ประชาคมอาเซียน

ประชาคมอาเซียน

สรุปจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน  ณ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วันที่ ๑๓ กรกฏาคม ๒๕๕๘ โดย ปิยะพร พรหมแก้ว

๑. ภาพรวมของอาเซียน

กำเนิดอาเซียนและการเป็นประชาคมอาเซียน

จุดเริ่มต้น นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (ASA : Association of South East Asia) ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง ๒ ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย จนเมื่อทั้งสองฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างกัน จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” และ ถนัด คอมันตร์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม”ปฏิญญากรุงเทพ ” ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง ๕ ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย,สิงคโปร์ และ ไทย ได้ลงนามใน “ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือในระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้ชื่อ “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้“ หรือ “อาเซียน” (ASEAN) ซึ่งเป็นตัวย่อของ Association of SouthEast Asian Nations ชื่อทางการ ในภาษาอังกฤษของอาเซียน ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่การลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ รัฐมนตรี-ต่างประเทศของทั้ง * ประเทศได้หารือกันเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการจัดตั้งสมาคมอาเซียนและยก ร่างปฏิญญากรุงเทพฯ ที่แหลมแท่น จังหวัดชลบุรี

ต่อ มาในปี พ.ศ.๒๕๒๗ ประเทศบรูไนดารุซาลามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเป็นเทศที่หก ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อม ภายนอกเพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้าง ประเทศ ความกังวลต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ร่วมกัน ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกที่เสื่อมถอยลงในช่วงพุทธ ทศวรรษ ๒๕๐๐ รวมไปถึงความต้องการการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์แตกต่างจากสหภาพยุโรป เพราะกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม

“ปฏิญญา ASEAN” ลงนามกันที่กรุงเทพ จึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า Bangkok Declaration หรือ “ปฏิญญากรุงเทพ” ห้าประเทศผู้ก่อตั้งสมาคมอาเซียนคำนึงว่าทุกประเทศมีผลประโยชน์ร่วมกัน มีปัญหาร่วมกันในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเชื่อมั่นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเสริมสามัคคีภาพระหว่างกัน ให้มั่นคงแนบแน่นต่อไป ทั้งห้าประเทศปรารถนาที่จะวางรากฐานเพื่อการทำงาน ร่วมกันสร้างสรรค์ความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยมโนสำนึกแห่งความเป็นประเทศที่เท่าเทียมเสมอภาคกัน เป็นมิตรร่วมสมาคมกัน ร่วมเดินทางไปสู่เป้าหมายอันยิ่งใหญ่พร้อมกัน คือ สันติภาพ ความก้าวหน้า ความมั่งคั่ง และความเจริญรุ่งเรืองอันยั่งยืน

โครงสร้างของอาเซียน

โครงสร้างของอาเซียนจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้

 สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) 

สำนักเลขาธิการอาเซียนได้จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีต่าง ประเทศอาเซียนในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๑ ในปี ๒๕๑๙ เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและดำเนินงานตาม โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมอาเซียน และเป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างสมาคมอาเซียน คณะกรรมการ ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ และรัฐบาลของประเทศสมาชิก

สำนัก เลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตาประเทศอินโดนีเซียโดยมีหัว หน้าสำนักงานเรียกว่า “เลขาธิการอาเซียน” ซึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๕ ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ ๓๕ ได้แต่งตั้งนาย Ong Keng Yong” ชาวสิงคโปร์ เป็นเลขาธิการอาเซียนคนใหม่แทนนาย Rodolfo C. Severino Jr. เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน โดยจะมีวาระในการดำรงตำแหน่ง ๕ ปี (ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๔๖) และมีรองเลขาธิการอาเซียนจำนวน ๒ คน (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโดยชาว มาเลเซียและเวียดนาม)

สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือกรมอาเซียน (ASEAN National Secretariat) 

เป็นหน่วยงานในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก ซึ่งแต่ละประเทศได้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบ ประสานงานเกี่ยวกับอาเซียนในประเทศนั้น ๆ และติดตามผลของการดำเนินกิจกรรม/ความร่วมมือต่าง ๆ สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการจัดตั้งกรมอาเซียนให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานด้านอาเซียน ดังกล่าว

 หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานของอาเซียน

๑. สำนักเลขาธิการอาเซียน หรือ ASEAN Secretariat  ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretary-General) เป็นหัวหน้าสำนักงาน ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันคนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่ง ๕ ปี (ค.ศ. 2008-2012)

๒. สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน  มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนในประเทศนั้นและติดตามผลการดำเนินงาน สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ (669)

Comments are closed.