สุขภาวะ: บทบาทบุคลากรสาธารณสุขในศตวรรษที่ 21

สุขภาวะ: บทบาทบุคลากรสาธารณสุขในศตวรรษที่ 21

หัวข้อการประชุม

-สถานการณ์กับการดูแลผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21

-ระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ

-การประเมินผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์

-กลุ่มอาการและอุบัติเหตุฉุกเฉินที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

สรุปจากการ ประชุมวิชาการสุขภาวะ: บทบาทบุคลากรสาธารณสุขในศตวรรษที่ 21     12-13 กุมภาพันธ์ 2558   โดยนางสาวบุญธิดา เทือสุบรรณ

สถานการณ์กับการดูแลผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21

          ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย (ผู้สูงอายุมีร้อยละ 10) เมื่อปี 2548 และในปี พ.ศ.2566 สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ จะเพิ่มสูงถึงร้อยละ 20 และประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (complete aged society) และเมื่อประชากรสูงอายุสูงถึงร้อยละ 20 และจะเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด (super aged society)

ระดับการสูงอายุของประชากรสามารถวัดด้วย “ดัชนีการสูงวัย” (Index of aging)

โดยเป็นอัตราส่วนระหว่างประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปต่อประชากรอายุต่ำกว่า 15 ปีคูณด้วย 100  ซึ่งแสดง ให้เห็นว่ามีผู้สูงอายุกี่คนต่อเด็ก 100 คน

ประชากรสูงอายุแบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้

  1. ประชากรสูงอายุวัยต้น คือผู้ที่มีอายุ 60-69 ปี
  2. ประชากรสูงอายุวัยกลาง คือผู้ที่มีอายุ 70-79 ปี
  3. ประชากรสูงอายุวัยปลาย คือผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป

พื้นที่ต่างๆในประเทศไทย มีระดับการสูงอายุไม่เท่ากัน จากการประเมินในปี พ.ศ. 2556

ภาคเหนือมีดัชนีการสสูงวัยสูงที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ รองลงมาคือกรุงเทพมหานคร  ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้มีระดับการสูงวัยต่ำสุด คือมีดัชนีการสูงวัยเพียง 60 เท่านั้น

ข้อคิดเกี่ยวกับสังคมผู้สูงอายุ

อายุยิ่งสูง…..หญิงยิ่งมากกว่าชาย

อายุยิ่งสูง….ยิ่งโดดเดี่ยวเดียวดาย

อายุยิ่งสูง….ยิ่งพิการทุพพลภาพ

อายุยิ่งสูง…..ยิ่งต้องพึ่งพาผู้อื่น

อายุยิ่งสูง…..ยิ่งมีหลายโรค

ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ด้านสุขภาพ

- ปัญหาการเจ็บป่วย

- ความบกพร่องในการทำหน้าที่ของอวัยวะ

-ปัญหาด้านจิตใจ

ด้านเศรษฐกิจ

-ความยากจน

ด้านสังคม

-ขาดผู้ดูแล อยู่คนเดียว หรือกับสามี/ภรรยา

-การถูกเอารัดเอาเปรียบ ล่วงละเมิดสิทธิ

ระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ

ระบบบริการสุขภาพที่พึงประสงค์ ควรเป็นระบบบริการสุขภาพแบบบูรณาการ (integrated health care system) หลักการสำคัญ

-ให้บริการครอบคลุมทั้งคุณภาพเชิงสังคมและเชิงเทคนิคบริการและครอบคลุมบริการที่จำเป็นทั้งหมด

-ไม่มีความซ้ำซ้อนของบทบาทสถานพยาบาลในระดับต่างๆ

-มีความเชื่อมโยงระหว่างสถานพยาบาลแต่ละระดับ

กรอบแนวคิดของการจัดระบบดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่

1. การเข้าถึงระบบบริการ (Accessibility) ให้สามารถเข้าถึงระบบบริการสะดวก ง่าย และใกล้แหล่งชุมชนและปลอดภัยในการไปรับบริการ เช่นมีบันได มีราวจับห้องน้ำ

