Author Archives: admin

การอบรมพัฒนาศักยภาพวิทยากรพี่เลี้ยงหลักสูตร ผ.บ.ก./ผ.บ.ต.

การอบรมพัฒนาศักยภาพวิทยากรพี่เลี้ยงหลักสูตร ผ.บ.ก./ผ.บ.ต.

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :  27   มกราคม   2557

ผู้บันทึกนางนิสากร จันทวี

กลุ่มงานงานห้องสมุดและห้องปฏิบัติการพยาบาล

ฝ่าย :  วิชาการพยาบาลพื้นฐานและพื้นฐานวิชาชีพ  

ประเภทการปฏิบัติงาน:  อบรม

วันที่      14   – 17    มกราคม   2557

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : วิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์) อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

สถานที่จัดณ วิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์) อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม


เรื่อง
:    การอบรมพัฒนาศักยภาพวิทยากรพี่เลี้ยงหลักสูตร  ผ.บ.ก./ผ.บ.ต.

รายละเอียด

วิทยากรพี่เลี้ยง (Facilitator)

Facilitator คือใคร

              Facilitator คือ ผู้รับผิดชอบในการจัดรูปแบบและวิธีการทำงานเพื่อให้ทีม/กลุ่ม/คณะ

ทำงานได้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร

     ทำไมต้องมี Facilitator

  • เพื่อสร้างบรรยากาศและกระบวนการทำงานของทีม/เสริมพลังศักยภาพการทำงาน

ของหัวหน้าทีมและสมาชิกในทีม

  • เพื่อกระตุ้นและสร้างบรรยากาศของการพัฒนาคุณภาพให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
  • เพื่อประสานนโยบายคุณภาพองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย

เป้าหมายของ Facilitator

  • เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของทีม
  • เพิ่มการมีส่วนร่วมของทีม
  • นำความคิดที่มีค่าออกมาจากสมาชิกให้ได้มากที่สุด
  • นำไปสู่การยอมรับข้อสรุปร่วมกันของทีม
  • การเสริม เติมเต็มองค์ความรู้จากสมาชิกสู่ทีม

กลยุทธ์ของ Facilitator

  • สร้างบรรยากาศและกระบวนการเรียนรู้ในทีม

คุณสมบัติของ Facilitator

  • มีมนุษยสัมพันธ์ดี /ความสามารถในการสื่อสาร
  • มีความมุ่งมั่น เสียสละ ทุ่มเท อุทิศตน
  • เป็นผู้นำทีมได้ สามารถสร้างบรรยากาศการทำงานเป็นทีม และกระตุ้นการเรียนรู้ในทีมได้

ภาระหน้าที่ของ Facilitator

  • เกริ่นนำ
  • กำกับทิศทางการทำงานของกลุ่ม
  • ดุแลกระบวนการกลุ่ม
  • ประเมินผลและกำกับกระบวนการประชุม

       บทบาทของ Facilitator

  • จัดเตรียม และสื่อสาร เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะมีวัฒนธรรมของการมีส่วนร่วมด้วยการสื่อสาร 2 ทาง ภายในทีม โดยมีความเชี่ยวชาญพิเศษในเรื่องพลวัตของกลุ่ม
  • จัดโครงสร้างการประชุม/การมีส่วนร่วม แต่ไม่เข้าไปยุ่งกับเนื้อหา
    • ผู้เสริมสร้างให้เกิดการเรียนรู้
    • ผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคนิควิธี
    • ผู้สนับสนุนให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน
    • ผู้สร้างความร่วมมือภายในกลุ่ม
    • ผู้ช่วยเหลืออำนวยความสะดวก
    • ผู้ช่วยแก้ปัญหาบางเรื่อง
    • เป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยนระหว่างมนุษย์
    • เป็นผู้ให้/ผู้รับความรู้
    • เป็นโค้ช คอยชี้แนะ สะท้อนกลับ
    • เป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อแรงกดดันของอำนาจใดๆ
    • เป็นผู้นำกองคาราวาน (กระบวนการ) ดูแลทิศทาง
    • เป็นผู้ให้กำลังใจในการเปลี่ยนแปลง
    • เป็นผู้คุมกฎ ดูแลความพร้อม/ระเบียบ
    • เป็นผู้วิเคราะห์ สรุปประเด็น ติดตามเชื่อมโยงสู่สิ่งใหม่ๆ
    • สนับสนุนกระบวนการ “การมีส่วนร่วมทางความคิด”
    • เป็นผู้รับผิดชอบต่อความสำเร็จของกระบวนการ

คุณลักษณะของ Facilitator ที่ดี

  • ทักษะที่พึงมีของ Facilitator

1. ทักษะการจัดแจงฉาก

2. ทักษะการสร้างบรรยากาศกลุ่ม

3. ทักษะการสื่อสาร

4. ทักษะการฟัง

5. ทักษะการตั้งประเด็นคำถาม

6. ทักษะการเสริมสร้างกำลังใจ

7. ทักษะการกระตุ้นให้ผู้ร่วมเวทีตื่นตัว

8. ทักษะการสังเกต

9. ทักษะการควบคุมประเด็นและคลี่คลายข้อขัดแย้ง

10.ทักษะการสรุปบทเรียน

  • สิ่งที่ควรและไม่ควรทำ/เป็นของบทบาท Facilitator

ควรทำ (Do)

ไม่ควรทำ (Don’t)

