โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะของสายงานบุคลากรสายสนับสนุน เครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะของสายงานบุคลากรสายสนับสนุน เครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้

แบบฟอร์มสําหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

วันที่บันทึก : ๘ สิงหาคม ๒๕๕๗

ผู้บันทึก : นางสาวสุกัญญา ศรีสมานุวัตร

กลุ่มงาน : บริหารงานทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ

ประเภทการปฏิบัติงาน (เช่น ประชุม อบรม ฯลฯ) : ประชุม

วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๗

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา (เครือข่าย Sc-Net)

สถานที่จัด : โรงแรมพีชลากูน่ารีสอร์ท แอนด์ สปา อําเภอเมือง จังหวัดกระบี่

เรื่อง : โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะของสายงานบุคลากรสายสนับสนุน เครือข่าย

วิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้

-ประชุมการจัดทําสมรรถนะหลัก ๕ ข้อ ตาม ก.พ. ของสายงานสนับสนุน

และแบ่งกลุ่มจัดทําสมรรถนะสายงานเครือข่ายฯ เพื่อนําไปจัดทําแผนพัฒนารายบุคคล

ความรู้ที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

-ทําให้มีความรู้ความเข้าใจในการทําสมรรถนะของสายงานบุคลากรสายสนับสนุน

และมีความรู้ในการทําแผนพัฒนารายบุคคลในการพัฒนาสมรรถนะสายงานบุคลากรสายสนับสนุนของเครือข่าย

วิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ (SC-Net)

ทําให้สามารถวางแผนการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

-พัฒนาการจัดทํางานของตนเองให้มีประสิทธิภาพ และได้จัดทําสมรรถนะสายงาน

เพื่อนําไปสู่การจัดทําแผนพัฒนางานรายบุคคลต่อไป (302)

อบรมพัฒนานักศึกษาวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

อบรมพัฒนานักศึกษาวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

แบบฟอร์มสําหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

ผู้บันทึก : นางสาวนอลีสา โต๊ะยุโส๊ะ

กลุ่มงาน : พัฒนานักศึกษาและทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม

ประเภทการปฏิบัติงาน (เช่น ประชุม อบรม ฯลฯ) :อบรม

วันที่ 29 กรกฎาคม 2557 ถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2557

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก

สถานที่จัด : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

เรื่อง : อบรมพัฒนานักศึกษาวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

เรื่องบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสถาบันพระบรมราชชนก โดยนายแพทย์อภิชาต รอดสม

ผู้อํานวยการสถาบันพระบรมราชชนก

- อัตลักษณ์ บัณฑิตสถาบันพระบรมราชชนก

S = Service mind จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

A = Analytical Thinking การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

P = Participation การมีส่วนร่วมในสังคมพหุวัฒนธรรม

เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา สําหรับนักศึกษา โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จินดา งามสุทธิ

ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง กิจกรรมหรือแนวปฏิบัติใดๆ ที่หากดําเนินการตามระบบ

และแผนที่ได้วางไว้แล้ว จะทําให้เกิดความมั่นใจว่า จะได้ผลผลิตของการศึกษาที่มีคุณภาพ

ตามลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

การประกันคุณภาพภายใน หมายความว่า การประเมินผลและติดตามการตรวจสอบ

มาตรฐานและคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง

หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัด ที่มีหน้าที่กํากับดูสถานศึกษานั้น

การประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก หมายความว่า การประเมินผลและการติดตาม

ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ของสถานศึกษาจากภายนอก

โดยสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือบุคลากร

หรือหน่วยงานภายนอกที่สํานักงานดังกล่าวรับรองเพื่อเป็นการประกันคุณภาพ

และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

- เริ่มจากทุกคนให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้

- เก็บข้อมูลตามภาระงานที่ต้องทํา

- สร้างความเข้าใจเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา

- รวบรวม / จัดระบบข้อมูลโดยเจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพ

- กําหนดตัวบ่งชี้คุณภาพ

- เขียนคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา

- เขียนรายงานการศึกษาตนเองตามข้อมูลz

- เผยแพร่ผลการตรวจสอบ เพื่อร่วมมือกันวางแผน หาทางแก้ไขจุดอ่อน เสริมจุดแข็ง

- ดําเนินการตมแผนที่ระบุไว้ในคู่มือ เพื่อให้ได้ตามมาตรฐาน

- ตรวจสอบคุณภาพภายในด้วยตนเอง

ตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา ( ระดับประกันคุณภาพการศึกษาภายใน )

