การศึกษาทางไกล: พัฒนาสุขภาวะชุมชนสู่อาเซียน ประจำปี 2557

การศึกษาทางไกล: พัฒนาสุขภาวะชุมชนสู่อาเซียน ประจำปี 2557

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

วันที่บันทึก : 30 กันยายน 2557

ผู้บันทึก : นางภคมล   ทรงเลิศ

กลุ่มงาน : การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

ฝ่าย : วิชาการ

ประเภทการปฏิบัติงาน : ประชุม

วันที่  2  กันยายน 2557 ถึงวันที่ 4 กันยายน 2557

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สถานที่จัด : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เรื่อง : ประชุมวิชาการเรื่องการศึกษาทางไกล: พัฒนาสุขภาวะชุมชนสู่อาเซียน ประจำปี 2557
รายละเอียด

          การประชุมประชุมวิชาการเรื่องการศึกษาทางไกล: พัฒนาสุขภาวะชุมชนสู่อาเซียน จากแนวคิดสู่นวัตกรรม พยาบาลวิชาชีพเป็นบุคลากรทางสุขภาพที่เป็นเฟืองจักรสำคัญในการพัฒนาสุขภาพของประชาชน เนื่องจากวิชาชีพการพยาบาลมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านศาสตร์และศิลปะทางการพยาบาลเพื่อให้สามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและสังคมโดยเฉพาะการที่ประเทศไทยจะก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนใน ปี 2558 วิชาชีพพยาบาลเป็นเป็นสาขาบริการในลำดับต้นๆที่มีการจัดลำดับข้อตกลงร่วมกัน ( Mutual Recognition Arrangements : MRA ) ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลสุขภาพของประชาชนในสังคม จำเป็นต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านความรู้เชิงวิชาชีพและด้านสังคมเพื่อให้เกิดความพร้อม  มีความมั่นใจ  สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีศักยภาพและทันต่อการเปลี่ยนแปลง

การบรรยายในเรื่อง ผู้นำการพยาบาลกับการเสริมสร้างภาวะชุมชน

คำจำกัดความของคำว่าผู้นำ

1.ต้องเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง

2.ต้องมองทั้งองค์กร

3.เป็นผู้นำที่ไม่เผด็จการหรือบริหารจัดการทุกอย่างแบบที่ต้องมองการทำงาน

ผู้นำต้องมี คือ

1.Emotional

2.Relational

3.Environmental

4.cognitive

ในการเป็นผู้นำย่อมมีโอกาสผิดพลาดได้ สำหรับภาวะผู้นำ คือ กล่าวว่าเขาได้รับเกียรติจากเราอย่างให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาในงานระดับเดียวกัน  ทุกๆคนมีส่วนร่วมเหมือนกัน

สำหรับบุคลิกของผู้นำ

1.มีความเมตตากรุณา

2.ความซื่อสัคย์จริงใจ

3.การอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ฟุ้งเฟ้อกับสิ่งที่มีกับสิ่งที่ได้

4.ความกล้า

ทางด้านร่างกาย จิตใจ  คุณธรรม ต้องมีเท่าๆกัน  เขากล่าวว่าคุณต้องวิเคราะห์คนที่อยู่ในมือคุณอย่างไร  แล้วนำไปใช้ให้ตรงกับคนๆนั้นและต้องเข้ากับสถานการณ์ของคนๆนั้นด้วย

  1. Directive
  2. Coaching
  3. Supporting
  4. Delegation

Innovation in Nursing Education

1.Low

2.Medicine

3.Clergy

4.Enginecring

5.Nursing

คุณสมบัติของผู้นำ

เรื่องของการควบคุมอารมณ์

ตระหนักรู้ในตนเอง พยายามควบคุมตนเองให้ได้  ต้องมีความหยุ่นตัวหรือยืดหยุ่น

สิ่งที่ต้องสร้างให้มีในผู้นำคือ เรื่องของคุณค่าในเรื่องของความรู้ การมองภาวะเสี่ยงต่างๆให้รอบด้าน

สิ่งผู้นำต้องตระหนักและทำเพื่อบุคลากรที่รับผิดชอบได้เรียนรู้คือ

1.ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้เกิดความตื่นตัวในการเข้าสู้ประชาคมอาเซียน

2.ให้มีการเพิ่มพูนความรู้ในทุกๆด้าน ด้านวิชาการที่ก้าวทันสมัย ด้านสังคม ด้านชุมชน อื่นๆเพื่อก้าวสู้การเป็นพยาบาลผู้ปฏิบัติและผู้สอนในยุคประชาคมอาเซียน

3.ควรส่งเสริมการสร้างเครือข่ายบุคลากรทางการพยาบาลในการพัฒนาวิชาชีพทั้งภาครัฐและเอกชน

ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

          พัฒนาศักยภาพตนเองทั้งความรู้ในวิชาชีพหรือความรู้รอบด้าน นำบุคลิกของผู้นำในเรื่องมีความเมตตากรุณา  ความซื่อสัตย์จริงใจ  การอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ฟุ้งเฟ้อกับสิ่งที่มีกับสิ่งที่ได้  ความกล้า มาใช้ในการปฏิบัติงานในทุกๆหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

ประเด็นการศึกษา/วิจัย เกี่ยวกับสุขภาพจิตและจิตเวชที่รับผิดชอบในชุมชน อาจจะเป็นประเด็นของการภาวะผู้นำของอสม เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในการทำงานในชุมชนให้มากขึ้น (448)

สร้างความเข้มแข็งของนักศึกษาพยาบาลเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่

สร้างความเข้มแข็งของนักศึกษาพยาบาลเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :  ๓๐  กันยายน   ๒๕๕๗

ผู้บันทึกนางสาวปิยะพร พรหมแก้ว  และนางสาวปิยรัตน์ จีนาพันธุ์

กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลพื้นฐานและพื้นฐานวิชาชีพ และ กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาตร์

ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม

วันที่   ๒๗   -   ๒๘   กันยายน   ๒๕๕๗

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : เครือข่ายพยาบาลเพื่อการควบคุมยาสูบแห่งประเทศไทย

