แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้
วันที่บันทึก : ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗
ผู้บันทึก : นางสาวปิยะพร พรหมแก้ว และนางสาวปิยรัตน์ จีนาพันธุ์
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาการพยาบาลพื้นฐานและพื้นฐานวิชาชีพ และ กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาตร์
ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม
วันที่ ๒๗ - ๒๘ กันยายน ๒๕๕๗
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : เครือข่ายพยาบาลเพื่อการควบคุมยาสูบแห่งประเทศไทย
สถานที่จัด : ณ โรงแรมกาดต์มณี กรุงเทพมหานคร
เรื่อง : สร้างความเข้มแข็งของนักศึกษาพยาบาลเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่
รายละเอียด
๑. ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา ครั้งนี้
๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ
ความเข้มแข็งของชมรมนักศึกษาพยาบาลกับการพิชิตภัยบุหรี่
ความหมายของคำว่า
พลัง(Energy) การร่วมแรงร่วมใจกันในการจัดกิจกรรม รวมพลังเสริมแรงกันในกลุ่มเพื่อให้ทำกิจกรรมนั้นมีความสำเร็จ ซึ่งเป็นพลังที่เกิดจากการปลูกฝัง การเรียนการสอน และมีเจตคติที่ดีต่อการทำกิจกรรมหรือการรณรงค์
ชมรมนักศึกษาพยาบาล : TEAM , T:Together, E:Enrecne, A:Active, M:More การร่วมตัวกันระหว่างนักศึกษาพยาบาลเพื่อลงมือทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
พิชิตภัยบุหรี่คือ การเลิก ให้รู้จักโทษ-ภัยบุหรี่, สร้างความตระหนักในตนเอง
หลักสำคัญในการควบคุมยาสูบคือ จะทำอย่างไรให้คนเลิกสูบ ทำอย่างไรให้สังคมไทยปลอดบุหรี่ ทำอย่างไรให้ไม่มีผู้สูบหน้าใหม่ โดยการประเมินผู้ป่วยรายนั้น โดยให้ความรู้เฉพาะเจาะจงในแต่ละคน
ภัยใกล้ตัวจากควันบุหรี่
สารพิษในควันบุหรี่ที่มีผลต่อร่างกาย
- นิโคติน เป็นสารที่ทำให้คนติดบุหรี่อยู่ในรูปของทั้งกรดและและด่างสามารถแพร่เข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็วและสามารถแพร่ผ่านโครงสร้างกั้นระหว่างเลือดและสมอง
- ทาร์หรือน้ำมันดิน ประกอบด้วยสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารก่อมะเร็ง เกาะกันเป็นสีน้ำตาลแก่ เกิดจากการเผาไหม้ของกระดาษและใบยาสูบ ทาร์จะไปจับที่ปอดและรวมตัวกับฝุ่นละอองที่สูดเข้าไป จับตัวสะสมในถุงลมปอดทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง
- คาร์บอนมอนอกไซด์ (carbon mo- noxide) เป็นก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ชนิดเดียวกับที่พ่นออกมาจากท่อไอเสียรถยนต์ ก๊าซนี้จะขัดขวางการลำเลียงออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง ทำให้ผู้สูบบุหรี่ได้รับออกซิเจน น้อยลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๑๐-๑๕ สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่จัด ร่างกายต้องสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น ทำให้เลือดข้นและหนืดมากขึ้น หัวใจต้องเต้นเร็วขึ้นและทำงานมากขึ้น เพื่อให้เลือดนำออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆของร่างกายให้เพียงพอ ถ้าก๊าซนี้มีจำนวนมากจะทำให้เนื้อเยื่อขาดออกซิเจน
- ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (hydrogencyanide) ก่อให้เกิดอาการไอ มีเสมหะ และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ และคลื่นไส้อาเจียน เป็นก๊าซพิษที่ใช้ในสงคราม สารไนเทรตในบุหรี่ทำให้เกิดสารนี้ สารนี้เป็นตัวสกัดกั้นเอนไซม์ที่เกี่ยวกับการหายใจหลายตัว ทำให้เกิดความผิดปกติของการเผาผลาญพลังงานที่กล้ามเนื้อหัวใจและที่ผนังหลอด เลือด
