การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน: การวัดและประเมินผลการศึกษา

การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน: การวัดและประเมินผลการศึกษา

บทความเข้าคลังความรู้

วันที่บันทึก: วันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗

ผู้บันทึก: นางสาวอุทุมพร ดุลยเกษม

กลุ่มงาน: กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ประเภทการปฏิบัติงาน: การไปราชการต่างประเทศ

วันที่ ๑๔ – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗

หน่วยงาน: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

สถานที่จัด: Fontys University of Applied Science, Netherland

เรื่อง: การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน: การวัดและประเมินผลการศึกษา

ในการไปราชการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพิ่มพูนการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก

(Active Learning) ให้ครบสมบูรณ์ตามกระบวนการจัดการเรียนการสอน

ที่สิ้นสุดด้วยการประเมินผลการเรียนการสอน ๒) เรียนรู้กระบวนการวัดและประเมินผล

ความสําคัญของการวัดและประเมินผล และวิธีการวัดและประเมินผลแบบต่างๆ โดยเน้นการใช้ IT

ในกระบวนการวัดและประเมินผล

รูปแบบการอบรม มีทั้งรูปแบบการเรียนในชั้นเรียน

การฝึกปฏิบัติการออกแบบการวัดผลการศึกษาตามระดับของ Bloom

Taxonomy การศึกษาดูงานในสถานศึกษาต่างๆ รวมถึงสถานพยาบาล

ซึ่งสามารถนําวิธีการวัดและประเมินผลทางการศึกษามาใช้ในเชิงอาชีพการดูแลสุขภาพได้

โดยผลจากการเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ ได้ข้อสรุปดังนี้

1. การวัดผลทางการศึกษาสามารถทําได้หลายรูปแบบ เช่น การทดสอบโดยการเขียนบรรยาย การทํา

รายงาน การนําเสนอชิ้นงาน การสังเกต การใช้เทคนิคการเรียนแบบ PBL หรือการให้ Case study

เพื่อให้นักศึกษาฝึกการคิดแก้ปัญหา (กรณีนี้สิ่งที่สําคัญคือครูผู้สอนต้องใช้คําถามที่กระตุ้นให้นักศึกษาได้คิด)

ทั้งนี้ทั้งนั้นในการประเมินผลงานของผู้เรียน

ครูจะต้องมีคู่มือหรือแนวทางในการให้คะแนนว่าจะประเมินด้านใดบ้าง (Rubric score)

2. การฝึกออกข้อสอบแบบปรนัย ตามระดับขั้นของ Bloom Taxonomy มีจุดเน้นคือข้อสอบไม่ ควรจะ

เป็นข้อสอบที่มีผลต่อเนื่องกัน เช่น ไม่ถามคําถามที่เป็นผลมาจากข้อที่ผ่านมา โจทย์ควรมีความกระชับเข้าใจได้ง่าย

ไม่ควรมีข้อมูลเยิ่นเย้อโดยเฉพาะเป็นข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่มีประโยชน์ต่อการนํามาใช้พิจารณาในการตอบ

ซึ่งทําให้เสียเวลาในการทําข้อสอบ หรือเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายคือในการออกข้อสอบแบบนี้

สิ่งสําคัญคือต้องออกข้อสอบให้ตรงตามวัตถุประสงค์การเรียน ถูกต้องตาม Test Blue Print มี Objectivity, มี

Reliability, และมี Validity

3. การวัดผลแบบ On line สามารถใช้ได้ดีในกรณีการวัดผลแบบระหว่างเรียน Formative Evaluation

ซึ่งสามารถทําได้โดยการสั่งงานล่วงหน้าก่อนเข้าชั้นเรียน หรือ ทําในขณะเรียนอยู่ในชั้นเรียน

โดยการวัดผลแบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดู Competency ของนักศึกษาระหว่างเรียน

เป็นการหาจุดอ่อนเพื่อแก้ปัญหาหรือเติมเต็มให้กับนักศึกษา

ก่อนสิ้นสุดโปรแกรมการเรียนการสอนและมีการประเมินภาพรวม (Summative Evaluation) ต่อไป

