเบอร์กสก็อตแลนด์ ทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการเจรจากับมูลนิธิร็อกกี เฟลเลอร์ เกี่ยวกับการช่วยเหลือด้านการศึกษาวิชาแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งบรรลุผลสำเร็จให้กับรัฐบาลไทย ถึงแม้จะมีการเจรจากันหลายครั้งก็ตาม การเสด็จสหราชอาณาจักรครั้งนี้ทรงตั้งพระทัยจะศึกษาวิชาแพทย์ให้จบ แต่เนื่องจากมีอุปสรรคได้ประชวรด้วยโรคของพระวักกะ(ระบบไต) ประกอบกับที่อังกฤษมีอากาศชื้นและหนาวเย็น ไม่เหมาะกับโรค ดังนั้นพระบรมราชชนกจึงต้องเสด็จนิวัติกลับพระนคร เพราะมีพระราชโองการจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยและรับตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๖

          ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๘ สมเด็จพระบรมราชชนกพร้อมพระชายาและพระธิดาเสด็จยุโรป

เพื่อไปศึกษาเรื่องแพทย์ต่อ โดยได้ทรงเลือกวิชากุมารเวชศาสตร์ และพระองค์ก็ได้ทรงเสด็จกลับเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๑

สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จถึงจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ทรงประทับกับครอบครัวผู้อำนวยการโรงพยาบาลและทรงมีมหาดเล็กเพียงคนเดียว พระบรมราชชนกทรงมีความเอาใจใส่ในการรักษาประชาชนอย่างมาก ชาวเมืองเชียงใหม่จึงขนานพระนามของพระองค์ว่า หมอเจ้าฟ้า สมเด็จพระบรมราชชนกได้ประทับที่เมืองเชียงใหม่ประมาณ ๓ สัปดาห์ ก็ต้องเสด็จกลับกรุงเทพในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ เนื่องในพระราชพิธี ถวายพระเพลิง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชหลังจากนั้นทรงมีพระราชประสงค์จะเสด็จกลับไปเมืองเชียงใหม่ แต่ก็มิได้เป็นไปตามพระราชประสงค์ เนื่องจากทรงประชวรต้องประทับในพระตำหนักวังสระปทุม พร้อมด้วยพระมารดา โดยไม่ได้เสด็จออกจากวังอีกเลย และเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ เวลา ๑๖.๔๕ น. พระบรมราชชนกก็ได้เสด็จทิวงคตด้วยโรคพระอาการบวมน้ำที่พระปับผาสะ(ปอด) พระชนมายุได้ ๓๘ พรรษา หลังจากทรงทนทรมานอยู่ได้ ๓ เดือนครึ่ง

 

       ๑.๑.๒ การปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุขและนโยบายด้านกำลังคน

                ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับประชากรในประเทศไทยมีหลายสาเหตุ 5 สาเหตุแรกของการเจ็บป่วยที่คร่าชีวิตคนไทยสูงสุด ได้แก่ โรคหัวใจ เบาหวาน มะเร็ง การบาดเจ็บ โรคเอดส์ รวมทั้งโรคไม่ติดต่ออื่นๆ ส่วนปัญหาสุขภาพเด็ก พบปัญหาพัฒนาการไม่สมวัย สุขภาพในช่องปาก ปัญหาวัยเจริญพันธุ์กับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม รวมถึงการทำแท้ง สุขภาพวัยทำงานถูกคุกคามด้วยโรคเรื้อรัง ภัยคุกคามจากมลพิษและสารปนเปื้อน ภาวะโลกร้อน มลภาวะทางอากาศ ฝุ่นละออง ภัยอันตรายจากสิ่งปฏิกูล สารเคมีจากอุตสาหกรรมส่งผลกระทบสุขภาพชัดเจน นอกจากนี้ ในปี 2573 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุอย่างเต็มตัว ซึ่งผู้สูงอายุส่วนหนึ่งยังมีสุขภาพดีช่วยเหลือ ตนเองได้ แต่มากกว่าครึ่งมีโรคเรื้อรังประจำตัวและต้องได้รับบริการทางการแพทย์ แม้ว่าผู้สูงอายุที่ไม่มีความจำเป็น ต้องได้รับบริการทางการแพทย์ แต่ต้องพึ่งพาหรือต้องการการช่วยเหลือดูแลจากบุคคลอื่นอยู่ ขณะที่ประชากรที่เป็น วัยแรงงานและแข็งแรงจะค่อยๆ ลดลง ทั้งหมดนี้นำไปสู่ความเสี่ยงทางด้านงบประมาณในการจัดการดูแล รวมทั้งรับภาระทางการคลังในอนาคตที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว เช่น การล้มละลายของกองทุนประกันสังคม เป็นต้น  

การจัดงบประมาณด้านสาธารณสุขแบบ “อัตราเหมาจ่ายรายหัว” ภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยอ้างอิงตามจำนวนประชากรที่อยู่ภายใต้การดูแล แม้จะมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนย้ายทรัพยากรด้าน สาธารณสุข ทั้งบุคลากร เตียง และวัสดุเครื่องมือต่างๆ ให้เกิดความเหมาะสมในการให้บริการตามความต้องการบริการ สาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันกลับพบว่า ความไม่สามารถในการปรับตัวของสถานพยาบาล รวมทั้งลักษณะเฉพาะของพื้นที่และประชากร เช่น สถานพยาบาลที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กันดารซึ่งมีประชากรอยู่น้อย ทำให้งบประมาณที่ได้รับน้อย แต่ขณะที่ต้นทุนในการดำเนินการขั้นต่ำค่อนข้างสูง ฯลฯ ทำให้สถานพยาบาลหลายแห่งเกิด ปัญหาด้านการเงินการคลัง รายได้ของสถานพยาบาลไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่เกิดขึ้น หรือการลดลงจนถึงขั้นติดลบ ของเงินบำรุงสถานพยาบาล นอกจากนี้ การกระจายทรัพยากรทางด้านสาธารณสุขที่แตกต่างกันระหว่างพื้นที่นั้น ส่งผลให้เกิดปัญหาประสิทธิภาพในการให้บริการ และปัญหาด้านการเงินการคลังในสถานพยาบาลที่มีทรัพยากรน้อย และความ  จำกัดเฉพาะของพื้นที่ ทั้งนี้ยังเกิดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรสาธารณสุขในบางพื้นที่มากขึ้นด้วยจากความพยายามในการแก้ไขปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับกำลังคนด้านสาธารณสุขอย่างเช่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

ปัญหาเหล่านี้นำมาสู่หลากหลายคำถามเกี่ยวกับรูปแบบในการจัดสรรและบริหารงบประมาณ ตลอดจนการจัด ทรัพยากรสาธารณสุขอื่น ๆ เพื่อให้บริการได้อย่างเหมาะสม การบริหารกำลังคนที่ทำให้เกิดความเพียงพอในการให้ บริการในแต่ละพื้นที่ บุคลากรมีความพึงพอใจในการทำงานและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการวางแผน การลงทุนที่มีประสิทธิภาพที่ทำให้เกิดการรักษาความสามารถในการให้บริการ การสร้างสมดุลด้านการเงินการคลัง ของสถานพยาบาล ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านสุขภาพและการให้บริการด้านสาธารณสุขต่อไปในอนาคต ทั้งหมด ล้วนเป็นประเด็นที่สำคัญที่ต้องพิจารณาเช่นเดียวกัน

ภารกิจ วัตถุประสงค์ รวมทั้งกฎหมายกำหนดให้กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่หลัก ประกอบด้วย การกำหนด กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุข การบังคับใช้กฎหมาย และการจัดบริการสาธารณสุขโดยหน่วยบริการในสังกัด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา คือ บทบาทการเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ด้านสาธารณสุขของกระทรวงฯ ลดลง หรือน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับการดูแลงานบริการ ซึ่งบทบาทที่หายไปนี้ส่งผลอย่างสำคัญต่อระบบสุขภาพในภาพรวม ทั้งการควบคุม ส่งเสริม กำกับให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขให้บริการหรือดำเนินงานด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การเสริมสร้างและสนับสนุนบทบาทของกระทรวงสาธารณสุขในด้านการเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ ให้มีความชัดเจนขึ้นนั้น จะช่วยทำให้การทำงานด้านสาธารณสุขในภาพรวมดีขึ้น โดยบทบาทดังกล่าวจะส่งผลกระทบ กับระบบสุขภาพในวงกว้าง โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้อย่างชัดเจน

จากแนวโน้มความรุนแรงของปัญหาดังกล่าว รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขในฐานะกลไกสำคัญของการแก้ไขปัญหา ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทย ให้เป็นระบบที่มั่นคงทั้งด้านการกำหนดนโยบาย การให้บริการ และความมั่นคงด้านการเงินการคลังของสถานพยาบาล ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่มีผลกระทบเชิงระบบในภาพรวมที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อการพัฒนาระบบสุขภาพให้ก้าวต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยเริ่มจากออกแบบโครงสร้างระบบ จากรากฐานปัญหา โครงสร้างระบบสาธารณสุขของประเทศไทยที่ควรจะเป็นควรมีลักษณะและผู้เกี่ยวข้องดังนี้ (ภายใต้หลักการการแยกบทบาทระหว่างผู้ให้บริการและผู้ซื้อบริการ รวมทั้งการแยกบทบาทการเป็นผู้กำหนดนโยบาย และการเป็นผู้ให้บริการออกจากกัน)

1. หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการกำกับ ควบคุม ดูแลระบบและนโยบายสาธารณสุข (Regulatory Body หรือ National Health Authority) ได้แก่ กลไกซึ่งทำหน้าที่กลั่นกรองและกำหนดนโยบายสาธารณสุขระดับ ประเทศ ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขและองค์กรด้านสาธารณสุขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ กำหนดนโยบาย ด้านสาธารณสุขตามขอบเขตภาระหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์กร รวมทั้งกำหนดกฎระเบียบและ มาตรฐานที่ใช้ในการดำเนินการเพื่อการสาธารณสุขและระบบสุขภาพของประเทศ ตลอดจนดำเนินการ ตามขอบเขตหน้าที่ และควบคุมการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎระเบียบและมาตรฐานเหล่านั้น