- ไนโตรเจนไดออกไซด์ (nitrogen dioxide) เป็นสาเหตุของโรคถุงลมปอดโป่งพอง โดยจะไปทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลายและถุงลม
- ไนโตรเจนออกไซด์ (nitrogen oxide) ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ใจสั่น
– แอมโมเนีย (ammonia) ใช้ในการปรุงแต่งรสชาติ และช่วยให้นิโคตินดูดซึมเข้าสู่สมองและประสาทส่วนกลางเร็วขึ้น มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ
- ไซยาไนด์ (cyanide) สารนี้ถ้าได้รับในปริมาณมากจะทำให้หัวใจเป็นอัมพาต และหยุดหายใจได้ ปกติใช้เป็น ยาเบื่อหนู
– เบนซีน (benzene) พบในยาฆ่าแมลง อาจติดมากับใบยาสูบ เป็นสารก่อมะเร็ง
- ฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อดวงตา เยื่อบุจมูก และทางเดินหายใจ เป็นสารก่อมะเร็งอย่างสูง
- ๑, ๓ บิวทาไดอีน (1, 3 butadiene) เป็นสารที่ทำให้ตา โพรงจมูก คอ และปอดเกิดความระคายเคือง และเป็นสาเหตุของอาการทางระบบประสาทหลายอย่าง เช่น ทำให้สายตาพร่ามัว เมื่อยล้าร่างกาย และปวดศีรษะหรือเวียนศีรษะ เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหัวใจ และเป็นสารก่อมะเร็ง
- อะซีทาลดีไฮด์ (acetaldehyde) ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อดวงตา ผิวหนัง และทางเดินหายใจ อาจทำให้เกิดอาการ หัวใจเต้นเร็ว ไอ ถุงลมปอดบวมและเป็นเนื้อตาย
- อะโครลีน (acrolein) เป็นสารพิษที่ร้ายแรงต่อมนุษย์ มีผลทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อปอด ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนระคายเคืองและบวม ผู้สูบจะรู้สึกหายใจแน่นหน้าอก หายใจไม่โล่ง นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อดวงตาอีกด้วย
- อะไครโลไนไทรล์ (acrylonitrile) ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางอย่างอ่อน ปลายมือปลายเท้าซีดเขียว เม็ดเลือดขาวลดลง ระคายเคืองต่อไต เยื่อบุตาขาวมีสีเหลืองเล็กน้อย และหายใจไม่สม่ำเสมอได้ นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดอาการแสดงต่อไปนี้คือ เยื่อบุตา จมูก และปอดระคายเคือง ปวดศีรษะ มึนเวียนศีรษะ คลื่นไส้ รู้สึกไม่ค่อยสบายและหงุดหงิด อาจก่อให้เกิดมะเร็ง
- อะโรแมติก อะไมน์-๔ อะมิโน ไบฟีนิล (aromatic amines-4-amino-biphenyl) เป็นสารที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ง่วง เซื่องซึม ปลายมือปลายเท้าเขียวคล้ำ ปัสสาวะปวดแสบปวดร้อน และอาจมีเลือดปน เป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ
- แอสเบสทอส (asbestos) ก่อให้เกิดมะเร็งปอด มะเร็งเยื่อหุ้มปอดและเยื่อบุหน้าท้อง
– เบนโซ (อะ) ไพรีน (benzo [a] pyrene) เป็นสารก่อมะเร็งอย่างแรง
- เบนซิดีน (benzidine) ก่อให้เกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
- บิส (คลอโรเมทิล) อีเทอร์ (bis (chloromethyl) ether) ก่อให้เกิดมะเร็งปอด
- บิวไทราลดีไฮด์ (butyraldehyde) มีผลต่อการหายใจ และมีการศึกษาในสัตว์ทดลองว่า ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเซลล์ของระบบสืบพันธุ์
- แคดเมียม (cadmium) การเข้าสู่ร่างกายโดยการสูดดมก่อให้เกิดอันตรายมากกว่าการรับประทาน การได้รับสารเป็นระยะเวลานานแม้ว่าจะเป็นจำนวนเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำอันตรายต่อไต ตับ และสมอง และเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดและอัณฑะ
- สารตะกั่ว (lead) เป็นสารโลหะที่ทำลายสมอง ไต ระบบประสาท และเม็ดเลือดแดงอย่างรุนแรง สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังได้โดยเฉพาะในเด็กจะดูดซึมได้ดี ทำให้ไปยับยั้งการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง ความเฉลียวฉลาดจะช้ากว่าเด็กปกติ การรับรู้สั้น
- เอ็ม พี และ โอ ครีซอล (m, p and o-Cresol) โครมาริน (cromarin) โครโทนาลดีไฮด์(crotonaldehyde) และ ดีดีที (DDT) ทั้งหมดนี้เป็นสารก่อมะเร็ง
- สารปรอท (mercury) เป็นสารโลหะ ที่เป็นพิษต่อสมองทำให้เกิดอาการสั่น ความจำเสื่อม และโรคไต
- เมทิล เอทิล คีโทน (methyl ethyl ketone) ทำให้ตา จมูก และคอระคายเคือง และกดระบบประสาทส่วนกลาง
- นิกเกิล (nickel) ทำให้ระบบทางเดิน หายใจติดเชื้อง่ายขึ้น
- ไนทริกออกไซด์ (nitric oxide) มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ถ้าได้รับในปริมาณมาก จะทำให้ปอดหยุดทำงาน สารนี้มีผลทำให้เกิดหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถุงลมโป่งพองและหอบหืดในเด็กอายุต่ำกว่า ๒ ปี
- พี-ไฮโดรควิโนน (p-Hydroquinone) ทำให้ตาระคายเคือง ไปจนถึงเกิดการจับตัวกับเยื่อบุตาขาว และตาขาว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความหนาและความโค้งของตาขาว ทำให้สายตาพร่ามัว
- ฟีนอล (phenol) เป็นสารที่ทำให้ผิวหนัง ดวงตา และเยื่อบุต่างๆในร่างกายมนุษย์ระคายเคืองอย่างแรง
- พอโลเนียม-๒๑๐ (polonium-210) เป็นสารกัมมันตรังสี ก่อให้เกิดมะเร็ง
– ควิโนลีน (quinoline) ทำให้ระคายเคืองต่อดวงตา จมูก และคอ และอาจทำให้ปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ และคลื่นไส้ นอกจากนี้ยังเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย
- เซเลเนียม (selenium) ไฮโดรเจนเซเลเนียมที่ได้รับจากการสูดเข้าสู่ร่างกายมีพิษมากที่สุดในสาร ตระกูลเซเลเนียม ทำอันตรายต่อทางเดินหายใจ ทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจระคายเคือง เยื่อบุปอดบวม หลอดลมอักเสบ และปอดบวม
- สไตรีน (styrene) มีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ เมื่อยล้า อ่อนเพลีย และซึมเศร้า นอกจากนี้ยังมีผลต่อระบบประสาทส่วนปลาย และต่อการทำหน้าที่ของเอนไซม์ที่เกี่ยวกับไตและโลหิตอีกด้วย
- โทลูอีน (toluene) สารนี้เมื่อได้รับในปริมาณมากจะกดระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการเดินไม่มั่นคง มือสั่น สมองเหี่ยว พูดไม่ชัด หูอื้อ ตาพร่า ถ้าสูดเข้าร่างกายในระยะเวลานาน จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อดวงตา ทางเดินหายใจ เจ็บคอ คลื่นไส้ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ และนอนไม่หลับ
ผลกระทบของยาสูบต่อต่อสุขภาพ
๑.หากได้รับควันบุหรี่ระดับน้อยๆ ในระยะแรก จะทำให้ผนังหลอดเลือดทำงานผิดปกติและเกิดการอักเสบ ซึ่งจะนำไปสู่โรคหัวใจวายกะทันหัน โรคเส้นเลือดในสมองตีบสารเคมีในควันบุหรี่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ คือ สตรีตั้งครรภ์ ทำให้เกิดการขัดขวางการทำงานของท่อนำไข่ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงโรคแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์นอกมดลูก แท้งลูกและคลอดก่อนกำหนด ชายวัยเจริญพันธุ์ มีอันตรายต่อสารพันธุกรรม ของเชื้ออสุจิ ซึ่งอาจทำให้การมีบุตรยากขึ้นหรือความผิดปกติในการพัฒนาของเด็กที่เกิด