ตัวบ่งชี้ ๑.๑.๑ ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรี ที่ได้งานทําหรือประกอบอาชีพอิสระ ภายใน ๑ ปี

ตัวบ่งชี้ ๒.๕ การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

๑.จัดบริการให้คําปรึกษาทางวิชาการ และการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในคณะวิชา

๒.มีการให้ข้อของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงาน

ทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา

๓.จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทํางานเมือสําเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา

๔.ประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรม และการจัดบริการในข้อ ๑-๓ ทุกข้อ ไม่ต่ํากว่า ๓.๕๑

๕.นําผลการประเมินจากข้อ ๔ มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการ และให้ข้อมูล

เพื่อส่งให้ผลการประเมินสูงขึ้นหรือเป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา

๖.ให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ ในการประกอบอาชีพแก่ศิษย์เก่า

ตัวบ่งชี้ ๒.๖ กิจกรรมนักศึกษาปริญญาตรี

๑.จัดทําแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมของคณะวิชา

โดยให้นกศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทําแผน และจัดกิกรรม

๒.ในแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาให้ดําเนินกิจกรรมในประเภท ต่อไปนี้ให้ครบถ้วน

-กิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ที่กําหนดโดยสถาบัน

-กิจกรรมกีฬาหรือการส่งเสริมสุขภาพ

-กิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อม

-กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม

-กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม

๓.จัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพแก่นักศึกษา

๔.ทุกกิจกรรมที่ดําเนินการมีการประเมินผลความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม

และนําผลการประเมินมาปรับปรุงการดําเนินการครั้งต่อไป

๕.ประเมินความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา

๖.นําผลการประเมินไปปรับปรุงแผน หรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา ( ระดับประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก )

ตัวบ่งชี้ ๑ ผู้เรียนเป็นคนดี

ตัวบ่งชี้ ๒ ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร

ตัวบ่งชี้ ๔ ศิษย์เก่าที่ประโยชน์ให้กับสถาบัน

การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การประเมินที่เกี่ยวกับนักศึกษา

ตัวบ่งชี้๓.๒ ระบบและกลไกส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา

เกณฑ์ข้อ ๔ มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสร้างเครือข่ายพัฒนาคุณภาพในสถาบันและระหว่างสถาบัน

วงจรคุณภาพ จาก Plan Do Check Act เป็น Plan Do Study Act

ความรู้ที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

การจัดกิจกรรมของงานพัฒนานักศึกษาและทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดคุณลักษณะบัณ

2. การจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาสอดคล้องกับเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษา (ตัวบ่งชี้ 2.5)

และดําเนินการโครงการ/กิจกรรมตามหลัก Plan Do Study Act

1. การจัดทําแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมของวิทยาลัย

ต้องให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทําแผน และจัดกิกรรม เช่น

การจัดประชุมฝ่ายกิจการนักศึกษาเพื่อจัดทําแผนจะต้องดําเนินการให้นักศึกษาตัวแทนนักศึกษา เช่น

องค์การนักศึกษา หัวหน้าชมรม ประธานชั้นปีหรือตัวแทนแต่ละชั้นปีเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทําแผนกิจกรรม

2. การดําเนินกิจกรรมของนักศึกษาและงานพัฒนานักศึกษา ฝ่ายกิจการนักศึกษาต้องดําเนินงานตามหลัก

Plan Do Study Act: Study คือการประเมินผลร่วมกับการศึกษาประชุมวิเคราะห์ผลการดําเนินงานแต่ละด้าน

เพื่อนําไปสู่การปรับปรุงแผนต่อไป (393)

การพัฒนาบุคลากรผู้ดูแลระบบเกี่ยวกับการจักทําแผนบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถาบันพระบรมราชชนกและวิทยาลัยในสังกัด

การพัฒนาบุคลากรผู้ดูแลระบบเกี่ยวกับการจักทําแผนบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถาบันพระบรมราชชนกและวิทยาลัยในสังกัด

แบบฟอร์มสําหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

ผู้บันทึก : นายสิงห์ กาญจนอารี

กลุ่มงาน : งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประเภทการปฏิบัติงาน : ประชุมเชิงปฏิบัติการ