2. หน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย (System Manager

หรือ Purchaser) หมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้บริโภค (ประชาชน) ในการทำให้เกิดบริการสุขภาพที่พึงปรารถนา ปัจจุบันมีอย่างน้อย 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เป็นผู้บริหารและดำเนินการกองทุนประกันสังคม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็น ผู้บริหารและดำเนินการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกรมบัญชีกลางเป็นผู้บริหารและดำเนินการ ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

3. หน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการรักษาพยาบาล (Service Providers หรือ NationalHospital

System Authority) ได้แก่ โรงพยาบาลและสถานพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ที่จะมี การแข่งขันในการให้บริการ และกำกับดูแลคุณภาพการให้บริการ โดยตัวชี้วัดต่างๆ เพื่อชักจูงให้มีการ พัฒนาการให้บริการให้ดีขึ้น

บทบาทที่ควรจะเป็นของ “กระทรวงสาธารณสุข”

บทสังเคราะห์ข้อเสนอบทบาทกระทรวงสาธารณสุขในศตวรรษที่ 21 โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เมื่อเดือนกันยายน 2554 ซึ่งเป็นการระดมความเห็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ ได้ข้อสรุปว่า บทบาทหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขที่ครอบคลุมตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 นั้น ประกอบด้วย บทบาท 4 ระบบย่อย อันได้แก่

1. บทบาทในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ

2. บทบาทในการพัฒนาระบบสร้างเสริมสุขภาพ

3. บทบาทในการพัฒนาระบบควบคุมและป้องกันโรค

4. บทบาทในการพัฒนาระบบยาและการคุ้มครองผู้บริโภค

จากบทบาทที่ควรจะเป็น “หน่วยงานด้านสุขภาพของประเทศ (National Health Authority: NHA) กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดการปรับเปลี่ยนการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข ที่ครอบคลุมบทบาทย่อยทั้ง 4 บทบาท ดังนี้

1. การกำหนดนโยบายยุทธศาสตร์กลางของประเทศบนข้อมูลและฐานความรู้

2. การสร้างและจัดการความรู้ด้านสุขภาพ

3. การประเมินนโยบายและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ

4. การกำหนดและรับรองมาตรฐานบริการต่าง ๆ

5. การพัฒนาระบบกลไกการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน

6. การพัฒนากลไกด้านกฎหมายเพื่อเป็นเครื่องมือในการดูแลสุขภาพประชาชน

7. การพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ

8. การกำกับดูแล ติดตาม และประเมินผลของภาครัฐ ท้องถิ่น และเอกชน

9. การให้ข้อคิดเห็นต่อระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพของประเทศ

10. การพัฒนาข้อมูลข่าวสารให้เป็นระบบเดียว มีคุณภาพ ใช้งานได้

11. การกำหนดนโยบาย และจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ

เพื่อให้เกิดการทำงานที่สอดคล้องกับบทบาทที่ควรจะเป็นของกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวมาข้างต้น ร่วมกับแนวคิดระบบสุขภาพที่ควรจะเป็น กระทรวงสาธารณสุขควรกำหนดการทำงานที่ประกอบด้วยกลไก องค์ประกอบ ตลอดจนแนวคิดการทำงานต่างๆ ดังนี้

กระทรวงสาธารณสุขส่วนกลาง ประกอบด้วย

1. “สำนักงานคณะกรรมการยุทธศาสตร์สาธารณสุข” หรือ Policy Office ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และเสนอนโยบายสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายและแผนการทำงานต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถทำหน้าที่กำกับ ดูแลระบบสาธารณสุขได้ โดยกลไกในการกำหนดนโยบายเหล่านี้จะอยู่ในรูปของคณะกรรมการ ซึ่งปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมีหน่วยงานและกลไกที่ทำหน้าที่ในการสนับสนุนการกำหนดนโยบายอยู่พอสมควร ทั้งที่มีลักษณะเป็นราชการ และองค์กรรูปแบบอื่นๆ ดังนั้นสิ่งที่ควรดำเนินการ มีดังนี้

ระยะสั้น: อาจเริ่มจากการปรับบทบาท และรูปแบบการทำงานของหน่วยงานเหล่านั้น รวมทั้งการจัดหา บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถจากหน่วยงานอื่น ๆ เพิ่มเติม

ระยะยาว: ควรมีการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรที่สอดคล้อง และพิจารณารูปแบบของกลไกที่เป็นทางการเพื่อ สนับสนุนการทำงานของกลไกนี้ในระยะยาว เช่น ระบบการบริหารจัดการที่มีความคล่องตัว เพื่อสามารถดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพเอาไว้ในระบบ เป็นต้น

2. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปรับบทบาทการทำงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินการของกระทรวงสาธารณสุขในภาพรวม เช่น การบริหารงาน ระหว่างประเทศ และงานด้านการบริหารกำลังคนในภาพรวม เป็นต้น เนื่องจากหากมีการแยกบทบาทผู้ให้บริการออกจากผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลระบบสาธารณสุข การให้สถานพยาบาลสังกัดกับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ก็อาจไม่เหมาะสม และควรนำไปสู่การกำหนดองคาพยพที่สามารถกำกับดูแลการทำงานได้อย่างเหมาะสมต่อไป

3. กรมวิชาการ ทำงานตามภารกิจในส่วนกลางตามกฎหมาย ทั้งในส่วนการให้ความเห็น คำแนะนำกลั่นกรอง และ กำหนดนโยบาย รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม บทบาทเหล่านี้จะมีการปรับการทำงานให้สอดคล้องตามบทบาทที่พึงประสงค์ของกระทรวงสาธารณสุขตามขอบเขตความรับผิดชอบของแต่ละ หน่วยงาน อย่างไรก็ตาม เพื่อทำให้การทำงานในส่วนภูมิภาคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ กรมวิชาการ สามารถจัดสรรบุคลากร และทรัพยากรไปปฏิบัติหน้าที่ในภูมิภาค โดยทำงานร่วมกับองคาพยพในการบริหารส่วน ภูมิภาค ภายใต้การกำกับตัวชี้วัด และเป้าหมายการทำงานของหน่วยงานต้นสังกัดและของกระทรวงสาธารณสุข

4. กลไกเชื่อมโยงการทำงานและนโยบายของส่วนกลางไปสู่ภูมิภาคเพื่อให้การเชื่อมโยงระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเป็นไปอย่างมีระบบ และเกิดการแยกบทบาทระหว่างการ เป็นผู้กำหนดนโยบาย และการกำกับดูแล ออกจากการเป็นผู้ให้บริการ กลไกที่จะสามารถประสานการทำงาน ระหว่างส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคได้อย่างรวดเร็ว คือ สำนักบริหารการสาธารณสุข (สบรส.) และกรมสนับสนุน บริการสุขภาพ (สบส.) โดยการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานทั้งสองเข้าด้วยกัน เพื่อทำหน้าที่ประสานและ ส่งต่อนโยบายสาธารณสุขที่ครอบคลุมบทบาทย่อยทั้ง 4 ของกระทรวงสาธารณสุขให้ไปดำเนินการภายในพื้นที่อย่าง มีประสิทธิภาพ กำหนดกรอบแนวทาง กติกาในการดำเนินงานภายในพื้นที่ที่เป็นมาตรฐาน ได้แก่

• กำหนดกรอบแผนงาน และยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานของพื้นที่

• กำหนดระเบียบหรือหลักเกณฑ์ในการบริหารงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเพื่อดำเนินการภายในพื้นที

ซึ่งแตกต่างกันตามประเภทของงบประมาณที่ได้รับจัดสรร

• กำหนดกฎระเบียบมาตรฐานที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลภายในพื้นที่

• กำหนดกรอบการประเมินผลการทำงานของพื้นที่และทำหน้าที่ในการประเมินผล โดยต้องกำหนดตัวชี้วัด ผลสัมฤทธิ์เพื่อการปฏิบัติงานในพื้นที่ให้บรรลุตามเป้าหมายนโยบายในระดับประเทศ

กระทรวงสาธารณสุขส่วนภูมิภาค

ในการระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทที่ควรจะเป็นของกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า การทำงานในส่วนภูมิภาคควรมีโครงสร้างการบริหารแบบ “เขตสุขภาพ” (Area Health) หรือการจัดระบบสุขภาพระดับพื้นที่ (Locality Level) โดย

• มีการกำหนดพื้นที่และประชากรรับผิดชอบที่ชัดเจน

• มีกิจกรรมการซื้อและจัดบริการสุขภาพ ที่ตอบสนองต่อความต้องการที่จำเป็นของประชากรในพื้นที่

• มีบริการที่เหมาะสมและผสมผสานทั้งด้านบริการสุขภาพส่วนบุคคล บริการในโรงพยาบาล และบริการสังคม

ในปี 2555 กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดกรอบการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในรูปแบบเครือข่ายบริการ ภายใต้หลักการ “เครือข่ายบริการที่ไร้รอยต่อ” ที่เชื่อมโยงบริการทุกระดับเข้าด้วยกัน ประกอบด้วยการทำงานในพื้นที่ 4-8 จังหวัด มีจำนวนประชากรเฉลี่ยในความดูแลประมาณ 5 ล้านคน รวมการจัดเป็นเครือข่ายบริการได้จำนวน 12 เครือข่าย (ไม่รวมพื้นที่กรุงเทพมหานคร) นำไปสู่การกำหนดเขตพื้นที่ตรวจราชการใหม่ ที่จำนวนประชากร เฉลี่ยของแต่ละพื้นที่มีขนาดที่ใกล้เคียงกันและเชื่อมโยงหลายจังหวัดเข้ามาร่วมกัน ทำให้ทรัพยากรมีการกระจายตัวที่ไล่เลี่ยกัน ซึ่งช่วยลดปัญหาการจัดสรรทรัพยากร และสามารถแก้ไขปัญหาด้านการเงินการคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสอดคล้องกับการจัดเขตบริการสุขภาพที่กำหนดโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งถือว่า เป็นการพัฒนาในส่วนของผู้จัดบริการ (Service Provider) ร่วมด้วย

