ประชุมวิชาการจิตเวชผู้สูงอายุระดับชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2557

ประชุมวิชาการจิตเวชผู้สูงอายุระดับชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2557

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

วันที่บันทึก : 30 กันยายน 2557

ผู้บันทึก : นางสาวอุษา จันทร์แย้ม และนางนิศารัตน์ นรสิงห์

กลุ่มงาน : การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

ฝ่าย : วิชาการ

ประเภทการปฏิบัติงาน : ประชุม

วันที่ 9 กันยายน 2557 ถึงวันที่ 10 กันยายน 2557

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ และศูนย์สุขภาพจิตที่ 11

สถานที่จัด : โรงแรมวังใต้ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี

เรื่อง : ประชุมวิชาการจิตเวชผู้สูงอายุระดับชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2557

รายละเอียด

การประชุมวิชาการจิตเวชสูงอายุระดับชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2557 นี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “ลูกบาศก์ผู้สูงวัย…สุขภาพจิต D” โดยมีหลักการมาจากองค์ประกอบหลัก 6 อย่าง (ในมิติที่เปรียบได้กับแต่ละด้านของทรงลูกบาศก์) ในการพัฒนาทั้งทางด้านวิชาการและระบบบริหารจัดการ เพื่อให้ได้คุณภาพในการส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันปัญหาสุขภาพจิต บำบัดโรคทางจิตเวช และฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุ ดังนี้

วิชาการ D

การพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิชาการเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างหนึ่งในการก้าวไปสู่สถาบันที่มีความ เป็นเลิศ ในประเด็นของสุขภาพจิตและจิตเวชในผู้สูงอายุ มีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้

Dementia ภาวะ/โรค สมองเสื่อม

Depression ภาวะ/โรค ซึมเศร้า

Delirium ภาวะสับสน

ระบบการบริหารจัดการ D

การพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดี เป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งในประเด็นของสุขภาพจิตและจิตเวชในผู้สูงอายุ มีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

Disorders การบริหารจัดการโดยเน้นความผิดปกติที่สำคัญและพบบ่อยในผู้สูงอายุ

Development การพัฒนาเพื่อลดข้อจำกัดในระบบการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง

Destigmatization การเสริมสร้างความรู้และเจตคติที่ดีเพื่อลดตราบาปของโรคจิตเวชในผู้สูงอายุ

ในการประชุมครั้งนี้มีกิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 : แรลลี่เรียนรู้ นวัตกรรรมและองค์ความรู้ด้านสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

โดยจะมีรูปแบบกิจกรรมเป็นการจัดโซน การเรียนรู้ จำนวน 8 โซน คือ

  1. โซน สระคลายเครียด : ด้วยพลังเสียงและร่างกาย เพิ่มสุข ลดเครียด
  2. โซน โภชนาการสำหรับผู้สูงวัย : ด้วยหลักการลดพลังงาน ลดหวาน ลดเค็ม ลดมัน
  3. โซน บริหารสมองด้วยตาราง 9 ช่อง : ลดความเสื่อมโดยใช้ตาราง 9 ช่อง
  4. โซน บริหารสมองด้วย การประยุกต์ท่ารำระบำศรีวิชัย : ผลการวิจัยพบว่าสามารถลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมได้
  5. โซน บริหารสมองด้วย Brain Gym : มาชะลอความเสื่อมกันเถอะ ด้วย brain gym
  6. โซน คลายปวดเมื่อด้วยแผนไทย : แก้เมื่อยด้วยการดัดตน
  7. โซน บาสโลปเพื่อสุขภาพ : ออกกำลังกายและบริหารด้วยจังหวะดนตรีลาว
  8. โซน ทันสมัย สูงวัย ใส่ใจ เทคโน : เป็นการเรียนรู้โลกกว้าง ร่วมกับลูกหลานอย่างมีความสุข

ซึ่งจากกิจกรรมนี้ผู้สูงอายุจะได้เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนข้อคิดหรือสิ่งที่ได้จากการร่วมกิจกรรมทั้ง 8 โซน และยังสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้รับกลับไปปฏิบัติขณะอยู่ที่บ้านได้อีกด้วย

กิจกรรมที่ 2 : เสวนาวิชาการผ่านภาพยนตร์ : สุขภาพจิตผู้สูงอายุ “ความจำสั้น…แต่รักฉันยาว”

ผู้เข้าร่วมการเสวนา คือ ผศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย, ผศ.ดร.สมิทธิ์ บุญชุติมา, นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล และนายอัตถพงศ์ ถนิมพาสน์ ผู้ดำเนินการเสวนา คือ นพ.ธิติพันธ์ ธานีรัตน์ ซึ่งเรื่องราวจากหนังนี้ทำให้เห็นปัญหาที่เกิดบ่อยๆในผู้สูงอายุ ก็คือ การหลงลืมหรือภาวะสมองเสื่อม และได้เห็นการเป็นไปของโรคซึ่งเมื่อเกิดขึ้นไปพร้อมกับการเกิดรักใหม่ในช่วงวัยสูงอายุอีกด้วย