วันที่ 22 ก.ค. 2557 ถึงวันที่ 25 ก.ค. 2557

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก

สถานที่จัด : โรงแรมจอมเทียนการ์เด้น รีสอร์ท พัทยา จ. ชลบุรี

การพัฒนาบุคลากรผู้ดูแลระบบเกี่ยวกับการจักทําแผนบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถาบันพระบรมราชชนกและวิทยาลัยในสังกัด

หลักการวิเคราะห์ ประเมินและจัดทําความเสี่ยง

การพัฒนาบุคลากรผู้ดูแลระบบเกี่ยวกับการจักทําแผนบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อส

ารของสถาบันพระบรมราชชนกและวิทยาลัยในสังกัด ยึดกระบวนการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐาน COSO (

Committee of Sponsoring Organization of the Tread way Commission ) มีหลักการดังนี้

1. การกําหนดเป้าหมายการบริหารความเสี่ยง ( Objective Setting )

2. การระบุความเสี่ยงต่างๆ ( Event Identification )

3. การประเมินความเสี่ยง ( Risk Assessment )

4. กลยุทธ์ที่ใช้ในการจัดการกับแต่ละความเสี่ยง ( Risk Response )

5. กิจกรรมการบริหารความเสี่ยง ( Control Activities )

6. ข้อมูลและการสื่อสารด้านบริหารความเสี่ยง ( Information and Communication )

7. การติดตามผลและเฝ้าระวังความเสี่ยงต่างๆ ( Monitoring )

วัตถุประสงค์ของการวางแผนความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินและเพื่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทค

โนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

2. เพื่อให้มีวิธีปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทและการสื่อสาร

ที่สอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้แก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับและบุคลากรที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

3. เพื่อสร้างความตระหนักด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้แก่เจ้าหน้าที่และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

4. เพื่อให้มีการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีส

ารสนเทศและการสื่อสารอย่างสม่ําเสมอทรัพยากรด้านเทคโนโลยี ( IT Resources ) ที่ต้องคํานึงถึง ในการวางแผนความเสี่ยง

1. ระบบงาน ( Application System ) ได้แก่

ขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติงานทั้งที่ทําด้วยมือและโปรแกรมคอมพิวเตอร์

2. เทคโนโลยี ( Technology ) ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ ( Hardware ) โปรแกรมระบบ ( Operating

System ) ระบบบริหารฐานข้อมูล ( Database Management System ) ระบบเครือข่าย ( Network )

และระบบมัลติมีเดีย

3. องค์ประกอบ ( Facilities ) ได้แก่ ทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้เป็นสถานที่ติดตั้งหรือจัดวาง ตลอดจน

สาธารณุปโภคที่จําเป็นเพื่อการปฏิบัติงานของระบบสารสนเทศ

4. บุคลากร ( People ) ได้แก่ บุคลากรที่มีความรู้

ความชํานาญในการบริหารและปฏิบัติงานสําหรับการดูแลและจัดระบบ

การประเมินความเสี่ยง ( Risk assessment )

การวิเคราะห์ความเสี่ยง จากการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสารสนเทศของกรม

สามารถแยกประเภทความเสี่ยงได้ 4 ประเภท ดังนี้

1. ความเสี่ยงด้านเทคนิค เป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องมือ และอุปกรณ์เอง

อาจเกิดถูกโจมตีจากไวรัสหรือโปรแกรมไม่ประสงค์ดี ถูกก่อกวนจาก Hacker และถูกเจาะทําลายระบบจาก

2. ความเสี่ยงจากผู้ปฏิบัติงาน เป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินการ

การจัดความสําคัญในการเข้าถึงข้อมูลไม่เหมาะสมกับการใช้งานหรือการให้บริการ

โดยผู้ใช้อาจเข้าสู่ระบบสารสนเทศหรือใช้ข้อมูลต่างๆ ของสถาบันพระบรมราชชนก

เกินกว่าอํานาจหน้าที่ของตนเองที่มีอยู่ และอาจทําให้เกิดความเสี่ยหายต่อข้อมูลสารสนเทศได้

3. ความเสี่ยงจากภัย หรือสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดจากภัยพิบัติตามธรรมชาติ