1.รับฟังความคิดเห็นสมาชิกกลุ่ม 1.ใช้ความคิดของตนเป็นหลัก
2.กระตุ้นให้สมาชิกเล่าเรื่องจาก ประสบการณ์ตนเอง 2.ใช้คำพูดชี้นำออกนอกเรื่อง
3.สร้างบรรยากาศที่ดีในการพูดคุย 3.เปิดโอกาสให้มีกลุ่มย่อย/ไม่มีกติกา
4.พูดจาสุภาพ 4.ขัดจังหวะการเล่าเรื่อง/ไม่สนใจฟัง
5.ศึกษาประเด็นที่จะมาพูดคุย 5.ปล่อยให้สมาชิกเล่าเรื่องออกนอกประเด็น
6.ถ้าสมาชิกเล่าเรื่องออกนอกประเด็นพยายามซักถามและนำเข้าสู่ประเด็น 6.เปลี่ยนประเด็นเร็ว/ไม่เชื่อมโยง
7.ควบคุมเวลาในการพูด 7.ควบคุมกำกับตึงไป/หย่อนไป

 

การเตรียมการล่วงหน้าก่อนการประชุม

๑) รู้กลุ่มเป้าหมาย

  • มาจากที่ใด  ทำงานอะไร ลักษณะการรวมกลุ่มจากหน่วยเดียวกัน  จากผู้ปฏิบัติงานหน้าที่เดียวกัน  จากประเภทของกิจกรรมที่กลุ่มต้องดำเนินการ  จากผู้มีความสนใจร่วมกันในเรื่องนั้นๆ

๒) รู้ว่าผู้เข้าร่วมประชุมต้องการอะไร

  • ความประสงค์  ความตั้งใจ  ความคาดหวัง

๓) รู้ว่าผู้เข้าร่วมประชุมรู้อะไรมาแล้วบ้าง

  • ความรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหา  ความรู้พื้นฐานในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ความรู้เชี่ยวชาญพิเศษในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

๔) รู้ว่าอาจมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในเรื่องใดได้บ้าง

  • ความขัดแย้งระหว่างบุคคล
  • ความขัดแย้งอันเกิดจากเนื้อหาของเรื่องที่กำลังประชุม
  • ความขัดแย้งที่เกิดจากภาวะตึงเครียด

๕) รู้ว่าจะเกิดผลอะไรเมื่อการประชุมเสร็จสิ้นแล้ว

  • การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์กร พลังและการมีส่วนร่วมในการดำเนินการแก้ปัญหา  กลุ่มมีสมรรถนะในการตัดสินใจที่จำเป็นในการดำเนินการเพียงใด

 การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem  Based  Learning)

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem  Based  Learning) หรือ PBL หมายถึงกระบวนการเรียนการสอนซึ่งใช้ปัญหา เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะค้นคว้าหาข้อมูลและองค์ความรู้มาช่วยแก้ปัญหาหรือทำให้ปัญหานั้นกระจ่าง มองเห็นแนวทางแก้ไขทำให้เกิดการเรียนรู้และสามารถที่จะผสมผสานความรู้นั้นๆ ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเรียนรู้แบบ PBL เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน ให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Self directed  learning : SDL) เป็นการเรียนรู้ที่ถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Centered  Learning) ผู้เรียนจะใช้ทั้ง Hand  Heart และ Hand พร้อมๆกัน คือใช้สมองในการคิด ใช้หัวใจในการทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้และใช้มือในการจดบันทึกและค้นคว้า ซึ่งการเรียนแบบ PBLจะเกิดประโยชน์และได้ผลดีเมื่อเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย (Small  Group  Learning) ไม่เกิน ๑๕ คน โดยสมาชิกที่มีประสบการณ์ที่หลากหลายมีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์

วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก คือเพื่อพัฒนาผู้เรียนด้าน

๑)  พัฒนาสมรรถนะกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต

๒) พัฒนาสมรรถนะในการแก้ปัญหา

๓) พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

๔) พัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่ม

ขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL

ขั้นตอนที่   ๑    ทำความเข้าใจในความหมายของคำหรือประเด็นต่างๆในTrigger ให้เข้าใจ

ขั้นตอนที่   ๒    ค้นหาปัญหาและกำหนดปัญหาให้ชัดเจน

ขั้นตอนที่   ๓    วิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาสาเหตุและตั้งสมมติฐาน

ขั้นตอนที่   ๔    ให้ข้อมูลเพิ่มเติมโดยวิทยากรพี่เลี้ยงและข้อมูลที่ค้นคว้าจากสถานการณ์จริง

ขั้นตอนที่   ๕    วิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง

ขั้นตอนที่   ๖    กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้

ขั้นตอนที่   ๗    ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองและวิทยากรหรือผู้รู้

ขั้นตอนที่   ๘    แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสมาชิกและกลุ่ม/สรุปเนื้อหาและประสบการณ์ การเรียนรู้

ขั้นตอนที่   ๙    สรุปผลการศึกษา โดยการนำเสนอผลการศึกษาและจัดทำเอกสารรายงาน

เงื่อนไขในการเรียนรู้แบบ PBL

๑) กระตุ้นความรู้เดิม (Activation  of  prior  knowledge) ความรู้เดิมที่เป็นพื้นฐานนั้นมีประโยชน์มาก ผู้เรียนต้องพยายามนำเอาความรู้เดิมจากความทรงจำออกมาใช้ให้มากที่สุด วิทยากรพี่เลี้ยงหรือเพื่อนสมาชิกในกลุ่มจะต้องกระตุ้นให้เพื่อนสมาชิกนำความรู้เดิมออกมาให้กับกลุ่ม

