การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย เรื่อง: การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ เรื่อง ภาวะพึ่งพาของผู้สูงอายุ

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย เรื่อง: การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ เรื่อง ภาวะพึ่งพาของผู้สูงอายุ

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย

เรื่อง: การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ

เรื่อง  ภาวะพึ่งพาของผู้สูงอายุ

วันที่ 5  มิถุนายน  พ.ศ. 2557

เวลา  13.00 – 16.00น.

ณ ห้องงานวิจัย 

           โดย ดร.รัถยานภิศ  พละศึก

            ผู้ร่วมสังเคราะห์องค์ความรู้

ดร.รัถยานภิศ              พละศึก

นางเครือมาศ              เพชรชู

นางสาวจันทิมา            ช่วยชุม

นางสาววิลาสินี            แผ้วชนะ

นางจรรยา                 ศรีมีชัย

นางสาวบุญธิดา            เทือกสุบรรณ

นางนิศารัตน์               นรสิงห์

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการสังเคราะห์

ชื่องานวิจัย: การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ

ชื่องานวิจัย: ภาวะพึ่งพาของผู้สูงอายุ

เนื่องจากงานวิจัย 2 เรื่องนี้ทำต่อเนื่องกัน ดังนั้นจึงสรุปการสังเคราะห์องค์ความรู้รวมกัน

องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย

          แนวโน้มที่ผู้สูงอายุที่ต้องการการพึ่งพาผู้อื่นขึ้นอยู่กับปัจจัยเรื่องอายุและโรคหลอดเลือดสมองเป็นหลักซึ่ง ปัจจัยด้านอายุเกิดจากความเสื่อมถอยของอวัยวะในร่างกายทำให้มีความเสื่อมด้านสายตา กล้ามเนื้อกระดูกและข้อส่วนโรคหลอดเลือดสมองเป็นผลจากผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวคือโรคความดันโลหิตสูง

นำไปใช้ประโยชน์ในด้าน

ด้านการเรียนการสอน

          เป็นข้อมูลที่ใช้ในการเรียนการสอนในวิชาปัญหาสุขภาพในประเด็นการดูแลสุขภาพ  ของ   บุคคลที่ควรเริ่ม

และให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ร่างกายมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ ปราศจากโรคที่เป็นโรคเรื้อรังที่อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายเมื่อบุคคลมีอายุมากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความรุนแรงที่ทำให้เกิดโรคเนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย เป็นผลให้ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้จึงต้องการการพึ่งพาผู้อื่น

-เป็นข้อมูลที่ใช้ในการเรียนการสอนในวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน ในประเด็นครอบครัวมี บทบาทอย่างไรในการดูแลผู้สูงอายุ

ด้านวิชาชีพ

เป็นข้อมูลให้วิทยาลัยพยาบาลในการสร้างหลักสูตรในการพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุตามความ

ต้องการการพึ่งพาของผู้สูงอายุในหัวข้อ ด้านอาหาร  การแต่งกาย  การอาบน้ำและแต่งตัว  การเข้าห้องน้ำ การทำอาหาร   การทำเคลื่อนย้ายในบ้านและนอกบ้าน   การทำความสะอาดบ้าน    การใช้รถโดยสาร

ด้านบริหาร

จัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในรูปแบบต่างๆในสถานที่ทำงานเพื่อให้บุคลากรในวิทยาลัยพยาบาล

เข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว

ด้านชุมชน

บุคลากรด้านสุขภาพสามารถใช้ไปเป็นทิศทางในการพัฒนาศักยภาพชุมชนผู้ดูแล โดยดึงจุดแข็ง การมี ส่วนร่วมของชุมชนออกมาใช้ประโยชน์ในการให้กรดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

 

  (350)

Comments are closed.