หรือสถานการณ์ร้ายแรงที่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงกับข้อมูลสารสนเทศ เช่น ไฟฟ้าขัดข้อง น้ําท่วม

ไฟไหม้ อาคารถล่ม การชุมนุมประท้วง หรือความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เป็นต้น

4. ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ

เป็นความเสี่ยงจากการวางแนวนโยบายในการบริหารจัดการที่อาจส่งผลกระทบต่อการดําเนินกานด้านสารสนเท

สรุปความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

1. ความเสี่ยงจากการเข้าถึงข้อมูลของบุคคลอื่น

2. ความเสี่ยงจากการนําเอาอุปกรณ์อื่นที่ไม่ได้รับอนุญาตมาเชื่อมต่อ

3. ความเสี่ยงจากกระแสไฟฟ้าขัดข้อง / ไฟฟ้าดันแรงดันไฟฟ้าไม่คงที่

4. ความเสี่ยงจากการถูกบุกรุกโดยผู้ไม่ประสงค์ดี

5. ความเสี่ยงจากการขาดแคลนบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน

6. ความเสี่ยงจากการได้รับการสนับสนุนงบประมาณไม่เพียงพอ

7. ความเสี่ยงจากการเกิดไฟไหม้ / ภัยธรรมชาติ

8. ความเสี่ยงจากสถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง

9. ความเสี่ยงจากเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ขัดข้อง ไม่สามารถทํางานได้ตามปกติ

10. ความเสี่ยงจากการโจรกรรมเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์

ความรู้ที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

ความรู้เกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยง สามารถนํามาวิเคราะห์องค์กร ในงานเทคโนโลยีสารสนเทศ

นําไปสู่การจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของวิทยาลัย ต่อไป

นําความรู้มาพัฒนาแผนบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ครอบคลุม

ไปถึงการจัดการป้องกันความเสี่ยง และผู้รับผิดชอบหลักในการเผ้าระวัง (332)

การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน: การวัดและประเมินผลการศึกษา

การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน: การวัดและประเมินผลการศึกษา

บทความเข้าคลังความรู้

วันที่บันทึก: วันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗

ผู้บันทึก: นางสาวอุทุมพร ดุลยเกษม

กลุ่มงาน: กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ประเภทการปฏิบัติงาน: การไปราชการต่างประเทศ

วันที่ ๑๔ – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗

หน่วยงาน: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

สถานที่จัด: Fontys University of Applied Science, Netherland

เรื่อง: การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน: การวัดและประเมินผลการศึกษา

ในการไปราชการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพิ่มพูนการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก

(Active Learning) ให้ครบสมบูรณ์ตามกระบวนการจัดการเรียนการสอน

ที่สิ้นสุดด้วยการประเมินผลการเรียนการสอน ๒) เรียนรู้กระบวนการวัดและประเมินผล

ความสําคัญของการวัดและประเมินผล และวิธีการวัดและประเมินผลแบบต่างๆ โดยเน้นการใช้ IT

ในกระบวนการวัดและประเมินผล

รูปแบบการอบรม มีทั้งรูปแบบการเรียนในชั้นเรียน

การฝึกปฏิบัติการออกแบบการวัดผลการศึกษาตามระดับของ Bloom

Taxonomy การศึกษาดูงานในสถานศึกษาต่างๆ รวมถึงสถานพยาบาล

ซึ่งสามารถนําวิธีการวัดและประเมินผลทางการศึกษามาใช้ในเชิงอาชีพการดูแลสุขภาพได้

โดยผลจากการเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ ได้ข้อสรุปดังนี้

1. การวัดผลทางการศึกษาสามารถทําได้หลายรูปแบบ เช่น การทดสอบโดยการเขียนบรรยาย การทํา

รายงาน การนําเสนอชิ้นงาน การสังเกต การใช้เทคนิคการเรียนแบบ PBL หรือการให้ Case study

เพื่อให้นักศึกษาฝึกการคิดแก้ปัญหา (กรณีนี้สิ่งที่สําคัญคือครูผู้สอนต้องใช้คําถามที่กระตุ้นให้นักศึกษาได้คิด)

ทั้งนี้ทั้งนั้นในการประเมินผลงานของผู้เรียน

ครูจะต้องมีคู่มือหรือแนวทางในการให้คะแนนว่าจะประเมินด้านใดบ้าง (Rubric score)

