การประชุม PBRI & Fontys UAS “LEAD BY EXAMPLE” conference

การประชุม PBRI & Fontys UAS “LEAD BY EXAMPLE” conference

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :  ๑๐   กุมภาพันธ์  ๒๕๕๗

ผู้บันทึกนางสาวจตุพร ตันตะโนกิจ นางสาวอุษา จันทร์แย้ม และนางสาวอรุณรัตน์  โยธินวัฒนบำรุง

 กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลจิตเวช กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

 ฝ่าย :  -

 ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม

วันที่   ๙ – ๑๐ มกราคม ๒๕๕๗

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนนก

 สถานที่จัด :   ณ โรงแรมนารายณ์ กรุงเทพมหานคร


เรื่อง
: การประชุม PBRI & Fontys UAS “LEAD BY EXAMPLE” conference

 รายละเอียด

ในการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมแบบรวมกลุ่มวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีที่เป็นแกนนำและเริ่มต้น การจัดการเรียนการสอนแบบ active learning เพื่อประเมินผล และปัญหา อุปสรรค ในการจัดการเรียนการสอนแบบ active learning ซึ่งได้แบ่งกลุ่มออกเป็นตามเครือข่ายแต่ละภาค คือ เครือข่ายภาคเหนือ เครือข่ายภาคกลาง เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเครือข่ายภาคใต้ ซึ่งในการประชุมของเครือข่ายภาคใต้ สามารถสรุปได้ว่า ทุกวิทยาลัยในเครือข่ายภาคใต้ ได้มีการจัดการเรียนการสอนแบบ active learning 1-2 วิชา บางวิทยาลัย ได้ขยายผลไป 4-5 วิชา ในแต่ละครั้งของการจัดเรียนการสอน ไม่เหมือนกัน และบางครั้ง ต้องมีการปรับเปลี่ยนจากแผนที่วางไว้ เนื่องจากว่า ไม่ specific ไม่สามารถนำสู่การปฏิบัติได้ นอกจากนี้ การจัดการเรียนการสอนแบบ active  learning ของแต่ละวิทยาลัย พบว่า จะนำไปปฏิบัติเฉพาะผู้ที่ได้เข้าร่วมโครงการเท่านั้น

มีอาจารย์ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการเข้าไปสังเกตการณ์การเรียนการสอนค่อนข้างน้อย จึงมีข้อเสนอแนะว่า ขณะที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบ active learning ควรให้อาจารย์เข้าไปสังเกตการณ์และให้ข้อเสนอแนะ ร่วมกับกลุ่มอาจารย์ที่สอน เพื่อการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เหมาะสมกับนักศึกษาในแต่ละวิทยาลัย และควรขยายผลให้อาจารย์ท่านอื่น ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนแบบ active learning แต่ละครั้ง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นอุปสรรคของการจัดการเรียนการสอน อาจจะเนื่องจากมีข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไปแต่ละวิทยาลัย จึงมีข้อเสนอแนะ ให้มีการพัฒนาเทคโนโลยี ระบบสารสนเทศ เพื่อรองรับการเรียนการสอนแบบ active learning แต่ทั้งนี้ บางวิทยาลัย ก็ประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนแบบ active learning จนสามารถนำมาพัฒนาเป็น Action research และได้นำผลงานไปนำเสนอที่ต่างประเทศ นอกจากนี้ ในการประชุมครั้งนี้ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาของการจัดการเรียนการสอน คือ การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดีของการจัดการเรียนการสอน และการให้ข้อเสนอแนะ (feedback) ดังนี้   SMART GOAL (For specific lesson or series of lessons)   SMART GOAL เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดี เพื่อให้มีความสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนประกอบด้วย

1. Sensible & Specific หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีต้องมีความเป็นไปได้และชัดเจน นั่นคือ ควรกำหนดวัตถุประสงค์ให้มีความเป็นไปได้ สามารถปฏิบัติได้จริง นอกจากนี้ยังควรมีความชัดเจนโดยผู้ปฏิบัติสามารถเข้าใจความหมายได้ตรงกัน และปฏิบัติได้อย่างสอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน สำหรับในการจัดการเรียนการสอน ต้องกำหนดว่า อะไรคือสิ่งที่นักเรียนต้องเรียนรู้ เช่น ความรู้ ทักษะ และ/หรือ ทัศนคติ

