แบบฟอร์มสําหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้
ผู้บันทึก : นายสิงห์ กาญจนอารี
กลุ่มงาน : งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเภทการปฏิบัติงาน : ประชุมเชิงปฏิบัติการ
วันที่ 22 ก.ค. 2557 ถึงวันที่ 25 ก.ค. 2557
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก
สถานที่จัด : โรงแรมจอมเทียนการ์เด้น รีสอร์ท พัทยา จ. ชลบุรี
การพัฒนาบุคลากรผู้ดูแลระบบเกี่ยวกับการจักทําแผนบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถาบันพระบรมราชชนกและวิทยาลัยในสังกัด
หลักการวิเคราะห์ ประเมินและจัดทําความเสี่ยง
การพัฒนาบุคลากรผู้ดูแลระบบเกี่ยวกับการจักทําแผนบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อส
ารของสถาบันพระบรมราชชนกและวิทยาลัยในสังกัด ยึดกระบวนการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐาน COSO (
Committee of Sponsoring Organization of the Tread way Commission ) มีหลักการดังนี้
1. การกําหนดเป้าหมายการบริหารความเสี่ยง ( Objective Setting )
2. การระบุความเสี่ยงต่างๆ ( Event Identification )
3. การประเมินความเสี่ยง ( Risk Assessment )
4. กลยุทธ์ที่ใช้ในการจัดการกับแต่ละความเสี่ยง ( Risk Response )
5. กิจกรรมการบริหารความเสี่ยง ( Control Activities )
6. ข้อมูลและการสื่อสารด้านบริหารความเสี่ยง ( Information and Communication )
7. การติดตามผลและเฝ้าระวังความเสี่ยงต่างๆ ( Monitoring )
วัตถุประสงค์ของการวางแผนความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินและเพื่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทค
โนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2. เพื่อให้มีวิธีปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทและการสื่อสาร
ที่สอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้แก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับและบุคลากรที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
3. เพื่อสร้างความตระหนักด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้แก่เจ้าหน้าที่และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
4. เพื่อให้มีการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีส
ารสนเทศและการสื่อสารอย่างสม่ําเสมอทรัพยากรด้านเทคโนโลยี ( IT Resources ) ที่ต้องคํานึงถึง ในการวางแผนความเสี่ยง
1. ระบบงาน ( Application System ) ได้แก่
ขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติงานทั้งที่ทําด้วยมือและโปรแกรมคอมพิวเตอร์
2. เทคโนโลยี ( Technology ) ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ ( Hardware ) โปรแกรมระบบ ( Operating
System ) ระบบบริหารฐานข้อมูล ( Database Management System ) ระบบเครือข่าย ( Network )
และระบบมัลติมีเดีย
3. องค์ประกอบ ( Facilities ) ได้แก่ ทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้เป็นสถานที่ติดตั้งหรือจัดวาง ตลอดจน
สาธารณุปโภคที่จําเป็นเพื่อการปฏิบัติงานของระบบสารสนเทศ
4. บุคลากร ( People ) ได้แก่ บุคลากรที่มีความรู้
ความชํานาญในการบริหารและปฏิบัติงานสําหรับการดูแลและจัดระบบ
การประเมินความเสี่ยง ( Risk assessment )
การวิเคราะห์ความเสี่ยง จากการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสารสนเทศของกรม
สามารถแยกประเภทความเสี่ยงได้ 4 ประเภท ดังนี้
1. ความเสี่ยงด้านเทคนิค เป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องมือ และอุปกรณ์เอง
อาจเกิดถูกโจมตีจากไวรัสหรือโปรแกรมไม่ประสงค์ดี ถูกก่อกวนจาก Hacker และถูกเจาะทําลายระบบจาก
2. ความเสี่ยงจากผู้ปฏิบัติงาน เป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินการ
การจัดความสําคัญในการเข้าถึงข้อมูลไม่เหมาะสมกับการใช้งานหรือการให้บริการ
โดยผู้ใช้อาจเข้าสู่ระบบสารสนเทศหรือใช้ข้อมูลต่างๆ ของสถาบันพระบรมราชชนก
เกินกว่าอํานาจหน้าที่ของตนเองที่มีอยู่ และอาจทําให้เกิดความเสี่ยหายต่อข้อมูลสารสนเทศได้
3. ความเสี่ยงจากภัย หรือสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดจากภัยพิบัติตามธรรมชาติ
หรือสถานการณ์ร้ายแรงที่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงกับข้อมูลสารสนเทศ เช่น ไฟฟ้าขัดข้อง น้ําท่วม
ไฟไหม้ อาคารถล่ม การชุมนุมประท้วง หรือความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เป็นต้น
4. ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ
เป็นความเสี่ยงจากการวางแนวนโยบายในการบริหารจัดการที่อาจส่งผลกระทบต่อการดําเนินกานด้านสารสนเท
สรุปความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
1. ความเสี่ยงจากการเข้าถึงข้อมูลของบุคคลอื่น
2. ความเสี่ยงจากการนําเอาอุปกรณ์อื่นที่ไม่ได้รับอนุญาตมาเชื่อมต่อ
3. ความเสี่ยงจากกระแสไฟฟ้าขัดข้อง / ไฟฟ้าดันแรงดันไฟฟ้าไม่คงที่
4. ความเสี่ยงจากการถูกบุกรุกโดยผู้ไม่ประสงค์ดี
5. ความเสี่ยงจากการขาดแคลนบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน
6. ความเสี่ยงจากการได้รับการสนับสนุนงบประมาณไม่เพียงพอ
7. ความเสี่ยงจากการเกิดไฟไหม้ / ภัยธรรมชาติ
8. ความเสี่ยงจากสถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง
9. ความเสี่ยงจากเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ขัดข้อง ไม่สามารถทํางานได้ตามปกติ
10. ความเสี่ยงจากการโจรกรรมเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
ความรู้ที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
ความรู้เกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยง สามารถนํามาวิเคราะห์องค์กร ในงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
นําไปสู่การจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของวิทยาลัย ต่อไป
นําความรู้มาพัฒนาแผนบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ครอบคลุม
ไปถึงการจัดการป้องกันความเสี่ยง และผู้รับผิดชอบหลักในการเผ้าระวัง (333)