เตรียมความพร้อมเด็กไทย…ก้าวไกลสู่อาเซียน

เตรียมความพร้อมเด็กไทย…ก้าวไกลสู่อาเซียน

Moral development from childhood to adult
พัฒนาการทางศีลธรรมจากวัยเด็กสู่วัยรุ่น
ศ.เกียรติคุณ พญ.วันเพ็ญ บุญประกอบ และรศ.นพ.อัมพล สูอำพัน
ศ.คลินิก พญ.วินัดดา  ปิยะศิลป์  (ผู้ดำเนินรายการ)

วงจรการเรียนรู้ด้านทัศนคติที่จำเป็นในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม
1.ได้ดูแบบอย่างที่ดี
2.รู้สึกยอมรับด้วยเหตุผลและปฏิบัติตาม
3.มีโอกาสปฏิบัติในกลุ่มและได้รับแรงเสริม
4.จูงใจให้ปฏิบัติซ้ำด้วยตนเองจนเกิดเป็นค่านิยมและนิสัย

ปัจจัยประกอบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในเด็ก
1.มีการสอนคุณธรรมและจริยธรรม
2.ผู้ดูแลต้องเป็นแบบอย่างที่ดี
3.มีการฝึกทักษะให้

ความรู้ความจริงของการพัฒนาด้านคุณธรรมและจริยธรรม
-Experience accumulated in score of years ต้องสะสมประสบการณ์เรื่อยๆ
-Continuous and consistency ทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
-Intensity and rhythmicityสอนให้สอดคล้องกับจังหวะและโอกาส
-Drop or fade from mind สามารถหลุดหรือจางหายไปจากใจ
-Instinctive wish มีความปรารถนาตามสัญชาตญาณค่อยสกัดกั้น
-External stimuli มีปัจจัยภายนอกคอยกระตุ้น

หลักการและวิธีการในการพัฒนาจริยธรรมในเด็ก
-ต้องมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด เด็กได้รับความรัก และเกิดความไว้วางใจ
-ผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างที่ดี สมด้วยเหตุผลและมีความสม่ำเสมอ
-เด็กได้รับการชี้แนะ กระตุ้นเตือนให้กระทำในสิ่งที่เหมาะสม เริ่มตั้งแต่อายุน้อยๆสม่ำเสมอ มีเหตุมีผล
-ให้เพิ่มแรงเสริมทางบวกในพฤติกรรมที่เหมาะสม
-และลดแรงเสริมทางลบในพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

Technology and Social Media :เทคโนโลยีและสื่ออินเตอร์เน็ต
Impact of technology to young generation
ผลกระทบของสื่อและเทคโนโลยีต่อเด็กรุ่นใหม่  รศ.นพ.ศิริไชย หงส์สงวนศรี

การสำรวจการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ.๒๕๕๗  ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า เด็กไทยที่มีอายุ ๖ ปีขึ้นไปใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดผล Internet addiction ซึ่งใช้เกณฑ์วินิจฉัยดังต่อไปนี้
          Internet addiction

1)      Excessive use, often associated with a loss of sense of time or a neglect of basic drives

2)      Withdrawal, including feelings of anger, tension, and/or depression when the computer is inaccessible

3)      Tolerance, including the need for better computer equipment, more software, or more hours of use

4)      Negative repercussions, including arguments, lying, poor achievement, social isolation, and fatigue

 

คำแนะนำการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กและวัยรุ่นสำหรับพ่อแม่โดยชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย

