จากการประชุมพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิระดับเขต ปี ๒๕๕๘ สุราษฎร์ธานี หน่วยงานที่จัด สาธารณสุขเขต กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างวันที่ ๒๖ – ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘ โดย จิตฤดี รอดการทุกข์
District Health System DHS คือ ระบบการทำงานเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาสาธารณสุข อย่างมีประสิทธิภาพ บูรณาการภาคี เน้นเป้าหมายผ่านกระบวนการชื่นชม และจัดการความรู้ แบบอิงบริบท ของแต่ละสถานที่ ภาพที่ คนในพื้นที่ ไม่ทอดทิ้งกัน การดูแลคนพิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่มากกว่าหน้าที่ ก่อเกิดกระบวนการที่ไม่คาดฝัน
1. ชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน
2. พึ่งตนเองได้ในความเจ็บป่วยที่พบบ่อย
3. โรคเรื้อรังสำคัญ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง สามารถควบคุม และดูแลได้ ในชุมชน
4. มีความเข้มแข็ง ของการควบคุมโรค ในท้องถิ่น เช่น โรคไข้เลือดออก และโรคไม่ติดต่อ
5. ผู้สูงอายุ ผู้ที่ต้องพึ่งพา สามารถได้รับการดูแล ได้ในชุมชน และที่บ้าน
6. เกิดการสร้างสุขภาวะของชุมชน โดยความเข้มแข็งของชุมชน มีภูมิคุ้มกัน
สิ่งที่จะเกิดขึ้นในระบบ Primary Careในการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอ
1. Essential Care
- ผู้สูงอายุ ผู้ที่ต้องพึ่งพา สามารถที่ได้รับการดูแลได้ในชุมชนและที่บ้าน
- โรคเรื้อรัง (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ หืด ถุงลมโป่งพอง วัณโรค
เอดส์ โรคไต โรคตับ มะเร็ง)
- มีความเข้มแข็งของการควบคุมโรค ในท้องถิ่นและไข้เลือดออก และโรคไม่ติดต่อ
- งานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ควบคุมโรค คัดกรองโรค อนามัยสิ่งแวดล้อม อนามัยแม่และ
เด็ก อาชีวะอนามัย ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน สุขภาพฟัน โรคจิตเวช (สุขภาพจิต) ผู้พิการ (อัมพาต เบาหวานถูกตัดเท้า แผลเรื้อรัง) เด็กเล็ก วัยรุ่น วัยทำงาน ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส คนยากคนจน
2. Unity District Health Team เครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอการทำงานเป็นทีม รพ. + สสอ. + รพ.สต . + อปท. + ประชาสังคม
3. ปรากฏการณ์ภาวะสุขภาพ (Health Status) ภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ดีที่เป็นที่ต้องการหรือเป็นปกติ (Optimum or desired health, healthiness or healthy) กับภาวะสุขภาพที่ไม่เป็นที่ต้องการ ไม่สมบูรณ์ ไม่ปกติ หรือ ทุกขภาพ (undesired, unhealthy or ill-health) ซึ่งการมองจากจุดของภาวะสุขภาพ (health) ดังที่กล่าวนี้ถือว่า เป็นการมองจากปริทัศน์ทางบวก แต่ขณะเดียวกันมิติของสุขภาพก็สามารถจะมองจากปริทัศน์ด้านลบ กล่าวคือเริ่มต้นจากภาวะทุกขภาพ (ill-health) เช่น การมองภาวะสุขภาพที่ไม่ดีว่าคือภาวะที่เป็นโรค หรือความพิการ ภาวะที่มีความเจ็บป่วยและมีความไม่สบาย (disease and disability, ill and sick) และภาวะสุขภาพที่ดีก็คือลักษณะที่ตรงกันข้าม คือปราศจากโรคหรือความพิการ ความเจ็บป่วย และความไม่สบาย