องค์ประกอบของเขตสุขภาพ

1. กลไกในการบริหารเขตสุขภาพ ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย กำกับดูแล ติดตามและประเมินผล

ภายในเขตสุขภาพ โดยอาจอยู่ในรูปของคณะกรรมการบริหารเขตสุขภาพ ที่มีส่วนประกอบของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งนี้มีการ สนับสนุนทางด้านวิชาการและนโยบายจากหน่วยงานวิชาการ และกระทรวงสาธารณสุข

2. กลไกในการจัดบริการ กลไกการทำงานร่วมของหน่วยบริการทั้งหมดที่อยู่ภายในเขตสุขภาพ เพื่อให้

เกิดการใช้ทรัพยากรทางด้านสาธารณสุข และทางด้านการแพทย์ภายในพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

3. กลไกในการซื้อบริการ กลไกการซื้อบริการสาธารณสุขโดยหน่วยงานต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้แทน

ในการจัดหาบริการสาธารณสุข ตามความต้องการของประชาชนในเขตสุขภาพ ซึ่งในปัจจุบัน กลไกเหล่านี้ ประกอบด้วย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม กรมบัญชีกลาง และระบบความคุ้มครองทาง ด้านสุขภาพอื่น ๆ

4. กลไกในการติดตามและประเมินผล เพื่อให้การทำงานของเขตสุขภาพสอดคล้องกับการทำงาน

ตามเป้าหมายนโยบายสาธารณสุขในภาพรวม ของประเทศด้วย จึงควรมีกลไกจากภายนอกเขตสุขภาพ เพื่อทำการติดตามประเมินผลความสามารถ ในการจัดการเขตสุขภาพจากภายนอก โดยกระทรวงสาธารณสุขส่วนกลาง

บทบาทของเขตสุขภาพ บทบาทในระยะสั้น ควรมีการทำงานใน 2 บทบาท ดังต่อไปนี้

1. การพัฒนากลไกในการบริหารเขตสุขภาพ หรือการเป็นผู้กำหนดนโยบายและดูแลของเขต โดยควร

มีการ ปรับการทำงานของคณะกรรมการประสานการพัฒนางานสาธารณสุขระดับเขต: คปสข. (ภายใต้คำสั่ง กระทรวงสาธารณสุขที่ 209/2555 เรื่อง การบริหารจัดการเครือข่ายบริการสุขภาพ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555) ที่เป็นกลไกบริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพ ให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ดังนี้

• การกำหนดแผนดำเนินงานด้านสาธารณสุขของเขตสุขภาพ ซึ่งอ้างอิงกับนโยบาย และเป้าหมาย

ใน การพัฒนาด้านสาธารณสุขของประเทศและกระทรวงสาธารณสุข โดยถ่ายทอดเป้าหมายตัวชี้วัดจาก ส่วนกลางสู่การแปลงเป็นแผนดำเนินงานของเขตสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมจากฝ่ายต่างๆ โดย แผนมีความครอบคลุมบทบาทย่อยทั้งสี่ที่พึงประสงค์ของกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่ นำไปสู่การ พัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชากรในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

• การกำหนดแผนการจัดสรรทรัพยากรทางด้านสาธารณสุข ซึ่งครอบคลุมทั้งบุคลากรและ

ทรัพยากร ทางด้านสาธารณสุขอื่นๆ ที่เกิดความเหมาะสม ในการจัดบริการและการทำงานด้านสาธารณสุข ในเขตสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • การแก้ไขปัญหาการเงินการคลังภายในเขตสุขภาพ

     • การกำกับดูแล และประเมินผลภายใน เพื่อให้การทำงานในเขตสุขภาพสามารถบรรลุเป้าหมายการ พัฒนาในภาพรวม

2. การทำงานในส่วนของการเป็นผู้ให้บริการ จากกลไกดังกล่าวข้างต้น เป็นการเริ่มพัฒนาการจัดบริการ

ในพื้นที่ ซึ่งมีความครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ โดยในระยะยาวต้องขยายความครอบคลุมออกไปสู่หน่วยบริการ อื่น ๆ นอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้เกิดเครือข่ายการให้บริการอย่างแท้จริงต่อไป

นอกจากนี้ ในอนาคต เมื่อมีการขยายความครอบคลุมของเครือข่ายการให้บริการภายในเขตสุขภาพให้ มีความครอบคลุมผู้ให้บริการทั้งหมด และเกิดประสิทธิภาพในการทำงานที่น่าพึงพอใจแล้ว กลไก (ในส่วน คปสข.) นี้ควรแยกออกไปทำงานอย่างอิสระ เพื่อให้เกิดการแยกส่วนการทำงานระหว่างผู้กำหนดนโยบาย และผู้ให้บริการที่ชัดเจนขึ้น

หัวใจสำคัญของการปฏิรูปบทบาทกระทรวงสาธารณสุขครั้งนี้ ภายใต้แนวคิดเรื่องเขตสุขภาพคือการเปลี่ยนแปลงบนฐานความรู้ ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างมีทิศทาง และส่งผลให้เกิดการปฏิรูประบบสุขภาพที่มั่นคง และยั่งยืนต่อไป เป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง ย่อมไม่มีสิ่งใดสำคัญไปกว่า “ประโยชน์ของประชาชน” ไม่ว่าจะเป็น การได้รับ บริการที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการบริการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ที่จะทำให้ประชาชนสุขภาพดี ไม่มีโรค ประหยัดเงินค่าใช้ จ่ายเพื่อสุขภาพ หรือในกรณีที่เจ็บป่วย หากต้องมาโรงพยาบาลก็จะได้รับการบริการที่ดี ทั้งหมอดี ยาดี เครื่องมือดี รวมถึงถ้าป่วยหนัก โรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา ไม่สามารถรักษาได้ ก็จะถูกส่งต่อเพื่อการรักษาที่ดีที่สุด พร้อมมี ความสะดวกและคล่องตัวมากขึ้น

 

 

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

  การบริหารการจัดการเรียนการสอนให้ผลผลิตคือนักศึกษาพยาบาล เป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีคุณภาพต่อไป

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

การเรียนการสอนและการพัฒนาอัตลักษณ์ของนักศึกษา

 

 

 

 

 

  (531)

จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :  27  มกราคม 2557

 ผู้บันทึกนางสาวจามจุรี แซ่หลู่ และ นางธมลวรรณ   แก้วกระจก

กลุ่มงานกลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุและบริหารการพยาบาล

ฝ่ายวิชาการ

ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม

วันที่      23  -   24    มกราคม 2557

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนนก

สถานที่จัดณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง กรุงเทพฯ

เรื่อง :  จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

รายละเอียด

 ประวัติ หลักจริยธรรมการวิจัย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (History of research ethics-original guidelines, principle of research ethics, applicable local laws and regulations)

           ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการทำการทดลองในค่ายกักกันเชลยศึก ไม่มีการขอคำยินยอม เป็นการทำการทดลองที่ผิดมนุษยธรรม ไร้ศีลธรรมและปราศจากความปราณี ซึ่งผลการทดลองมีผู้เสียชีวิตหรือพิการเป็นจำนวนมาก ทำให้มี The Nuremberg Code ในปี 1947 ซึ่งประกอบด้วยหลักการสำคัญ 10 ข้อ ดังนี้

          1. ความยินยอมด้วยความสมัครใจของผู้รับการทดลองเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดซึ่งหมายความว่าผู้ให้การยินยอมต้องสามารถให้การยินยอมได้ตามกฎหมาย อยู่ในสถานการณ์ที่ตัดสินใจได้อย่างอิสระ โดยไม่มีการแทรกแซงใดๆ ทั้งโดยการใช้กำลัง การฉ้อโกง การหลอกลวง การข่มขู่ การเอาเปรียบหรือการบังคับขู่เข็ญทางอ้อม และต้องมีความรู้และความเข้าใจในรายละเอียดต่างๆ อย่างเพียงพอจนสามารถตัดสินใจโดยความเข้าใจอย่างรู้แจ้ง โดยผู้เข้าร่วมวิจัย ควรได้ทราบถึงระยะเวลา วัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย  ปัญหาและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นและผลกระทบต่อสุขภาพหรือบุคคลที่อาจเกิดจากการเข้าร่วมการวิจัย ก่อนการตัดสินใจตอบรับการเข้าร่วมการวิจัย หน้าที่ และความรับผิดชอบของการประกันคุณภาพของการยินยอม  อยู่ที่บุคคลทุกคนที่ทำการริเริ่มอำนวยการหรือเกี่ยวข้องกับการทดลอง  โดยเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบส่วนบุคคลซึ่งจะถ่ายโอนให้แก่ผู้อื่นโดยไม่ต้องรับโทษมิได้

          2. การทดลองควรก่อให้เกิดผลดีแก่สังคม โดยไม่สามารถเกิดขึ้นจากวิธีการหรือวิธีศึกษาอื่น รวมทั้งไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการสุ่มเลือก และไม่เป็นการดำเนินการอันไม่จำเป็น

          3. ควรออกแบบการวิจัยบนพื้นฐานของการทดลองในสัตว์และความรู้ด้านธรรมชาติของการเกิดโรคหรือปัญหาอื่น โดยผลการศึกษาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นมีเหตุผลเพียงพอที่จะทำการทดลอง