๒) เสริมความรู้ใหม่ (Encording  specificity) การที่ผู้เรียนนำความรู้ที่แสวงหามาได้ใหม่เสริมกับความรู้เดิมจะทำให้เกิดความเข้าใจ ใคร่ครวญและฉุกคิด และเกิดความความคิดกว้างไกล สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

๓) ต่อเติมความเข้าใจให้สมบูรณ์ (Elaboration  of  knowledge) หากผู้เรียนได้มีโอกาสต่อเติมความเข้าใจให้สมบูรณ์ โดยวิธีอภิปรายกับเพื่อนในกลุ่ม สรุป ตั้งคำถาม และพิสูจน์สมมติฐานการปฏิบัติดังกล่าวจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ เป็นความรู้เก็บกักไว้ในความทรงจำได้นาน และสามารถนำออกมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน

  • การสร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของทีม
  • การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem  Based  Learning)

ด้านการนำผลการพัฒนาไปใช้ประโยชน์

             R การพัฒนาบุคลากร                       

             R การบริหารงาน

             R การพัฒนานักศึกษา                     

             R อื่นๆโปรดระบุ  การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

ด้านสมรรถนะ

  • พัฒนาศักยภาพบทบาทวิทยากรพี่เลี้ยงหลักสูตรผ.บ.ก./ผ.บ.ต. โดยใช้การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem  Based  Learning)
    • พัฒนาสมรรถนะในการแก้ปัญหา
    • พัฒนาการใช้ทักษะกระบวนการกลุ่ม

.ด้านอื่น ๆ

  • การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก สามารถนำมาเป็นเครื่องมือในจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ทำให้สามารถพัฒนาตัวผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนที่ถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

 

 

 

 

 

 

  (548)

การจัดทำข้อสอบความรู้รวบยอด หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2556 ของสถาบันพระบรมราชชนก

การจัดทำข้อสอบความรู้รวบยอด หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2556 ของสถาบันพระบรมราชชนก

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :    6    พฤศจิกายน    2556

ผู้บันทึก :   นางนิศารัตน์ นรสิงห์  และ   น.ส .อุษา จันทร์แย้ม

กลุ่มงาน :   กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

ฝ่าย :   วิชาการ

ประเภทการปฏิบัติงาน :    การประชุม

วันที่    4   พฤศจิกายน 2556      ถึงวันที่    5    พฤศจิกายน 2556

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก

สถานที่จัด : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฏร์ธานี

เรื่อง : “การจัดทำข้อสอบความรู้รวบยอด หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2556 ของสถาบันพระบรมราชชนก”

รายละเอียด

การสร้างแบบทดสอบมาตรฐาน  มีขึ้นตอนดังนี้

                   1. สร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร หรือตามรางวิเคราะห์เนื้อหาและพฤติกรรม

                   2. เขียนข้อสอบตามตามรางวิเคราะห์หลักสูตร

                   3. นำข้อสอบไปทดลองใช้ (Try out)

                   4.  วิเคราะห์ข้อสอบ

                   5. ปรับปรุงข้อสอบที่มีคุณภาพไม่ดี แล้วนำไปทดลองใช้ (ทำดังข้อ 3-5 ไปเรื่อย ๆ จนกว่าทุกข้อจะมีคุณภาพดีตามเกณฑ์)

การสร้างข้อสอบตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้

1. คำถามประเภทความรู้ความจำ

   1.1 คำถามด้านความรู้ในเนื้อเรื่อง การถามถึงเรืองราวและความจริง ความสำคัญต่างๆ ของเนื้อหา

   1.2 คำถามเกี่ยวกับศัพท์และนิยาม ถามความหมายของศัพท์ คำจำกัดความของคำและความหมาย

ของสัญลักษณ์ หรือภาพ อักษรย่อและเครื่องหมายต่างๆ

-          ถามชื่อ  ถามคำแปล  ถามความหมาย  ถามตัวอย่าง ถามตรงข้าม

   1.3 คำถามเกี่ยวกับสูตร กฎ ความจริง ความสำคัญ ถามเนื้อหา เช่น ลักษณะอาการใด ที่แสดงว่า ออกกำลังกายมากเกินไป ถามขนาดจำนวน ถามสถานที่ ถามเวลา ถามคุณสมบัติ ถามวัตถุประสงค์ ถามสาเหตุ และ ผลที่เกิดขึ้น ถามประโยชน์และคุณโทษ ถามหน้าที่ เช่น นักจิตวิทยาทำหน้าที่อะไรในทีมจิตเวช

   1.4 คำถามด้านวิธีดำเนินการ ถามวิธีประพฤติปฏิบัติ และ วิธีดำเนินการในกิจการงาน และเรื่องราว

ต่างๆ

             1.5ถามเกี่ยวกับระเบียบแบบแผน ถามแบบแผนแบบฟอร์ม เช่น ในห้องรักษาด้วย ECTควรมีอุปกรณ์ใดบ้าง ถามธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม วิธีการปฏิบัติ

   1.6 ถามเกี่ยวกับลำดับขั้นและแนวโน้ม เช่น ระยะของการชัก ถามแนวโน้ม เช่น โรคชนิดใดมีแนวโน้มสูงขึ้น ในระยะ 2-3 ปีนี้

   1.7 ถามเกี่ยวกับการจัดประเภท ถามเข้าพวก ถามต่างพวก ถามชนิดประเภท เช่น ข้อใดเป็นการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด

   1.8 ถามเกี่ยวกับเกณฑ์ เช่น การพักผ่อนที่ดีมีลักษณะอย่างไร

   1.9 ถามเกี่ยวกับวิธีการ การปฏิบัติ การเปรียบเทียบ

   1.10 คำถามด้านความรู้รวบยอด

             1.11 ถามเกี่ยวกับหลักวิชาและการขยายหลักวิชา ถามให้บอกคติหรือหลักวิชาของเรื่องนั้น

   1.12 ถามเกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง

2. คำถามประเภทความเข้าใจ เป็นการถามความสามารถในการผสมแล้วขยายความรู้ความจำให้ไกลออกไปจากเดิมอย่างสมเหตุสมผล

   2.1 คำถามด้านการแปลความ

                  1) ถามให้แปลความหมายของคำและข้อความ

       2) แปลความหมายของภาพและสัญลักษณ์

       3) แปลถอดความ

   2.2 คำถามด้านการตีความ

       1) ตีความหมายของเรื่อง เช่น จากสถานการณ์นี้ หมายถึงอย่างไร ?

       2) ตีความหมายของข้อเท็จจริง

   2.3 คำถามด้านการขยายความ

      1) ขยายความแบบจินตภาพ เช่น เหตุการณ์ เกิดขึ้นที่ไหน

       2) ขยายความแบบพยากรณ์ เช่น พยาบาล ก ควรใช้เทคนิคใดในการสนทนาต่อไป

      3) ขยายความสมมติ เช่น ถ้าใช้พยาบาลปฏิเสธ นาย ก ผลที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นเช่นไร

      4) ขยายความแบบอนุมาน เช่น เมื่อถูกเลี้ยงดูโดยการปล่อยปละละเลยเด็กจะเกิดปัญหาใดตามมา

3. คำถามประเภทการนำไปใช้ ความสามารถในการนำเอาความรู้และความเข้าใจในเรื่องราวใดๆ ไปแก้ปัญหาที่แปลกใหม่ ทำนองนั้นของเรื่องนั้นได้

1) ถามความสอดคล้องระหว่างหลักวิชากับการปฏิบัติ

2) ถามขอบเขตของหลักวิชาและการปฏิบัติ

- ถามขอบเขตและเงื่อนไขของหลักวิชาและการปฏิบัติ

- ถามข้อยกเว้นของหลักวิชาและการปฏิบัติ

3) ถามให้อธิบายหลักวิชา

- ถามให้อธิบายเรื่องราว ปรากฏการณ์และการกระทำต่างๆ ตามหลักวิชาว่ามีเหตุผล หรือ

หลักวิชาใด

4) ถามให้แก้ปัญหา เป็นขั้นนำความรู้ไปใช้ในสภาพจริงกันโดยตรง โดยการตั้งคำถามเป็นเรื่องราว

หรือเหตุการณ์สมมติใดๆ ก็ได้แล้วให้ตอบแก้ปัญหาเหล่านั้นด้วยความคิดของตนเอง

5) ถามเหตุผลของการปฏิบัติเรื่องนั้นๆ ควรปฏิบัติอย่างไร และเพราะเหตุใดจึงปฏิบัติเช่นนั้น

     4. คำถามประเภทการคิดวิเคราะห์

          1) วิเคราะห์ความสำคัญ

- ถามให้วิเคราะห์ชนิด เช่น จากสถานการณ์เป็นการบำบัดชนิดใด

- จากสถานการณ์ผู้ป่วยมีความผิดปกติในเรื่องใด

- ถามให้วิเคราะห์สิ่งสำคัญที่สุด

          2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ เช่น ข้อความนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับอะไรมากที่สุด

          3) วิเคราะห์หลักการ

           - วิเคราะห์โครงสร้าง เช่น สิ่งต่อไปนี้มีสิ่งใดแตกต่างกัน?

- วิเคราะห์หลักการ เช่น คำสรุปนี้ยังไม่สมบูรณ์เพราะเหตุใด?

    5. คำถามประเภทสังเคราะห์ วัดความสามารถในการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป เพื่อให้

กลายเป็นสิ่งสำเร็จรูปขึ้นใหม่ ที่มีลักษณะแปลกไปจากส่วนประกอบย่อยของเดิม

1) สังเคราะห์ข้อความ

- สังเคราะห์ข้อความโดยการพูด เช่น ให้แสดงความคิดเห็นอิสระของตนต่อเรื่องราวที่

กำหนดให้ ชี้แจง ขยายความของเรื่องใดๆ ให้กระจ่างชัดกว่าเดิม ให้สรุปสิ่งที่เป็นแก่นสารหัวใจของเรื่องโดยภาษาของตนเอง หาข้อยุติจากการอภิปราย การวิจารณ์เปรียบเทียบความดีงาม เด่นด้อยของเรื่องต่างๆ

- สังเคราะห์ข้อความโดยการเขียน ให้เขียนตอบบรรยายเรื่องราวต่างๆ เช่น ให้แสดงความคิดเห็น

ว่าเหมาะสม หรือดี เลวเพียงใด ให้ขยาย สรุป และเปรียบเทียบสิ่งนั้นกับอะไรอื่นอีกอย่างหนึ่ง

- สังเคราะห์ข้อความจากการแสดง ใช้รูปภาพ หรือวัตถุสิ่งของ เสียง หรือการแสดง

โดยนำสิ่งนั้นมาให้ดู แล้วให้แต่ละคนพูดหรือเขียนบรรยายเรื่องราวตามภาพที่เห็น หรือให้แสดงความ