2. การฝึกออกข้อสอบแบบปรนัย ตามระดับขั้นของ Bloom Taxonomy มีจุดเน้นคือข้อสอบไม่ ควรจะ

เป็นข้อสอบที่มีผลต่อเนื่องกัน เช่น ไม่ถามคําถามที่เป็นผลมาจากข้อที่ผ่านมา โจทย์ควรมีความกระชับเข้าใจได้ง่าย

ไม่ควรมีข้อมูลเยิ่นเย้อโดยเฉพาะเป็นข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่มีประโยชน์ต่อการนํามาใช้พิจารณาในการตอบ

ซึ่งทําให้เสียเวลาในการทําข้อสอบ หรือเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายคือในการออกข้อสอบแบบนี้

สิ่งสําคัญคือต้องออกข้อสอบให้ตรงตามวัตถุประสงค์การเรียน ถูกต้องตาม Test Blue Print มี Objectivity, มี

Reliability, และมี Validity

3. การวัดผลแบบ On line สามารถใช้ได้ดีในกรณีการวัดผลแบบระหว่างเรียน Formative Evaluation

ซึ่งสามารถทําได้โดยการสั่งงานล่วงหน้าก่อนเข้าชั้นเรียน หรือ ทําในขณะเรียนอยู่ในชั้นเรียน

โดยการวัดผลแบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดู Competency ของนักศึกษาระหว่างเรียน

เป็นการหาจุดอ่อนเพื่อแก้ปัญหาหรือเติมเต็มให้กับนักศึกษา

ก่อนสิ้นสุดโปรแกรมการเรียนการสอนและมีการประเมินภาพรวม (Summative Evaluation) ต่อไป

4. การประเมินแบบใช้กราฟ เป็นการประเมินเพื่อดูพัฒนาการ ไม่ใช่การประเมินเพื่อการตัดสิน

5. การประเมินการนําเสนอเป็นกลุ่ม สามารถประเมินแบบ combine ได้ โดยอาจแบ่งการประเมินเป็น

คนที่ ๑ ประเมินด้านการนําเสนอ คนที่ ๒ ประเมินด้านเนื้อหา คนที่ ๓

ประเมินด้าน….ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การประเมิน เป็นต้น

6. ภาพรวมของการวัดและประเมินผล ควรเริ่มมาจากการวางแผนการสอน วัตถุประสงค์การเรียนการ

สอน การวางแผนการประเมินผลระหว่างเรียน หลังสิ้นสุดการเรียน วิธีการประเมินแบบต่างๆ

ซึ่งควรมีการเตรียมเครื่องมือการวัดและประเมินผล (Test and Assessment Tools)

พร้อมคู่มือการใช้เครื่องมือให้พร้อม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความแตกต่างที่เกิดขึ้นจากผู้ใช้เครื่องมือให้น้อยที่สุด

7. การออกข้อสอบ ต้องมี Test Blue Print เป็นแนวและต้องมีการวิพากษ์ข้อสอบว่าสอดคล้องกับ

Test Blue Print และวัตถุประสงค์ของการเรียนว่าต้องการวัดและประเมินในเรื่องใด หรือ Competency ใด

8. การวิเคราะห์ข้อสอบ อย่าเน้นเรื่องความยากง่าย (p) เพราะความยากง่ายของข้อสอบแต่ละชุดขึ้นกับ

ผู้สอบ แต่ควรเน้นที่อํานาจจําแนก (r)

ซึ่งนั่นหมายถึงว่าถ้าข้อสอบชุดนั้นดีจริงจะต้องสามารถแยกได้ว่านักศึกษาคนไหนที่เข้าเรียน เข้าใจ

จะต้องทําข้อสอบชุดนั้นได้ ขณะเดียวกันถ้านักศึกษาที่ไม่เคยเรียนวิชานี้เลยแต่ก็สามารถทําข้อสอบชุดนี้ได้

แสดงว่าข้อสอบชุดนี้ไม่สามารถจําแนกผู้สอบได้

นอกจากนี้ควรเน้นเรื่องข้อสอบว่าออกได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการทดสอบหรือไม่

9. นักศึกษาควรจะได้รับทราบตั้งแต่ก่อนเรียนว่าวิชาที่เรียนมีวัตถุประสงค์ในการเรียนหรือเป้าหมายที่