๒.หากได้รับควันบุหรี่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายในอวัยวะต่างๆ ทันทีทั้งในระบบทางเดินหายใจ ระบบหลอดเลือด รวมทั้งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์
๓.หากได้รับควันบุหรี่เป็นเวลานานพบว่ามีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่สัมผัสควันบุหรี่ และจำนวนมวนที่สูบบุหรี่ต่อวัน ทำให้เสี่ยงต่อความเสียหายของอวัยวะเกิดโรคต่างๆและมีความรุนแรงของโรคมากยิ่งขึ้น
ผลกระทบของยาสูบต่อเศรษฐกิจ
ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการที่เสียชีวิตก่อนเวลาอันควร ความพิการและการสูญเสียความสามารถในการหารายได้ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความยากจน การพัฒนาประเทศเป็นไปได้ช้า และยังส่งผลต่อปัญหาสุขภาพ ปัญหาเหล่านี้พบได้ทั่วไปโดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งยังมีข้อจำกัดเรื่องมาตรการในการควบคุมบริโภคยาสูบ
ผลิตภัณฑ์ยาสูบ (Tobacco products) จำแนกตามลักษณะการใช้งานออกเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดมีควัน (Smoked tobacco) และไม่มีควัน (Smokeless tobacco) มีรายละเอียดดังนี้
ผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดมีควัน (Smoked tobacco)
ผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดมีควัน อาจเรียกว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้โดยวิธีสูบ สามารถจำแนกได้เป็น ๓ กลุ่มได้แก่
๑. บุหรี่โรงงาน (Manufactured cigarettes) อาจรู้จักในชื่อเรียกอื่นที่มีความหมายเดียวกัน อาทิ บุหรี่ซอง บุหรี่ซิกาแรต เป็นต้น โดยบุหรี่โรงงานครอบคลุมทั้งบุหรี่ที่มีและไม่มีก้นกรอง และทั้งจากแหล่งผลิตที่เป็นโรงงานภายในประเทศ ได้แก่ โรงงานยาสูบ (รยส) กระทรวงการคลัง และต่างประเทศ บุหรี่ที่ผลิตในประเทศโดยโรงงานยาสูบในปีงบประมาณ ๒๕๕๑ มีจานวนรวมทั้งสิ้น ๑๗ ตรา/ยี่ห้อ โดยเป็นชนิดมีก้นกรอง ๑๒ ตรา/ยี่ห้อ อาทิ กรองทิพย์ ๙๐ กรองทิพย์ รสอเมริกัน กรองทิพย์ (สีฟ้า) กรองทิพย์ ๙๐ เดอลุกซ์ สายฝน ๙๐และวันเดอร์ เป็นต้น และไม่มีก้นกรอง ๕ ตรา/ยี่ห้อ อาทิ รวงทิพย์ ๓๓ พระจันทร์ ๓๓ และเกล็ดทอง ๓๓ เป็นต้น
๒. บุหรี่มวนเอง (Hand-rolled cigarettes หรือ roll your own: RYO) เป็นบุหรี่ที่ผู้สูบสามารถมวนได้ด้วยตนเองหรือมวนโดยเครื่องมวนบุหรี่ โดยมียาเส้นหรือยาเส้นปรุงเป็นส่วนประกอบภายใน และห่อหุ้มหรือมวนด้วยวัสดุที่หาง่าย อาทิ กระดาษ ใบตอง ใบจาก ใบมะกา ใบบัว เป็นต้น
๓. ผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดมีควันอื่น ๆ (Other smoked tobacco) ยาสูบกลุ่มนี้ที่รู้จักโดยทั่วไป จำแนกได้เป็น ๔ ชนิด ได้แก่ บุหรี่ซิการ์ ไปป์ ยาสูบที่สูบผ่านน้า และอื่นๆ
บุหรี่ซิการ์ ในพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒๕๐๙ หมายถึง ใบยาแห้งหรือยาอัด ซึ่งมวนด้วยใบยาแห้งหรือยาอัด บุหรี่ซิการ์ที่มีจาหน่ายในประเทศส่วนใหญ่ผลิตจากประเทศอเมริกาและประเทศแถบยุโรป ได้แก่ ประเทศเดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ
ไปป์ เป็นกล้องสูบบุหรี่ที่มีเบ้าสาหรับใส่ยาเส้น ไปป์ส่วนมากทามาจากเหง้าของต้นไม้ที่แข็งและทนความร้อนได้ อาจทาจากซังข้าวโพดหรือพลาสติกที่ทนความร้อนได้ดี
ยาสูบที่สูบผ่านน้า ได้แก่ บารากู่/ ฮุกก้า/ ชิชา การสูบควันยาสูบผ่านน้านี้ จะต้องมีอุปกรณ์การสูบควันฯ หรือที่เรียกว่า เตาบารากู่ และตัวยา ซึ่งมีส่วนผสมของใบยาสูบกับสารที่มีความหวาน เช่น กากน้าตาล หรือน้าผึ้ง และมักมีการเติมแต่งกลิ่นหอมของผลไม้ เช่น สตรอเบอรี่ แอปเปิ้ล และสมุนไพรบางชนิด เป็นต้น
