สองทศวรรษสถาบันพระบรมราชชนก ตามรอยพระราชบิดา ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ

สองทศวรรษสถาบันพระบรมราชชนก ตามรอยพระราชบิดา ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :  28  ธันวาคม  2556

 ผู้บันทึกนางสาวจามจุรี แซ่หลู่

กลุ่มงานกลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุและบริหารการพยาบาล

ฝ่ายวิชาการ

ประเภทการปฏิบัติงานประชุม

วันที่     26   ธันวาคม  2556

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนนก

สถานที่จัดโรงแรมมิราเคิล แกรนด์  คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

เรื่อง : สองทศวรรษสถาบันพระบรมราชชนก ตามรอยพระราชบิดา ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ


รายละเอียด

 

พระกรุณาธิคุณพระบรมราชชนกต่อการสาธารณสุขไทย

               สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๖๙ ในพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ ๗ ใน สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ปีเถาะ ขึ้น ๓ ค่ำ (ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๔ ตามปฏิทินเก่า ถ้านับตามปฏิทินสากลต้องเป็น พ.ศ. ๒๔๓๕) ในเบื้องต้น ทรงเข้าศึกษา ณ โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง และเข้าเรียนโรงเรียนนายร้อยชั้นประถม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ หลังจากนั้นได้เสด็จไปศึกษาต่อในสหราชอาณาจักร พร้อมด้วยนักเรียนทุนหลวงในสมัยนั้นหลายพระองค์และหลายคนด้วยกัน และเข้าศึกษาในโรงเรียน Harrow ในกรุงลอนดอน อังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ เข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมนายร้อยปรัสเซีย ในเมืองพอทสดัม ประเทศเยอรมนี ตามพระประสงค์ของพระราชบิดา และศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยในกรุงเบอร์ลิน แล้วทรงเข้าศึกษาวิชาทหารเรือมือร์วิคในเมืองเฟนส์บวก และทรงได้ออกแบบเรือดำน้ำประกวดจนได้รับรางวัลและเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ ทรงได้รับยศนายเรือตรีทั้งในกองทัพเรือแห่งเยอรมัน และแห่งราชนาวีสยาม

ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ (ค.ศ.๑๙๑๔) สมเด็จพระบรมราชชนกทรงลาออกจากกองทัพเรือเยอรมัน เสด็จนิวัติกลับประเทศไทย เนื่องจากการอุบัติสงครามโลกครั้งที่ ๑ พระองค์ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงทหารเรือในตำแหน่งสำรองราชการ กรมเสนาธิการทหารเรือได้รับพระราชทานยศเป็นนายเรือโท ตั้งแต่วันที่ ๒ เมษายน

พ.ศ.๒๔๕๘ หลังจากทรงศึกษาวิธีบริหารราชการจาก และระเบียบราชการทหารเรือ จากกรมเสนาธิการทหารเรือ ประมาณ ๔ เดือนแล้ว ก็ทรงย้ายไปรับตำแหน่งในกองอาจารย์นายเรือ แผนกตำรากรมยุทธศึกษาทหารเรือ

ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ (ค.ศ. ๑๙๑๖) สมเด็จกรมพระยาชัยนาทนเรนทร ผู้ทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองและ ผู้บัญชาการราชแพทยาลัย ทรงพิจารณาเห็นว่า โรงเรียนแพทย์อยู่ในฐานะล้าหลังมาก เมื่อเทียบกับโรงเรียนในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวิทยาศาสตร์ ดังนั้นทรงตกลงพระทัยที่จะปรับปรุงเป็นการใหญ่ แต่ก็ต้องประสบปัญหาว่าหาผู้ที่มีวิชามาเป็นอาจารย์ไม่ได้ จึงได้ทรงพยายามชักชวนผู้รู้มาร่วมงาน พร้อมทั้งได้ขอร้องให้กระทรวงธรรมการติดต่อกับมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ ให้ช่วยจัดอาจารย์ในวิชากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยาและศัลยกรรมมา หลังจากนั้นสมเด็จกรมพระยาชัยนาทนเรนทร ได้เสด็จเข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมราชชนก ให้ทรงหันมาสนพระทัยการแพทย์ และสาธารณสุข ที่พระองค์ทรงได้เคยศึกษามา โดยพระองค์ทรงออกอุบายเชิญสมเด็จพ่อเสด็จประทับเรือยนต์ประพาสทางน้ำ ไปตามคลองบางกอกใหญ่ คลองบางกอกน้อย พอถึงปากคลองบางกอกน้อย จึงทูลเชิญขอให้ทรงแวะที่ศิริราชพยาบาล และเมื่อพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นโรงคนไข้ ซึ่งเป็นเรือนไม้หลังคาจากมีที่ ไม่พอรับคนไข้ มีคนไข้นั่งรอนอนรออยู่ตามโคนไม้ และขาดแคลนอุปกรณ์ทางแพทย์ สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงทราบถึงความยากลำบากและขาดแคลนของ   ศิริราช ทรงสลดพระทัยเป็นอย่างยิ่ง กรมพระยาชัยนาทนเรนทรจึงกราบทูลวิงวอนให้สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงเข้ามาช่วยจัดการการศึกษาแพทย์ โดยมีสาเหตุดังนี้ เพราะสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ทรงเป็นเจ้าฟ้าชั้นสูง ถ้าทรงเข้ามาจัดการเรื่องนี้จะทำให้กิจการแพทย์เด่นขึ้น มีผู้โดยเสด็จช่วยเหลืองานมากขึ้น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ทรงมีรายได้สูงเพียงพอที่จะใช้ในการบำเพ็ญพระกุศลสาธารณะ ทรงเป็นเจ้าฟ้าที่มีพระปัญญาหลักแหลม มีความเพียรกล้า ทรงทำจริงไม่ย่อท้อ จะทำให้กิจการทางการแพทย์เจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว และในที่สุดพระองค์ก็ทรงตกลงพระทัยที่จะทรงช่วยในการปรับปรุงการแพทย์ของประเทศไทย โดยจะเสด็จไปทรงศึกษาวิชาเฉพาะ เพื่อจะให้งานได้ผลจริงๆ และได้ดี

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐ สมเด็จพระบรมราชชนกได้เสด็จเข้าศึกษาวิชาสาธารณสุขที่ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น พระองค์ทรงได้พระราชทานทุนให้แก่นักเรียนแพทย์ ไปศึกษาที่สหรัฐอเมริกาจำนวน ๒ ทุน ซึ่งทางโรงเรียนแพทย์ได้คัดเลือกออกมา ปรากฏว่าได้นักเรียนพยาบาลมา ๒ คน คือสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และนางลิปิธรรม ศรีพยัตต์ สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงดูแลเอาใจใส่นักเรียนทั้ง ๒ ของพระองค์อย่างดี ทั้งทรงแนะนำวิธีการดำเนินชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณีของต่างประเทศ และทรงรับสั่งเตือนสติเสมอว่า เงินที่ฉันได้ใช้ออกมาเรียนหรือให้พวกเธอออกมาเรียนนี้ไม่ใช่เงินของฉัน แต่เป็นเงินของราษฏรเขาจ้างให้ออกมาเรียน ฉะนั้นเธอต้องตั้งใจเรียนให้ดี ให้สำเร็จเพื่อจะได้กลับไปทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ และขอให้ประหยัดใช้เงิน เพื่อฉันจะได้มีเงินเหลือไว้ช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป ขณะทรงศึกษาวิชาสาธารณสุขชั้นปีที่ ๓ ที่สมเด็จพระบรมราชชนกได้เสด็จกลับมาร่วมงาน ถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวงเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ สมเด็จพระบรมราชชนกได้อภิเษกสมรสกับนางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี)

เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๔ สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงสำเร็จการศึกษา และได้รับประกาศนียบัตรการสาธารณสุข ดังนั้นพระองค์พร้อมพระชายาจึงเสด็จยุโรปประทับที่เมืองเอดินเบอร์กสก็อตแลนด์ ทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการเจรจากับมูลนิธิร็อกกี เฟลเลอร์ เกี่ยวกับการช่วยเหลือด้านการศึกษาวิชาแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งบรรลุผลสำเร็จให้กับรัฐบาลไทย ถึงแม้จะมีการเจรจากันหลายครั้งก็ตาม การเสด็จสหราชอาณาจักรครั้งนี้ทรงตั้งพระทัยจะศึกษาวิชาแพทย์ให้จบ แต่เนื่องจากมีอุปสรรคได้ประชวรด้วยโรคของพระวักกะ(ระบบไต) ประกอบกับที่อังกฤษมีอากาศชื้นและหนาวเย็น ไม่เหมาะกับโรค ดังนั้นพระบรมราชชนกจึงต้องเสด็จนิวัติกลับพระนคร เพราะมีพระราชโองการจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยและรับตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๖

          ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๘ สมเด็จพระบรมราชชนกพร้อมพระชายาและพระธิดาเสด็จยุโรป

เพื่อไปศึกษาเรื่องแพทย์ต่อ โดยได้ทรงเลือกวิชากุมารเวชศาสตร์ และพระองค์ก็ได้ทรงเสด็จกลับเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๑

สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จถึงจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ทรงประทับกับครอบครัวผู้อำนวยการโรงพยาบาลและทรงมีมหาดเล็กเพียงคนเดียว พระบรมราชชนกทรงมีความเอาใจใส่ในการรักษาประชาชนอย่างมาก ชาวเมืองเชียงใหม่จึงขนานพระนามของพระองค์ว่า หมอเจ้าฟ้า สมเด็จพระบรมราชชนกได้ประทับที่เมืองเชียงใหม่ประมาณ ๓ สัปดาห์ ก็ต้องเสด็จกลับกรุงเทพในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ เนื่องในพระราชพิธี ถวายพระเพลิง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชหลังจากนั้นทรงมีพระราชประสงค์จะเสด็จกลับไปเมืองเชียงใหม่ แต่ก็มิได้เป็นไปตามพระราชประสงค์ เนื่องจากทรงประชวรต้องประทับในพระตำหนักวังสระปทุม พร้อมด้วยพระมารดา โดยไม่ได้เสด็จออกจากวังอีกเลย และเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ เวลา ๑๖.๔๕ น. พระบรมราชชนกก็ได้เสด็จทิวงคตด้วยโรคพระอาการบวมน้ำที่พระปับผาสะ(ปอด) พระชนมายุได้ ๓๘ พรรษา หลังจากทรงทนทรมานอยู่ได้ ๓ เดือนครึ่ง

 

       ๑.๑.๒ การปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุขและนโยบายด้านกำลังคน

                ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับประชากรในประเทศไทยมีหลายสาเหตุ 5 สาเหตุแรกของการเจ็บป่วยที่คร่าชีวิตคนไทยสูงสุด ได้แก่ โรคหัวใจ เบาหวาน มะเร็ง การบาดเจ็บ โรคเอดส์ รวมทั้งโรคไม่ติดต่ออื่นๆ ส่วนปัญหาสุขภาพเด็ก พบปัญหาพัฒนาการไม่สมวัย สุขภาพในช่องปาก ปัญหาวัยเจริญพันธุ์กับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม รวมถึงการทำแท้ง สุขภาพวัยทำงานถูกคุกคามด้วยโรคเรื้อรัง ภัยคุกคามจากมลพิษและสารปนเปื้อน ภาวะโลกร้อน มลภาวะทางอากาศ ฝุ่นละออง ภัยอันตรายจากสิ่งปฏิกูล สารเคมีจากอุตสาหกรรมส่งผลกระทบสุขภาพชัดเจน นอกจากนี้ ในปี 2573 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุอย่างเต็มตัว ซึ่งผู้สูงอายุส่วนหนึ่งยังมีสุขภาพดีช่วยเหลือ ตนเองได้ แต่มากกว่าครึ่งมีโรคเรื้อรังประจำตัวและต้องได้รับบริการทางการแพทย์ แม้ว่าผู้สูงอายุที่ไม่มีความจำเป็น ต้องได้รับบริการทางการแพทย์ แต่ต้องพึ่งพาหรือต้องการการช่วยเหลือดูแลจากบุคคลอื่นอยู่ ขณะที่ประชากรที่เป็น วัยแรงงานและแข็งแรงจะค่อยๆ ลดลง ทั้งหมดนี้นำไปสู่ความเสี่ยงทางด้านงบประมาณในการจัดการดูแล รวมทั้งรับภาระทางการคลังในอนาคตที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว เช่น การล้มละลายของกองทุนประกันสังคม เป็นต้น  