          4. ควรดำเนินการวิจัยโดยหลีกเลี่ยงมิให้เกิดการบาดเจ็บหรือความทุกข์ทรมานใดๆที่ไม่จำเป็นทั้งทางร่างกายและจิตใจ

          5. ไม่ควรดำเนินการทดลองหากมีเหตุผลที่เชื่อถือได้แต่แรกว่าอาจจะมีการเสียชีวิตหรือบาดเจ็บถึงขั้นทุพลภาพ เว้นแต่แพทย์ผู้วินิจฉัยเป็นผู้รับการทดลองด้วย

          6. ระดับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นไม่ควรเกินกว่าความสำคัญด้านมนุษยธรรมของปัญหาที่การทดลองจะช่วยแก้ไขได้

          7. ต้องมีการเตรียมการอย่างเหมาะสมและมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่เพียงพอเพื่อปกป้องผู้รับการทดลองจากโอกาสในการบาดเจ็บ ความพิการหรือเสียชีวิต

          8. ควรดำเนินการทดลองโดยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเพียงพอเท่านั้น ต้องมีการกำหนดคุณสมบัติสูงสุดของทักษะและการเอาใจใส่ในทุกขั้นของการทดลองของผู้ดำเนินการหรือผู้เกี่ยวข้องกับการทดลอง

          9. ระหว่างการทดลองอาสาสมัครควรมีอิสระในการตัดสินใจถอนตัวจากการทดลองหากอยู่ในสภาวะที่เร่งการหรือจิตใจไม่สามารถรับการทดลองต่อไปได้

          10. ระหว่างการทดลองนักวิทยาศาสตร์ที่รับผิดชอบต้องเตรียมพร้อมที่จะยกเลิกการทดลองในทุกขั้นตอนหากผู้ทำการทดลองได้พิจารณาโดยสุจริตด้วยทักษะความชำนาญและวิจารณญาณที่กลั่นกรองมาอย่างดีให้เชื่อได้ว่าการดำเนินการทดลองต่อไปจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บความทุพลภาพหรือการเสียชีวิตแก่ผู้รับการทดลอง

หลักเกณฑ์จริยธรรมการวิจัย หลักเกณฑ์จริยธรรมสากลสำหรับการวิจัยในคน  ประกอบด้วย 

๑. Nuremberg Code (1947) มีประเด็นที่สำคัญ 3 ประการ

-          หลักการของการขอคำยินยอม

-          สัดส่วนความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะได้รับ

-          ความสามารถหรือสิทธิของอาสาสมัครในการออกจากการเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย 

๒. Declaration of Helsinki (1964) เขียนโดยแพทย์สมาคมโลก มีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้

-          การวิจัยทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์  หมายรวมถึงการศึกษาตัวอย่างหรือข้อมูลที่สามารถบ่งชี้ตัวผู้ป่วยด้วย

-          การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์  ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยที่เป็นอิสระ

-          สวัสดิภาพผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นสิ่งที่พึงคำนึงก่อนประโยชน์ต่อวิชาการและสังคม

-          ต้องมีการขอคำยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร

-          การทดสอบวิธีใหม่ต้องเทียบกับวิธีที่ดีที่สุดเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน

๓. US Belmont Report (1979) มีประเด็นที่สำคัญดังนี้

-          หลักความเคารพในบุคคล

-          หลักผลประโยชน์

-          หลักความยุติธรรม

๔. CIOMS’s Guidelines (1991, 1993)

- เขียนโดยองค์การอนามัยโลก เป็นแนวทางจริยธรรมวิจัยในคนที่เน้นในเรื่องการพิจารณาโครงการวิจัยของคณะกรรมการจริยธรรมอิสระและการคำนึงถึงผลประโยชน์ของอาสาสมัครวิจัย

๕. ICH GCP Guidelines (1995) มีประเด็นสำคัญดังนี้

- ควรดำเนินการวิจัยทางคลินิกให้สอดคล้องกับหลักจริยธรรมแห่งคำประกาศเฮลซิงกิและเป็นไปตาม จีซีพี และข้อกำหนดของระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

- ก่อนเริ่มการวิจัย ควรพิจารณาชั่งน้ำหนักระหว่างความเสี่ยงและความไม่สะดวกสบายที่จะเกิดขึ้นกับประโยชน์ที่คาดว่าทั้งอาสาสมัครในการวิจัยและสังคมจะได้รับควรเริ่มการวิจัยและดำเนินการวิจัยต่อไปเฉพาะกรณีที่ประโยชน์ที่จะได้รับคุ้มค่ากับความเสี่ยง

- สิทธิ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีของอาสาสมัครเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ควรคำนึงและควรมีความสำคัญเหนือประโยชน์ทางวิชาการและประโยชน์ของสังคม

- ควรมีข้อมูลทั้งที่ศึกษาในมนุษย์และที่ไม่ได้ศึกษาในมนุษย์ของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการวิจัยมากพอเพียงที่สนับสนุนการทดลองทางคลินิกที่เสนอ

- การวิจัยทางคลินิกควรถูกต้องตามหลักวิชาการและเขียนอธิบายไว้อย่างละเอียดชัดเจนในโครงร่างการวิจัย

- ควรดำเนินการวิจัยทางคลินิกโดยปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามข้อกำหนดในโครงร่างการวิจัยที่ได้รับอนุมัติและ/หรือความเห็นชอบแล้วจากคณะกรรมการทบทวนการวิจัยประจำสถาบันหรือคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมอิสระ

- แพทย์หรือทันตแพทย์ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมควรมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลรักษาและตัดสินใจทางการแพทย์ที่กระทำแก่อาสาสมัครเสมอ

- ผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินการวิจัยแต่ละคนควรมีคุณสมบัติเหมาะสมโดยผ่านการศึกษา การฝึกอบรมและมีประสบการณ์เพียงพอที่จะทำหน้าที่ของตนเองอย่างดี

- ควรได้รับความยินยอมอย่างเสรีจากอาสาสมัครทุกคน ก่อนเข้าร่วมการวิจัยทางคลินิก

- ควรบันทึก ดูแล และเก็บรักษาข้อมูลจากการวิจัยทางคลินิกทั้งปวงโดยวิธีซึ่งช่วยให้การรายงาน การแปลผล และการทวนสอบทำได้อย่างถูกต้อง

- ควรคุ้มครองข้อมูลความลับของอาสาสมัคร โดยให้ความเคารพต่อสิทธิส่วนบุคคลและกฎเกณฑ์การรักษาความลับตามข้อกำหนดของระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

- ควรดูแล เก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการวิจัยตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติ การผลิตที่ดี ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการวิจัยตามที่กำหนดในโครงร่างการวิจัยที่ได้รับอนุมัติแล้ว

- ควรปฏิบัติตามระบบซึ่งมีวิธีดำเนินการที่สามารถประกันคุณภาพการวิจัยในทุกๆด้าน

                ๑.๑.๒ องค์ประกอบ บทบาท และหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย (Roles and responsibilities of research ethic committee)

               องค์ประกอบของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย จำนวน Standard ไม่ได้กำหนดสมาชิกของคณะกรรมการที่ตายตัว แต่ต้องมีอย่างน้อย 5 คน และต้องมีสมาชิกซึ่งเป็นบุคคลภายนอก (Lay person) และสมาชิกสาขาวิชาอื่น (not in health research) และในการตั้งคณะกรรมการควรคำนึงถึงข้อกำหนด ดังต่อไปนี้

- ประธานคณะกรรมการ (Chair person) ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันไม่ควรรับตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย 

- ใน Silver book ของ WHO แนะว่าควรมีสมดุลเรื่องอายุของคณะกรรมการ 

- Standard 2 กำหนดให้คณะกรรมการควรประกอบด้วยสมาชิกทั้งสองเพศในสัดส่วนที่เหมาะสม (Gender balance)

- คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย   ต้องเต็มใจที่จะเปิดเผยชื่อ อาชีพ  หน่วยงานที่สังกัดต่อสาธารณะ  เต็มใจเปิดเผยรายรับ  และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในฐานะกรรมการ

- คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย   ต้องรักษาความลับ  ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยโดยต้องลงนามในเอกสารการรักษาความลับ

     – คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย   ต้องได้รับ  Continuing Training เช่น GCP Training ปีเว้นปี Human Subject Protection ปีละครั้ง หรือการอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานการดำเนินการทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย

  1. ปกป้องอาสาสมัครในโครงการวิจัย
  2. ส่งเสริมการวิจัยที่มีมาตรฐานในสถาบัน

3.  ทบทวนพิจารณาโครงการวิจัยก่อนเริ่มต้นดำเนินการวิจัย ใน 2 ประเด็น scientific   aspect และ

Ethical   aspect

Scientific aspect ทบทวนประเด็น คุณวุฒิผู้วิจัย Research design, Methodology, Object, Statistic, Sample size calculation, Control group / placebo group, Adequate resources facilities, staff, Withdrawal criteria, Termination criteria, Monitoring, Report, Publication

การพิจารณาโครงการในส่วน  Ethical   aspect พิจารณาตาม Belmont Report โดยยึดหลักการสำคัญดังต่อไปนี้

- หลักความเคารพในบุคคล  Respect of person   มีประเด็นสำคัญดังนี้

1. เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

2. เคารพในสิทธิบุคคล

3. เคารพในการให้ความยินยอมโดยได้รับข้อมูลเพียงพอและเป็นอิสระ

4. เคารพในศักดิ์ศรีของกลุ่มเปราะบางและอ่อนแอ

5. เคารพในความเป็นส่วนตัวและรักษาความลับ

การปฏิบัติข้อ 1-5 โดยการทำ Informed consent 

- หลักผลประโยชน์  Beneficence มีประเด็นสำคัญดังนี้

1. การชั่งน้ำหนักความเสี่ยงและผลประโยชน์

2. ลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด

3. การสร้างประโยชน์สูงสุด

การปฏิบัติข้อ 1-3 โดยการทำ Risk/Benefit Assessment

      - หลักความยุติธรรม  Justice มีประเด็นสำคัญดังนี้

          1.ความเที่ยงธรรมและความเสมอภาค

2.มุ่งกระจายภาระและผลประโยชน์

3.การเลือกอาสาสมัครอย่างยุติธรรม

4.การกระจายภาระและผลประโยชน์

การปฏิบัติข้อ 1-4 โดยการทำ   Inclusion / Exclusion criteria for volunteers selection