สถานที่จัด :   ณ โรงแรมกาดต์มณี กรุงเทพมหานคร

เรื่อง : สร้างความเข้มแข็งของนักศึกษาพยาบาลเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่

รายละเอียด

๑.     ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา  ครั้งนี้

๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ

ความเข้มแข็งของชมรมนักศึกษาพยาบาลกับการพิชิตภัยบุหรี่

ความหมายของคำว่า

พลัง(Energy) การร่วมแรงร่วมใจกันในการจัดกิจกรรม รวมพลังเสริมแรงกันในกลุ่มเพื่อให้ทำกิจกรรมนั้นมีความสำเร็จ ซึ่งเป็นพลังที่เกิดจากการปลูกฝัง การเรียนการสอน และมีเจตคติที่ดีต่อการทำกิจกรรมหรือการรณรงค์

ชมรมนักศึกษาพยาบาล : TEAM , T:Together, E:Enrecne, A:Active, M:More การร่วมตัวกันระหว่างนักศึกษาพยาบาลเพื่อลงมือทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

พิชิตภัยบุหรี่คือ การเลิก ให้รู้จักโทษ-ภัยบุหรี่, สร้างความตระหนักในตนเอง

หลักสำคัญในการควบคุมยาสูบคือ จะทำอย่างไรให้คนเลิกสูบ ทำอย่างไรให้สังคมไทยปลอดบุหรี่ ทำอย่างไรให้ไม่มีผู้สูบหน้าใหม่ โดยการประเมินผู้ป่วยรายนั้น  โดยให้ความรู้เฉพาะเจาะจงในแต่ละคน

ภัยใกล้ตัวจากควันบุหรี่

สารพิษในควันบุหรี่ที่มีผลต่อร่างกาย

- นิโคติน เป็นสารที่ทำให้คนติดบุหรี่อยู่ในรูปของทั้งกรดและและด่างสามารถแพร่เข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็วและสามารถแพร่ผ่านโครงสร้างกั้นระหว่างเลือดและสมอง

- ทาร์หรือน้ำมันดิน ประกอบด้วยสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารก่อมะเร็ง เกาะกันเป็นสีน้ำตาลแก่ เกิดจากการเผาไหม้ของกระดาษและใบยาสูบ ทาร์จะไปจับที่ปอดและรวมตัวกับฝุ่นละอองที่สูดเข้าไป จับตัวสะสมในถุงลมปอดทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง

- คาร์บอนมอนอกไซด์ (carbon mo- noxide) เป็นก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ชนิดเดียวกับที่พ่นออกมาจากท่อไอเสียรถยนต์ ก๊าซนี้จะขัดขวางการลำเลียงออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง ทำให้ผู้สูบบุหรี่ได้รับออกซิเจน น้อยลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๑๐-๑๕ สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่จัด ร่างกายต้องสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น ทำให้เลือดข้นและหนืดมากขึ้น หัวใจต้องเต้นเร็วขึ้นและทำงานมากขึ้น เพื่อให้เลือดนำออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆของร่างกายให้เพียงพอ ถ้าก๊าซนี้มีจำนวนมากจะทำให้เนื้อเยื่อขาดออกซิเจน

- ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (hydrogencyanide) ก่อให้เกิดอาการไอ มีเสมหะ และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ และคลื่นไส้อาเจียน เป็นก๊าซพิษที่ใช้ในสงคราม สารไนเทรตในบุหรี่ทำให้เกิดสารนี้ สารนี้เป็นตัวสกัดกั้นเอนไซม์ที่เกี่ยวกับการหายใจหลายตัว ทำให้เกิดความผิดปกติของการเผาผลาญพลังงานที่กล้ามเนื้อหัวใจและที่ผนังหลอด เลือด

- ไนโตรเจนไดออกไซด์ (nitrogen dioxide) เป็นสาเหตุของโรคถุงลมปอดโป่งพอง โดยจะไปทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลายและถุงลม

- ไนโตรเจนออกไซด์ (nitrogen oxide) ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ใจสั่น

– แอมโมเนีย (ammonia) ใช้ในการปรุงแต่งรสชาติ และช่วยให้นิโคตินดูดซึมเข้าสู่สมองและประสาทส่วนกลางเร็วขึ้น มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ

- ไซยาไนด์ (cyanide) สารนี้ถ้าได้รับในปริมาณมากจะทำให้หัวใจเป็นอัมพาต และหยุดหายใจได้ ปกติใช้เป็น ยาเบื่อหนู
          – เบนซีน (benzene) พบในยาฆ่าแมลง อาจติดมากับใบยาสูบ เป็นสารก่อมะเร็ง

- ฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อดวงตา เยื่อบุจมูก และทางเดินหายใจ เป็นสารก่อมะเร็งอย่างสูง
- ๑, ๓ บิวทาไดอีน (1, 3 butadiene) เป็นสารที่ทำให้ตา โพรงจมูก คอ และปอดเกิดความระคายเคือง และเป็นสาเหตุของอาการทางระบบประสาทหลายอย่าง เช่น ทำให้สายตาพร่ามัว เมื่อยล้าร่างกาย และปวดศีรษะหรือเวียนศีรษะ เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหัวใจ และเป็นสารก่อมะเร็ง

- อะซีทาลดีไฮด์ (acetaldehyde) ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อดวงตา ผิวหนัง และทางเดินหายใจ อาจทำให้เกิดอาการ หัวใจเต้นเร็ว ไอ ถุงลมปอดบวมและเป็นเนื้อตาย

 - อะโครลีน (acrolein) เป็นสารพิษที่ร้ายแรงต่อมนุษย์ มีผลทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อปอด ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนระคายเคืองและบวม ผู้สูบจะรู้สึกหายใจแน่นหน้าอก หายใจไม่โล่ง นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อดวงตาอีกด้วย