การจัดงบประมาณด้านสาธารณสุขแบบ “อัตราเหมาจ่ายรายหัว” ภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยอ้างอิงตามจำนวนประชากรที่อยู่ภายใต้การดูแล แม้จะมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนย้ายทรัพยากรด้าน สาธารณสุข ทั้งบุคลากร เตียง และวัสดุเครื่องมือต่างๆ ให้เกิดความเหมาะสมในการให้บริการตามความต้องการบริการ สาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันกลับพบว่า ความไม่สามารถในการปรับตัวของสถานพยาบาล รวมทั้งลักษณะเฉพาะของพื้นที่และประชากร เช่น สถานพยาบาลที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กันดารซึ่งมีประชากรอยู่น้อย ทำให้งบประมาณที่ได้รับน้อย แต่ขณะที่ต้นทุนในการดำเนินการขั้นต่ำค่อนข้างสูง ฯลฯ ทำให้สถานพยาบาลหลายแห่งเกิด ปัญหาด้านการเงินการคลัง รายได้ของสถานพยาบาลไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่เกิดขึ้น หรือการลดลงจนถึงขั้นติดลบ ของเงินบำรุงสถานพยาบาล นอกจากนี้ การกระจายทรัพยากรทางด้านสาธารณสุขที่แตกต่างกันระหว่างพื้นที่นั้น ส่งผลให้เกิดปัญหาประสิทธิภาพในการให้บริการ และปัญหาด้านการเงินการคลังในสถานพยาบาลที่มีทรัพยากรน้อย และความ  จำกัดเฉพาะของพื้นที่ ทั้งนี้ยังเกิดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรสาธารณสุขในบางพื้นที่มากขึ้นด้วยจากความพยายามในการแก้ไขปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับกำลังคนด้านสาธารณสุขอย่างเช่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

ปัญหาเหล่านี้นำมาสู่หลากหลายคำถามเกี่ยวกับรูปแบบในการจัดสรรและบริหารงบประมาณ ตลอดจนการจัด ทรัพยากรสาธารณสุขอื่น ๆ เพื่อให้บริการได้อย่างเหมาะสม การบริหารกำลังคนที่ทำให้เกิดความเพียงพอในการให้ บริการในแต่ละพื้นที่ บุคลากรมีความพึงพอใจในการทำงานและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการวางแผน การลงทุนที่มีประสิทธิภาพที่ทำให้เกิดการรักษาความสามารถในการให้บริการ การสร้างสมดุลด้านการเงินการคลัง ของสถานพยาบาล ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านสุขภาพและการให้บริการด้านสาธารณสุขต่อไปในอนาคต ทั้งหมด ล้วนเป็นประเด็นที่สำคัญที่ต้องพิจารณาเช่นเดียวกัน

ภารกิจ วัตถุประสงค์ รวมทั้งกฎหมายกำหนดให้กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่หลัก ประกอบด้วย การกำหนด กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุข การบังคับใช้กฎหมาย และการจัดบริการสาธารณสุขโดยหน่วยบริการในสังกัด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา คือ บทบาทการเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ด้านสาธารณสุขของกระทรวงฯ ลดลง หรือน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับการดูแลงานบริการ ซึ่งบทบาทที่หายไปนี้ส่งผลอย่างสำคัญต่อระบบสุขภาพในภาพรวม ทั้งการควบคุม ส่งเสริม กำกับให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขให้บริการหรือดำเนินงานด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การเสริมสร้างและสนับสนุนบทบาทของกระทรวงสาธารณสุขในด้านการเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ ให้มีความชัดเจนขึ้นนั้น จะช่วยทำให้การทำงานด้านสาธารณสุขในภาพรวมดีขึ้น โดยบทบาทดังกล่าวจะส่งผลกระทบ กับระบบสุขภาพในวงกว้าง โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้อย่างชัดเจน

จากแนวโน้มความรุนแรงของปัญหาดังกล่าว รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขในฐานะกลไกสำคัญของการแก้ไขปัญหา ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทย ให้เป็นระบบที่มั่นคงทั้งด้านการกำหนดนโยบาย การให้บริการ และความมั่นคงด้านการเงินการคลังของสถานพยาบาล ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่มีผลกระทบเชิงระบบในภาพรวมที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อการพัฒนาระบบสุขภาพให้ก้าวต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยเริ่มจากออกแบบโครงสร้างระบบ จากรากฐานปัญหา โครงสร้างระบบสาธารณสุขของประเทศไทยที่ควรจะเป็นควรมีลักษณะและผู้เกี่ยวข้องดังนี้ (ภายใต้หลักการการแยกบทบาทระหว่างผู้ให้บริการและผู้ซื้อบริการ รวมทั้งการแยกบทบาทการเป็นผู้กำหนดนโยบาย และการเป็นผู้ให้บริการออกจากกัน)

1. หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการกำกับ ควบคุม ดูแลระบบและนโยบายสาธารณสุข (Regulatory Body หรือ National Health Authority) ได้แก่ กลไกซึ่งทำหน้าที่กลั่นกรองและกำหนดนโยบายสาธารณสุขระดับ ประเทศ ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขและองค์กรด้านสาธารณสุขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ กำหนดนโยบาย ด้านสาธารณสุขตามขอบเขตภาระหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์กร รวมทั้งกำหนดกฎระเบียบและ มาตรฐานที่ใช้ในการดำเนินการเพื่อการสาธารณสุขและระบบสุขภาพของประเทศ ตลอดจนดำเนินการ ตามขอบเขตหน้าที่ และควบคุมการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎระเบียบและมาตรฐานเหล่านั้น

2. หน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย (System Manager

หรือ Purchaser) หมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้บริโภค (ประชาชน) ในการทำให้เกิดบริการสุขภาพที่พึงปรารถนา ปัจจุบันมีอย่างน้อย 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เป็นผู้บริหารและดำเนินการกองทุนประกันสังคม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็น ผู้บริหารและดำเนินการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกรมบัญชีกลางเป็นผู้บริหารและดำเนินการ ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

3. หน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการรักษาพยาบาล (Service Providers หรือ NationalHospital

System Authority) ได้แก่ โรงพยาบาลและสถานพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ที่จะมี การแข่งขันในการให้บริการ และกำกับดูแลคุณภาพการให้บริการ โดยตัวชี้วัดต่างๆ เพื่อชักจูงให้มีการ พัฒนาการให้บริการให้ดีขึ้น

บทบาทที่ควรจะเป็นของ “กระทรวงสาธารณสุข”

บทสังเคราะห์ข้อเสนอบทบาทกระทรวงสาธารณสุขในศตวรรษที่ 21 โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เมื่อเดือนกันยายน 2554 ซึ่งเป็นการระดมความเห็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ ได้ข้อสรุปว่า บทบาทหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขที่ครอบคลุมตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 นั้น ประกอบด้วย บทบาท 4 ระบบย่อย อันได้แก่

1. บทบาทในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ

2. บทบาทในการพัฒนาระบบสร้างเสริมสุขภาพ

3. บทบาทในการพัฒนาระบบควบคุมและป้องกันโรค

4. บทบาทในการพัฒนาระบบยาและการคุ้มครองผู้บริโภค

จากบทบาทที่ควรจะเป็น “หน่วยงานด้านสุขภาพของประเทศ (National Health Authority: NHA) กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดการปรับเปลี่ยนการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข ที่ครอบคลุมบทบาทย่อยทั้ง 4 บทบาท ดังนี้

1. การกำหนดนโยบายยุทธศาสตร์กลางของประเทศบนข้อมูลและฐานความรู้

2. การสร้างและจัดการความรู้ด้านสุขภาพ

3. การประเมินนโยบายและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ

4. การกำหนดและรับรองมาตรฐานบริการต่าง ๆ

5. การพัฒนาระบบกลไกการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน

6. การพัฒนากลไกด้านกฎหมายเพื่อเป็นเครื่องมือในการดูแลสุขภาพประชาชน

7. การพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ

8. การกำกับดูแล ติดตาม และประเมินผลของภาครัฐ ท้องถิ่น และเอกชน

9. การให้ข้อคิดเห็นต่อระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพของประเทศ

10. การพัฒนาข้อมูลข่าวสารให้เป็นระบบเดียว มีคุณภาพ ใช้งานได้

11. การกำหนดนโยบาย และจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ

เพื่อให้เกิดการทำงานที่สอดคล้องกับบทบาทที่ควรจะเป็นของกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวมาข้างต้น ร่วมกับแนวคิดระบบสุขภาพที่ควรจะเป็น กระทรวงสาธารณสุขควรกำหนดการทำงานที่ประกอบด้วยกลไก องค์ประกอบ ตลอดจนแนวคิดการทำงานต่างๆ ดังนี้