การทบทวนพิจารณาโครงการวิจัยในส่วน Ethical   aspect มีสาระที่ทบทวน

-          Scientific  design  and  conduct  of  the  study

-          Risk and  potential  benefits

-          Selection  of  population and  recruitment  of  research  participant

-          Inducements, financial benefits  and  financial costs

-          Protection  of  research  participants’  privacy  and  confidentiality

-          Informed  consent  process

-          Community  consideration

-          การประกัน  ชดเชยความเสียหาย/รักษา เมื่อเกิดอันตราย

-          การรับข้อร้องเรียนจากอาสาสมัคร

รูปแบบการทบทวนโครงร่างการวิจัย

          1. Exemption การวิจัยบางโครงการไม่จำเป็นต้องได้รับการทบทวน ถ้างานวิจัยนั้นได้รับการยกเว้น

          2. Expedited review การทบทวนแบบเร่งด่วน

-โดยการแต่งตั้งกรรมการที่มีประสบการณ์ 1-2 ทำหน้าที่ทบทวน 

-ระบุขั้นตอนการทบทวนแบบเร่งด่วน

-ให้ผู้วิจัยหลักเป็นผู้เสนอขอให้ทบทวนแบบเร่งด่วนหรือให้กรรมการหรือเลขานุการเป็นผู้คัดเลือกและส่งให้ Expedited review ทบทวนโครงการวิจัยที่จะทบทวนแบบเร่งด่วนได้นั้น ต้องเข้าข่าย minimal risk

๓. การพิจารณาทบทวนโครงร่างโดยกรรมการเต็มชุด  (Full board)

ผลการพิจารณาโครงร่างวิจัยโดยคณะกรรมการ  สรุปได้ดังนี้   

-          ผ่านหรืออนุมัติโดยไม่มีข้อแก้ไข

-          แก้ไขเล็กน้อยและให้ผ่าน

-          ไม่สามารถ reject  โครงการ

ซึ่งโครงการจะได้รับการรับรองการผ่านจริยธรรมได้หลังแจ้งกรรมการเต็มชุดทราบ

                ๑.๑.๓ ผลประโยชน์ทับซ้อนและการประพฤติมิชอบทางการวิจัย (Conflict of interest issues and scientific misconduct) ผลประโยชน์แบ่งเป็น

- Primary Interest คือผลประโยชน์หลัก เช่นสุขภาพของผู้ป่วยดีขึ้น ได้องค์ความรู้ใหม่ ความปลอดภัยของอาสาสมัคร

          -Secondary  Interest  คือผลประโยชน์รอง  เช่น  มีชื่อเสียง  ตำแหน่ง  ความมีหน้าตาในสังคม สิทธิทางปัญญา  เงินทอง

          ประเภทของ COI

          – Intangible คิดมูลค่าไม่ได้ เช่น การเลื่อนตำแหน่ง ชื่อเสียง ทำให้ได้ทุนสนับสนุนง่ายขึ้น มีผู้ป่วยส่งมามากขึ้น เป็น Academic COI

- Tangible คิดมูลค่าได้ เช่น ค่าตอบแทน หุ้น ผลประโยชน์จากสิทธิบัตรเป็น Financial COI

COI เพิ่มความเสี่ยงให้กับอาสาสมัคร เนื่องจาก

- ผู้วิจัยอาจแต่งเติมสีสันข้อมูล พูดความเสี่ยงให้น้อย  ประโยชน์มาก  ปกปิดข้อมูล  ลำเอียงในการรายงานข้อมูล  การวิเคราะห์และการแปลผลข้อมูล  ลำเอียงในการคัดผู้ป่วยเข้าโครงการเนื่องจากได้ค่าส่งต่อ  หรือมีโบนัสเมื่อเกณฑ์ได้ครบจำนวน

- กรรมการจริยธรรมการวิจัย  อาจใช้อำนาจ  lobbying หรือ defend เพื่อให้โครงการวิจัยผ่านการอนุมัติ  หรือผ่อนเกณฑ์ให้เบาลงเพื่อให้บริษัทส่งโครงการเข้าพิจารณาจำนวนมาก  ทำให้ได้ค่าอ่านมาก

- สถาบันวิจัย  กดดันให้กรรมการลดความเข้มข้นของการพิจารณา  ได้งบประมาณจากบริษัทยา  มีหุ้นในบริษัทยา  นโยบายทางการเมืองกดดันให้โครงการผ่านเร็ว 

How to Manage COI

- สถาบันควรมีนโยบายการจัดการ COI และแต่งตั้งกรรมการ COI

- IRB พิจารณาว่าการจัดการ COI เพียงพอเพื่อการปกป้องอาสาสมัคร และข้อมูลทางการเงินใดที่ควรเปิดเผยต่ออาสาสมัคร

- ผู้วิจัย เปิดเผยส่วนการเงินให้อาสาสมัครทราบและหากมี COI หาผู้อื่นมาอธิบายอาสาสมัคร และขอคำยินยอมแทนตนเอง

 Scientific Misconduct / Research    Misconduct การประพฤติมิชอบทางการวิจัย ประกอบด้วย

          - Fabrication คือ การกุหรือยกเมฆข้อมูลหรือผลการทดลอง แล้วบันทึกรายงาน

          – Falsification คือ การดัดแปลงวัสดุวิจัย อุปกรณ์ หรือกระบวนการวิจัยหรือเปลี่ยนแปลงหรือละทิ้งข้อมูลหรือผลการวิจัยจนกระทั่งบันทึกการวิจัยไม่สะท้อนความเป็นจริง หรือการตกแต่งข้อมูลให้ดูดี การ Retouch ภาพ

          – Plagiarism คือการลักหรือยักยอก (misappropriation) ทรัพย์สินทางปัญญาและข้อความจากผลงานของผู้อื่น หรือทับซ้อนการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่นการคัดลอกงานหรือผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน หรือการคัดลอกผลงานของตนเองกลับมาใช้อีกครั้ง โดยไม่มีการอ้างถึง

                ๑.๑.๔ การประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ (Risk-benefit assessment)

          Step 1 ประเมิน Social value

          Step 2 จำแนกประเภทของความเสี่ยง และระดับความเสี่ยง

          Step 3 ประเมินประโยชน์ (The benefit assessment)

          Step 4 ประเมินความเสี่ยงกับประโยชน์ที่ได้ การประเมินประโยชน์ต้องเป็น  benefit to social  และเป็น  Direct  benefit  to  participant ซึ่งในการประเมิน  ต้องดูอัตราส่วนระหว่างความเสี่ยงและผลประโยชน์ (Risk – benefit  ratio) ว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม 

ความรุนแรงของความเสี่ยง (Risk categories)

1. ความเสี่ยงน้อยคือความเสี่ยงที่ไม่มากกว่าที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของอาสาสมัครที่มีสุขภาพปกติ

2. ความเสี่ยงมากกว่าความเสี่ยงน้อยแต่คาดว่าจะมีประโยชน์ต่ออาสาสมัครที่เข้าร่วมในโครงการวิจัย

          3. ความเสี่ยงมากกว่าความเสี่ยงน้อยคาดว่าจะไม่มีประโยชน์ต่ออาสาสมัครที่เข้าร่วมในโครงการวิจัยแต่อาจเป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือส่วนรวม

                ๑.๑.๕ ประเด็นจริยธรรมของการวิจัยในกลุ่มเปราะบางอ่อนแอ (Ethical consideration for research in vulnerable population)

               กลุ่มเปราะบางอ่อนแอหมายถึงกลุ่มที่ไม่มีอิสระในการตัดสินใจได้ด้วยตนเอง เช่น เด็ก นักโทษ ผู้ป่วยโรคจิต

          การยินยอมในเด็ก เราเรียกว่า Assent การวิจัยในเด็กทารกถึง ๖ ปี ไมต้องมี assent form ในเด็ก ๗-๑๒ ปี ต้องมี assent form และเอกสาร assent แยกจาก informed consent ของผู้ปกครอง เด็กอายุ ๑๓-๑๗ ปี ใช้เอกสาร informed consent อันเดียวกับผู้ปกครอง

                ๑.๑.๖ การพิจารณาโครงร่างการวิจัยครั้งแรก (Initial review category: exempt, expedite, or full board review)

               หน้าที่ของ เคารพคณะกรรมการคือ ปกป้องความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของอาสาสมัคร ชุมชน และสังคม และส่งเสริมให้เกิดการวิจัยที่มีคุณภาพ หลักที่ใช้ในการพิจารณาคือ หลักจริยธรรมของ Belmont report เคารพในบุคคล ให้ประโยชน์ และความเท่าเทียม ประเด็นที่พิจารณาคือ ประเด็นความถูกต้อง เหมาะสม และชอบธรรม ในด้านหลักวิชาการและหลักจริยธรรมโดยยึดหลักจริยธรรมการวิจัยสากล

          สิ่งที่ต้องทบทวนและให้การรับรอง ประกอบด้วยโครงร่างการวิจัย นักวิจัยโดยพิจารณาจาก CV เอกสารชี้แจงข้อมูลอาสาสมัคร เอกสารแสดงเจตนายินยอม เอกสารอื่นๆ เช่น ใบประกาศเชิญชวน แบบบันทึกข้อมูล แบบสอบถาม

          การพิจารณามีหลายประเภท ดังนี้ เข้าข่ายยกเว้นการขอรับรอง (Exemption) แบบเร็ว (Expedited review) แบบเข้าที่ประชุมเต็มคณะ (Full committee review)

