อบรมพัฒนานักศึกษาวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

อบรมพัฒนานักศึกษาวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

แบบฟอร์มสําหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

ผู้บันทึก : นางสาวนอลีสา โต๊ะยุโส๊ะ

กลุ่มงาน : พัฒนานักศึกษาและทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม

ประเภทการปฏิบัติงาน (เช่น ประชุม อบรม ฯลฯ) :อบรม

วันที่ 29 กรกฎาคม 2557 ถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2557

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก

สถานที่จัด : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

เรื่อง : อบรมพัฒนานักศึกษาวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

เรื่องบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสถาบันพระบรมราชชนก โดยนายแพทย์อภิชาต รอดสม

ผู้อํานวยการสถาบันพระบรมราชชนก

- อัตลักษณ์ บัณฑิตสถาบันพระบรมราชชนก

S = Service mind จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

A = Analytical Thinking การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

P = Participation การมีส่วนร่วมในสังคมพหุวัฒนธรรม

เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา สําหรับนักศึกษา โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จินดา งามสุทธิ

ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง กิจกรรมหรือแนวปฏิบัติใดๆ ที่หากดําเนินการตามระบบ

และแผนที่ได้วางไว้แล้ว จะทําให้เกิดความมั่นใจว่า จะได้ผลผลิตของการศึกษาที่มีคุณภาพ

ตามลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

การประกันคุณภาพภายใน หมายความว่า การประเมินผลและติดตามการตรวจสอบ

มาตรฐานและคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง

หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัด ที่มีหน้าที่กํากับดูสถานศึกษานั้น

การประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก หมายความว่า การประเมินผลและการติดตาม

ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ของสถานศึกษาจากภายนอก

โดยสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือบุคลากร

หรือหน่วยงานภายนอกที่สํานักงานดังกล่าวรับรองเพื่อเป็นการประกันคุณภาพ

และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

- เริ่มจากทุกคนให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้

- เก็บข้อมูลตามภาระงานที่ต้องทํา

- สร้างความเข้าใจเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา

- รวบรวม / จัดระบบข้อมูลโดยเจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพ

- กําหนดตัวบ่งชี้คุณภาพ

- เขียนคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา

- เขียนรายงานการศึกษาตนเองตามข้อมูลz

- เผยแพร่ผลการตรวจสอบ เพื่อร่วมมือกันวางแผน หาทางแก้ไขจุดอ่อน เสริมจุดแข็ง

- ดําเนินการตมแผนที่ระบุไว้ในคู่มือ เพื่อให้ได้ตามมาตรฐาน

- ตรวจสอบคุณภาพภายในด้วยตนเอง

ตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา ( ระดับประกันคุณภาพการศึกษาภายใน )

ตัวบ่งชี้ ๑.๑.๑ ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรี ที่ได้งานทําหรือประกอบอาชีพอิสระ ภายใน ๑ ปี

ตัวบ่งชี้ ๒.๕ การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

๑.จัดบริการให้คําปรึกษาทางวิชาการ และการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในคณะวิชา

๒.มีการให้ข้อของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงาน

ทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา

๓.จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทํางานเมือสําเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา

๔.ประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรม และการจัดบริการในข้อ ๑-๓ ทุกข้อ ไม่ต่ํากว่า ๓.๕๑

๕.นําผลการประเมินจากข้อ ๔ มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการ และให้ข้อมูล

เพื่อส่งให้ผลการประเมินสูงขึ้นหรือเป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา

๖.ให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ ในการประกอบอาชีพแก่ศิษย์เก่า

ตัวบ่งชี้ ๒.๖ กิจกรรมนักศึกษาปริญญาตรี

๑.จัดทําแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมของคณะวิชา

โดยให้นกศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทําแผน และจัดกิกรรม

๒.ในแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาให้ดําเนินกิจกรรมในประเภท ต่อไปนี้ให้ครบถ้วน

-กิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ที่กําหนดโดยสถาบัน

-กิจกรรมกีฬาหรือการส่งเสริมสุขภาพ

-กิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อม

-กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม

-กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม

๓.จัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพแก่นักศึกษา

๔.ทุกกิจกรรมที่ดําเนินการมีการประเมินผลความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม

และนําผลการประเมินมาปรับปรุงการดําเนินการครั้งต่อไป

๕.ประเมินความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา

๖.นําผลการประเมินไปปรับปรุงแผน หรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา ( ระดับประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก )

ตัวบ่งชี้ ๑ ผู้เรียนเป็นคนดี

ตัวบ่งชี้ ๒ ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร

ตัวบ่งชี้ ๔ ศิษย์เก่าที่ประโยชน์ให้กับสถาบัน

การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การประเมินที่เกี่ยวกับนักศึกษา

ตัวบ่งชี้๓.๒ ระบบและกลไกส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา

เกณฑ์ข้อ ๔ มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสร้างเครือข่ายพัฒนาคุณภาพในสถาบันและระหว่างสถาบัน

วงจรคุณภาพ จาก Plan Do Check Act เป็น Plan Do Study Act

ความรู้ที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

การจัดกิจกรรมของงานพัฒนานักศึกษาและทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดคุณลักษณะบัณ

2. การจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาสอดคล้องกับเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษา (ตัวบ่งชี้ 2.5)

และดําเนินการโครงการ/กิจกรรมตามหลัก Plan Do Study Act

1. การจัดทําแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมของวิทยาลัย

ต้องให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทําแผน และจัดกิกรรม เช่น

การจัดประชุมฝ่ายกิจการนักศึกษาเพื่อจัดทําแผนจะต้องดําเนินการให้นักศึกษาตัวแทนนักศึกษา เช่น

องค์การนักศึกษา หัวหน้าชมรม ประธานชั้นปีหรือตัวแทนแต่ละชั้นปีเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทําแผนกิจกรรม

2. การดําเนินกิจกรรมของนักศึกษาและงานพัฒนานักศึกษา ฝ่ายกิจการนักศึกษาต้องดําเนินงานตามหลัก

Plan Do Study Act: Study คือการประเมินผลร่วมกับการศึกษาประชุมวิเคราะห์ผลการดําเนินงานแต่ละด้าน

เพื่อนําไปสู่การปรับปรุงแผนต่อไป (394)

Comments are closed.