กระทรวงสาธารณสุขส่วนกลาง ประกอบด้วย

1. “สำนักงานคณะกรรมการยุทธศาสตร์สาธารณสุข” หรือ Policy Office ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และเสนอนโยบายสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายและแผนการทำงานต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถทำหน้าที่กำกับ ดูแลระบบสาธารณสุขได้ โดยกลไกในการกำหนดนโยบายเหล่านี้จะอยู่ในรูปของคณะกรรมการ ซึ่งปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมีหน่วยงานและกลไกที่ทำหน้าที่ในการสนับสนุนการกำหนดนโยบายอยู่พอสมควร ทั้งที่มีลักษณะเป็นราชการ และองค์กรรูปแบบอื่นๆ ดังนั้นสิ่งที่ควรดำเนินการ มีดังนี้

ระยะสั้น: อาจเริ่มจากการปรับบทบาท และรูปแบบการทำงานของหน่วยงานเหล่านั้น รวมทั้งการจัดหา บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถจากหน่วยงานอื่น ๆ เพิ่มเติม

ระยะยาว: ควรมีการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรที่สอดคล้อง และพิจารณารูปแบบของกลไกที่เป็นทางการเพื่อ สนับสนุนการทำงานของกลไกนี้ในระยะยาว เช่น ระบบการบริหารจัดการที่มีความคล่องตัว เพื่อสามารถดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพเอาไว้ในระบบ เป็นต้น

2. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปรับบทบาทการทำงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินการของกระทรวงสาธารณสุขในภาพรวม เช่น การบริหารงาน ระหว่างประเทศ และงานด้านการบริหารกำลังคนในภาพรวม เป็นต้น เนื่องจากหากมีการแยกบทบาทผู้ให้บริการออกจากผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลระบบสาธารณสุข การให้สถานพยาบาลสังกัดกับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ก็อาจไม่เหมาะสม และควรนำไปสู่การกำหนดองคาพยพที่สามารถกำกับดูแลการทำงานได้อย่างเหมาะสมต่อไป

3. กรมวิชาการ ทำงานตามภารกิจในส่วนกลางตามกฎหมาย ทั้งในส่วนการให้ความเห็น คำแนะนำกลั่นกรอง และ กำหนดนโยบาย รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม บทบาทเหล่านี้จะมีการปรับการทำงานให้สอดคล้องตามบทบาทที่พึงประสงค์ของกระทรวงสาธารณสุขตามขอบเขตความรับผิดชอบของแต่ละ หน่วยงาน อย่างไรก็ตาม เพื่อทำให้การทำงานในส่วนภูมิภาคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ กรมวิชาการ สามารถจัดสรรบุคลากร และทรัพยากรไปปฏิบัติหน้าที่ในภูมิภาค โดยทำงานร่วมกับองคาพยพในการบริหารส่วน ภูมิภาค ภายใต้การกำกับตัวชี้วัด และเป้าหมายการทำงานของหน่วยงานต้นสังกัดและของกระทรวงสาธารณสุข

4. กลไกเชื่อมโยงการทำงานและนโยบายของส่วนกลางไปสู่ภูมิภาคเพื่อให้การเชื่อมโยงระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเป็นไปอย่างมีระบบ และเกิดการแยกบทบาทระหว่างการ เป็นผู้กำหนดนโยบาย และการกำกับดูแล ออกจากการเป็นผู้ให้บริการ กลไกที่จะสามารถประสานการทำงาน ระหว่างส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคได้อย่างรวดเร็ว คือ สำนักบริหารการสาธารณสุข (สบรส.) และกรมสนับสนุน บริการสุขภาพ (สบส.) โดยการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานทั้งสองเข้าด้วยกัน เพื่อทำหน้าที่ประสานและ ส่งต่อนโยบายสาธารณสุขที่ครอบคลุมบทบาทย่อยทั้ง 4 ของกระทรวงสาธารณสุขให้ไปดำเนินการภายในพื้นที่อย่าง มีประสิทธิภาพ กำหนดกรอบแนวทาง กติกาในการดำเนินงานภายในพื้นที่ที่เป็นมาตรฐาน ได้แก่

• กำหนดกรอบแผนงาน และยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานของพื้นที่

• กำหนดระเบียบหรือหลักเกณฑ์ในการบริหารงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเพื่อดำเนินการภายในพื้นที

ซึ่งแตกต่างกันตามประเภทของงบประมาณที่ได้รับจัดสรร

• กำหนดกฎระเบียบมาตรฐานที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลภายในพื้นที่

