ประชุมวิชาการนำเสนอผลงานเพื่อติดตามประเมินการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสุขภาพ

ประชุมวิชาการนำเสนอผลงานเพื่อติดตามประเมินการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสุขภาพ

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้ 

วันที่บันทึก :   ๓๐     กันยายน  ๒๕๕๗

ผู้บันทึกนางสาวภาวดี  เหมทานนท์  นางยุพิน ทรัพย์แก้ว และนางมณฑิรา ชาญณรงค์

กลุ่มงาน :  ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม

วันที่   ๒๓ – ๒๔ กันยายน ๒๕๕๗

เรื่อง : ประชุมวิชาการนำเสนอผลงานเพื่อติดตามประเมินการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสุขภาพ

รายละเอียด

๑. ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา  ครั้งนี้

        ๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ

แนวทางการทำงานของศูนย์ฯ สรุปจากการนำเสนอของศูนย์ฯต่างๆ ดังนี้

๑) การสร้างองค์ความรู้ด้วยการวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน

๒) การบูรณาการการทำงานกับการเรียนการสอน

๓) การทำงานร่วมกันกับท้องถิ่นและนำผลที่ได้ลงสู่ท้องถิ่น

๔) การทำ Case bank

๕) การตั้งเป้าหมายการทำงานที่ครอบคลุม เช่น การสร้างเครือข่าย การผลิตผลงาน การพัฒนาคน การเน้นสุขภาพชุมชน

  ปัจจัยความสำเร็จ

๑) การทำงานอย่างเป็นเครือข่าย

๒) การมี Innovation

๓) การมี evidence based decision making

๔) ข้อมูลสารสนเทศทางสุขภาพ

๕) การบริหารจัดการ ที่มีการสร้างกลไกที่ชัดเจน

๖) นโยบายของวิทยาลัย และวิสัยทัศน์ผู้บริหาร ผู้บริหารสนับสนุน

๗) ความรู้สึกมีส่วนร่วมของบุคลากรและนักศึกษา

๘) ความเชี่ยวชาญของบุคลากร

๙) มีแนวทางที่ชัดเจนและการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง

๑๐) ความสำคัญและความต้องการของระบบสุขภาพ

๑๑) ความร่วมแรงร่วมใจ/ ความรับผิดชอบ

๑๒) การวางแผนการปฏิบัติงานที่ครอบคลุมทุกภารกิจ

๑๓) การประสานงาน

สรุปการศึกษาดูงาน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ  เทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

๑)      เป็นศูนย์ที่เทศบาลจัดตั้ง/สร้างขึ้น ด้วยงบประมาณ 170 ล้านบาท มีความใหญ่โต สวยงาม

๒)      บริหารงานโดยเทศบาล มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ดูแล

๓)      มีจิตอาสาช่วยทำงาน

๔)      สมาชิก (สมาชิกสามัญ อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และสมาชิกวิสามัญ อายุตั้งแต่ 45 – 60 ปี )

๕)      เป็นสถานที่กลาง เพื่อให้บริการ/จัดกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้สูงอายุ

๖)      มีกิจกรรมร่วมกันแบบเช้าไป- เย็นกลับ ในลักษณะของสโมสรผู้สูงอายุ ประกอบไปด้วย
การอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ บริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น ส่งเสริมการออกกำลังกาย ทำสมาธิ ขับร้องเพลง ลีลาศ ดนตรีไทย โยคะ และกิจกรรมพิเศษอื่นๆ อีกมากมาย โดยกิจกรรมจะปรับเปลี่ยนให้บริการตามความสนใจของสมาชิก

๗)      เทศบาลมีการสนับสนุนให้แต่ละชุมชน/หมู่บ้าน จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ (มีสมาชิก 30 คนขึ้นไป) โดยจัดสรรงบประมาณ บุคลากร เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของชมรม โดยมีข้อบังคับให้มีการจัดอบรมความรู้แก่สมาชิกอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง แล้วแต่ความสนใจของสมาชิก (อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายสวัสดิการสังคม)

๘)      เทศบาลมีการริเริ่มโครงการเยี่ยมผู้สูงอายุติดเตียง โดยมีอาสาสมัครเข้าไปดูแล และมีการมอบประกาศแก่อาสาฯ เป็นการขอบคุณ

ปัจจัยความสำเร็จ

๑)  ผู้บริหารเทศบาลให้ความสำคัญ (ศูนย์ฯ ผู้สูงอายุ จัดตั้งโดยเทศบาล)

๒)  มีสถานที่ถาวร ในการให้สมาชิกทำกิจกรรมร่วมกัน

๓)  ผู้สูงอายุ (สมาชิก) ส่วนใหญ่สนใจให้ความร่วมมือ เนื่องจากเป็นการให้เปล่า

๔)  ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย

๕)  มีแผนการให้บริการสมาชิกประจำสัปดาห์ และมีกิจกรรมต่อเนื่อง

๖) มีงบประมาณสนับสนุนจากเทศบาล (เทศบาลเป็นผู้บริหารงาน)

ข้อสังเกต

๑)     การขับเคลื่อนกิจกรรมของพื้นที่ ยังไม่ครอบคลุมวัตถุประสงค์การจัดตั้งศูนย์ฯ

๒)     ยังขาดการมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกวัยในชุมชน

๓)     ไม่พูดถึงอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ

๔)     ไม่ได้พูดถึงการจัดทำข้อมูลผู้สูงอายุในพื้นที่

๕)     เน้นกิจกรรมการให้บริการสมาชิกที่มารับบริการด้านสุขภาพอนามัยมากกว่าการสงเคราะห์และการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุยากไร้ พึ่งตนเองไม่ได้

๖)     ผู้สูงอายุซึ่งเป็นสมาชิกไม่ได้เป็นคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ เนื่องจากศูนย์ฯ จัดตั้งโดยเทศบาล มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ดูแล เปิด-ปิด ตามเวลาราชการ

๗)     ด้านอาชีพ ไม่ได้เป็นแหล่งผลิต ไม่ได้เป็นศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ มีเพียงหาวิทยากรมาฝึกอาชีพเป็นครั้งคราว

ข้อควรปฏิบัติ

๑)      ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน และอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ

๒)      เสนอแนะให้จัดทำข้อมูลผู้สูงอายุในพื้นที่

๓)      โน้มน้าวให้ผู้บริหาร อปท. ให้ความสำคัญกับกิจกรรมทางด้านสังคมมากขึ้น

๔)      เสนอแนะให้ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกเข้าไปมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการศูนย์

๕)      ควรพัฒนาให้ศูนย์ฯ เป็นสถานที่ดูแลผู้สูงอายุในอนาคต

๖)      แนะนำให้มีการส่งเสริมให้เป็นศูนย์ถ่ายทอดความรู้ด้านผู้สูงอายุในอนาคต

๑.๒  สรุปเนื้อหาจากการเรียนรู้ด้านใด

þ   วิชาการ

þ  วิชาชีพ

๒.ความรู้ที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานของตนเอง

๒.๑ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน

การวิจัย งานศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

การใช้ในการปฏิบัติงาน

๒.๒  ด้านการนำผลการพัฒนาไปใช้ประโยชน์

þ การบริการวิชาการ

þ  การพัฒนาบุคลากร

þ การวิจัยและ/ผลงานทางวิชาการ

๓. ด้านสมรรถนะ

ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ  การทำผลงาน

 

 

  (433)

Comments are closed.