- พ่อแม่ต้องรู้จักการใช้อินเทอร์เน็ต ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต และผลกระทบด้านลบของอินเทอร์เน็ตต่อเด็กและวัยรุ่น
- พ่อแม่ต้องสามารถติดตามการใช้อินเทอร์เน็ตของได้ลูกอย่างเหมาะสม และควบคุมการใช้สื่อทุกชนิดอย่างจริงจัง
- หลีกเลี่ยงการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี
- พ่อแม่ควรอนุญาตให้ลูกใช้อินเทอร์เน็ตเมื่ออายุมากกว่า 6 ปี
- พ่อแม่ควรอนุญาตให้ลูกใช้เครือข่ายสังคมเมื่ออายุมากกว่า 13 ปี
- พ่อแม่ควรอนุญาตให้ลูกใช้สื่อทุกชนิดไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงต่อวัน
- ไม่ใช้สื่อทุกชนิด 1.00 ชั่วโมง ก่อนอน เพราะจะรบกวนการนอน
- การใช้อุปกรณ์สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต้องได้รับอนุญาตก่อนเสมอ
- อุปกรณ์สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดต้องอยู่ในที่ส่วนกลาง ไม่ติดตั้งไว้ในห้องนอนหรือห้องส่วนตัว
- พ่อแม่ต้องรู้จักการใช้โปรแกรมขัดขวางการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
- ไม่อนุญาตให้ลูกใช้อุปกรณ์สื่ออิเล็กทรอนิกส์หลายอย่างพร้อมกัน หรือระหว่างการท ากิจกรรมอย่างอื่น โดยเฉพาะระหว่างการเดินบนทางสาธารณะ
- พ่อแม่ต้องแนะนำแนวทางการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย
1) ห้ามให้ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ข้อมูลส่วนตัว แก่คนที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต
2) ไม่นัดพบกับคนที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต
3) หลีกเลี่ยงการเผยแพร่ภาพที่แสดงตัวตนของตนเอง
4) ต้องขออนุญาตแจ้งพ่อแม่เมื่อจะซื้อขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต

- สนับสนุนการทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย กิจกรรมอดิเรกหรือกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ มากกว่าการใช้อินเทอร์เน็ต
- พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์

          Touretts disorder
รศ.นพ.ศิริไชย  หงส์สงวนศรี
Tourette’s disorder หมายถึงโรคที่แสดงอาการกระตุกของกล้ามเนื้อหลายๆ มัดพร้อมๆ กันหรือมีการเปล่งเสียงออกมาจากลำคอหรือจากจมูก  อาจเป็นคำที่มีความหมาย หรือไม่มีก็ตาม  อาการจะขึ้นๆลงๆ เกิดขึ้นเองทันที เกิดซ้ำๆ รวดเร็ว  และไม่รู้ตัว อยู่นอกเหนือการควบคุมแต่ถ้าผู้ป่วยพยายามตั้งใจควบคุมจะทำได้ในช่วง สั้นๆ   โดยที่อาการจะเป็นเกือบทุกวัน  บางครั้งเว้นระยะห่างออกไปแต่ไม่นาน เกิน 3 เดือนก็จะมีอาการกลับมาเป็นใหม่  ลักษณะของความรุนแรงหรือตำแหน่งที่ เกิดอาการจะเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลาที่โรคดำเนินต่อไป  อาการแสดงจะเกิด ก่อนอายุ 18 ปีโดยมิได้เกิดจากสารกระตุ้นระบบประสาทหรือโรคทางกาย อื่นๆ  เสียงที่เปล่งออกมาอาจไม่มีภาษาซึ่งจะเกิดร่วมกับอาการกระตุก ของกล้ามเนื้อหรืออาจเกิดไม่พร้อมกันได้

Tourette’s disorder ถูกจัดเป็น neuropsychiatric disorder ที่สืบทอดทางกรรมพันธุ์มีระดับneurotransmitters ผิดปกติซึ่งเกิด จากความบกพร่องในการทำงานที่บริเวณ basal gangliaเริ่มแสดงอาการในวัยเด็ก  ส่งผลทำให้คนใกล้ชิดเกิดความรำคาญหรือเป็น ที่ล้อเลียน  เกิดปัญหาในการปรับตัวและเข้าสังคมต่อไป

การบําบัดรักษา

ใน การบําบัดรักษา กุญแจหลักที่สําคัญ คือ การเสริมสร้างความมั่นใจและความภาคภูมิใจในตัวเอง ไม่ให้สูญเสียไปเนื่องจากอาการที่มี การให้คําปรึกษา การประคับประคองทางจิตใจ รวมถึงการทําจิตบําบัด จึงมีบทบาทสําคัญในการบําบัดรักษา ช่วยลดความเครียด ลดการแยกตัวออกจากสังคมและป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าได้การให้สุขภาพจิต ศึกษากับผู้ป่วย ญาติ และบุคคลใกล้ชิด มีบทบาทสําคัญในการบําบัดรักษาทําให้เกิดความเข้าใจ ช่วยลดความวิตกกังวล และลดตัวกระตุ้นต่างๆ เน้นที่ความเข้าใจว่าเป็นอาการที่อยู่นอกเหนือการควบคุม ไม่ได้ตั้งใจทําให้เกิดขึ้นเอง การถามทัก ดุว่า หรือล้อเลียน จะยิ่งทําให้เกิดความเครียด แล้วมีอาการมากขึ้น