2. Measurable หมายถึง วัตถุประสงค์นั้นต้องสามารถวัดผลได้นั่นคือในการกำหนดวัตถุประสงค์ควรพิจารณาถึงประเด็นเกี่ยวกับการวัดผลด้วย การกำหนดวัตถุประสงค์ที่สามารถวัดผลได้ทำให้สามารถรู้ได้แน่ชัดว่าดำเนินการถึงขั้นตอนใด และผลของการดำเนินการในแต่ละขั้นเป็นอย่างไร บรรลุผลสำเร็จหรือไม่อะไรที่ต้องการวัดผลการจัดการเรียนการสอน ซึ่งอาจจะต้องให้เข้ากับ ระดับของ Blooom taxonomy คือ รู้จำ (Remember), เข้าใจ (Understand), นำไปใช้ (Apply), วิเคราะห์ (Analyse), ประเมิน (Evaluate), และสังเคราะห์ (Create)

3. Agreed-Upon , Acceptable, Attainable หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีต้องทำได้ สามารถบรรลุผลและยอมรับได้ ในการกำหนดวัตถุประสงค์นั้นไม่ควรกำหนดไว้สูงเกินไปจนไม่สามารถปฏิบัติเพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้ ทำให้ผู้ปฏิบัติรู้สึกท้อแท้เพราะทำอย่างไรก็ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้

4. Realistic, Result-orientated, Relevant หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีต้องสามารถอธิบายได้ มีความสมเหตุสมผล เฉพาะเจาะจง และมีความเป็นจริง ปฏิบัติได้จริง

5. Time-bound หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีต้องประสบความสำเร็จภายในกรอบเวลาที่กำหนด ซึ่งในการจัดการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชา ต้องคำนึงถึงภาระงานของนักศึกษา โดยการตอบคำถามดังนี้

1. How many hours do you have as “MSL” for the students for this course/topic “Maximum Study Load”

2. How many meetings/lessons do you need for this course/topic

3. How many hours per lesson?

4. How much time do the students make homework?

5. How much time for coaching/guidance per student regarding homework?

6. How much time do students need for preparation training?

7. How much time do students need for traning?

8. How much time for coaching/guidance per student regarding training?

9. How much time do they need for group work outside the classroom?

10. How much time do they need for general reading

11. How much time do the students need for presentation?

12. How much time do students make homework?

13. How much time do students need to prepare the test/exam/assessment?

14. How much time do students need to make the test/exam/assessment?

15. Will the students have to do self-study? (No teacher contact?)

16. Do you have specific activities? (How much time do you need for that?)

การให้ข้อเสนอแนะ (feedback)

การให้ข้อเสนอแนะ (feedback) เพื่อกระตุ้นให้ครูและนักเรียนให้มีการปรับ/เปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนการสอน ให้ดีขึ้น เหมาะสมกับรายวิชา และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ โดยในการ feedback นั้น ต้องตรงประเด็น เฉพาะเจาะจง ไม่ทำให้ผู้ที่ถูก feedback รู้สึกถูกคุกคาม ต้องมีความเคารพซึ่งกันและกันทั้งผู้ที่ feedback และ ผู้ที่ถูก feedback สถานที่ที่ใช้ ผู้ถูก feedback ต้องรู้สึกว่า ตนเองปลอดภัย เงียบสงบ และ ต้องใช้เวลาในการ feedback เหมาะสมไม่นานจนเกินไป จึงจะทำให้การ feedback นั้น มีประสิทธิภาพ และเกิดผลประโยชน์สูงสุด

ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

-ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน

- ขยายผลการจัดการเรียนการสอนแบบ active learning ในรายวิชาต่าง ๆ ตามกลุ่มวิชา คือ

กลุ่มวิชาการพยาบาลพื้นฐาน กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และบริหารการพยาบาล กลุ่มวิชาการพยาบาลจิตเวช กลุ่มวิชาการพยาบลสูติศาสตร์ กลุ่มวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน และกลุ่มวิชาการศึกษาทั่วไป

- ขยายผลให้อาจารย์เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนแบบ active learning

- ใช้หลัก SMART GOAL ในการเขียนแผนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

R การเรียนการสอน

การบริการวิชาการ

การพัฒนาบุคลากร Rการวิจัยและ/ผลงานทางวิชาการ

การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริหารงาน

การพัฒนานักศึกษา อื่นๆโปรดระบุ

-ด้านสมรรถนะ

การวางแผนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่รับผิดชอบ

  (493)

Comments are closed.