สองทศวรรษสถาบันพระบรมราชชนก ตามรอยพระราชบิดา ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ

สองทศวรรษสถาบันพระบรมราชชนก ตามรอยพระราชบิดา ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :    12  มกราคม   2557

ผู้บันทึก :    นายอาทิตย์  ภูมิสวัสดิ์

กลุ่มงาน :  งานยุทธศาสตร์และแผนงาน

ฝ่าย :  ยุทธศาสตร์และบริหารคุณภาพ

ประเภทการปฏิบัติงาน:  ประชุม

วันที่      25 – 26   ธันวาคม    2556

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนนก

สถานที่จัด :  ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์  คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

เรื่อง : สองทศวรรษสถาบันพระบรมราชชนก ตามรอยพระราชบิดา ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ

รายละเอียด

 พระกรุณาธิคุณพระบรมราชชนกต่อการสาธารณสุขไทย

                        สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่๖๙ ในพระบาท สมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ ๗ ในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ปีเถาะ ขึ้น ๓ ค่ำ ทรงเข้าศึกษา ณ โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง และเข้าเรียนโรงเรียนนายร้อยชั้นประถมเมื่อพ.ศ.๒๔๔๗ หลังจากนั้นได้เสด็จไปศึกษาต่อในสหราชอาณาจักร และศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยในกรุงเบอร์ลิน เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๕ ทรงได้รับยศนายเรือตรีทั้งในกองทัพเรือแห่งเยอรมัน และแห่งราชนาวีสยาม ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ (ค.ศ.๑๙๑๔) สมเด็จพระบรมราชชนกทรงลาออกจากกองทัพเรือเยอรมัน เสด็จนิวัติกลับประเทศไทย เนื่องจากการอุบัติสงครามโลกครั้งที่ ๑ พระองค์ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงทหารเรือในตำแหน่งสำรองราชการ กรมเสนาธิการทหารเรือได้รับพระราชทานยศเป็นนายเรือโท

                          เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐ สมเด็จพระบรมราชชนกได้เสด็จเข้าศึกษาวิชาสาธารณสุขที่ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๘  สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงสำเร็จการศึกษา และได้รับประกาศนียบัตรการสาธารณสุข พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยและรับตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๖๖ ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๘   สมเด็จพระบรมราชชนกพร้อมพระชายาและพระธิดาเสด็จยุโรปเพื่อไปศึกษาเรื่องแพทย์ต่อ โดยได้ทรงเลือกวิชากุมารเวชศาสตร์ สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จถึงจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๒ ทรงประทับกับครอบครัวผู้อำนวยการโรงพยาบาลและทรงมีมหาดเล็กเพียงคนเดียว พระบรมราชชนกทรงมีความเอาใจใส่ในการรักษาประชาชนอย่างมาก ชาวเมืองเชียงใหม่จึงขนานพระนามของพระองค์ว่า หมอเจ้าฟ้า และเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๒ เวลา ๑๖.๔๕  น. พระบรมราชชนกก็ได้เสด็จทิวงคตด้วยโรคพระอาการบวมน้ำที่พระปับผาสะ(ปอด) พระชนมายุได้ ๓๘  พรรษา หลังจากทรงทนทรมานอยู่ได้ ๓  เดือนครึ่ง

การปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุขและนโยบายด้านกำลังคน

ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับประชากรในประเทศไทยมีหลายสาเหตุ ๕ สาเหตุแรกของการตายสูงสุด ได้แก่ โรคหัวใจ เบาหวาน มะเร็ง การบาดเจ็บ โรคเอดส์ รวมทั้งโรคไม่ติดต่ออื่นๆ พบปัญหาพัฒนาการไม่สมวัย สุขภาพในช่องปาก ปัญหาวัยเจริญพันธุ์กับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม รวมถึงการทำแท้ง สุขภาพวัยทำงานถูกคุกคามด้วยโรคเรื้อรัง ภัยคุกคามจากมลพิษและสารปนเปื้อน ภาวะโลกร้อน มลภาวะทางอากาศ ฝุ่นละออง ภัยอันตรายจากสิ่งปฏิกูล สารเคมีจากอุตสาหกรรมส่งผลกระทบสุขภาพชัดเจน นอกจากนี้ ในปี ๒๕๗๓ ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุอย่างเต็มตัว ขณะที่ประชากรที่เป็น วัยแรงงานและแข็งแรงจะค่อยๆ ลดลง ทั้งหมดนี้นำไปสู่ความเสี่ยงทางด้านงบประมาณในการจัดการดูแล รวมทั้งรับภาระทางการคลังในอนาคตที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว  