คิดเห็นต่อสิ่งนั้น

2) สังเคราะห์แผนงาน การกำหนดแนวทางและขั้นตอนของการปฏิบัติงานใดๆ ล่วงหน้า เพื่อให้การดำเนินงานราบรื่น และบรรลุผลตรงตามเกณฑ์ ที่กำหนดไว้

          3) สังเคราะห์ความสัมพันธ์ เอาความสำคัญและหลักการต่างๆ มาผสมให้เป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้

เกิดเป็นสิ่งสำเร็จรูปใหม่ๆ ที่มีความสัมพันธ์แปลกไปจากเดิม เช่น พยาบาลที่เข้าใจผู้ป่วยเป็นพยาบาลที่ดี แต่ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น เขาจะต้องปฏิบัติอะไรอีก?

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

ด้านการนำผลการพัฒนามาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานสามารถนำหลักการออกข้อสอบไปใช้ในการพัฒนาแนวทางการทำข้อสอบเพื่อวัดและประเมินผลนักศึกษา ให้ตรงตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ และมีประสิทธิภาพ

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

แนวทางการออกข้อสอบ

มีความสามารถในการบริหารแนวทางการวัดและประเมินผลเพิ่มขึ้น

  (753)

ศาสตร์และศิลป์ในการสอนภาคปฏิบัติ

ศาสตร์และศิลป์ในการสอนภาคปฏิบัติ

ศาสตร์และศิลป์ในการสอนภาคปฏิบัติ

รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1  2 และ 3 : แนวปฏิบัติที่ดี 

กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และบริหารการพยาบาล

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

 

ความสำคัญของรายวิชา

                         กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และบริหารการพยาบาลเป็นกลุ่มวิชาที่รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 2 และ 3  โดยรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 เป็นการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมบนพื้นฐานทฤษฎีการดูแลด้วยความเอื้ออาทรแก่บุคคลวัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่และวัยผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับความผิดปกติของการรับประทานอาหารและน้ำ การขับถ่ายอุจจาระ การขับถ่ายปัสสาวะ ผิวหนังกระดูก ข้อและกล้ามเนื้อ ฮอร์โมน ในระยะเฉียบพลัน วิกฤตและเรื้อรัง โดยคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ ยึดหลักจริยธรรมและหลักสิทธิมนุษยชน เลือกใช้ทรัพยากร เทคโนโลยีเหมาะสม ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น มุ่งเสริมสร้างศักยภาพบุคคลในการดูแลตนเอง             

                        รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 เป็นการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมบนพื้นฐานทฤษฎีการดูแลด้วยความเอื้ออาทรแก่บุคคลวัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่และวัยผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับความผิดปกติของอวัยวะรับสัมผัส ภูมิคุ้มกัน เซลล์เจริญเติบโตผิดปกติ เลือดและส่วนประกอบของเลือด อวัยวะสืบพันธุ์และเพศสัมพันธ์ปัญหาที่เกิดจากโรคติดต่อและโรคเขตร้อน ในระยะเฉียบพลัน วิกฤตและเรื้อรัง โดยคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ ยึดหลักจริยธรรมและหลักสิทธิมนุษยชน เลือกใช้ทรัพยากร เทคโนโลยีเหมาะสม ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น มุ่งเสริมสร้างศักยภาพบุคคลในการดูแลตนเอง

                        รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 3 เป็นการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมบนพื้นฐานทฤษฎีการดูแลด้วยความเอื้ออาทรแก่บุคคลวัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่และวัยผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับความผิดปกติของการหายใจ การไหลเวียนเลือดและน้ำเหลือง สมองและไขสันหลัง และภาวะล้มเหลวหลายระบบ ทั้งในระยะเฉียบพลัน วิกฤตและเรื้อรัง โดยคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ ยึดหลักจริยธรรมและหลักสิทธิมนุษยชน เลือกใช้ทรัพยากร เทคโนโลยีเหมาะสม ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น มุ่งเสริมสร้างศักยภาพบุคคลในการดูแลตนเอง

 การจัดการเรียนการสอน

                         ในการจัดการเรียนการสอนทั้ง 3 รายวิชา ได้จัดแบ่งให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ ณ หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม หอผู้ป่วยศัลยกรรมและหอผู้ป่วยอายุรกรรม ณ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช กลุ่มละ 8 คน ฝึกปฏิบัติเฉพาะเวรเช้า โดยมีอาจารย์พยาบาลที่มีวุฒิการศึกษาตรงการเกณฑ์ของสภาการพยาบาลนิเทศ องค์ประกอบในการสอนภาคปฏิบัติประกอบด้วยการประชุมปรึกษาทางการพยาบาลก่อน-หลัง การนิเทศ การสอนการพยาบาลในคลินิก จากที่ผ่านมาพบว่า การสอนภาคปฏิบัติมีความหลากหลายโดยเทคนิคและวิธีการ ทางกลุ่มวิชา ได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้ร่วมกันจัดทำการจัดการความรู้ในประเด็นดังกล่าว และสรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดี โดยมุ่งหวังให้อาจารย์นิเทศ  และพยาบาลวิชาชีพ ได้นำไปใช้ให้เป็นแนวทางในการสอนภาคปฏิบัติต่อไป  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับวิชาชีพการพยาบาล

 แนวปฏิบัติที่ดีในการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 2และ 3

 1.การประชุมปรึกษาก่อนให้การพยาบาล (Preconference)

