การศึกษาดูงานการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งจังหวัดสุราษฎร์ธานี

การศึกษาดูงานการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งจังหวัดสุราษฎร์ธานี

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

วันที่บันทึก : 9  มีนาคม 2557

ผู้บันทึก :นางวันดี  แก้วแสงอ่อน

กลุ่มงาน :กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุและบริหารการพยาบาล

ฝ่าย :วิชาการ

ประเภทการปฏิบัติงาน (เช่น ประชุม อบรม ฯลฯ) :การศึกษาดูงานและรับฟังบรรยายพิเศษ

วันที่   17 กุมภาพันธ์ 2557

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

สถานที่จัด :โรงพยาบาลมะเร็งจังหวัดสุราษฎร์ธานี

เรื่อง : การศึกษาดูงานการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งจังหวัดสุราษฎร์ธานี

รายละเอียด

โรงพยาบาลมะเร็งจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีหลักเกณฑ์การรับผู้ป่วยดังนี้ 1. ผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกชนิด เพื่อการผ่าตัด การฉายแสง และ การให้เคมีบำบัด 2. ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่รักษาแบบประคับประคอง โดยเปิดให้บริการทั้งผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน งานผู้ป่วยนอกแบ่งเป็น 3 งาน คือ1) ผู้ป่วยนอกทั่วไป 2) ผู้ป่วยนอกรังสีรักษา และ3) ผู้ป่วยนอกเคมีบำบัด ส่วนงานผู้ป่วยใน มี 3 หอผู้ป่วย คือ หอผู้ป่วยสามัญหญิง ชาย และหอผู้ป่วยพิเศษ นอกจากนี้มีคลินิกพิเศษ ได้แก่ 1)คลินิกศัลยกรรมและเต้านม บริการสอบถามประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัว,ความผิดปกติ ตรวจเต้านมโดยแพทย์ ให้คำแนะนำตรวจเต้านมด้วยตนเอง ตรวจแมมโมแกรมและอุลตราซาว์ดเต้านม เจาะน้ำจากก้อนที่เต้านมส่งตรวจเซลล์มะเร็ง และ ผ่าตัดก้อนที่เต้านมส่งตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา 2)คลินิกนรีเวช บริการสอบถามประวัติการตั้งครรภ์ การคลอด การคุมกำเนิด ตรวจภายใน ตรวจมะเร็งปากมดลูก ส่องกล้องดูปากมดลูกและตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ตัดปากมดลูกด้วยขดลวดไฟฟ้า การให้บริการของศูนย์ในแผนกอื่นๆที่สำคัญ ได้แก่ การให้บริการของแผนกรังสีรักษา ในกิจกรรมดังนี้ 1) ตรวจรักษา พยาบาล ผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาด้วยรังสีรักษา ผู้ป่วยฉายแสง ผู้ป่วยใส่แร่ 2)ให้คำแนะนำ ปรึกษาด้านรังสีรักษา เปิดบริการ วันจันทร์-ศุกร์ 8.00-16.00 น. การให้บริการแผนกเคมีบำบัด ในกิจกรรมดังนี้ 1. ตรวจรักษา ผู้ป่วยมะเร็งที่ให้ยาเคมีบำบัด 2.การบริการให้ยาเคมีบำบัดแบบไป-กลับ 3.ให้คำแนะนำปรึกษาด้านเคมีบำบัด เปิดบริการวันจันทร์,พฤหัส 8.00-16.00น. วันศุกร์ เวลา 8.00-12.00น. ขั้นตอนการให้บริการของศูนย์มะเร็งจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีดังนี้ 1)ผู้ป่วยใหม่กรอกประวัติในแบบฟอร์มยื่นที่ห้องบัตร 2)ผู้ป่วยเก่ายื่นบัตรประจำตัวผู้ป่วยเพื่อค้นแฟ้มประวัติที่ห้องบัตร 3)นั่งรอเรียกชื่อหน้าห้องตรวจโรคเพื่อรับการซักประวัติ 4)ซักประวัติ ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน เปลี่ยนเสื้อผ้า กรณีตรวจสุขภาพรับคำแนะนำตรวจสุขภาพ รับใบรายการตรวจนำไปจ่ายเงินค่าตรวจ และไปตรวจเลือด ,เอ็กซเรย์, ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แล้วมาพบแพทย์ตรวจร่างกาย ถ้าไม่มีการตรวจเพิ่มเติมก็กลับบ้าน รอผลการตรวจทางไปรษณีย์ กรณีที่ตรวจทั่วไป คลินิกพิเศษ นั่งรอเรียกชื่อเข้าห้องตรวจ(พบแพทย์) และถ้าแพทย์ต้องการให้ตรวจเพิ่มเติม รับใบรายการตรวจ จ่ายเงินค่าตรวจ และไปตรวจที่แผนกต่างๆ แล้วกลับมาพบแพทย์เพื่อสรุป วินิจฉัย รับใบสั่งยา รับยากลับบ้าน การใช้สิทธิในการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยที่มีสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) จะต้องมีใบส่งตัว(ใบสีชมพู-เหลือง) และมีการรับรองสิทธิจากต้นสังกัด จึงจะใช้สิทธิการรักษาพยาบาลได้ โดยต้องผ่านการตรวจสอบสิทธิจากแผนกสังคมสงเคราะห์ของศูนย์มะเร็งฯ ผู้ป่วยที่เป็นข้าราชการที่จะใช้สิทธิจ่ายตรง จะต้องลงทะเบียนที่ศูนย์มะเร็งอย่างน้อย 15 วันจึงจะใช้สิทธิได้

ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

เกรดและระยะของโรคมะเร็ง

การระบุเกรดและระยะของโรคจะบอกถึงระดับความรุนแรงของโรคมะเร็ง ดังนี้

เกรด X ไม่สามารถระบุเกรดได้

เกรด 1 เซลล์มะเร็งทำหน้าที่คล้ายเนื้อเยื่อปกติที่เป็นต้นกำเนิดมาก (well-differentiated)

เกรด 2 เซลล์มะเร้งยังคงทำหน้าที่คล้ายคลึงกับเซลล์เนื้อเยื่อปกติที่เป็นต้นกำเนิดแต่แสดงคุณลักษณะของเซลล์มะเร็งมากขึ้น

เกรด 3 เซลล์มะเร็งมีหน้าที่ต่างไปจากเซลล์เนื้อเยื่อปกติที่เป็นต้นกำเนิดแต่แสดงคุณลักษณะของเซลล์มะเร็งอย่างชัดเจน

เกรด 4 เซลล์มะเร็งมีหน้าที่ต่างไปจากเซลล์เนื้อเยื่อปกติอย่างสิ้นเชิงและไม่มีคุณลักษณะของเซลล์ปกติหลงเหลืออยู่เลย

มะเร็งที่อยู่ในเกรด 1 และ 2 จัดอยู่ในกลุ่มต่ำ มีการพยากรณ์โรคดีเนื่องจากมีการเจริญเติบโตช้าและมักมีมีการลุกลามไปไกล

มะเร็งเกรด 3 และ 4 จัดอยู่ในกลุ่มเกรดสูง การพยากรณ์โรคไม่ดี เนื่องจากเซลล์เจริญเติบโตเร็วและลุกลามไปได้ไกล

สำหรับมะเร็งที่เป็นชนิดที่เป็นก้อนเนื้อ จะมีการแบ่งระยะของโรคมะเร็ง (staging) แบ่งตาม TNM เพื่อระบุการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของมะเร็งซึ่งจะให้ประโยชน์ในการรักษา