4. การประเมินแบบใช้กราฟ เป็นการประเมินเพื่อดูพัฒนาการ ไม่ใช่การประเมินเพื่อการตัดสิน

5. การประเมินการนําเสนอเป็นกลุ่ม สามารถประเมินแบบ combine ได้ โดยอาจแบ่งการประเมินเป็น

คนที่ ๑ ประเมินด้านการนําเสนอ คนที่ ๒ ประเมินด้านเนื้อหา คนที่ ๓

ประเมินด้าน….ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การประเมิน เป็นต้น

6. ภาพรวมของการวัดและประเมินผล ควรเริ่มมาจากการวางแผนการสอน วัตถุประสงค์การเรียนการ

สอน การวางแผนการประเมินผลระหว่างเรียน หลังสิ้นสุดการเรียน วิธีการประเมินแบบต่างๆ

ซึ่งควรมีการเตรียมเครื่องมือการวัดและประเมินผล (Test and Assessment Tools)

พร้อมคู่มือการใช้เครื่องมือให้พร้อม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความแตกต่างที่เกิดขึ้นจากผู้ใช้เครื่องมือให้น้อยที่สุด

7. การออกข้อสอบ ต้องมี Test Blue Print เป็นแนวและต้องมีการวิพากษ์ข้อสอบว่าสอดคล้องกับ

Test Blue Print และวัตถุประสงค์ของการเรียนว่าต้องการวัดและประเมินในเรื่องใด หรือ Competency ใด

8. การวิเคราะห์ข้อสอบ อย่าเน้นเรื่องความยากง่าย (p) เพราะความยากง่ายของข้อสอบแต่ละชุดขึ้นกับ

ผู้สอบ แต่ควรเน้นที่อํานาจจําแนก (r)

ซึ่งนั่นหมายถึงว่าถ้าข้อสอบชุดนั้นดีจริงจะต้องสามารถแยกได้ว่านักศึกษาคนไหนที่เข้าเรียน เข้าใจ

จะต้องทําข้อสอบชุดนั้นได้ ขณะเดียวกันถ้านักศึกษาที่ไม่เคยเรียนวิชานี้เลยแต่ก็สามารถทําข้อสอบชุดนี้ได้

แสดงว่าข้อสอบชุดนี้ไม่สามารถจําแนกผู้สอบได้

นอกจากนี้ควรเน้นเรื่องข้อสอบว่าออกได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการทดสอบหรือไม่

9. นักศึกษาควรจะได้รับทราบตั้งแต่ก่อนเรียนว่าวิชาที่เรียนมีวัตถุประสงค์ในการเรียนหรือเป้าหมายที่

ต้องการให้เกิดหลังสิ้นสุดการเรียนอย่างไร มีวิธีการเรียนการสอนอย่างไร วิธีการวัดและประเมินผลทําอย่างไร

เมื่อไรบ้าง เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษาได้รับทราบและเตรียมตัวก่อนเรียน

ดังนั้นจึงควรให้ความสําคัญในชั่วโมงปฐมนิเทศวิชาก่อนเริ่มการเรียนอย่างน้อย ๑ ชั่วโมง

10. การใช้วิธีการประเมินตนเองทาง on line ด้านความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลใน Procedure ต่างๆ ( E-

Learning) เพื่อเป็นการทบทวนความรู้และการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ (ห้อง

Lab) หรือก่อนสอบเพื่อต่อใบประกอบวิชาชีพ (จากการศึกษาดูงาน รพ.Vie Curi)

11. หลักการนําเสนอโดยใช้ PPT ให้มีการเตรียมอยู่ ๒ กรณี คือ ๑) ผู้นําเสนอ และ ๒) งานที่ต้องนําเสนอ

สําหรับผู้นําเสนอ ให้เตรียมในเรื่องต่อไปนี้

มีน้ําเสียงหนัก-เบา ไม่ใช่เสียงแบบราบเรียบ / การออกเสียงอักขระถูกต้อง ไม่ช้าหรือเร็วเกินไป / มีการเน้น