                          การประชุมปรึกษาก่อนให้การพยาบาล (Preconference) เป็นการประชุม ปรึกษาก่อนเริ่มปฏิบัติงานในแต่ละเวรเพื่อมอบหมายงาน ชี้แนวทางปฏิบัติงาน และการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะอย่างให้กับนักศึกษา ดังนั้นผู้สอนจะต้องประชุมปรึกษากับนักศึกษาที่อยู่ในความดูแล ก่อนเริ่มปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถทำเป็นรายกลุ่มและรายบุคคลก็ได้  แต่การประชุมปรึกษาเป็นรายกลุ่มจะช่วยให้นักศึกษา เกิดการเรียนรู้จากกลุ่มด้วย

 วัตถุประสงค์ของ Preconference

          1.เพื่อตรวจสอบความพร้อมของนักศึกษาในการปฏิบัติงานในวันนั้น

          2.เพื่อแจ้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในวันนั้นๆ

          3.สร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงานให้กับนักศึกษา

          4.เพื่อให้การวางแผนการพยาบาลมีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

 สาระของ Preconference

          1.วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้

          2.ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วย

                   -ประวัติการเจ็บป่วยและสภาพผู้ป่วย ณ ปัจจุบัน

                   -ปัญหาที่พบเรียงลำดับความสำคัญและเร่งด่วนของปัญหา

                   -แผนการพยาบาลที่สอดคล้องกับการรักษา

          3.ข้อความรู้เกี่ยวกับกรณีผู้ป่วยและอื่นๆ

 วิธีการ/แนวปฏิบัติของ Preconference

1.อาจารย์นิเทศ ตรวจเยี่ยมผู้ป่วยในหอผู้ป่วยเพื่อศึกษาข้อมูลผู้ป่วยที่อยู่ในความรับผิดชอบ

ของนักศึกษาทั้ง 8 ราย

2.อาจารย์นิเทศสามารถแบ่งทีม preconference โดยแบ่งคนละทีมกับพยาบาลวิชาชีพที่

เป็นหัวหน้าทีมให้ช่วย preconference นักศึกษา

3.อาจารย์นิเทศจัดกลุ่มโรคของผู้ป่วยที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย  นำนักศึกษาที่ได้ case

กลุ่มโรคที่ใกล้เคียงกันมา conference พร้อมกัน

3.มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำ mapping วิเคราะห์ทฤษฏีกับข้อมูลผู้ป่วย เพื่อนำมา

ใช้ประกอบในการ preconference

          4.อาจารย์นิเทศ เป็นผู้นำประชุมปรึกษา โดยให้นักศึกษานำเสนอข้อมูลผู้ป่วยที่อยู่ในความรับผิดชอบที่ละคน สมาชิกคนอื่นๆร่วมอภิปราย โดยใช้ mapping เป็นแนวทาง

          5.อาจารย์นิเทศให้ข้อเสนอแนะ เพิ่มเติมแผนการพยาบาลและเน้นย้ำประเด็นสำคัญๆในการปฏิบัติการพยาบาล

6.อาจารย์นิเทศต้องมีการวางแผนการบริหารจัดการให้เหมาะสมกับสถานการณ์เฉพาะหน้า

บริบทของแต่ละหอผู้ป่วยและนักศึกษาแต่ละคน

 ระยะเวลา

          เวลาในการ Preconference ไม่ควรเกิน ๓๐ นาที หรือปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

 2.การประชุมปรึกษาหลังให้การพยาบาล (Postconference)

          เป็นการประชุมปรึกษาหลังการปฏิบัติงานในแต่ละเวร โดยนักศึกษาร่วมกันอภิปรายประสบการณ์ การวิเคราะห์สถานการณ์ ระบุปัญหาและระบายความรู้สึก เพื่อช่วยให้การปฏิบัติการพยาบาลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 วัตถุประสงค์ของ Postconference

          1.เพื่อติดตามผลการปฏิบัติการพยาบาลที่ให้กับผู้ป่วยไปแล้ว

          2.เพื่อทราบปัญหา/อุปสรรคของการปฏิบัติการพยาบาลและวางแผนแก้ไขปัญหา รวมทั้งสิ่งที่ต้องปฏิบัติการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง

          3.เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ที่ได้จากการปฏิบัติทั้งด้านความรู้ ทัศนคติและทักษะต่างๆ

          4.เพื่อวางแผนการศึกษาต่อเนื่องที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในวันนั้น

 สาระของ Postconference

          1.ผลการปฏิบัติการพยาบาล

          2.ปัญหาและอุปสรรคของการปฏิบัติการพยาบาล

          3.สิ่งที่ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องในเวลาต่อไป

          4.สิ่งที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติม ผลการเรียนรู้

          5.ทัศนคติและความรู้สึกของนักศึกษาที่มีต่อการปฏิบัติการพยาบาล

          6.ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการปฏิบัติพยาบาลของนักศึกษา

 วิธีการ/แนวปฏิบัติ

1.เมื่อถึงเวลานัดหมาย อาจารย์นิเทศ เรียกนักศึกษาแต่ละคน มาร่วมประชุมโดยให้นักศึกษา

นำเสนอข้อมูลผู้ป่วย อาการ และการเปลี่ยนแปลงในเวร ปัญหาเด่นของผู้ป่วย ปัญหาที่ส่งผลกระทบรุนแรง  ผลการปฏิบัติการพยาบาล  ปัญหาอุปสรรค และผลการเรียนรู้รวมถึงทักษะต่าง ๆ