          การวิจัยที่เข้าข่ายยกเว้นการขอรับรอง ไม่ต้องมีรายงานความก้าวหน้าและทบทวนต่อเนื่อง แต่ละสถาบันอาจร่างข้อกำหนดเองแต่ต้องยึดหลักสากล ต้องระบุให้ชัดเจนในวิธีการดำเนินการตามมาตรฐาน ประธานหรือผู้ที่ประธานมอบหมายตัดสินโดยยึดหลักวิธีการดำเนินการตามมาตรฐาน ผู้วิจัยจะได้รับ certificate of exemption

          การวิจัยที่เข้าข่าย Full committee review เป็นการวิจัยที่ไม่สามารถพิจารณาแบบเร็วและไม่เข้าข่ายยกเว้นการพิจารณา ต้องนำมาพิจารณาในที่ประชุมที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลาย คือ ผู้ที่มาจากสาขาการแพทย์ ไม่ได้มากจากสาขาการแพทย์ มาจากต่างสถาบัน อย่างน้อย ๕ ท่าน และต้องมีสัดส่วนของหญิง ชาย พอกัน การออกเสียงอาศัยมติเอกฉันท์หรือการลงคะแนนเสียง การพิจารณากรรมการต้องพิจารณาตามหลักการที่ได้กำหนด ผลการตัดสิน อาจออกมาเป็นรับรองโครงร่างการวิจัย (Approve) ขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือปรับแก้ตามข้อเสนอแนะเพื่อรับรอง (Conditional approve) ให้ปรับแก้หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำเข้ามาพิจารณาใหม่ (Major revision) ไม่รับรอง (Disapprove)

                ๑.๑.๗ การทบทวนต่อเนื่องโครงร่างการวิจัยภายหลังได้รับการรับรอง (Continuing review of protocols after approval)

               การทบทวนต่อเนื่องเป็นหน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการการวิจัยในมนุษย์ เพื่อปกป้องสิทธิ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีของอาสาสมัครในการวิจัยทุกคน การทบทวนต่อเนื่อง ประกอบด้วย

          ๑. การรายงานส่วนแก้ไขเพิ่มเติมโครงร่างการวิจัย (Protocol Amendment)

              ทำในกรณีที่มีการปรับแก้ไขโครงการวิจัย ในกรณีที่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมโครงร่างการวิจัยเพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่มีผลกระทบต่ออาสาสมัคร ชุมชน สถาบัน ไม่เพิ่มความเสี่ยง ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจของอาสาสมัคร ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบวิธีการวิจัย เช่น การเพิ่มผู้ร่วมวิจัย การเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ผู้วิจัย การแก้ไขตัวสะกด การปรับวิธีวิเคราะห์ข้อมูล ให้ผู้วิจัยยื่นเรื่องขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพื่อให้กรรมการรับรอง แต่ถ้ามีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงร่างการวิจัยที่อาจมีผลกระทบต่ออาสาสมัคร ชุมชน และสถาบัน เพิ่มความเสี่ยง มีผลต่อการตัดสินใจขอลงอาสาสมัคร มีการเปลี่ยนระเบียบวิธีการวิจัย ซึ่งไม่ได้เขียนไว้ในโครงการ ปรับเป็นอย่างไร เปลี่ยนเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้เข้าร่วมและออกจากการวิจัย ต้องยื่นเรื่องขอการเปลี่ยนแปลง ตามแบบฟอร์ม สรุปว่าของเดิมเป็นอย่างไร เหตุผลในการเปลี่ยนคืออะไร ให้คณะกรรมการวิจัยฯ ตรวจดู เพื่อรับรองและให้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุงแก้ไขเพื่อรับรอง ปรับปรุงแก้ไขและนำเข้าพิจารณาใหม่ หรือไม่รับรอง ผู้วิจัยไม่ควรดำเนินการทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับรอง

          ๒. รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย (Progress report) เพื่อดูแล ติดตามความก้าวหน้าตลอดช่วงเวลาของการวิจัย การพิจารณาทบทวนการวิจัยควรทำอย่างน้อย ๑ ครั้งต่อปี ในการรายงานความก้าวหน้าของการวิจัย ผู้วิจัยควรยื่นบทสรุปสถานภาพการวิจัยเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการฯ ปีละครั้งหรือบ่อยกว่านี้หากคณะกรรมการฯ ต้องการ และผู้วิจัยควรส่ง สิ่งที่รายงานไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นเนื้อหาการวิจัยทั้งหมด แต่ควรรายงานให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลง หรือสามารถดำเนินการตามที่วางแผนไว้หรือไม่ เช่น จำนวนอาสาสมัครในโครงการที่ต้องการทั้งหมดเท่าไหร่ ที่รับเข้ามาในโครงการเท่าไหร่ ที่ถอนตัวออกจากโครงการเท่าไหร่ ที่อยู่ในระหว่างติดตามเท่าไหร่ หลังจากเสร็จสิ้นโครงการมีเท่าไหร่ การเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ มีการเปลี่ยนแปลงโครงร่างการวิจัยและเอกสารอื่นๆ ปัญหาที่เกิดขึ้น เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการวิจัย การทบทวนประธานและเลขาควรพิจารณาดูก่อน ถ้าไม่มีผลกระทบมาก การทบทวนก็เป็นเพียงแค่รับทราบ แต่ถ้ามีผลกระทบมากต้องนำเข้าคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาว่าจะรับรองหรือไม่ ซึ่งผลการพิจารณาอาจรับรองต่อเนื่อง กำหนดความถี่ของการส่งรายงานความก้าวหน้า หรือรับรองต่อเนื่อง กำหนดความถี่ของการส่งรายงานความก้าวหน้าแนะนำหรืออาจมีการตรวจเยี่ยมร่วมด้วย หรือไม่ต่ออายุการรับรอง

          ๓. รายงานความปลอดภัย (Safety report) ผู้วิจัยควรรายงานคณะกรรมการฯ ทันทีเมื่อเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาทั้งชนิดร้ายแรงและไม่คาดคิดมาก่อน มีข้อมูลใหม่ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของอาสาสมัคร ถ้าเป็นเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ชนิดร้ายแรงที่เกิดขึ้นในสถาบันผู้วิจัยจะเป็นผู้รายงาน แต่ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรงที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ในหรือนอกสถาบัน เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ชนิดร้ายแรงนอกสถาบัน ผู้ให้ทุนจะเป็นผู้รับผิดชอบในการรายงาน คณะกรรมการวิจัยในมนุษย์ และเจ้าของทุน เพื่อรับทราบ รับทราบและมีข้อเสนอแนะและขอข้อมูลเพิ่มเติม รับทราบและดำเนินการเยี่ยม ระงับการรับรองโครงการวิจัยชั่วคราว ถอนการรับรองโครงการวิจัย

          ๔. การรายงานการเบี่ยงเบนหรือไม่ปฏิบัติตามโครงร่างการวิจัยที่ได้รับการรับรอง (Protocol deviation/violation/non-compliance) ผู้วิจัยควรรายงานต่อคณะกรรมการฯ โดยทันทีเมื่อมีการดำเนินการที่เบี่ยงเบนจากโครงร่างการวิจัย หรือมีการเปลี่ยนแปลงโครงร่างการวิจัยเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นกับอาสาสมัคร มีการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มความเสี่ยงต่ออาสาสมัคร หรือกระทบต่อการดำเนินการวิจัยอย่างชัดเจน การเบี่ยงเบนหรือไม่ปฏิบัติตามอาจเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย ซึ่งไม่มีผลต่อความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของอาสามสมัคร ไม่เปลี่ยนแปลงความเสี่ยง ประโยชน์ของอาสาสมัคร ไม่มีผลต่อความถูกต้องน่าเชื่อถือของข้อมูล ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจ ไม่ขัดต่อจริยธรรมทางการแพทย์หรือการวิจัย เช่น เอกสารขอความยินยอมไม่ได้ลงนาม จำนวนอาสาสมัครเกิน อาสาสมัครมาผิดวันนัด  หรืออาจจะเป็นการเบี่ยงเบนหรือไม่ปฏิบัติตามที่เป็นเรื่องใหญ่ มีผลต่อความปลอดภัยและความเป็นอยู่ของอาสาสมัคร เพิ่มความเสี่ยง ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูล เกิดจากความตั้งใจ ขัดต่อจริยธรรมการแพทย์หรือการวิจัย เช่น ให้ยาผิด ไม่ขออนุญาต ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการวิจัย ถ้าเป็นเรื่องเล็กรายงานเพื่อรับทราบ ถ้าเป็นเรื่องใหญ่นำเข้าคณะกรรมการ เพื่อรับทราบ หรือรับทราบและมีข้อเสนอแนะ หรือรับทราบและดำเนินการตรวจเยี่ยม หรือระงับการรับรองโครงร่างการวิจัยชั่วคราว หรือถอนการรับรองโครงร่างวิจัย 

๕. รายงานผลสรุปการวิจัย (Final report) ไม่จำเป็นต้องส่งรายงานมาทั้งเล่ม เพียงแต่เขียนสรุปตามแบบฟอร์ม

๖. การรายงานการยุติโครงการวิจัยก่อนกำหนด (Premature termination or suspension of a trial) เพื่อให้คณะกรรมการฯ รับทราบ

๗. การรายงานเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับโครงการวิจัย (Complaint) คณะกรรมการฯ รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับโครงการวิจัย สืบสวนข้อเท็จจริงและหาข้อมูลเพิ่มเติม ให้ข้อเสนอแนะ นำเข้าที่ประชุม และแจ้งผู้วิจัยเรื่องข้อร้องเรียนและการดำเนินการ

                ๑.๑.๘ กระบวนการขอความยินยอม (Informed consent process)