ต้องการให้เกิดหลังสิ้นสุดการเรียนอย่างไร มีวิธีการเรียนการสอนอย่างไร วิธีการวัดและประเมินผลทําอย่างไร

เมื่อไรบ้าง เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษาได้รับทราบและเตรียมตัวก่อนเรียน

ดังนั้นจึงควรให้ความสําคัญในชั่วโมงปฐมนิเทศวิชาก่อนเริ่มการเรียนอย่างน้อย ๑ ชั่วโมง

10. การใช้วิธีการประเมินตนเองทาง on line ด้านความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลใน Procedure ต่างๆ ( E-

Learning) เพื่อเป็นการทบทวนความรู้และการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ (ห้อง

Lab) หรือก่อนสอบเพื่อต่อใบประกอบวิชาชีพ (จากการศึกษาดูงาน รพ.Vie Curi)

11. หลักการนําเสนอโดยใช้ PPT ให้มีการเตรียมอยู่ ๒ กรณี คือ ๑) ผู้นําเสนอ และ ๒) งานที่ต้องนําเสนอ

สําหรับผู้นําเสนอ ให้เตรียมในเรื่องต่อไปนี้

มีน้ําเสียงหนัก-เบา ไม่ใช่เสียงแบบราบเรียบ / การออกเสียงอักขระถูกต้อง ไม่ช้าหรือเร็วเกินไป / มีการเน้น

น้ําหนักเสียงในจุดที่สําคัญ หรือเมื่อเปลี่ยนหัวข้อ / ใช้เทคนิคการหยุดเป็นระยะ

ไม่พูดต่อเนื่องยาวจนหาจุดเน้นไม่ได้ เพื่อเรียกความสนใจ

สื่อสาร แต่ต้องไม่มากจนเกินไป / การประสานสายตาเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง / การยืน

– เดิน ควรมีการเคลื่อนไหวร่างกายไปมาบ้าง ไม่ยืนอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ

ขณะเดียวกันก็ไม่เคลื่อนไหวร่างกายจนมากเกินไปจนผู้ฟังตาลาย ไม่ควรนั่งขณะนําเสนอ

ที่ใช้ประจํา ให้เขียนในกระดาษย่อหรือทําเป็นคําพูดใต้ Slide ซึ่งผู้พูดสามารถมองเห็นได้คนเดียว

สําหรับงานที่ต้องนําเสนอ ให้เตรียมดังนี้

Slide มีไว้สําหรับช่วยผู้นําเสนอในการนําเสนอด้วยการอธิบายให้เกิดความชัดเจน มิใช่เพื่อผู้ฟังไว้อ่าน

ดังนั้นจึงไม่ควรใส่รายละเอียด (การใส่ Text มากจะทําให้ผู้ฟังอ่านบน Slide มากกว่าฟัง)

- ลักษณะ Verbal ผู้นําเสนอควรมีการนําเสนอด้วยโทนน้ําเสียงที่เรียกความสนใจได้ โดยการ

- ลักษณะ Non verbal ผู้นําเสนอควรมีการแสดงสีหน้าท่าทาง /การใช้มือไม้ในการช่วย

- อื่นๆ เช่น ศัพท์หรือภาษาที่ใช้ ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ถ้าเป็นภาษาที่ไม่ถนัดหรือไม่ใช่ภาษา

- ข้อความบน Slide ควรเป็นหัวข้อหลักๆ ไม่ควรมีมากเกินไป พึงจําไว้เสมอว่า ข้อความบน

จะคิดว่าทําไมใช้ Background นี้ หรือ Background นี้ไม่สัมพันธ์กับเนื้อหา เป็นต้น

สนใจเนื้อหาที่ผู้นําเสนอต้องการนําเสนอ

ใช้ขนาด ๒๘ Bold (ตัวหนา)

ความรู้ที่จะนําไปพัฒนาต่อ:

- การให้ความสําคัญกับการเตรียมตัวก่อนเรียนของนักศึกษา (ปฐมนิเทศ)

- การเตรียมเครื่องมือวัดและประเมินผล ควรเตรียมไว้ให้เรียบร้อยก่อนเริ่มการเรียนการสอน