- อะไครโลไนไทรล์ (acrylonitrile) ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางอย่างอ่อน ปลายมือปลายเท้าซีดเขียว เม็ดเลือดขาวลดลง ระคายเคืองต่อไต เยื่อบุตาขาวมีสีเหลืองเล็กน้อย และหายใจไม่สม่ำเสมอได้ นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดอาการแสดงต่อไปนี้คือ เยื่อบุตา จมูก และปอดระคายเคือง ปวดศีรษะ มึนเวียนศีรษะ คลื่นไส้ รู้สึกไม่ค่อยสบายและหงุดหงิด อาจก่อให้เกิดมะเร็ง

- อะโรแมติก อะไมน์-๔ อะมิโน ไบฟีนิล (aromatic amines-4-amino-biphenyl) เป็นสารที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ง่วง เซื่องซึม ปลายมือปลายเท้าเขียวคล้ำ ปัสสาวะปวดแสบปวดร้อน และอาจมีเลือดปน เป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ

  - แอสเบสทอส (asbestos) ก่อให้เกิดมะเร็งปอด มะเร็งเยื่อหุ้มปอดและเยื่อบุหน้าท้อง

         – เบนโซ (อะ) ไพรีน (benzo [a] pyrene) เป็นสารก่อมะเร็งอย่างแรง

         - เบนซิดีน (benzidine) ก่อให้เกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

         - บิส (คลอโรเมทิล) อีเทอร์ (bis (chloromethyl) ether) ก่อให้เกิดมะเร็งปอด

         - บิวไทราลดีไฮด์ (butyraldehyde) มีผลต่อการหายใจ และมีการศึกษาในสัตว์ทดลองว่า ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเซลล์ของระบบสืบพันธุ์

- แคดเมียม (cadmium) การเข้าสู่ร่างกายโดยการสูดดมก่อให้เกิดอันตรายมากกว่าการรับประทาน การได้รับสารเป็นระยะเวลานานแม้ว่าจะเป็นจำนวนเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำอันตรายต่อไต ตับ และสมอง และเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดและอัณฑะ

- สารตะกั่ว (lead) เป็นสารโลหะที่ทำลายสมอง ไต ระบบประสาท และเม็ดเลือดแดงอย่างรุนแรง สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังได้โดยเฉพาะในเด็กจะดูดซึมได้ดี ทำให้ไปยับยั้งการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง ความเฉลียวฉลาดจะช้ากว่าเด็กปกติ การรับรู้สั้น

- เอ็ม พี และ โอ ครีซอล (m, p and o-Cresol) โครมาริน (cromarin) โครโทนาลดีไฮด์(crotonaldehyde) และ ดีดีที (DDT) ทั้งหมดนี้เป็นสารก่อมะเร็ง

- สารปรอท (mercury) เป็นสารโลหะ ที่เป็นพิษต่อสมองทำให้เกิดอาการสั่น ความจำเสื่อม และโรคไต

- เมทิล เอทิล คีโทน (methyl ethyl ketone) ทำให้ตา จมูก และคอระคายเคือง และกดระบบประสาทส่วนกลาง

  - นิกเกิล (nickel) ทำให้ระบบทางเดิน หายใจติดเชื้อง่ายขึ้น

- ไนทริกออกไซด์ (nitric oxide) มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ถ้าได้รับในปริมาณมาก จะทำให้ปอดหยุดทำงาน สารนี้มีผลทำให้เกิดหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถุงลมโป่งพองและหอบหืดในเด็กอายุต่ำกว่า ๒ ปี

          - พี-ไฮโดรควิโนน (p-Hydroquinone) ทำให้ตาระคายเคือง ไปจนถึงเกิดการจับตัวกับเยื่อบุตาขาว และตาขาว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความหนาและความโค้งของตาขาว ทำให้สายตาพร่ามัว

          - ฟีนอล (phenol) เป็นสารที่ทำให้ผิวหนัง ดวงตา และเยื่อบุต่างๆในร่างกายมนุษย์ระคายเคืองอย่างแรง

          - พอโลเนียม-๒๑๐ (polonium-210) เป็นสารกัมมันตรังสี ก่อให้เกิดมะเร็ง

          – ควิโนลีน (quinoline) ทำให้ระคายเคืองต่อดวงตา จมูก และคอ และอาจทำให้ปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ และคลื่นไส้ นอกจากนี้ยังเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย

          - เซเลเนียม (selenium) ไฮโดรเจนเซเลเนียมที่ได้รับจากการสูดเข้าสู่ร่างกายมีพิษมากที่สุดในสาร ตระกูลเซเลเนียม ทำอันตรายต่อทางเดินหายใจ ทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจระคายเคือง เยื่อบุปอดบวม หลอดลมอักเสบ และปอดบวม

- สไตรีน (styrene) มีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ เมื่อยล้า อ่อนเพลีย และซึมเศร้า นอกจากนี้ยังมีผลต่อระบบประสาทส่วนปลาย และต่อการทำหน้าที่ของเอนไซม์ที่เกี่ยวกับไตและโลหิตอีกด้วย

-    โทลูอีน (toluene) สารนี้เมื่อได้รับในปริมาณมากจะกดระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการเดินไม่มั่นคง มือสั่น สมองเหี่ยว พูดไม่ชัด หูอื้อ ตาพร่า ถ้าสูดเข้าร่างกายในระยะเวลานาน จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อดวงตา ทางเดินหายใจ เจ็บคอ คลื่นไส้ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ และนอนไม่หลับ

 

 

ผลกระทบของยาสูบต่อต่อสุขภาพ

๑.หากได้รับควันบุหรี่ระดับน้อยๆ ในระยะแรก จะทำให้ผนังหลอดเลือดทำงานผิดปกติและเกิดการอักเสบ ซึ่งจะนำไปสู่โรคหัวใจวายกะทันหัน โรคเส้นเลือดในสมองตีบสารเคมีในควันบุหรี่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ คือ สตรีตั้งครรภ์ ทำให้เกิดการขัดขวางการทำงานของท่อนำไข่ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงโรคแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์นอกมดลูก แท้งลูกและคลอดก่อนกำหนด ชายวัยเจริญพันธุ์ มีอันตรายต่อสารพันธุกรรม ของเชื้ออสุจิ ซึ่งอาจทำให้การมีบุตรยากขึ้นหรือความผิดปกติในการพัฒนาของเด็กที่เกิด