               กระบวนการขอความยินยอม หมายถึง กระบวนการที่ยืนยันความสมัครใจของอาสาสมัครในการตัดสินใจเข้าร่วมในโครงการวิจัย ภายหลังจากที่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัยอย่างละเอียด วัตถุประสงค์ของการมี Informed consent เพื่อให้แน่ใจว่าอาสาสมัครเข้าใจ และตัดสินใจอย่างอิสระในการเข้าร่วมโครงการวิจัย

ก่อนทำการวิจัยผู้วิจัยควรปฏิบัติดังนี้

- ควรได้รับอนุมัติหรือเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ต่อเอกสารใบยินยอมและเอกสารอื่นๆ ที่ให้แก่อาสาสมัคร

- ควรทบทวนแก้ไขเอกสารใบยินยอมและเอกสารอื่นที่จะให้อาสาสมัครเมื่อมีข้อมูลใหม่ที่สำคัญเพิ่มเติม ซึ่งอาจมีผลต่อการให้ความยินยอมของอาสาสมัคร

- เอกสารใบยินยอมและเอกสารอื่นฉบับแก้ไขใดๆ ที่จะให้อาสาสมัครควรได้รับคำอนุมัติหรือเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ ก่อนนำไปใช้

- ผู้วิจัยรวมทั้งเจ้าหน้าที่ในโครงการวิจัยไม่ควรบังคับหรือล่อใจอย่างไม่เหมาะสมให้อาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัย หรือคงอยู่ในการวิจัยต่อไป

- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทั้งโดยวาจาและที่เป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งเอกสารใบยินยอม ไม่ควรระบุข้อความด้วยภาษาใดๆ ที่ทำให้อาสาสมัครหรือตัวแทนโดยชอบธรรมสละสิทธิ์หรือเหมือนว่าสละสิทธิ์ใดๆ

- ภาษาที่ใช้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัยทั้งด้วยวาจาและที่เป็นลายลักษณ์อักษรรวมทั้งเอกสารใบยินยอม ควรเป็นภาษาที่อาสามสมัครหรือผู้แทนโดยชอบธรรมและพยานที่ไม่มีส่วนได้เสียสามารถเข้าใจได้ง่าย และหลีกเลี่ยงศัพท์เทคนิคเท่าที่จะทำได้

- ผู้วิจัยหรือบุคคลที่ผู้วิจัยมอบหมายควรให้เวลาอาสาสมัครอย่างเพียงพอและให้โอกาสซักถาม รวมทั้งให้เวลาเพียงพอในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการวิจัย

- ก่อนเข้าร่วมการวิจัยอาสาสมัครควรลงนามและลงวันที่ด้วยตนเองในเอกสารใบยินยอม

- ในกรณีที่อาสาสมัครไม่สามารถอ่านหนังสือได้ ควรมีพยานที่ไม่มีส่วนได้เสียอยู่ตลอดที่มีการให้ข้อมูล พยานไม่มีส่วนได้เสียควรลงนามและลงวันที่ด้วยตนเอง

รายละเอียดของข้อมูลและคำอธิบาย ควรประกอบด้วย

- ระบุว่าเป็นโครงการวิจัย

- จุดมุ่งหมายของการวิจัย

- การรักษาที่ให้ในการวิจัยและโอกาสที่อาสาสมัครจะได้รับการรักษาอย่างใดอย่างหนึ่งตามวิธีการสุ่มเลือก

- วิธีดำเนินการวิจัย

- หน้าที่รับผิดชอบของอาสาสมัคร

- ส่วนของโครงการวิจัยที่เป็นการทดลอง

- ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น และความไม่สุขสบาย

- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับอย่างสมเหตุสมผล

- วิธีการดำเนินการหรือการรักษาที่เป็นทางเลือก

- ค่าชดเชย หรือการรักษาที่จะได้รับกรณีเกิดอันตรายอันเป็นผลจากการทำวิจัย

- ค่าตอบแทนกำหนดเป็นรายครั้ง (ไม่จ่ายครั้งสุดท้าย เนื่องจากเป็นการบังคับอาสาสมัครว่าต้องเข้าร่วมตลอดการวิจัย)

- ค่าใช้จ่าย

- ข้อความที่ระบุว่าการเข้าร่วมการวิจัยเป็นไปโดยสมัครใจ อาสาสมัครจะปฏิเสธการเข้าร่วมได้ทุกขณะโดยไม่มีความผิดหรือสูญเสียผลประโยชน์ที่พึงได้รับ

- ข้อความที่ระบุว่า ผู้ตรวจสอบการวิจัยจะได้รับอนุญาตให้ตรวจสอบเวชระเบียน โดยไม่ละเมิดสิทธิของอาสาสมัครในการรักษาความลับ

- ข้อความที่ระบุว่า ข้อมูลของอาสาสมัครจะได้รับการเก็บรักษาเป็นความลับ

- ข้อความที่ระบุว่าอาสาสมัครจะได้รับแจ้งให้ทราบข้อมูลในเวลาอันสมควร ซึ่งอาจมีผลต่อความสมัครใจของอาสาสมัครที่จะเข้าร่วมการวิจัยต่อไป

- บุคคลที่จะติดต่อเมื่อมีอันตราย ติดต่อได้ ๒๔ ชั่วโมง

- ระยะเวลาที่ต้องเข้าร่วมการวิจัย

- จำนวนอาสาสมัครที่เข้าร่วม

- ให้เอกสารแก่อาสาสมัคร ๑ ชุด หลังจากที่เซ็นชื่อแล้ว

ผู้ที่ขอ Informed consent ควรเป็นผู้ที่ได้รับการอบรมและมีความรู้อย่างดีเกี่ยวกับการทำวิจัย ต้องตอบคำถามได้อย่างแจ่มแจ้ง ไม่ควรมีความสัมพันธ์กับอาสามสมัคร เช่น แพทย์ไม่ควรไปขอความยินยอมจากคนไข้ของตนเอง ควรขอ Informed consent ก่อนเริ่มโครงการวิจัย หรือเมื่อมีข้อมูลใหม่ที่อาจมีผลต่อการตัดสินใจของอาสามสมัคร กระบวนการขอ Informed consent ต้องอยู่ในสถานที่ที่เงียบ สบาย ไม่เครียด ให้ข้อมูลครบถ้วน ให้เวลาอาสาสมัครในการตัดสินใจ ตอบคำถามทุกคำถามอย่างแจ่มแจ้ง ไม่รีบ ไม่บังคับ ไม่เสนอสินบน

                ๑.๑.๙ ประเด็นจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับสังคมพฤติกรรม (Ethical consideration in social science research)

               การวิจัยทางสังคมศาสตร์เป็นการศึกษาในเรื่องของทัศนคติ ความเชื่อ พฤติกรรมที่สามารถวัดได้ยาก ซึ่งเป็นได้ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ และมักเป็นงานวิจัยที่ทำในชุมชน คนส่วนใหญ่มักมองว่าน่าจะไม่มีความเสี่ยง แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เพราะการวิจัยบางอย่างอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น ไปทำให้สิ่งที่อยากลืม กลับมาทำร้ายจิตใจเขาอีกครั้ง หรือทำให้เสียเวลา วิธีการเก็บข้อมูลก็มีทั้งการสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การถ่ายรูป เก็บบันทึกข้อมูล เก็บข้อมูลทาง Line

กรอบในการพิจารณาประเด็นจริยธรรม ใช้หลักสำคัญ ๓ ประการ คือ การเคารพสิทธิส่วนบุคคล ประโยชน์ และความเท่าเทียม แต่จะเน้นมากในเรื่องของ การรักษาความลับ ความเป็นส่วนตัว

การพิจารณาประเด็นจริยธรรมต้องดูว่าการวิจัยนั้นมีคุณค่าหรือเปล่า ดูที่ขนาดของปัญหา สังคมสนใจหรือไม่ ความถูกต้องความน่าเชื่อถือของโครงการวิจัย ใช้วิธีการถูกต้องหรือไม่ ดูในเรื่องของการออกแบบ ขนาดของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล สถิติ ถ้าเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมักไม่ค่อยให้ความสำคัญมากนัก ระบุที่มาของอาสาสมัครได้อย่างสมเหตุสมผล ดูที่กระบวนการติดต่อ การรักษาความลับของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล การวิเคราะห์ในประเด็นประโยชน์และความเสี่ยง ต้องพูดถึงประโยชน์ที่เกิดกับอาสาสมัครก่อน แล้วค่อยพูดถึงประโยชน์ต่อสังคม ห้ามไปสัญญาถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ความเสี่ยงต้องไม่มาก ต้องไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ต่อเวลาของผู้ให้ข้อมูล งานวิจัยที่ทำในกลุ่มอ่อนแอเปราะบาง ที่สำคัญต้องเคารพในสิทธิของอาสาสมัคร คือการขอความยินยอมเนื่องจากกลุ่มนี้มีข้อจำกัดในความสามารถในการตัดสินใจ งานวิจัยที่ทำในกลุ่มเปราะบางควรเป็นงานวิจัยที่ได้องค์ความรู้เพื่อประโยชน์สำหรับกลุ่มเปราะบางเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถทำงานวิจัยดังกล่าวในกลุ่มอื่นๆ ได้

การขอ consent จะต้องขอกับตัวอาสาสมัคร ครอบครัว และผู้นำชุมชนในกรณีทำงานวิจัยในชุมชน ข้อมูลที่ต้องการจะต้องระบุว่าต้องการถึงระดับไหน จะมีการเปิดเผยข้อมูลได้หรือไม่ อย่างไร การปกปิดเพื่อให้ได้ข้อมูลหรือไม่ สำหรับการปกปิดข้อมูลจะทำได้ก็ต่อเมื่อ การวิจัยมีความเสี่ยงน้อยแต่มีคุณค่าสูง ไม่มีวิธีอื่นที่ทำให้ได้ผลถูกต้อง ทำไม่ได้หากเปิดเผยจะทำให้อาสาสมัครปฏิเสธการเข้าร่วม และได้รับรองจากคณะกรรมการวิจัย แต่หลังจากที่เสร็จการวิจัยจะต้องมีการขอโทษอาสาสมัครที่ได้ปิดบังข้อมูล ต้องมีการอธิบายเหตุผลในการทำวิจัย และต้องเคารพในการตัดสินใจที่จะปฏิเสธให้ใช้ข้อมูลของอาสาสมัครในการวิจัยด้วย