T เนื้องอก

T 1-4 ขนาดของมะเร็งบอกถึงความก้าวหน้าของโรค

N ต่อมน้ำเหลืองบริเวณที่พบเนื้องอก

N 1-3 ระดับการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น

M 1 มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ

เราสามารถจัดระยะของมะเร็งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่

- ระยะที่ 1 มักจะมีขนาดเล็ก และอยู่เฉพาะที่ยังไม่มีการลุกลามไป

- ระยะที่ 2 และ 3 จะเริ่มมีการลุกลามมากขึ้น และเริ่มมีการกระจายไปสู่ต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
- ในขณะที่ ระยะที่ 4 คือมีการกระจายของมะเร็งไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมักจะไม่สามารถผ่าตัดให้หายขาดได้

สัญญาณอันตราย 8 ประการที่อาจเป็นอาการเริ่มแรกของการเกิดโรคมะเร็งมีดังนี้
1) มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หรือปัสสาวะเป็นเลือด
2) กลืนอาหารลำบาก หรือมีอาการเสียด แน่นท้องเป็นเวลานาน
3) มีอาการเสียงแหบ และไอเรื้อรัง

4) มีเลือดหรือตกขาวที่ผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็น
5) มีแผลเรื้อรัง ซึ่งรักษาแล้วไม่ยอมหาย
6) มีการเปลี่ยนแปลงของหูดหรือไฝตามร่างกาย
7) มีก้อนที่เต้านมหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
8) มีอาการหูอื้อ หรือมีเลือดกำเดาไหลเป็นประจำ

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

1.ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับ ระยะเวลาที่ให้ยาเคมีบำบัด   ยา Pre-medication และยาเคมีบำบัดที่ได้รับ  รวมทั้งการเตรียมตัวก่อนได้รับยาเคมีบำบัด ได้แก่ รับประทานอาหารให้อิ่มพอประมาณ 2 ชม.ก่อนได้รับยา ดื่มน้ำ 8-10 แก้ว/วัน ปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเปิด IV line และใส่เสื้อผ้าที่หลวมสบาย

2.การประเมินผู้ป่วยและครอบครัว .ใช้แบบประเมินของ Patient Profile/ECOG และประเมินภาวะโภชนาการ สังเกตการณ์พูดคุย ความกลัว ความวิตกกังวล vital sign ไข้ ตรวจร่างกาย แขน ขา บวม แผล หรือไม่  การจัดเตรียมผู้ป่วยให้นอนเตียงที่เหมาะสมกับสูตรยาที่ได้รับ ตรวจสอบเกี่ยวกับยาเคมีบำบัด

3.การพยาบาลระหว่างที่ได้รับยาเคมีบำบัด เตรียมความพร้อมของทีมและแนวปฏิบัติที่ชัดเจน เตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ รถ Emergency ชุดให้ออกซิเจน Spill Kits ให้ข้อมูลแก่และคำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของยาและอาการข้างเคียงเช่น ระยะที่ยาออกฤทธิ์จะกดไขกระดูก 7-14 วัน ต่ำสุด 7-12 วัน เยื่อบุช่องปากอักเสบ 3-15 วันหลังได้รับยา ควรดื่มน้ำมากกว่า 8-10 แก้วต่อวัน ไม่กลั้นปัสสาวะ เพื่อป้องกันปัสสาวะอักเสบ ในยา Cyclophosphaminde  ผู้ป่วยที่ได้รับยา Doxrubicin และ Epirubicin(สีแดง) หลังได้รับยาจะมีปัสสาวะสีแดง 1-2 วัน และเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดในผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มเสี่ยง นอกจากนี้เป็นการดูแลด้านจิตใจและครอบครัว โดยการให้กำลังใจและให้ความเชื่อมั่นในการดูแลขณะให้ยาหรือช่วยเหลือแก้ไขทันทีที่ถูกต้องเหมาะสม

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

นำความรู้ไปใช้ในการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 ปีการศึกษา 2557 และสอนวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 เรื่องการพยาบาลบุคคลที่มีมีเซลล์เจริญเติบโตผิดปกติ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 รุ่น 25 ปีการศึกษา 2557

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ 

จัดทำเอกสารประกอบการสอน/บทความการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

  (1331)

Comments are closed.