๒.หากได้รับควันบุหรี่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายในอวัยวะต่างๆ ทันทีทั้งในระบบทางเดินหายใจ ระบบหลอดเลือด รวมทั้งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์

๓.หากได้รับควันบุหรี่เป็นเวลานานพบว่ามีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่สัมผัสควันบุหรี่ และจำนวนมวนที่สูบบุหรี่ต่อวัน ทำให้เสี่ยงต่อความเสียหายของอวัยวะเกิดโรคต่างๆและมีความรุนแรงของโรคมากยิ่งขึ้น

ผลกระทบของยาสูบต่อเศรษฐกิจ

ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการที่เสียชีวิตก่อนเวลาอันควร ความพิการและการสูญเสียความสามารถในการหารายได้ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความยากจน การพัฒนาประเทศเป็นไปได้ช้า และยังส่งผลต่อปัญหาสุขภาพ ปัญหาเหล่านี้พบได้ทั่วไปโดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งยังมีข้อจำกัดเรื่องมาตรการในการควบคุมบริโภคยาสูบ

ผลิตภัณฑ์ยาสูบ (Tobacco products) จำแนกตามลักษณะการใช้งานออกเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดมีควัน (Smoked tobacco) และไม่มีควัน (Smokeless tobacco) มีรายละเอียดดังนี้

ผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดมีควัน (Smoked tobacco)

ผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดมีควัน อาจเรียกว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้โดยวิธีสูบ สามารถจำแนกได้เป็น ๓ กลุ่มได้แก่

๑. บุหรี่โรงงาน (Manufactured cigarettes) อาจรู้จักในชื่อเรียกอื่นที่มีความหมายเดียวกัน อาทิ บุหรี่ซอง บุหรี่ซิกาแรต เป็นต้น โดยบุหรี่โรงงานครอบคลุมทั้งบุหรี่ที่มีและไม่มีก้นกรอง และทั้งจากแหล่งผลิตที่เป็นโรงงานภายในประเทศ ได้แก่ โรงงานยาสูบ (รยส) กระทรวงการคลัง และต่างประเทศ บุหรี่ที่ผลิตในประเทศโดยโรงงานยาสูบในปีงบประมาณ ๒๕๕๑ มีจานวนรวมทั้งสิ้น ๑๗ ตรา/ยี่ห้อ โดยเป็นชนิดมีก้นกรอง ๑๒ ตรา/ยี่ห้อ อาทิ กรองทิพย์ ๙๐ กรองทิพย์ รสอเมริกัน กรองทิพย์ (สีฟ้า) กรองทิพย์ ๙๐ เดอลุกซ์ สายฝน ๙๐และวันเดอร์ เป็นต้น และไม่มีก้นกรอง ๕ ตรา/ยี่ห้อ อาทิ รวงทิพย์ ๓๓ พระจันทร์ ๓๓ และเกล็ดทอง ๓๓ เป็นต้น

๒. บุหรี่มวนเอง (Hand-rolled cigarettes หรือ roll your own: RYO) เป็นบุหรี่ที่ผู้สูบสามารถมวนได้ด้วยตนเองหรือมวนโดยเครื่องมวนบุหรี่ โดยมียาเส้นหรือยาเส้นปรุงเป็นส่วนประกอบภายใน และห่อหุ้มหรือมวนด้วยวัสดุที่หาง่าย อาทิ กระดาษ ใบตอง ใบจาก ใบมะกา ใบบัว เป็นต้น

๓. ผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดมีควันอื่น ๆ (Other smoked tobacco) ยาสูบกลุ่มนี้ที่รู้จักโดยทั่วไป จำแนกได้เป็น ๔ ชนิด ได้แก่ บุหรี่ซิการ์ ไปป์ ยาสูบที่สูบผ่านน้า และอื่นๆ

บุหรี่ซิการ์ ในพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒๕๐๙ หมายถึง ใบยาแห้งหรือยาอัด ซึ่งมวนด้วยใบยาแห้งหรือยาอัด บุหรี่ซิการ์ที่มีจาหน่ายในประเทศส่วนใหญ่ผลิตจากประเทศอเมริกาและประเทศแถบยุโรป ได้แก่ ประเทศเดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ

ไปป์ เป็นกล้องสูบบุหรี่ที่มีเบ้าสาหรับใส่ยาเส้น ไปป์ส่วนมากทามาจากเหง้าของต้นไม้ที่แข็งและทนความร้อนได้ อาจทาจากซังข้าวโพดหรือพลาสติกที่ทนความร้อนได้ดี

ยาสูบที่สูบผ่านน้า ได้แก่ บารากู่/ ฮุกก้า/ ชิชา การสูบควันยาสูบผ่านน้านี้ จะต้องมีอุปกรณ์การสูบควันฯ หรือที่เรียกว่า เตาบารากู่ และตัวยา ซึ่งมีส่วนผสมของใบยาสูบกับสารที่มีความหวาน เช่น กากน้าตาล หรือน้าผึ้ง และมักมีการเติมแต่งกลิ่นหอมของผลไม้ เช่น สตรอเบอรี่ แอปเปิ้ล และสมุนไพรบางชนิด เป็นต้น

อื่นๆ เช่น บุหรี่ขี้โย ซึ่งเป็นบุหรี่พื้นเมืองที่นิยมมากในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดไม่มีควัน (Smokeless tobacco)