การบําบัดความคิดและ พฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy- CBT) พบว่าสามารถควบคุมอาการได้ จะใช้เทคนิค habit-reversal training โดยฝึกให้ผู้ป่วยจับสัญญาณความรู้สึกขณะเกิดอาการ และตอบสนองด้วยพฤติกรรมที่ควบคุมได้แทน มักจะเลือกใช้ในรายที่มีอาการไม่รุนแรง ก่อนที่จะตัดสินใจใช้ยาพบว่ายาหลายตัวสามารถนํามาควบคุมอาการของโรคได้ แต่ยังไม่สามารถบําบัดรักษาให้หายขาดได้ มักใช้ยาเพื่อควบคุมอาการในกรณีที่มีอาการมาก ยาที่องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริการับรอง มีเพียง 2 ตัว อยู่ในกลุ่ม Dopamine D2 receptor antagonists คือยา Haloperidol และPimozideส่วนยาในกลุ่ม atypical neuroleptics พบว่ามีประสิทธิผลในการรักษาเช่นเดียวกัน แต่ยังไม่ได้รับการรับรอง

 

ADHD and Academics Perfomance
โรคสมาธิสั้นส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้อย่างไร   ผศ.นพ.ณัทธร  พิทยรัตน์เสถียร
โรคสมาธิสั้นหรือattention-deficit hyperactivitydisorder (ADHD) เป็นภาวะบกพร่องในการทำหน้าที่ของสมองที่มีอาการหลักเป็นความผิดปกติทางด้าน พฤติกรรมใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ขาดสมาธิที่ต่อเนื่อง 2) ซนมากกว่าปกติหรืออยู่ไม่นิ่ง และ 3) ขาดการยั้งคิดหรือหุนหันพลันแล่นโดยเริ่มแสดงอาการตั้งแต่ในวัยเด็ก และส่วนใหญ่มักเป็นต่อเนื่องไปจนถึงวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่หากไม่ได้รับการ รักษาช่วยเหลือที่ดีอาการความผิดปกติที่เป็นจะทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วย ทั้งในด้านการเรียน อาชีพ ครอบครัว และสังคม การรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นต้องอาศัยการช่วยเหลือหลายวิธีร่วมกัน ได้แก่ การให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ การช่วยเหลือทางด้านจิตใจการช่วยเหลือในด้านการเรียน และการใช้ยา
การใช้ยารักษา
ยาที่ใช้รักษาโรคสมาธิสั้น คือ CNS stimulant เป็นยาที่ควรใช้เป็นทางเลือกแรก (first-line)
ออกฤทธิ์โดยเพิ่มระดับของ dopamine ในสมองส่วน prefrontalcortex ทำให้การทำหน้าที่ในด้าน executive function ของสมองดีขึ้นและลดอาการของผู้ป่วยทั้งในด้านสมาธิสั้น อยู่ไม่นิ่งและหุนหัน