งานวิจัยที่เป็นแบบสอบถาม หากไม่มีกรณีเปราะบาง ไม่จำเป็นต้องตอบทุกคำถาม ไม่มีการระบุถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบ การตอบแบบสอบถามแล้วส่งกลับมายังผู้วิจัย อาจถือได้ว่าเป็นการยินยอมเข้าร่วมวิจัยแล้วโดยปริยาย แต่หากแบบสอบถามนั้นเป็นประเด็นอ่อนไหว เปราะบาง อาจทำให้เกิดความเครียดหรือความกังวลต่ออาสาสมัคร ก็ต้องมีการขอ consent แยกในจดหมายหรือเอกสารแจ้งอาสาสมัครก่อนล่วงหน้า

 

ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

ความรู้ที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานของตนเอง

       -ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน

  การวิจัยและการเป็นคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

       -ด้านการนำผลการพัฒนาไปใช้ประโยชน์

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

การเรียนการสอนวิชาวิจัย การวิจัย

 

 

  (9138)

สองทศวรรษสถาบันพระบรมราชชนก ตามรอยพระราชบิดา ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ

สองทศวรรษสถาบันพระบรมราชชนก ตามรอยพระราชบิดา ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :    12  มกราคม   2557

ผู้บันทึก :    นายอาทิตย์  ภูมิสวัสดิ์

กลุ่มงาน :  งานยุทธศาสตร์และแผนงาน

ฝ่าย :  ยุทธศาสตร์และบริหารคุณภาพ

ประเภทการปฏิบัติงาน:  ประชุม

วันที่      25 – 26   ธันวาคม    2556

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนนก

สถานที่จัด :  ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์  คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

เรื่อง : สองทศวรรษสถาบันพระบรมราชชนก ตามรอยพระราชบิดา ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ

รายละเอียด

 พระกรุณาธิคุณพระบรมราชชนกต่อการสาธารณสุขไทย

                        สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่๖๙ ในพระบาท สมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ ๗ ในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ปีเถาะ ขึ้น ๓ ค่ำ ทรงเข้าศึกษา ณ โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง และเข้าเรียนโรงเรียนนายร้อยชั้นประถมเมื่อพ.ศ.๒๔๔๗ หลังจากนั้นได้เสด็จไปศึกษาต่อในสหราชอาณาจักร และศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยในกรุงเบอร์ลิน เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๕ ทรงได้รับยศนายเรือตรีทั้งในกองทัพเรือแห่งเยอรมัน และแห่งราชนาวีสยาม ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ (ค.ศ.๑๙๑๔) สมเด็จพระบรมราชชนกทรงลาออกจากกองทัพเรือเยอรมัน เสด็จนิวัติกลับประเทศไทย เนื่องจากการอุบัติสงครามโลกครั้งที่ ๑ พระองค์ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงทหารเรือในตำแหน่งสำรองราชการ กรมเสนาธิการทหารเรือได้รับพระราชทานยศเป็นนายเรือโท

                          เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐ สมเด็จพระบรมราชชนกได้เสด็จเข้าศึกษาวิชาสาธารณสุขที่ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๘  สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงสำเร็จการศึกษา และได้รับประกาศนียบัตรการสาธารณสุข พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยและรับตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๖๖ ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๘   สมเด็จพระบรมราชชนกพร้อมพระชายาและพระธิดาเสด็จยุโรปเพื่อไปศึกษาเรื่องแพทย์ต่อ โดยได้ทรงเลือกวิชากุมารเวชศาสตร์ สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จถึงจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๒ ทรงประทับกับครอบครัวผู้อำนวยการโรงพยาบาลและทรงมีมหาดเล็กเพียงคนเดียว พระบรมราชชนกทรงมีความเอาใจใส่ในการรักษาประชาชนอย่างมาก ชาวเมืองเชียงใหม่จึงขนานพระนามของพระองค์ว่า หมอเจ้าฟ้า และเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๒ เวลา ๑๖.๔๕  น. พระบรมราชชนกก็ได้เสด็จทิวงคตด้วยโรคพระอาการบวมน้ำที่พระปับผาสะ(ปอด) พระชนมายุได้ ๓๘  พรรษา หลังจากทรงทนทรมานอยู่ได้ ๓  เดือนครึ่ง

การปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุขและนโยบายด้านกำลังคน

ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับประชากรในประเทศไทยมีหลายสาเหตุ ๕ สาเหตุแรกของการตายสูงสุด ได้แก่ โรคหัวใจ เบาหวาน มะเร็ง การบาดเจ็บ โรคเอดส์ รวมทั้งโรคไม่ติดต่ออื่นๆ พบปัญหาพัฒนาการไม่สมวัย สุขภาพในช่องปาก ปัญหาวัยเจริญพันธุ์กับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม รวมถึงการทำแท้ง สุขภาพวัยทำงานถูกคุกคามด้วยโรคเรื้อรัง ภัยคุกคามจากมลพิษและสารปนเปื้อน ภาวะโลกร้อน มลภาวะทางอากาศ ฝุ่นละออง ภัยอันตรายจากสิ่งปฏิกูล สารเคมีจากอุตสาหกรรมส่งผลกระทบสุขภาพชัดเจน นอกจากนี้ ในปี ๒๕๗๓ ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุอย่างเต็มตัว ขณะที่ประชากรที่เป็น วัยแรงงานและแข็งแรงจะค่อยๆ ลดลง ทั้งหมดนี้นำไปสู่ความเสี่ยงทางด้านงบประมาณในการจัดการดูแล รวมทั้งรับภาระทางการคลังในอนาคตที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว  

การจัดงบประมาณด้านสาธารณสุขแบบ “อัตราเหมาจ่ายรายหัว” ภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยอ้างอิงตามจำนวนประชากรที่อยู่ภายใต้การดูแล แม้จะมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนย้ายทรัพยากรด้าน สาธารณสุข ทั้งบุคลากร เตียง และวัสดุเครื่องมือต่างๆ ให้เกิดความเหมาะสมในการให้บริการตามความต้องการบริการ สาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันกลับพบว่า ความไม่สามารถในการปรับตัวของสถานพยาบาล รวมทั้งลักษณะเฉพาะของพื้นที่และประชากร เช่น สถานพยาบาลที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กันดารซึ่งมีประชากรอยู่น้อย ทำให้งบประมาณที่ได้รับน้อย แต่ขณะที่ต้นทุนในการดำเนินการขั้นต่ำค่อนข้างสูง ฯลฯ ทำให้สถานพยาบาลหลายแห่งเกิด ปัญหาด้านการเงินการคลัง นอกจากนี้ การกระจายทรัพยากรทางด้านสาธารณสุขที่แตกต่างกันระหว่างพื้นที่นั้น ส่งผลให้เกิดปัญหาประสิทธิภาพในการให้บริการ ทั้งหมด ล้วนเป็นประเด็นที่สำคัญที่ต้องพิจารณาเช่นเดียวกันภารกิจ วัตถุประสงค์ รวมทั้งกฎหมายกำหนดให้กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่หลัก ประกอบด้วย การกำหนด กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุข การบังคับใช้กฎหมาย และการจัดบริการสาธารณสุขโดยหน่วยบริการในสังกัด ดังนั้น การเสริมสร้างและสนับสนุนบทบาทของกระทรวงสาธารณสุขในด้านการเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ ให้มีความชัดเจนขึ้นนั้น จะช่วยทำให้การทำงานด้านสาธารณสุขในภาพรวมดีขึ้น โดยบทบาทดังกล่าวจะส่งผลกระทบ กับระบบสุขภาพในวงกว้าง โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้อย่างชัดเจน  จากแนวโน้มความรุนแรงของปัญหาดังกล่าว รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขในฐานะกลไกสำคัญของการแก้ไขปัญหา ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทย ให้เป็นระบบที่มั่นคงทั้งด้านการกำหนดนโยบาย การให้บริการ และความมั่นคงด้านการเงินการคลังของสถานพยาบาล ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่มีผลกระทบเชิงระบบในภาพรวมที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อการพัฒนาระบบสุขภาพให้ก้าวต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยเริ่มจากออกแบบโครงสร้างระบบ จากรากฐานปัญหา โครงสร้างระบบสาธารณสุขของประเทศไทยที่ควรจะเป็นควรมีลักษณะและผู้เกี่ยวข้องดังนี้ (ภายใต้หลักการการแยกบทบาทระหว่างผู้ให้บริการและผู้ซื้อบริการ รวมทั้งการแยกบทบาทการเป็นผู้กำหนดนโยบาย และการเป็นผู้ให้บริการออกจากกัน)

บทบาทที่ควรจะเป็นของ “กระทรวงสาธารณสุข”

บทสังเคราะห์ข้อเสนอบทบาทกระทรวงสาธารณสุขในศตวรรษที่ 21 โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นการระดมความเห็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ ได้ข้อสรุปว่า บทบาทหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขที่ครอบคลุมตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ นั้น ประกอบด้วย บทบาท ๔ ระบบย่อย อันได้แก่

1. บทบาทในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ

2. บทบาทในการพัฒนาระบบสร้างเสริมสุขภาพ

3. บทบาทในการพัฒนาระบบควบคุมและป้องกันโรค

4. บทบาทในการพัฒนาระบบยาและการคุ้มครองผู้บริโภค

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงการบริหารงานที่สอดคล้องกับระบบสุขภาพไทยในปัจจุบัน

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

การพัฒนาการบริหารงานที่สอดคล้องกับระบบสุขภาพไทยในอนาคต

  (519)