ผลิตภัณฑ์ยาสูบกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นการนายาเส้นหรือยาเส้นปรุงมาใช้ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การอมหรือจุกยาฉุนทางปาก การสูดยานัตถุ์ที่มีส่วนผสมยาสูบทางจมูก และการเคี้ยวยาเส้น เป็นต้น อย่างไรก็ดี ด้วยกระแสสังคมที่มุ่งสู่การสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดควันบุหรี่ ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขออกมาอย่างต่อเนื่องนับถึงปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น ๑๘ ฉบับ ได้กำหนดและขยายพื้นที่สาธารณะและสถานที่ทางานให้เป็นเขตปลอดบุหรี่เพิ่มขึ้นเป็นลาดับ ด้วยเหตุนี้ อุตสาหกรรมยาสูบจึงได้ผลิตยาสูบชนิดไม่มีควันในรูปแบบต่างๆ ขึ้น ทั้งนี้เพื่อหลบเลี่ยงปัญหาควันบุหรี่มือสอง อาทิ บุหรี่อิเล็กทรอนิก/ บุหรี่ไฟฟ้า เป็นต้น

บุหรี่อิเล็กทรอนิก/ บุหรี่ไฟฟ้า เป็นบุหรี่ที่ทางานด้วยแบตเตอรี่ลิเธียมและไมโครชิพ เพื่อทาให้มีไฟสีแดงสว่างที่ปลายมวน ประกอบเข้ากับแท่งนิโคตินที่ภายในบรรจุนิโคตินและสารบางชนิดในรูปแบบของเหลว และมีไมโครชิพทาหน้าที่เปลี่ยนของเหลวให้กลายเป็นละอองหมอกที่อุณหภูมิประมาณ ๗๐ องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้นิโคตินเหลวร้อนเมื่อผู้ใช้สูบ และกลายเป็นไอภายใน ๒ วินาที ส่งผลให้ผู้สูบได้รับสารนิโคตินในเกือบจะทันที

เทคนิคและวิธีการในการดำเนินกิจกรรม: การป้องกันไม่ให้เกิดผู้บริโภคยาสูบรายใหม่

การนำเสนอ กิจกรรมโครงการในการระดมพลังสมองของนักศึกษาในการดำเนินกิจกรรมโครงการ ในการสร้างแกนนำ สร้างทีมให้เข้มแข็ง มีกิจกรรมในการพบปะ สร้างเครือข่ายเพิ่มเติม ตั้งเป้าหมายในการดำเนินกิจกรรม และประเมินกิจกรรมตามดัชนีชี้วัด ในการนำเสนอมีกิจกรรมที่หลากหลายในการรณรงค์เลิกบุหรี่ และวัดพฤติกรรม รวมทั้งรณรงค์ไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่

      ๑.๒  สรุปเนื้อหาจากการเรียนรู้ด้านใด

R   วิชาการ

R  วิชาชีพ

๒.      ความรู้ที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานของตนเอง

๒.๑ ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน

การนำความรู้ไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างวามเข้มแข็งของแกนนำนักศึกษา เป็นข้อมูลในการจัดทำโครงการเพื่อสานต่อในการดำเนินกิจกรรม ในการรณรงค์ต่อต้านการบริโภคยาสูบ และป้องกันไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ เกิดขึ้นกับสังคม สร้างชมรมที่เข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับนักศึกษาภายในวิทยาลัยและทำกิจกรรมที่มีประโยชน์กับสังคมต่อไป

๒.๒  ด้านการนำผลการพัฒนาไปใช้ประโยชน์

R การวิจัยและ/ผลงานทางวิชาการ

Rการพัฒนาบุคลากร

R การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

R การพัฒนานักศึกษา

๓. ด้านสมรรถนะ

๑)การพัฒนาคุณภาพอาจารย์ในด้านการจัดการเรียนการสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการควบคุมการบริโภคยาสูบ

๒) การพัฒนาผู้เรียนทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้และทักษะในการดำเนินกิจกรรมโครงการ ทั้งในด้านสร้างแกนนำสร้างความเข้มแข็งในชมรมนักศึกษา และการสร้างผลงานวิชาการ

 

  (444)

ประชุมวิชาการนำเสนอผลงานเพื่อติดตามประเมินการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสุขภาพ

ประชุมวิชาการนำเสนอผลงานเพื่อติดตามประเมินการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสุขภาพ

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้ 

วันที่บันทึก :   ๓๐     กันยายน  ๒๕๕๗

ผู้บันทึกนางสาวภาวดี  เหมทานนท์  นางยุพิน ทรัพย์แก้ว และนางมณฑิรา ชาญณรงค์

กลุ่มงาน :  ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม

วันที่   ๒๓ – ๒๔ กันยายน ๒๕๕๗

เรื่อง : ประชุมวิชาการนำเสนอผลงานเพื่อติดตามประเมินการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสุขภาพ

รายละเอียด

๑. ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา  ครั้งนี้

        ๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ

แนวทางการทำงานของศูนย์ฯ สรุปจากการนำเสนอของศูนย์ฯต่างๆ ดังนี้

๑) การสร้างองค์ความรู้ด้วยการวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน

๒) การบูรณาการการทำงานกับการเรียนการสอน

๓) การทำงานร่วมกันกับท้องถิ่นและนำผลที่ได้ลงสู่ท้องถิ่น

๔) การทำ Case bank

๕) การตั้งเป้าหมายการทำงานที่ครอบคลุม เช่น การสร้างเครือข่าย การผลิตผลงาน การพัฒนาคน การเน้นสุขภาพชุมชน

  ปัจจัยความสำเร็จ

๑) การทำงานอย่างเป็นเครือข่าย

๒) การมี Innovation

๓) การมี evidence based decision making

๔) ข้อมูลสารสนเทศทางสุขภาพ

๕) การบริหารจัดการ ที่มีการสร้างกลไกที่ชัดเจน

๖) นโยบายของวิทยาลัย และวิสัยทัศน์ผู้บริหาร ผู้บริหารสนับสนุน

๗) ความรู้สึกมีส่วนร่วมของบุคลากรและนักศึกษา

๘) ความเชี่ยวชาญของบุคลากร

๙) มีแนวทางที่ชัดเจนและการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง

๑๐) ความสำคัญและความต้องการของระบบสุขภาพ

๑๑) ความร่วมแรงร่วมใจ/ ความรับผิดชอบ

๑๒) การวางแผนการปฏิบัติงานที่ครอบคลุมทุกภารกิจ

๑๓) การประสานงาน

สรุปการศึกษาดูงาน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ  เทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