2. การดูแลอย่างต่อเนื่อง (Continuty of care) สนับสนุนกิจกรรมให้มีการดูแลในระยะยาวและต่อเนื่อง มีการทำทะเบียนผู้สูงอายุ มีทีมสุขภาพที่ดูแลตลอดการรักษา

3. การบริการแบบผสมผสาน (Integrated care) การให้การดูแลที่ครอบคลุมหลากมิติ เช่น

-การดูแลในมิติการรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การฟื้นฟู

-การดูแลที่ครอบคลุมทั้งกับผู้สูงอายุ  ผู้ดูแลครอบครัว  ชุมชน

-การดูแลที่ครอบคลุมลักษณะบริการ home care, day care, chronic care, end of life                 care

4. การดูแลแบบองค์รวม (Holistic care) เป็นการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพโรคเรื้อรังที่พบบ่อย การใช้ยาจำนวนมาก การนอนไม่หลับ การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัญหาสุขภาพทางเพศ การหกล้ม ด้านจิตใจ จิตวิญญาณ

5. การประสานการดูแล (Coordination of care) ร่วมกับหน่วยงานบริการสุขภาพระดับสูง เพื่อสนับสนุนการดูแล

6. การเสริมพลังชุมชน (Community empowerment) สนับสนุนให้ชุมชน ครอบครัว ผู้สูงอายุ มีศักยภาพในการจัดการปัญหาผู้สูงอายุ ตั้งแต่การเข้าถึงขัอมูล องค์ความรู้ การเข้าร่วมกลุ่ม การวางแผน จัดการภายใน

การบริการสุขภาพในสถานพยาบาล

1. ระดับปฐมภูมิ เน้นความครอบคลุม มีบริการสุขภาพแบบผสมผสาน ทั้งด้านการรักษาพยาบาล และส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุม และฟื้นฟูสภาพ ดังนั้นการจัดบริการจึงเป็นบริการเชิงป้องกันและบริการ ที่อยู่ในระยะเฉียบพลัน

2. ระดับทุติยภูมิ เป็นบริการที่ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์สูงขึ้น เน้นการบริการโรคที่ยากและซับซ้อน มากขึ้น

3. ระดับตติยภูมิ เป็นบริการที่ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูง มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น มีบุคลากร ทางการแพทย์เฉพาะทาง

การดูแลระยะกลาง

เป็นการเชื่อมการดูแลระหว่างการดูแลในโรงพยาบาลและบ้าน เป็นการดูแลที่ต่อจากระยะเฉียบพลัน ก่อนที่ผู้ป่วยจะจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล  มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยมีแผนการดูแลผู้ป่วยเป็นรายบุคคล

ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการการฟื้นฟูสภาพเฉียบพลันและการดูแลระยะยาวได้ตามความจำเป็น

มีจุดเข้าถึงและออกจากบริการที่ชัดเจน

รูปแบบการดูแลรระยะกลาง

-จัดบริการที่โรงพยาบาลชุมชน

-โปรแกรมโรงพยาบาลที่บ้าน

-Rapid response teams

-สถานบริการ step-up/step-down

-Hospital supported discharge teams

-โรงพยาบาลกลางวัน

-หน่วยงานที่บริการโดยพยาบาล

-การฟื้นฟูสภาพในสถานที่ต่างๆทั้งของเอกชน บ้านพักคนชรา สถานพักฟื้น

การดูแลระยะยาว

เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการได้รับการดูแลโดยที่ผู้ให้การดูแลที่ไม่เป็นทางการ เช่น  ครอบครัว เพื่อน เพื่อนบ้าน และผู้ที่ให้การดูแลที่เป็นทางการ เช่น บุคลากรทีมสุขภาพ มีการประสานความร่วมมือ ของทุกฝ่าย ผู้รับบริการสามารถจ่ายค่าบริการได้ เข้าถึงง่าย

รูแบบการดูแลระยะยาว

-การดูแลในสถาบัน เป็นการดูแลบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปในสถานที่เดียวกัน