• กำหนดกรอบการประเมินผลการทำงานของพื้นที่และทำหน้าที่ในการประเมินผล โดยต้องกำหนดตัวชี้วัด ผลสัมฤทธิ์เพื่อการปฏิบัติงานในพื้นที่ให้บรรลุตามเป้าหมายนโยบายในระดับประเทศ

กระทรวงสาธารณสุขส่วนภูมิภาค

ในการระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทที่ควรจะเป็นของกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า การทำงานในส่วนภูมิภาคควรมีโครงสร้างการบริหารแบบ “เขตสุขภาพ” (Area Health) หรือการจัดระบบสุขภาพระดับพื้นที่ (Locality Level) โดย

• มีการกำหนดพื้นที่และประชากรรับผิดชอบที่ชัดเจน

• มีกิจกรรมการซื้อและจัดบริการสุขภาพ ที่ตอบสนองต่อความต้องการที่จำเป็นของประชากรในพื้นที่

• มีบริการที่เหมาะสมและผสมผสานทั้งด้านบริการสุขภาพส่วนบุคคล บริการในโรงพยาบาล และบริการสังคม

ในปี 2555 กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดกรอบการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในรูปแบบเครือข่ายบริการ ภายใต้หลักการ “เครือข่ายบริการที่ไร้รอยต่อ” ที่เชื่อมโยงบริการทุกระดับเข้าด้วยกัน ประกอบด้วยการทำงานในพื้นที่ 4-8 จังหวัด มีจำนวนประชากรเฉลี่ยในความดูแลประมาณ 5 ล้านคน รวมการจัดเป็นเครือข่ายบริการได้จำนวน 12 เครือข่าย (ไม่รวมพื้นที่กรุงเทพมหานคร) นำไปสู่การกำหนดเขตพื้นที่ตรวจราชการใหม่ ที่จำนวนประชากร เฉลี่ยของแต่ละพื้นที่มีขนาดที่ใกล้เคียงกันและเชื่อมโยงหลายจังหวัดเข้ามาร่วมกัน ทำให้ทรัพยากรมีการกระจายตัวที่ไล่เลี่ยกัน ซึ่งช่วยลดปัญหาการจัดสรรทรัพยากร และสามารถแก้ไขปัญหาด้านการเงินการคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสอดคล้องกับการจัดเขตบริการสุขภาพที่กำหนดโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งถือว่า เป็นการพัฒนาในส่วนของผู้จัดบริการ (Service Provider) ร่วมด้วย

องค์ประกอบของเขตสุขภาพ

1. กลไกในการบริหารเขตสุขภาพ ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย กำกับดูแล ติดตามและประเมินผล

ภายในเขตสุขภาพ โดยอาจอยู่ในรูปของคณะกรรมการบริหารเขตสุขภาพ ที่มีส่วนประกอบของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งนี้มีการ สนับสนุนทางด้านวิชาการและนโยบายจากหน่วยงานวิชาการ และกระทรวงสาธารณสุข

2. กลไกในการจัดบริการ กลไกการทำงานร่วมของหน่วยบริการทั้งหมดที่อยู่ภายในเขตสุขภาพ เพื่อให้

เกิดการใช้ทรัพยากรทางด้านสาธารณสุข และทางด้านการแพทย์ภายในพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

3. กลไกในการซื้อบริการ กลไกการซื้อบริการสาธารณสุขโดยหน่วยงานต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้แทน

ในการจัดหาบริการสาธารณสุข ตามความต้องการของประชาชนในเขตสุขภาพ ซึ่งในปัจจุบัน กลไกเหล่านี้ ประกอบด้วย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม กรมบัญชีกลาง และระบบความคุ้มครองทาง ด้านสุขภาพอื่น ๆ

4. กลไกในการติดตามและประเมินผล เพื่อให้การทำงานของเขตสุขภาพสอดคล้องกับการทำงาน

ตามเป้าหมายนโยบายสาธารณสุขในภาพรวม ของประเทศด้วย จึงควรมีกลไกจากภายนอกเขตสุขภาพ เพื่อทำการติดตามประเมินผลความสามารถ ในการจัดการเขตสุขภาพจากภายนอก โดยกระทรวงสาธารณสุขส่วนกลาง

บทบาทของเขตสุขภาพ บทบาทในระยะสั้น ควรมีการทำงานใน 2 บทบาท ดังต่อไปนี้

1. การพัฒนากลไกในการบริหารเขตสุขภาพ หรือการเป็นผู้กำหนดนโยบายและดูแลของเขต โดยควร