๑)      เป็นศูนย์ที่เทศบาลจัดตั้ง/สร้างขึ้น ด้วยงบประมาณ 170 ล้านบาท มีความใหญ่โต สวยงาม

๒)      บริหารงานโดยเทศบาล มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ดูแล

๓)      มีจิตอาสาช่วยทำงาน

๔)      สมาชิก (สมาชิกสามัญ อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และสมาชิกวิสามัญ อายุตั้งแต่ 45 – 60 ปี )

๕)      เป็นสถานที่กลาง เพื่อให้บริการ/จัดกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้สูงอายุ

๖)      มีกิจกรรมร่วมกันแบบเช้าไป- เย็นกลับ ในลักษณะของสโมสรผู้สูงอายุ ประกอบไปด้วย
การอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ บริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น ส่งเสริมการออกกำลังกาย ทำสมาธิ ขับร้องเพลง ลีลาศ ดนตรีไทย โยคะ และกิจกรรมพิเศษอื่นๆ อีกมากมาย โดยกิจกรรมจะปรับเปลี่ยนให้บริการตามความสนใจของสมาชิก

๗)      เทศบาลมีการสนับสนุนให้แต่ละชุมชน/หมู่บ้าน จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ (มีสมาชิก 30 คนขึ้นไป) โดยจัดสรรงบประมาณ บุคลากร เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของชมรม โดยมีข้อบังคับให้มีการจัดอบรมความรู้แก่สมาชิกอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง แล้วแต่ความสนใจของสมาชิก (อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายสวัสดิการสังคม)

๘)      เทศบาลมีการริเริ่มโครงการเยี่ยมผู้สูงอายุติดเตียง โดยมีอาสาสมัครเข้าไปดูแล และมีการมอบประกาศแก่อาสาฯ เป็นการขอบคุณ

ปัจจัยความสำเร็จ

๑)  ผู้บริหารเทศบาลให้ความสำคัญ (ศูนย์ฯ ผู้สูงอายุ จัดตั้งโดยเทศบาล)

๒)  มีสถานที่ถาวร ในการให้สมาชิกทำกิจกรรมร่วมกัน

๓)  ผู้สูงอายุ (สมาชิก) ส่วนใหญ่สนใจให้ความร่วมมือ เนื่องจากเป็นการให้เปล่า

๔)  ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย

๕)  มีแผนการให้บริการสมาชิกประจำสัปดาห์ และมีกิจกรรมต่อเนื่อง

๖) มีงบประมาณสนับสนุนจากเทศบาล (เทศบาลเป็นผู้บริหารงาน)

ข้อสังเกต

๑)     การขับเคลื่อนกิจกรรมของพื้นที่ ยังไม่ครอบคลุมวัตถุประสงค์การจัดตั้งศูนย์ฯ

๒)     ยังขาดการมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกวัยในชุมชน

๓)     ไม่พูดถึงอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ

๔)     ไม่ได้พูดถึงการจัดทำข้อมูลผู้สูงอายุในพื้นที่

๕)     เน้นกิจกรรมการให้บริการสมาชิกที่มารับบริการด้านสุขภาพอนามัยมากกว่าการสงเคราะห์และการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุยากไร้ พึ่งตนเองไม่ได้

๖)     ผู้สูงอายุซึ่งเป็นสมาชิกไม่ได้เป็นคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ เนื่องจากศูนย์ฯ จัดตั้งโดยเทศบาล มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ดูแล เปิด-ปิด ตามเวลาราชการ

๗)     ด้านอาชีพ ไม่ได้เป็นแหล่งผลิต ไม่ได้เป็นศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ มีเพียงหาวิทยากรมาฝึกอาชีพเป็นครั้งคราว

ข้อควรปฏิบัติ

๑)      ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน และอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ

๒)      เสนอแนะให้จัดทำข้อมูลผู้สูงอายุในพื้นที่

๓)      โน้มน้าวให้ผู้บริหาร อปท. ให้ความสำคัญกับกิจกรรมทางด้านสังคมมากขึ้น

๔)      เสนอแนะให้ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกเข้าไปมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการศูนย์

๕)      ควรพัฒนาให้ศูนย์ฯ เป็นสถานที่ดูแลผู้สูงอายุในอนาคต

๖)      แนะนำให้มีการส่งเสริมให้เป็นศูนย์ถ่ายทอดความรู้ด้านผู้สูงอายุในอนาคต

๑.๒  สรุปเนื้อหาจากการเรียนรู้ด้านใด

þ   วิชาการ

þ  วิชาชีพ

๒.ความรู้ที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานของตนเอง

๒.๑ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน

การวิจัย งานศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

การใช้ในการปฏิบัติงาน

๒.๒  ด้านการนำผลการพัฒนาไปใช้ประโยชน์

þ การบริการวิชาการ

þ  การพัฒนาบุคลากร

þ การวิจัยและ/ผลงานทางวิชาการ

๓. ด้านสมรรถนะ

ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ  การทำผลงาน

 

 

  (433)

การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ รุ่นที่ ๑๒

การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ รุ่นที่ ๑๒

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :  ๒๔  กันยายน ๒๕๕๗

ผู้บันทึกนางนิสากร จันทวี  นางสาวปิยะพร พรหมแก้ว นางสาววรนิภา  กรุงแก้ว และ นางสาวอรุณรัตน์ โยธินวัฒนบำรุง

กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลพื้นฐานและพื้นฐานวิชาชีพ / กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และบริหารการพยาบาล

ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม

วันที่   ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๒   กันยายน  ๒๕๕๗

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : ฝ่ายบริการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สถานที่จัด :   ณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา

เรื่อง : การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ รุ่นที่ ๑๒

รายละเอียด

๑.      ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา  ครั้งนี้

๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ

๑) ความก้าวหน้าในการดูแลผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ

๒) Early  warning  sign in critically ill and nursing care

๓) Oxygen Therapy

ข้อบ่งชี้ของการบำบัดด้วยออกซิเจน

๔) Airway  management

๕) Acid-Base  imbalance  and  ABG interpretation

๖) Respiratory  therapy in COPD, Asthma , ARDS

๗) การอ่านฟิล์มสำหรับพยาบาล

๘) Pulmonary  rehabilitation  in  mechanical  ventilation  patient

๙) มาตรฐาน ข้อควรระวังในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ

๑๐) ICD and Tracheostomy care

๑๑) การพ่นยาในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ

๑๒) Nasocomial  infection and control

๑๓) Type  and  mode  of  ventilation

๑๔) การหย่าเครื่องช่วยหายใจ

๑๕) การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ

      ๑.๒  สรุปเนื้อหาจากการเรียนรู้ด้านใด

R   วิชาการ

R  วิชาชีพ

๒.      ความรู้ที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานของตนเอง

๒.๑ ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน

การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาล โดยการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนที่จะขึ้นฝึกปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่ต้องดูแลผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ  ผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ทั้งในหอผู้ป่วยสามัญแผนกอายุรกรรมและศัลยกรรม รวมทั้งหอผู้ป่วยหนักเพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เครื่องช่วยหายใจ โรคระบบทางเดินหายใจที่สำคัญ และข้อควรระวังในการใช้เครื่องช่วยหายใจในแต่ละโรค ตลอดถึงวิธีการบำบัดรักษาหรือทำหัตถการในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งจะได้นำความรู้และทักษะไปประเมินปัญหาของผู้ป่วยและช่วยแก้ปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้เครื่องช่วยหายใจและดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจให้มีประสิทธิภาพต่อไป

๒.๒  ด้านการนำผลการพัฒนาไปใช้ประโยชน์

R  การเรียนการสอนรายวิชาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติทางการพยาบาล

R  การพัฒนาบุคลากร

R การพัฒนานักศึกษา

๓. ด้านสมรรถนะ

๑)การพัฒนาคุณภาพอาจารย์ในด้านการจัดการเรียนการสอนเรื่องการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ

๒) การพัฒนาผู้เรียนทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ทั้งในด้านความรู้เกี่ยวกับโรคหรืออาการของผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ , หลักการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ,การใช้และการบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้กับผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ

๔.ด้านอื่น ๆ  :  การสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ขณะให้การดูแลผู้ป่วยในระยะวิกฤต

 

  (767)

ประชุมวิชาการจิตเวชผู้สูงอายุระดับชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2557

ประชุมวิชาการจิตเวชผู้สูงอายุระดับชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2557

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

วันที่บันทึก : 30 กันยายน 2557

ผู้บันทึก : นางสาวอุษา จันทร์แย้ม และนางนิศารัตน์ นรสิงห์

กลุ่มงาน : การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

ฝ่าย : วิชาการ

ประเภทการปฏิบัติงาน : ประชุม

วันที่ 9 กันยายน 2557 ถึงวันที่ 10 กันยายน 2557

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ และศูนย์สุขภาพจิตที่ 11

สถานที่จัด : โรงแรมวังใต้ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี

เรื่อง : ประชุมวิชาการจิตเวชผู้สูงอายุระดับชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2557

รายละเอียด

การประชุมวิชาการจิตเวชสูงอายุระดับชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2557 นี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “ลูกบาศก์ผู้สูงวัย…สุขภาพจิต D” โดยมีหลักการมาจากองค์ประกอบหลัก 6 อย่าง (ในมิติที่เปรียบได้กับแต่ละด้านของทรงลูกบาศก์) ในการพัฒนาทั้งทางด้านวิชาการและระบบบริหารจัดการ เพื่อให้ได้คุณภาพในการส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันปัญหาสุขภาพจิต บำบัดโรคทางจิตเวช และฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุ ดังนี้

วิชาการ D

การพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิชาการเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างหนึ่งในการก้าวไปสู่สถาบันที่มีความ เป็นเลิศ ในประเด็นของสุขภาพจิตและจิตเวชในผู้สูงอายุ มีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้

Dementia ภาวะ/โรค สมองเสื่อม

Depression ภาวะ/โรค ซึมเศร้า

Delirium ภาวะสับสน

ระบบการบริหารจัดการ D

การพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดี เป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งในประเด็นของสุขภาพจิตและจิตเวชในผู้สูงอายุ มีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

Disorders การบริหารจัดการโดยเน้นความผิดปกติที่สำคัญและพบบ่อยในผู้สูงอายุ

Development การพัฒนาเพื่อลดข้อจำกัดในระบบการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง

Destigmatization การเสริมสร้างความรู้และเจตคติที่ดีเพื่อลดตราบาปของโรคจิตเวชในผู้สูงอายุ

ในการประชุมครั้งนี้มีกิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 : แรลลี่เรียนรู้ นวัตกรรรมและองค์ความรู้ด้านสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

โดยจะมีรูปแบบกิจกรรมเป็นการจัดโซน การเรียนรู้ จำนวน 8 โซน คือ

  1. โซน สระคลายเครียด : ด้วยพลังเสียงและร่างกาย เพิ่มสุข ลดเครียด
  2. โซน โภชนาการสำหรับผู้สูงวัย : ด้วยหลักการลดพลังงาน ลดหวาน ลดเค็ม ลดมัน
  3. โซน บริหารสมองด้วยตาราง 9 ช่อง : ลดความเสื่อมโดยใช้ตาราง 9 ช่อง
  4. โซน บริหารสมองด้วย การประยุกต์ท่ารำระบำศรีวิชัย : ผลการวิจัยพบว่าสามารถลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมได้
  5. โซน บริหารสมองด้วย Brain Gym : มาชะลอความเสื่อมกันเถอะ ด้วย brain gym
  6. โซน คลายปวดเมื่อด้วยแผนไทย : แก้เมื่อยด้วยการดัดตน
  7. โซน บาสโลปเพื่อสุขภาพ : ออกกำลังกายและบริหารด้วยจังหวะดนตรีลาว
  8. โซน ทันสมัย สูงวัย ใส่ใจ เทคโน : เป็นการเรียนรู้โลกกว้าง ร่วมกับลูกหลานอย่างมีความสุข