          2.อาจารย์นิเทศกระตุ้นให้สมาชิกนักศึกษาคนอื่นๆร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมอภิปราย

          3.อาจารย์นิเทศให้ข้อเสนอแนะ เพิ่มเติมสาระการเรียนรู้ ชี้แนะนักศึกษาเป็นรายบุคคลโดยครอบคลุมทั้ง ความรู้ และทักษะทางการพยาบาล

4.อาจารย์นิเทศให้นักศึกษาประเมินตนเอง

5.อาจารย์นิเทศชื่นชม และให้กำลังใจนักศึกษาเมื่อนักศึกษาให้การพยาบาลผู้ป่วยได้ดี

 ระยะเวลา

เวลาในการ Postconference ไม่ควรเกิน ๔๕ นาที หรือปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

 3.การนิเทศการพยาบาลในคลินิก 

          การสอนการพยาบาลในภาคปฏิบัติ หรือการสอนการพยาบาลในคลินิก เป็นหัวใจในการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพพยาบาล มีความมุ่งหมายหลายประการด้วยกันคือ การสอนที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีมาฝึกฝน ตรวจสอบในการทดลองปฏิบัติ

          การสอนการพยาบาลในคลินิก เป็นกระบวนการจัดทักษะและความสามารถของผู้เรียนอย่างเป็นลำดับจากงาย ไปยาก จากเรื่องเล็กเป็นเรื่องใหญ่ โดยอาจารย์นิเทศ ทุกคนจะใช้รูปแบบวิธีการจัดการเรียนการสอน ที่หลากหลายที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรายวิชา เพื่อทำให้การฝึกปฏิบัติบรรลุเป้าหมายโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

 วัตถุประสงค์การนิเทศการพยาบาลในคลินิก 

          1.เพื่อติดตามการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาให้เป็นไปตามแผนการพยาบาล

          2.เพื่อฝึกฝนให้นักศึกษาเกิดความชำนาญ จนเกิดทักษะในการปฏิบัติการพยาบาล

          3.เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษานำความรู้ภาคทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับสถานการณ์

          4.เพื่อให้นักศึกษารู้จักคิดค้น หาวิธีการปฏิบัติการพยาบาล ได้ด้วยตนเอง มีความสามารถในการนำตนเอง

          4.เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ

 วิธีการ/แนวปฏิบัติ การนิเทศการพยาบาลในคลินิก 

 คุณสมบัติของผู้นิเทศ

          1. มีมนุษยสัมพันธ์ เอื้ออาทร มีความเป็นกัลยาณมิตร

          2. มีความรู้ ความสามารถ ในการชี้แนะ / แนะนำ ให้คำปรึกษา มีทักษะและประสบการณ์ที่เพียงพอ

          3. สามารถเชื่อมโยงทฤษฎี และวิทยาการต่าง ๆ ได้

          4. มีทักษะในการติดต่อสื่อสารที่ดี

 ทักษะและเทคนิคของการนิเทศการพยาบาลในคลินิก

          1. อาจารย์นิเทศประเมินความรู้และประสบการณ์ของนักศึกษาจากการทำ Pre-conference

          2. อาจารย์นิเทศจำแนกนักศึกษาตามความรู้และประสบการณ์ที่เคยได้รับ ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

                   กลุ่มที่ 1 มีความรู้น้อยและขาดทักษะ

                   กลุ่มที่ 2 มีความรู้แต่พร่องทักษะ

                   กลุ่มที่ 3 มีความรู้และมีทักษะที่เพียงพอ

          เทคนิคการนิเทศ อาจารย์นิเทศให้ความสำคัญกับกลุ่มที่ 1 มีความรู้น้อยและขาดทักษะ ติดตามการนิเทศอย่างใกล้ชิด    กลุ่มที่ 2 มีความรู้ แต่พร่องทักษะ อาจารย์นิเทศหรืออาจารย์พี่เลี้ยง ร่วมกันช่วยนิเทศ    กลุ่มที่ 3 มีความรู้และมีทักษะที่เพียงพอ อาจารย์นิเทศแบบทั่วไป

          3. การปฏิบัติการพยาบาลที่ใช้ทักษะที่เหมือนกัน อาจารย์นิเทศจะใช้รูปแบบการนิเทศเป็นรายกลุ่ม  หัตถการ /ปฏิบัติการนิเทศ ที่มีลักษณะเฉพาะ จะนิเทศแบบมีส่วนร่วมเป็นรายบุคคล

          4. การนิเทศนักศึกษา ในช่วงการตรวจเยี่ยมทางการพยาบาล (Nursing round) อาจารย์นิเทศควรศึกษากรณีของผู้ป่วยอย่างละเอียด เพื่อเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎี เช่น พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เป็นต้น กับการพยาบาลผู้ป่วยของนักศึกษาแต่ละราย

          5. อาจารย์นิเทศการเขียนบันทึกทางการพยาบาล โดยกระตุ้นให้นักศึกษาเขียนบันทึกทางการพยาบาลโดยการจับประเด็นปัญหาของผู้ป่วย และวางแผนให้การพยาบาลที่ครอบคลุม และเป็นปัจจุบัน

          6. การนิเทศ ควรสอดแทรกประเด็นจริยธรรม ความเอื้ออาทร การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ให้กับนักศึกษา