- บน Slide ควรมีทั้งตัวหนังสือและรูปภาพ เพื่อให้ผู้ฟังจําได้

- Animation อย่าใช้ฟุ่มเฟือย ควรใช้เวลาเปลี่ยนหัวข้อหรือต้องการเน้น

- Background ควรเป็นเป็นแบบเรียบๆ การใช้ Background แปลกๆ จะทําให้ผู้ฟังไม่ฟังแต่

- การใช้สีเพื่อดึงดูดผู้ฟัง ไม่ใช่ความสําเร็จของการนําเสนอ เพราะผู้ฟังจะสนใจแต่ Slide แต่ไม่

- ชนิดและขนาดตัวอักษรภาษาอังกฤษที่อ่านง่ายคือ Calibri ขนาด ๒๔ หรือถ้าเป็นหัวข้อ ให้

- การมี Test Blue Print ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียน

- การวิพากษ์ข้อสอบ ควรมีกรรมการในการช่วยวิพากษ์

- การวัดและประเมินผลควรใช้หลากหลายวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประเมินแบบ Formative

Evaluation (416)

อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการรับทุน ลาศึกษา ฝึกอบรม การจัดทำสัญญา และการชดใช้เงินตามสัญญาทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ

อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการรับทุน ลาศึกษา ฝึกอบรม การจัดทำสัญญา และการชดใช้เงินตามสัญญาทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :  11     มิถุนายน  2557

ผู้บันทึกนางปวันณัฐ  จันทร์ภักดี  และนางสาวขวัญหฤทัย บุญสำราญ

 กลุ่มงาน :  นักทรัพยากรบุคคล

 ฝ่าย :  บริหารทั่วไป

วันที่   3  มิถุนายน –  6  มิถุนายน  2557

สถานที่จัด :   2557   ณ โรงแรมมาริไทม์ ปาร์ค  แอนด์  สปา   รีสอร์ท  จังหวัดกระบี่


เรื่อง
: อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการรับทุน ลาศึกษา ฝึกอบรม การจัดทำสัญญา และการชดใช้เงินตามสัญญาทั้งภายในประเทศ  และต่างประเทศ  ประจำปีงบประมาณ

รายละเอียด

ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา  ครั้งนี้

ในการจัดอบรมในครั้งนี้  ทางผู้จัดมีวัตถุประสงค์เพื่อ

  1. ให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการพิจารณาอนุมัติให้รับทุน  ลาศึกษา  การจัดทำสัญญา

และการคิดคำนวณเงินที่ต้องชดใช้ตามสัญญา  ให้มีความรู้ มีทักษะ  และนำไปปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

2. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานได้แลกเปลี่ยนข้อเสนอ  ข้อคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และแก้ไขปัญหาที่มีขึ้นได้อย่างถูกต้อง

3. เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในการปฏิบัติที่เป็นแนวทาง

เดียวกัน

4. เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่เกิดจากข้อผิดพลาดหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้

 

จากการไปประชุมอบรมครั้งนี้ข้าพเจ้าและคณะ  ได้รับการเพิ่มพูนความรู้ใหม่ ๆ ได้เครือข่ายในการแบ่งกลุ่มปฏิบัติการดำเนินงานการชดใช้ทุน   และได้ลงมือปฏิบัติจริงในเรื่องการลาศึกษาต่อในประเทศ  การจัดทำสัญญาศึกษาต่อในประเทศ  และการขออนุมัติให้ข้าราชการเดินทางไปฝึกอบรมระยะสั้นต่างประเทศ และการจัดทำสัญญาและสัญญาผู้ค้ำประกัน

 

ความรู้ที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานของตนเอง

ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน  

สามารถนำความรู้ที่ไปอบรมมาใช้ในการปฏิบัติงานและเพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการรับทุน ลาศึกษา ฝึกอบรม การจัดทำสัญญาและการชดใช้เงินตามสัญญาลาศึกษา ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และกรณีรับทุนลาศึกษาต่อต่างประเทศสำนักงาน ก.พ. เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำสัญญา และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในการปฏิบัติที่เป็นแนวทางเดียวกัน  เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่เกิดจากข้อผิดพลาดหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้

ด้านการนำผลการพัฒนาไปใช้ประโยชน์

ด้านการพัฒนาบุคลากร

อื่นๆโปรดระบุ เพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอันก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงาน

ด้านสมรรถนะ

การจัดการด้านกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับ

ด้านอื่น ๆ  ได้มีเครือข่ายเพื่อนร่วมงานเพิ่มขึ้น

  (301)