พลันแล่น โดยได้ผลในการรักษาประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยที่มีใช้ในประเทศไทยมีเพียงตัวเดียวคือ methylphenidate โดยมีจำหน่าย 2ชนิด ได้แก่ชนิดออกฤทธิ์สั้น ขนาดเม็ดละ10 ม.ก. และชนิดออกฤทธิ์ยาว ขนาดเม็ดละ 18 ม.ก. และ 36 ม.ก.ยาทั้ง2ชนิดได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยาให้ใช้รักษาโรคสมาธิ สั้นในเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป Methylphenidateชนิดออกฤทธิ์สั้นมีระยะเวลาการออกฤทธิ์ประมาณ 3-5 ชั่วโมง จึงต้องให้วันละ 2-3 ครั้ง โดยอาจเริ่มต้นให้ครั้งละ0.3 ม.ก./ก.ก. หรือ5 มก. (ครึ่งเม็ด)สำหรับเด็กน้ำหนักน้อยกว่า25ก.ก.หรือครั้งละ 10 ม.ก. (1 เม็ด) สำหรับเด็กน้ำหนักมากกว่า 25 ก.ก.ในตอนเช้าและเที่ยง แล้วค่อยๆ ปรับเพิ่มขนาด และ/หรือให้เพิ่มอีกครั้งในช่วงบ่ายหรือเย็น ทั้งนี้ไม่ควรให้หลัง 18 นาฬิกาเพื่อหลีกเลี่ยงผลของยาที่ทำให้นอนไม่หลับขนาดรักษาโดยทั่วไปอยู่ ที่0.7-1.0 ม.ก./ก.ก./วัน สูงสุดไม่เกิน 60 ม.ก./วัน27 แม้ว่ายานี้ได้รับการรับรองให้ใช้ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป แต่ในปัจจุบันได้มีข้อมูลการศึกษาวิจัยในเด็กอายุ3-5 ปีที่แสดงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยเช่นกัน  เพียงแต่มีโอกาสพบผลข้างเคียงได้บ่อยกว่าในเด็กโต ดังนั้นหากมีความจำเป็นต้องใช้ยานี้ในเด็กเล็ก จึงควรเริ่มต้นในขนาดต่ำ เช่นครั้งละ2.5 ม.ก. (1/4เม็ด) และปรับเพิ่มได้สูงสุดไม่เกิน 30 ม.ก./วันMethylphenidateชนิดออกฤทธิ์ยาวมีระยะเวลาการออกฤทธิ์ประมาณ 12 ชั่วโมง จึงให้ได้เพียงวันละ 1 ครั้งเฉพาะในตอนเช้า เนื่องจากเป็นยาที่ผลิตในรูปแบบแคปซูลชนิดที่มีการปล่อยตัวยาออกมาทีละน้อย ด้วยกลไกreverseosmosisการรับประทานยานี้จึงต้องกลืนยาทั้งเม็ด โดยห้ามบด เคี้ยว หรือแบ่งเม็ดยา โดยทั่วไปให้เริ่มที่ขนาด 18 ม.ก./วัน แล้วเพิ่มขนาดจนได้ผลดีโดยให้ได้สูงสุดที่54 ม.ก./วัน ในเด็กต่ำกว่า 12 ปีหรือที่72 ม.ก./วัน ในวัยรุ่น Methylphenidate สามารถให้ได้ทั้งก่อนและหลังอาหาร แต่โดยทั่วไปนิยมให้หลังอาหารเพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงทางระบบอาหารโดย เฉพาะการเบื่ออาหารผลข้างเคียงของ methylphenidate ที่พบได้บ่อยได้แก่ เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด ปวดศีรษะ และนอนไม่หลับ ที่พบได้น้อยได้แก่อารมณ์แปรปรวน ปวดท้องซึม แยกตัว แกะเกาผิวหนังหรือกัดเล็บ ซึ่งอาการเหล่านี้ส่วนใหญ่มักไม่รุนแรงและลดลงหรือหายไปได้หลังจากใช้ยาไป ระยะหนึ่งการใช้methylphenidate ในระยะยาวอาจมีผลทำให้อัตราการเพิ่มของส่วนสูงในช่วงวัยรุ่นช้าลงเพียงเล็ก น้อย แต่จะไม่มีผลกระทบต่อความสูงสุดท้ายเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่