น้ําหนักเสียงในจุดที่สําคัญ หรือเมื่อเปลี่ยนหัวข้อ / ใช้เทคนิคการหยุดเป็นระยะ

ไม่พูดต่อเนื่องยาวจนหาจุดเน้นไม่ได้ เพื่อเรียกความสนใจ

สื่อสาร แต่ต้องไม่มากจนเกินไป / การประสานสายตาเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง / การยืน

– เดิน ควรมีการเคลื่อนไหวร่างกายไปมาบ้าง ไม่ยืนอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ

ขณะเดียวกันก็ไม่เคลื่อนไหวร่างกายจนมากเกินไปจนผู้ฟังตาลาย ไม่ควรนั่งขณะนําเสนอ

ที่ใช้ประจํา ให้เขียนในกระดาษย่อหรือทําเป็นคําพูดใต้ Slide ซึ่งผู้พูดสามารถมองเห็นได้คนเดียว

สําหรับงานที่ต้องนําเสนอ ให้เตรียมดังนี้

Slide มีไว้สําหรับช่วยผู้นําเสนอในการนําเสนอด้วยการอธิบายให้เกิดความชัดเจน มิใช่เพื่อผู้ฟังไว้อ่าน

ดังนั้นจึงไม่ควรใส่รายละเอียด (การใส่ Text มากจะทําให้ผู้ฟังอ่านบน Slide มากกว่าฟัง)

- ลักษณะ Verbal ผู้นําเสนอควรมีการนําเสนอด้วยโทนน้ําเสียงที่เรียกความสนใจได้ โดยการ

- ลักษณะ Non verbal ผู้นําเสนอควรมีการแสดงสีหน้าท่าทาง /การใช้มือไม้ในการช่วย

- อื่นๆ เช่น ศัพท์หรือภาษาที่ใช้ ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ถ้าเป็นภาษาที่ไม่ถนัดหรือไม่ใช่ภาษา

- ข้อความบน Slide ควรเป็นหัวข้อหลักๆ ไม่ควรมีมากเกินไป พึงจําไว้เสมอว่า ข้อความบน

จะคิดว่าทําไมใช้ Background นี้ หรือ Background นี้ไม่สัมพันธ์กับเนื้อหา เป็นต้น

สนใจเนื้อหาที่ผู้นําเสนอต้องการนําเสนอ

ใช้ขนาด ๒๘ Bold (ตัวหนา)

ความรู้ที่จะนําไปพัฒนาต่อ:

- การให้ความสําคัญกับการเตรียมตัวก่อนเรียนของนักศึกษา (ปฐมนิเทศ)

- การเตรียมเครื่องมือวัดและประเมินผล ควรเตรียมไว้ให้เรียบร้อยก่อนเริ่มการเรียนการสอน

- บน Slide ควรมีทั้งตัวหนังสือและรูปภาพ เพื่อให้ผู้ฟังจําได้

- Animation อย่าใช้ฟุ่มเฟือย ควรใช้เวลาเปลี่ยนหัวข้อหรือต้องการเน้น

- Background ควรเป็นเป็นแบบเรียบๆ การใช้ Background แปลกๆ จะทําให้ผู้ฟังไม่ฟังแต่

- การใช้สีเพื่อดึงดูดผู้ฟัง ไม่ใช่ความสําเร็จของการนําเสนอ เพราะผู้ฟังจะสนใจแต่ Slide แต่ไม่

- ชนิดและขนาดตัวอักษรภาษาอังกฤษที่อ่านง่ายคือ Calibri ขนาด ๒๔ หรือถ้าเป็นหัวข้อ ให้

- การมี Test Blue Print ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียน

- การวิพากษ์ข้อสอบ ควรมีกรรมการในการช่วยวิพากษ์

- การวัดและประเมินผลควรใช้หลากหลายวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประเมินแบบ Formative

Evaluation (417)

Comments are closed.