4. Self Care รพ./รพ.สต./อสม./อปท. จัดHome Care ประเมินและปรับระบบบริการ คืนข้อมูล Patient Care Team (PCT) พื้นที่ Empowerment ผู้ป่วย และ ชุมชน คืนข้อมูลผู้ป่วย/ชุมชน การเข้าถึงบริการสุขภาพไร้รอยต่อ ลดช่องว่าง ที่ควรเข้าถึงได้เร็วและดีขึ้นในอนาคต การจัดปัจจัยเสี่ยงและสิ่งแวดล้อม กลุ่มเสี่ยง การเข้าถึงการคัดกรอง สามารถตรวจตนเองบางกรณี การสงสัยป่วย การเข้าถึงการชันสูตร อย่างรวดเร็ว มีคุณภาพ เป็นโรคระยะเริ่มต้น การผสมผสานภูมิปัญญาและศาสตร์ทางเลือก การดูแลต่อเนื่อง ในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ระยะโรคลุกลาม การรับบริการอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง ระยะรุนแรง ระยะสุดท้ายของชีวิต ที่โรงพยาบาลและที่บ้าน
ปัจจัยสำคัญของ DHS มี 3 ส่วน ดังนี้
1. มีความเป็นเอกภาพ ของทีม DHS ( Unity Team) ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
2. เป้าหมายร่วมกันเรื่อง Essential Care ซึ่งมี 10 ประการประกอบด้วย
2.1 ผู้สูงอายุ ได้รับการดูแลได้ในชุมชน และที่บ้าน
2.2 ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง DM HT โรคหัวใจ หืด ถุงลมโป่งพอง วัณโรคปอด เอดส์ ไต ตับ มะเร็ง ฯ
2.3 มี SRRT เข้มแข็งควบคุมโรคในท้องถิ่นได้
2.4 งานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค เช่น งานอนามัยแม่และเด็ก ตรวจคัดกรองอนามัย สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย
2.5 ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS)
2.6 สุขภาพฟัน
2.7 สุขภาพจิต –จิตเวช
2.8 ผู้พิการและผู้ที่ต้องพึ่งพา :อัมพาต แผลเรื้อรัง เบาหวานถูกตัดเท้าฯ
2.9 เด็กเล็ก วัยรุ่น วันทำงาน ผู้ด้อยโอกาส คนยากจน
2.10 ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
3. การดูแลตนเอง (Self Care) : ประชาชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง รู้ว่าเมื่อไร ควรใช้
บริการสาธารณสุข และสามารถได้รับบริการ
แนวทางการประเมินผล ระบบบริหารจัดการสุขภาพระดับอำเภอ
1. การทำแบบประเมินตนเอง (Self assessment) ตามแบบบันได5 ขั้นครอบคลุม 5 ประเด็น
คือ
1.1 การทำงานร่วมกันในระดับอำเภอ ( Unity District Health Team)
1.2 การทำงานจนเกิดคุณค่า ทั้งกับผู้รับบริการและตัวผู้ให้บริการเอง (Appreciation)
1.3 การแบ่งปันทรัพยากร และการพัฒนาบุคลากร (Resource sharing and human development)
1.4 การให้บริการสุขภาพตามบริบทที่จำเป็น (Essential care)
1.5 การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและชุมชน ( Community participation)
2. การดำเนินงานหนึ่งอำเภอหนึ่งประเด็นสุขภาพ :ODOP (One District One Project) โดยกระบวนการดังนี้
2.1 ทีม DHS ร่วมกันคัดเลือกปัญหาสุขภาพ
2.2 กำหนดตัวชี้วัดตามความเหมาะสม เพื่อติดตามความก้าวหน้า และผลสำเร็จของโครงการ
2.3 ทำในรูปแบบทั้งเครือข่ายอำเภออย่างเป็นรูปธรรม โดยมีการร่วมมือกันระหว่างภาคีเครือข่าย (8046)