-การดูแลที่บ้าน เป็นการเตรียมการดุแลที่บ้านหรือให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลบุคคลในครอบครัว

-การดูแลที่เป็นทางการ จัดบริการโดยองค์กรรัฐ เอกชน บุคลากรทีมสุขภาพ

-การดูแลแบบไม่เป็นทางการ เป็นการดูแลโดยครอบครัว เพื่อนบ้าน อาสาสมัคร

การประเมินผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์

          การประเมินผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ คือการประมินที่ช่วยค้นหาปัญหา อธิบายปัญหาที่ซับซ้อนปละปัญหา หลายอย่างของผู้สูงอายุ  รวมทั้งหาแหล่งประโยชนและความเข้มแข็งของบุคคล ประเมินบริการที่จำเป็นและ ประสานแผนการดูแลที่พัมนาขึ้นเพื่อมุ่งบำบัดรักษาปัญหาของผู้สูงอายุ

องค์ประกอบการประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ แปบ่งเป็น 4 มิติ ดังนี้

1. ด้านสุขภาพร่างกาย ประเมินจากประวิติความเจ็บป่วย การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้อง ปฏิบัติการ การประเมินสุขภาวะตามการรับรู้ เป็นการประเมินสุขภาพด้วยตนเองการรับรู้ต่อภาวะสุขภาพ มีความสำคัญต่อการดูแลตนเอง ทำให้บุคคลมีความเอาใจใส่ต่อการดูแลตามไปด้วย

2. การประเมินความสามารถในการทำงาน เป็นการประเมินกิจกรรมที่ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและการจัดการระยะยาวให้ดำเนินชีวิตอยู่โดยไม่พึ่งพา

3. การประเมินทางด้านจิตใจ สติปัญญา และอารมณ์ เป็นการประเมินความบกพร่องทางจิตใจ โดยฉพาะภาวะซึมเศร้า และสมองเสื่อม  โดยประเมินความจำ ความตั้งใจ การรับรู้ การคำนวณ ภาษา สมาธิ และการตัดสินใจ

4. การประเมินภาวะทางสุขภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น 2 มิติคือเครือข่ายทางสังคมและ การสนับสนุนทางสังคม แนวคำถาม ได้แก่ บุคคลที่อยู่ในครัวเรือนเดียวกับผู้สูงอายุ ใครจะเป็นผู้ดูแลเมื่อมี อาการเจ็บป่วย  รายได้ในชีวิตประจำวันมาจากที่ใด

กลุ่มอาการและอุบัติเหตุฉุกเฉินที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

ภาวะสมองเสื่อม (Dementia)

เป็นภาวะที่การทำงานของสมองส่วน cognitive หรือ intellectual function เสื่อมถอยและลดลงอย่าง ต่อเนื่องจากระดับที่เคยเป็นอยู่ โดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ แต่คนข้างเคียงสามารถสังเกตได้ การปฏิบัติงานในกิจวัตร ประจำวันด้านอาชีพ สังคม เสียไปในระยะต้น การดูแลสุขภาพอนามัยส่วนตัวเสียไปในระยะกลาง และใน ระยะสุดท้าย self awareness และ simple basic locomotion เช่นการเดิน การนั่ง การทรงตัว เสียไปด้วย เป็นผู้ป่วยที่นอนติดเตียงตลอดเวลา พูดไม่รู้เรื่อง จำภรรยา สามีลูก /หลานและคนใกล้ชิดไม่ได้

เครื่องมือที่ใช้ประเมินภาวะสมองเสื่อม

  1. Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorder (DSM IV)
  2. Mini Mental State Examination (MMSE)

ระดับความรุนแรงของภาวะสองเสื่อม

1. ระดับอ่อน ระยะเวลา 1-3 ปี จะมีอาการสูญเสียความทรงจำระยะสั้น หลงลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ใหม่ๆ          ลืมรายละเอียดที่ไม่สำคัญ มักมีคำถามซ้ำๆ เรียกชื่อคน สิ่งของไม่ถูกต้อง