คำแนะนำสำหรับผู้ปกครองในการช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้น
1. จัดสิ่งแวดล้อมในบ้านและกำหนดกิจวัตรประจำวันให้เป็นระเบียบแบบแผน
2. จัดหาบริเวณที่สงบและไม่มีสิ่งรบกวนสมาธิสำหรับให้เด็กทำการบ้าน
3. แบ่งงานที่มากให้เด็กทำทีละน้อย และคอยกำกับให้ทำจนเสร็จ
4. ควรพูดหรือสั่งงานในขณะที่เด็กพร้อมที่จะฟัง เช่น อาจรอจังหวะที่เหมาะหรือบอกให้เด็กตั้งใจฟัง
5. บอกเด็กล่วงหน้าถึงสิ่งที่ต้องการให้ปฏิบัติและชื่นชมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หากเด็กยังทำไม่ได้อาจวางเฉยโดยไม่ตำหนิหรือประคับประคองช่วยเด็กให้ทำได้ สำเร็จถ้าเป็นเรื่องที่สำคัญ
6. เมื่อเด็กมีพฤติกรรมก่อกวนที่เป็นจากอาการของโรคสมาธิสั้น ควรใช้วิธีที่นุ่มนวลหยุดพฤติกรรมนั้นหรือเบนความสนใจให้เด็กได้ทำกิจกรรม อื่นแทน
7. หากเด็กทำผิด ควรใช้ท่าทีที่เอาจริงและสงบในการจัดการ เช่น อาจใช้การแยกเด็กให้อยู่ในมุมสงบตามลำพังชั่วคราว หรือลงโทษด้วยวิธีที่ไม่รุนแรงและเป็นไปตามข้อตกลง เช่น ลดเวลาดูโทรทัศน์เป็นต้น
8. ให้เด็กมีโอกาสใช้พลังงานและการไม่ชอบอยู่นิ่งให้เป็นประโยชน์เช่นให้ช่วยงานบ้านที่สามารถทำได้
9. ผู้ปกครองควรเป็นตัวอย่างที่ดีและช่วยฝึกเด็กให้มีวินัยอดทนรอคอย บริหารเวลาและจัดระเบียบในการทำกิจกรรมต่างๆ
10. ติดต่อและประสานงานกับครูอย่างสม่ำเสมอในการช่วยเหลือเด็กด้านการเรียนและการปรับตัวในโรงเรียน

แนวทางการช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้นสำหรับครู
1. ให้เด็กนั่งหน้าชั้นหรือใกล้ครูเพื่อจะได้คอยกำกับให้เด็กมีความตั้งใจในการ ทำงานที่ดีขึ้น ไม่ควรให้เด็กนั่งหลังห้องหรือใกล้ประตูหน้าต่างซึ่งจะมีโอกาสถูกกระตุ้นให้ เสียสมาธิได้ง่าย
2. วางกฎระเบียบ และตารางกิจกรรมต่างๆของห้องเรียนให้ชัดเจน
3. ช่วยดูแลให้เด็กทำงานเสร็จ และคอยตรวจสมุดเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กจดงานได้ครบถ้วน
4. ฝึกการจัดระเบียบ วางแผน แบ่งเวลาในการทำงาน และตรวจทบทวนผลงาน
5. ให้การชื่นชมทันทีที่เด็กตั้งใจทำงาน หรือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์
6. เมื่อเด็กเบื่อหน่ายหรือเริ่มหมดสมาธิควรหาวิธีเตือนหรือเรียกให้เด็กกลับมาสนใจบทเรียนโดยไม่ทำให้เด็กเสียหน้า
7. เมื่อเด็กมีพฤติกรรมก่อกวน อาจใช้วิธีพูดเตือน เบนความสนใจให้ทำกิจกรรมอื่น หรือแยกให้อยู่สงบตามลำพังประมาณ 5 นาทีควรหลีกเลี่ยงการตำหนิดุว่า หรือลงโทษรุนแรงซึ่งจะเป็นการเร้าให้เด็กเสียการควบคุมตัวเองมากขึ้น
8. ช่วยเหลือเป็นพิเศษทางด้านการเรียน เช่น การสอนเสริมแบบตัวต่อตัวกลุ่มเล็กๆในรายที่มีความบกพร่องในทักษะด้านการเรียน
9. มองหาจุดดีของเด็ก สนับสนุนให้เด็กได้แสดงความสามารถและช่วยให้เพื่อนยอมรับ
10. ติดต่อกับผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอเพื่อวางแผนร่วมกันในการช่วยเหลือเด็ก

สรุปจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ เตรียมความพร้อมเด็กไทย…ก้าวไกลสู่อาเซียน จัดโดย โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ ร่วมกับ ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย ๒๓-๒๕  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ณ โรงแรมวังใต้  จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยนางนิศารัตน์  นรสิงห์  และนางสาวจีรภา  แก้วเขียว

(545)

Comments are closed.