อื่นๆ เช่น บุหรี่ขี้โย ซึ่งเป็นบุหรี่พื้นเมืองที่นิยมมากในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดไม่มีควัน (Smokeless tobacco)
ผลิตภัณฑ์ยาสูบกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นการนายาเส้นหรือยาเส้นปรุงมาใช้ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การอมหรือจุกยาฉุนทางปาก การสูดยานัตถุ์ที่มีส่วนผสมยาสูบทางจมูก และการเคี้ยวยาเส้น เป็นต้น อย่างไรก็ดี ด้วยกระแสสังคมที่มุ่งสู่การสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดควันบุหรี่ ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขออกมาอย่างต่อเนื่องนับถึงปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น ๑๘ ฉบับ ได้กำหนดและขยายพื้นที่สาธารณะและสถานที่ทางานให้เป็นเขตปลอดบุหรี่เพิ่มขึ้นเป็นลาดับ ด้วยเหตุนี้ อุตสาหกรรมยาสูบจึงได้ผลิตยาสูบชนิดไม่มีควันในรูปแบบต่างๆ ขึ้น ทั้งนี้เพื่อหลบเลี่ยงปัญหาควันบุหรี่มือสอง อาทิ บุหรี่อิเล็กทรอนิก/ บุหรี่ไฟฟ้า เป็นต้น
บุหรี่อิเล็กทรอนิก/ บุหรี่ไฟฟ้า เป็นบุหรี่ที่ทางานด้วยแบตเตอรี่ลิเธียมและไมโครชิพ เพื่อทาให้มีไฟสีแดงสว่างที่ปลายมวน ประกอบเข้ากับแท่งนิโคตินที่ภายในบรรจุนิโคตินและสารบางชนิดในรูปแบบของเหลว และมีไมโครชิพทาหน้าที่เปลี่ยนของเหลวให้กลายเป็นละอองหมอกที่อุณหภูมิประมาณ ๗๐ องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้นิโคตินเหลวร้อนเมื่อผู้ใช้สูบ และกลายเป็นไอภายใน ๒ วินาที ส่งผลให้ผู้สูบได้รับสารนิโคตินในเกือบจะทันที
เทคนิคและวิธีการในการดำเนินกิจกรรม: การป้องกันไม่ให้เกิดผู้บริโภคยาสูบรายใหม่
การนำเสนอ กิจกรรมโครงการในการระดมพลังสมองของนักศึกษาในการดำเนินกิจกรรมโครงการ ในการสร้างแกนนำ สร้างทีมให้เข้มแข็ง มีกิจกรรมในการพบปะ สร้างเครือข่ายเพิ่มเติม ตั้งเป้าหมายในการดำเนินกิจกรรม และประเมินกิจกรรมตามดัชนีชี้วัด ในการนำเสนอมีกิจกรรมที่หลากหลายในการรณรงค์เลิกบุหรี่ และวัดพฤติกรรม รวมทั้งรณรงค์ไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่
๑.๒ สรุปเนื้อหาจากการเรียนรู้ด้านใด
R วิชาการ
R วิชาชีพ
๒. ความรู้ที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานของตนเอง
๒.๑ ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน
การนำความรู้ไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างวามเข้มแข็งของแกนนำนักศึกษา เป็นข้อมูลในการจัดทำโครงการเพื่อสานต่อในการดำเนินกิจกรรม ในการรณรงค์ต่อต้านการบริโภคยาสูบ และป้องกันไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ เกิดขึ้นกับสังคม สร้างชมรมที่เข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับนักศึกษาภายในวิทยาลัยและทำกิจกรรมที่มีประโยชน์กับสังคมต่อไป
๒.๒ ด้านการนำผลการพัฒนาไปใช้ประโยชน์
R การวิจัยและ/ผลงานทางวิชาการ
Rการพัฒนาบุคลากร
R การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
R การพัฒนานักศึกษา
๓. ด้านสมรรถนะ
๑)การพัฒนาคุณภาพอาจารย์ในด้านการจัดการเรียนการสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการควบคุมการบริโภคยาสูบ
๒) การพัฒนาผู้เรียนทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้และทักษะในการดำเนินกิจกรรมโครงการ ทั้งในด้านสร้างแกนนำสร้างความเข้มแข็งในชมรมนักศึกษา และการสร้างผลงานวิชาการ
(444)