กิจกรรมที่ 3 : การประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดีประจำจังหวัด

โดยมีผู้สูงอายุที่ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนทั้ง 7 จังหวัด ดังนี้

  1. นายสมพล              พรหมกสิกร      จังหวัดภูเก็ต
  2. นายแพทย์อุทัย         จินดาพล         จังหวัดพังงา
  3. นายจำเนียร            เพชรสงค์         จังหวัดนครศรีธรรมราช
  4. นายสุรินทร์            โชตจิตตะ         จังหวัดชุมพร
  5. นายถาวร               สาระพงษ์         จังหวัดระนอง
  6. นางน้อม                ชัยสวัสดิ์             จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  7. นางลมัย                อินทรปัญญา     จังหวัดกระบี่

ซึ่งมีเกณฑ์ประกอบการพิจารณา ดังนี้

  1. เป็นผู้สูงอายุที่มีลักษณะเข้าได้กับกลุ่ม “ติดสังคม” ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย
  2. มีความภาคภูมิใจและมั่นใจในตนเอง กล้าแสดงออก
  3. สามารถสื่อสารโดยการพูดและฟังตามปกติได้
  4. ไม่มีภาวะวิตกกังวลหรือมีอาการที่เกี่ยวข้อง (ได้ผล Negative จากการประเมิน Thai-HADS)
  5. ไม่มีภาวะซึมเศร้าหรืออาการที่เกี่ยวข้อง (ได้ผล Negative จากการประเมิน 9Q)
  6. ไม่มีภาวะสมองเสื่อมหรืออาการที่เกี่ยวข้อง (ได้ผล Negative จากการประเมิน TMSE)

ศูนย์สุขภาพจิตที่ 11 และโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ได้จัดกิจกรรมถอดบทเรียน การดูแลตนเองของผู้สูงอายุสุขภาพจิตดี

หลังจากนั้นผู้สูงอายุที่ได้รับรางวัลดังกล่าวนั้น เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรับโล่เกียรติยศจากกรมสุขภาพจิต และร่วมถอดบทเรียนในหัวข้อ 1) นิยามของคำว่า สุขภาพจิต 2) ลักษณะของผู้สูงอายุที่มีสุขภาพจิตดี มีอะไรบ้าง 3) ปัจจัยเกื้อหนุนที่ทำให้มีสุขภาพจิตดี มีอะไรบ้าง 4) เมื่อต้องเผชิญกับภาวะเครียด จะจัดการอย่างไร 5) คติประจำใจซึ่งเป็นเคล็ดลับที่ทำให้สุขภาพจิตดี

กิจกรรมที่ 4 : การนำเสนอผลงานวิชาการ

มีการนำเสนอผลการวิชาการทั้งแบบนำเสนอโดยวาจาและนำเสนอโดยโปสเตอร์

นำเสนอโดยวาจา จำนวน 2 เรื่อง

1) ความชุกของปัญหาสุขภาพจิตและภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สถานการณ์ความไม่สงบเปรียบกับพื้นที่ปกติในจังหวัดสงขลา

2) ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยผ่านกิจกรรมฐานเรียนรู้

นำเสนอโดยโปสเตอร์ จำนวน 6 เรื่อง

1)   การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อเยียวยาผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

2)   ประสบการณ์ผู้ดูแลในการจัดการปัญหา BPSD ในผู้สูงอายุโรคสมองเสื่อม

3)   ความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

4)   การส่งเสริมกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยสมองเสื่อม ตามการรับรู้ของผู้ดูแล

5)   นวัตกรรมเสริมสร้างสุขภาพการออกกำลังกาย บริหารสมองประยุกต์ท่ารำระบำศรีวิชัย ในผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม

6)   จิตเป็นนาย กายเป็นนาย ไม่มีบ่าว

ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

  1. สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการประชุมวิชาการนี้มาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการทำความเข้าใจการดูแลผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุ ซึ่งมีจุดเน้นตามหลัก 6D นั้น
  2. สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการศึกษาวิจัยในหัวข้อของสุขภาพจิตและจิตเวชผู้สูงอายุ
  3. นอกจากนี้จากการอบรมยังได้แนวคิดในการจัดกิจกรรมเพื่อช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้สูงอายุในด้านต่างๆ เช่น ด้านร่างกาย ด้านสมอง/สติปัญญา ด้านจิตใจ เป็นต้น

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

-  แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาของผู้สูงอายุ

-  ประเด็นการศึกษา/วิจัย เกี่ยวกับสุขภาพจิตและจิตเวชผู้สูงอายุ (694)

Comments are closed.