2. ระดับปานกลาง ระยะเวลา 2-10 ปี เริ่มไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้/ช่วยเหลือได้ลดลง เช่น อาบน้ำ แต่งตัว การจัดการด้านการเงิน ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความจำเสื่อมากขึ้น ไม่รับรู้วัน เวลา สถานที่ บุคคล จำคน/ชื่อคนไม่ได้ บุคลิกภาพ สติปัญญาเปลี่ยนแปลง

3. ระดับรุนแรง ระยะ 3-12 ปี เป็นระยะสุดท้ายของโรค ไม่สามารถจดจำเหตุการณ์ในอดีตและ ปัจจุบันได้ จำคนข้างเคียงไม่ได้ จำชื่อตนเองไม่ได้ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ปฏิบัตรกิจวัตรประจำวันไม่ได้ พูดรัวลิ้น ขาดเป็นช่วงๆไม่เป็นภาษา เบื่ออาหาร สับสน กระวนกระวาย ตื่นกลางคืน เงียบ แยกตัว ควบคุม การขับถ่ายไม่ได้

โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

ปัจจัยเสี่ยง      

  1. การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยเนื่องจากความชรา
  2. ลักษณะการดำเนินชีวิต เช่น ได้รับอาหารที่มีแคลเซียมต่ำ การลดการเคลื่อนไหว สูบบุหรี่ ดื่มกาแฟ
  3. การหมดประจำเดือน
  4. การเกิดพยาธิสภาพในระบบอื่นๆที่มีผลต่อมวลกระดูก

การประเมินทางการพยาบาล

  1. การซักประวัติหมดประจำเดือน การหกล้ม หรือกระดูกหัก ยาที่ใช้ประจำ
  2. การประเมินปัจจัยเสี่ยง่อการเกิดกระดูกพรุน
  3. การตรวจร่างกาย โดยการวัดส่วนสูง น้ำหนัก ประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ประเมินกระดูกหัก
  4. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  5. ตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก

การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

สาเหตุ

1. การเปลี่ยนแปลงจากกระบวนการสูงอายุ  ได้แก่ระบบโครงสร้างและกล้ามเนื้อ ที่เป็นผลให้ความแรงในการหดตัวของกล้ามเนื้อลดลง  นอกจากนี้ระบบประสาทและประสาทสัมผัส โดยประสิทธิภาพการทำงานของสมองและประสาทอัตโนมัติลดลง สารสื่อประสาทมีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้มีการสั่นเกร็งของกล้ามเนื้อ  การมองเห็นลดลง มีการเสื่อมของอวัยวะในหูชั้นในร่วมกับหลอดเลอด ที่ไปเลี้ยงหูชั้นในมีการแข็งตัวทำให้เลือดไหลเวียนลดลง ส่งผลให้เกิดหูตึง  รวมทั้งระบบหลอดเลือดและหัวใจ โดยมีกล้ามเนื้อหัวใจฝ่อ มีพังผืด ไขมัน ผนังหัวใจล่างซ้ายหนา ลิ้นหัวใจแข็งและหนา ทำให้มีการปิดเปิด ของลิ้นหัวใจลดลง ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง

2. ปัจจัยภายนอกร่างกายที่เป็นสาเหตุทำให้พลัดตกหกล้ม ได้แก่

-พื้นที่มีลักษณะไม่ปลอดภัย

-สิ่งก่อสร้างในบ้านไม่เหมาะสม

-แสงสว่างในที่พักอาศัยไม่เพียงพอ

-เครื่องเรือนไม่เหมาะสม

-เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ที่ช่วยในการเคลื่อนไหวไม่เหมาะสม

การประเมิน     

  1. การซักประวัติภาวะหกล้ม
  2. ประเมินการมองเห็น
  3. ประเมินการทรงตัว
  4. ประเมินอาการปวด อักเสบกระดู และข้อ
  5. ประเมินกำลังกล้ามเนื้อข

(3301)

Comments are closed.