การจัดงบประมาณด้านสาธารณสุขแบบ “อัตราเหมาจ่ายรายหัว” ภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยอ้างอิงตามจำนวนประชากรที่อยู่ภายใต้การดูแล แม้จะมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนย้ายทรัพยากรด้าน สาธารณสุข ทั้งบุคลากร เตียง และวัสดุเครื่องมือต่างๆ ให้เกิดความเหมาะสมในการให้บริการตามความต้องการบริการ สาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันกลับพบว่า ความไม่สามารถในการปรับตัวของสถานพยาบาล รวมทั้งลักษณะเฉพาะของพื้นที่และประชากร เช่น สถานพยาบาลที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กันดารซึ่งมีประชากรอยู่น้อย ทำให้งบประมาณที่ได้รับน้อย แต่ขณะที่ต้นทุนในการดำเนินการขั้นต่ำค่อนข้างสูง ฯลฯ ทำให้สถานพยาบาลหลายแห่งเกิด ปัญหาด้านการเงินการคลัง นอกจากนี้ การกระจายทรัพยากรทางด้านสาธารณสุขที่แตกต่างกันระหว่างพื้นที่นั้น ส่งผลให้เกิดปัญหาประสิทธิภาพในการให้บริการ ทั้งหมด ล้วนเป็นประเด็นที่สำคัญที่ต้องพิจารณาเช่นเดียวกันภารกิจ วัตถุประสงค์ รวมทั้งกฎหมายกำหนดให้กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่หลัก ประกอบด้วย การกำหนด กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุข การบังคับใช้กฎหมาย และการจัดบริการสาธารณสุขโดยหน่วยบริการในสังกัด ดังนั้น การเสริมสร้างและสนับสนุนบทบาทของกระทรวงสาธารณสุขในด้านการเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ ให้มีความชัดเจนขึ้นนั้น จะช่วยทำให้การทำงานด้านสาธารณสุขในภาพรวมดีขึ้น โดยบทบาทดังกล่าวจะส่งผลกระทบ กับระบบสุขภาพในวงกว้าง โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้อย่างชัดเจน  จากแนวโน้มความรุนแรงของปัญหาดังกล่าว รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขในฐานะกลไกสำคัญของการแก้ไขปัญหา ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทย ให้เป็นระบบที่มั่นคงทั้งด้านการกำหนดนโยบาย การให้บริการ และความมั่นคงด้านการเงินการคลังของสถานพยาบาล ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่มีผลกระทบเชิงระบบในภาพรวมที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อการพัฒนาระบบสุขภาพให้ก้าวต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยเริ่มจากออกแบบโครงสร้างระบบ จากรากฐานปัญหา โครงสร้างระบบสาธารณสุขของประเทศไทยที่ควรจะเป็นควรมีลักษณะและผู้เกี่ยวข้องดังนี้ (ภายใต้หลักการการแยกบทบาทระหว่างผู้ให้บริการและผู้ซื้อบริการ รวมทั้งการแยกบทบาทการเป็นผู้กำหนดนโยบาย และการเป็นผู้ให้บริการออกจากกัน)

บทบาทที่ควรจะเป็นของ “กระทรวงสาธารณสุข”

บทสังเคราะห์ข้อเสนอบทบาทกระทรวงสาธารณสุขในศตวรรษที่ 21 โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นการระดมความเห็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ ได้ข้อสรุปว่า บทบาทหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขที่ครอบคลุมตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ นั้น ประกอบด้วย บทบาท ๔ ระบบย่อย อันได้แก่

1. บทบาทในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ

2. บทบาทในการพัฒนาระบบสร้างเสริมสุขภาพ

3. บทบาทในการพัฒนาระบบควบคุมและป้องกันโรค

4. บทบาทในการพัฒนาระบบยาและการคุ้มครองผู้บริโภค

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงการบริหารงานที่สอดคล้องกับระบบสุขภาพไทยในปัจจุบัน

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

การพัฒนาการบริหารงานที่สอดคล้องกับระบบสุขภาพไทยในอนาคต

  (520)

Comments are closed.