แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้
วันที่บันทึก : 27 ธันวาคม 2556
ผู้บันทึก : นางปิยรัตน์ จีนาพันธุ์
กลุ่มงาน : งานทะเบียน วัดและประเมินผล
ฝ่าย : กิจการนักศึกษา
ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม
วันที่ 26 ธันวาคม 2556
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก
สถานที่จัด : ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพ
เรื่อง : การประชุมวิชาการสองทศวรรษสถาบันพระบรมราชชนก ตามรอยพระราชบิดา ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุข
รายละเอียด
ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา ครั้งนี้
๑. พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 69 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 7 ในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ปีเถาะ ขึ้น 3 ค่ำ ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2434 ในพระบรมมหาราชวัง ได้รับพระราชทานพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชฯ”
ทรง อภิเษกสมรสกับ นางสาวสังวาลย์ ตะละภัฎ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2463 ณ วังสระปทุม ทรงมี พระราชโอรส และพระราชธิดา ๓ พระองค์ คือ
- สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
- พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
- พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระราชกรณียกิจสำคัญของสมเด็จพระบรมราชชนก
การปรับปรุงการศึกษาแพทย์ การศึกษาพยาบาล และการปรับปรุงโรงพยาบาลศิริราช
โดยทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลสยาม ทำความตกลงกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเล่อร์ ในการปรับปรุงการศึกษาแพทย์ของประเทศสยาม
การปรับปรุงการสาธารณสุข โดยทรงร่วมในการพิจารณาพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. 2466 โดยทรงแก้ไขข้อขัดข้อง และความขัดแย้งต่างๆ จนลุล่วงไปด้วยดี ทำให้กฎหมายฉบับนี้ ซึ่งเป็นกฎหมายการแพทย์ฉบับแรก
๒. การผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ
สถาบันพระบรมราชชนก ก่อตั้งจากการรวมองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการพัฒนากำลังคนด้าน สาธารณสุข ในหน่วยงานต่างๆที่กระจายอยู่ในหลายกรม กอง เข้าด้วยกัน ด้วยเหตุผลที่ว่า งานพัฒนากำลังคนอยู่ในความรับผิดชอบของกรมกองต่างๆ ไม่มีเอกภาพในการกำหนดนโยบายการวางแผนการดำเนินงาน ประกอบกับด้านการผลิตขาดความเป็นเอกภาพ ดังนั้น ในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ ได้มีพระราชกฤษฏีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้จัดตั้งเป็น สถาบันพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุข ดูแลงานด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ จึงได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระมหิตราธิเบศร อดุยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นชื่อสถาบันว่า “สถาบันพระบรมราชชนก” สถาบันพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุขจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “สถาบันพระบรมราชชนก”
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ
(349)