ซึ่งจากกิจกรรมนี้ผู้สูงอายุจะได้เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนข้อคิดหรือสิ่งที่ได้จากการร่วมกิจกรรมทั้ง 8 โซน และยังสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้รับกลับไปปฏิบัติขณะอยู่ที่บ้านได้อีกด้วย

กิจกรรมที่ 2 : เสวนาวิชาการผ่านภาพยนตร์ : สุขภาพจิตผู้สูงอายุ “ความจำสั้น…แต่รักฉันยาว”

ผู้เข้าร่วมการเสวนา คือ ผศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย, ผศ.ดร.สมิทธิ์ บุญชุติมา, นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล และนายอัตถพงศ์ ถนิมพาสน์ ผู้ดำเนินการเสวนา คือ นพ.ธิติพันธ์ ธานีรัตน์ ซึ่งเรื่องราวจากหนังนี้ทำให้เห็นปัญหาที่เกิดบ่อยๆในผู้สูงอายุ ก็คือ การหลงลืมหรือภาวะสมองเสื่อม และได้เห็นการเป็นไปของโรคซึ่งเมื่อเกิดขึ้นไปพร้อมกับการเกิดรักใหม่ในช่วงวัยสูงอายุอีกด้วย

กิจกรรมที่ 3 : การประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดีประจำจังหวัด

โดยมีผู้สูงอายุที่ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนทั้ง 7 จังหวัด ดังนี้

  1. นายสมพล              พรหมกสิกร      จังหวัดภูเก็ต
  2. นายแพทย์อุทัย         จินดาพล         จังหวัดพังงา
  3. นายจำเนียร            เพชรสงค์         จังหวัดนครศรีธรรมราช
  4. นายสุรินทร์            โชตจิตตะ         จังหวัดชุมพร
  5. นายถาวร               สาระพงษ์         จังหวัดระนอง
  6. นางน้อม                ชัยสวัสดิ์             จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  7. นางลมัย                อินทรปัญญา     จังหวัดกระบี่

ซึ่งมีเกณฑ์ประกอบการพิจารณา ดังนี้

  1. เป็นผู้สูงอายุที่มีลักษณะเข้าได้กับกลุ่ม “ติดสังคม” ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย
  2. มีความภาคภูมิใจและมั่นใจในตนเอง กล้าแสดงออก
  3. สามารถสื่อสารโดยการพูดและฟังตามปกติได้
  4. ไม่มีภาวะวิตกกังวลหรือมีอาการที่เกี่ยวข้อง (ได้ผล Negative จากการประเมิน Thai-HADS)
  5. ไม่มีภาวะซึมเศร้าหรืออาการที่เกี่ยวข้อง (ได้ผล Negative จากการประเมิน 9Q)
  6. ไม่มีภาวะสมองเสื่อมหรืออาการที่เกี่ยวข้อง (ได้ผล Negative จากการประเมิน TMSE)

ศูนย์สุขภาพจิตที่ 11 และโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ได้จัดกิจกรรมถอดบทเรียน การดูแลตนเองของผู้สูงอายุสุขภาพจิตดี

หลังจากนั้นผู้สูงอายุที่ได้รับรางวัลดังกล่าวนั้น เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรับโล่เกียรติยศจากกรมสุขภาพจิต และร่วมถอดบทเรียนในหัวข้อ 1) นิยามของคำว่า สุขภาพจิต 2) ลักษณะของผู้สูงอายุที่มีสุขภาพจิตดี มีอะไรบ้าง 3) ปัจจัยเกื้อหนุนที่ทำให้มีสุขภาพจิตดี มีอะไรบ้าง 4) เมื่อต้องเผชิญกับภาวะเครียด จะจัดการอย่างไร 5) คติประจำใจซึ่งเป็นเคล็ดลับที่ทำให้สุขภาพจิตดี

กิจกรรมที่ 4 : การนำเสนอผลงานวิชาการ

มีการนำเสนอผลการวิชาการทั้งแบบนำเสนอโดยวาจาและนำเสนอโดยโปสเตอร์

นำเสนอโดยวาจา จำนวน 2 เรื่อง

1) ความชุกของปัญหาสุขภาพจิตและภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สถานการณ์ความไม่สงบเปรียบกับพื้นที่ปกติในจังหวัดสงขลา

2) ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยผ่านกิจกรรมฐานเรียนรู้

นำเสนอโดยโปสเตอร์ จำนวน 6 เรื่อง

1)   การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อเยียวยาผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

2)   ประสบการณ์ผู้ดูแลในการจัดการปัญหา BPSD ในผู้สูงอายุโรคสมองเสื่อม

3)   ความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

4)   การส่งเสริมกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยสมองเสื่อม ตามการรับรู้ของผู้ดูแล

5)   นวัตกรรมเสริมสร้างสุขภาพการออกกำลังกาย บริหารสมองประยุกต์ท่ารำระบำศรีวิชัย ในผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม

6)   จิตเป็นนาย กายเป็นนาย ไม่มีบ่าว

ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

  1. สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการประชุมวิชาการนี้มาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการทำความเข้าใจการดูแลผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุ ซึ่งมีจุดเน้นตามหลัก 6D นั้น
  2. สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการศึกษาวิจัยในหัวข้อของสุขภาพจิตและจิตเวชผู้สูงอายุ
  3. นอกจากนี้จากการอบรมยังได้แนวคิดในการจัดกิจกรรมเพื่อช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้สูงอายุในด้านต่างๆ เช่น ด้านร่างกาย ด้านสมอง/สติปัญญา ด้านจิตใจ เป็นต้น

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

-  แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาของผู้สูงอายุ

-  ประเด็นการศึกษา/วิจัย เกี่ยวกับสุขภาพจิตและจิตเวชผู้สูงอายุ (694)