มีการ ปรับการทำงานของคณะกรรมการประสานการพัฒนางานสาธารณสุขระดับเขต: คปสข. (ภายใต้คำสั่ง กระทรวงสาธารณสุขที่ 209/2555 เรื่อง การบริหารจัดการเครือข่ายบริการสุขภาพ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555) ที่เป็นกลไกบริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพ ให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ดังนี้

• การกำหนดแผนดำเนินงานด้านสาธารณสุขของเขตสุขภาพ ซึ่งอ้างอิงกับนโยบาย และเป้าหมาย

ใน การพัฒนาด้านสาธารณสุขของประเทศและกระทรวงสาธารณสุข โดยถ่ายทอดเป้าหมายตัวชี้วัดจาก ส่วนกลางสู่การแปลงเป็นแผนดำเนินงานของเขตสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมจากฝ่ายต่างๆ โดย แผนมีความครอบคลุมบทบาทย่อยทั้งสี่ที่พึงประสงค์ของกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่ นำไปสู่การ พัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชากรในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

• การกำหนดแผนการจัดสรรทรัพยากรทางด้านสาธารณสุข ซึ่งครอบคลุมทั้งบุคลากรและ

ทรัพยากร ทางด้านสาธารณสุขอื่นๆ ที่เกิดความเหมาะสม ในการจัดบริการและการทำงานด้านสาธารณสุข ในเขตสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • การแก้ไขปัญหาการเงินการคลังภายในเขตสุขภาพ

     • การกำกับดูแล และประเมินผลภายใน เพื่อให้การทำงานในเขตสุขภาพสามารถบรรลุเป้าหมายการ พัฒนาในภาพรวม

2. การทำงานในส่วนของการเป็นผู้ให้บริการ จากกลไกดังกล่าวข้างต้น เป็นการเริ่มพัฒนาการจัดบริการ

ในพื้นที่ ซึ่งมีความครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ โดยในระยะยาวต้องขยายความครอบคลุมออกไปสู่หน่วยบริการ อื่น ๆ นอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้เกิดเครือข่ายการให้บริการอย่างแท้จริงต่อไป

นอกจากนี้ ในอนาคต เมื่อมีการขยายความครอบคลุมของเครือข่ายการให้บริการภายในเขตสุขภาพให้ มีความครอบคลุมผู้ให้บริการทั้งหมด และเกิดประสิทธิภาพในการทำงานที่น่าพึงพอใจแล้ว กลไก (ในส่วน คปสข.) นี้ควรแยกออกไปทำงานอย่างอิสระ เพื่อให้เกิดการแยกส่วนการทำงานระหว่างผู้กำหนดนโยบาย และผู้ให้บริการที่ชัดเจนขึ้น

หัวใจสำคัญของการปฏิรูปบทบาทกระทรวงสาธารณสุขครั้งนี้ ภายใต้แนวคิดเรื่องเขตสุขภาพคือการเปลี่ยนแปลงบนฐานความรู้ ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างมีทิศทาง และส่งผลให้เกิดการปฏิรูประบบสุขภาพที่มั่นคง และยั่งยืนต่อไป เป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง ย่อมไม่มีสิ่งใดสำคัญไปกว่า “ประโยชน์ของประชาชน” ไม่ว่าจะเป็น การได้รับ บริการที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการบริการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ที่จะทำให้ประชาชนสุขภาพดี ไม่มีโรค ประหยัดเงินค่าใช้ จ่ายเพื่อสุขภาพ หรือในกรณีที่เจ็บป่วย หากต้องมาโรงพยาบาลก็จะได้รับการบริการที่ดี ทั้งหมอดี ยาดี เครื่องมือดี รวมถึงถ้าป่วยหนัก โรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา ไม่สามารถรักษาได้ ก็จะถูกส่งต่อเพื่อการรักษาที่ดีที่สุด พร้อมมี ความสะดวกและคล่องตัวมากขึ้น

 

 

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

  การบริหารการจัดการเรียนการสอนให้ผลผลิตคือนักศึกษาพยาบาล เป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีคุณภาพต่อไป

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

การเรียนการสอนและการพัฒนาอัตลักษณ์ของนักศึกษา

 

 

 

 

 

  (495)

Comments are closed.