          7. อาจารย์นิเทศ ควรใช้เทคนิคการสะท้อนคิดกับนักศึกษาแต่ละคนเป็นระยะ ๆ

          8. อาจารย์นิเทศต้องวางเป้าหมายการนิเทศให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรายวิชานั้น ๆ และมีการประเมินผลเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง

          9. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของอาจารย์นิเทศแต่ละคน เพื่อที่จะนำไปปรับปรุงในการนิเทศครั้งต่อไป

 4.การสอนการพยาบาลในคลินิก

                           การสอนการพยาบาลในคลินิกเป็นการสอนภาคปฏิบัติมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะพิสัย คือพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการทั้งสามารถปรับแปลงแนวทางปฏิบัติการพยาบาลให้เกิดผลดี สามารถวิเคราะห์ หลักการเหตุผลในการประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาลได้

 คุณสมบัติของอาจารย์นิเทศ

1.มีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตร วัตถุประสงค์ รายละเอียดของรายวิชาที่จะสอนภาคปฏิบัติให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้

2.มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางในหอผู้ป่วยที่สอนภาคปฏิบัติ

3.มีการเตรียมและจัดทำแผนการสอนในคลินิกล่วงหน้า อย่างน้อย 2 สัปดาห์ ที่สอดคล้องกับ

วัตถุประสงค์รายวิชา และบริบทของผู้ป่วยและหอผู้ป่วย

4.ใช้เทคนิคการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย  และจิตพิสัย

5.มีศิลปะในการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้

6.มีความสามารถในการใช้ภาษาที่สามารถสื่อสารให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย

7.ใช้ทักษะการสอนที่เหมาะสม เช่น การอธิบาย ใช้ วาจา กิริยา ท่าทาง การเสริมแรง

8.มีความยืดหยุ่น สร้างบรรยากาศการเรียนการสอนที่ดี  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน

9.มีไวพริบปฏิภาณในการแก้ปัญหาขณะทำการสอนได้ดี

10.มีความมั่นใจในการสาธิตหรือปฏิบัติให้นักศึกษาดูเป็นตัวอย่างได้

 

วิธีการ/แนวปฏิบัติของเทคนิคและวิธีการสอน

  1. 1.      ขั้นเตรียมสอน

1.1       ศึกษารายละเอียด วัตถุประสงค์รายวิชา

1.2       ประเมินความรู้พื้นฐานและประสบการณ์เดิม ความสามารถของผู้เรียน เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเตรียมสอน

1.3       มีการร่วมกันจัดทำแผนการสอนที่สอดคล้องกับรายวิชา เป็นแนวทางเดียวกันในแต่ละแผนก เช่น กุมารเวชกรรม ศัลยกรรมและอายุรกรรม

1.4       เตรียมสื่อการสอนให้สอดคล้องกับแผนการสอน เช่น ผู้ป่วยกรณีศึกษา อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ แฟ้มประวัติผู้ป่วย

1.5 ศึกษาเอกสาร วารสาร งานวิจัยที่ทันสมัยไม่เกิน 5 ปีเพื่อใช้อ้างอิงในการจัดทำแผนการสอน

 

  1. 2.      ขั้นสอน

2.1       ใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย เช่น

2.1.1         การสอนแบบสาธิต เหมาะสมสำหรับเนื้อหาที่เป็น Procedure

เช่น การสอนทำแผล การดูดเสมหะ การพ่นยา การเจาะท้อง การเจาะน้ำไขสันหลัง

2.1.2         การสอนโดยการใช้การประชุมปรึกษาทางการพยาบาลโดยเปิด

โอกาสให้พยาบาลพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึกมีส่วนร่วมและวางแผนร่วมกันในการดูแลผู้ป่วยการเรียนการสอนใช้เทคนิคการอภิปรายและเทคนิควิธีการแก้ไขปัญหาตามลำดับขั้น เช่น การประชุมปรึกษาทางการพยาบาลที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ การประชุมปรึกษาทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก

2.1.3         ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลผู้ป่วยที่ทันสมัยในโรคต่างๆ

เช่น การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ การป้องกันการเกิดแผลกดทับ การป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล

2.1.4         การวิเคราะห์กรณีตัวอย่าง เป็นวิธีการสอนโดยใช้รูปแบบการ

อภิปรายเป็นการนำเสนอข้อมูล สะท้อนความคิดจากปัญหาที่รับการแก้ไขไปแล้วด้วยการนำข้อมูลต่างๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริงในเวลานั้นและสถานการณ์นั้นๆมาวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์รายวิชา เพื่อให้นักศึกษาได้อภิปรายกลุ่ม และระดมพลังสมองและให้ข้อตัดสินโดยมีผู้สอนเป็นผู้อำนวยการอภิปรายกลุ่ม เช่น การวิเคราะห์ตัวอย่างการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง การวิเคราะห์กรณีตัวอย่างการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

 

 

 

3.ขั้นประเมินผล

ประเมินผลระยะสั้นโดยวิธีสังเกต จากความสนใจในการสอน การซักถาม แสดงความคิดเห็น การตอบคำถาม และการสาธิตย้อนกลับ การสะท้อนคิดของผู้เรียน

ประเมินผลระยะยาว จากการติดตามผลการนำความรู้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยในครั้งต่อไป

 

ระยะเวลาสถานที่บรรยากาศการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสอน

ระยะเวลาที่ใช้สอนที่เหมาะสม 30-45 นาที ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมงช่วงเวลาที่หอผู้ป่วยไม่

ยุ่งวุ่นวายจนเกินไปเพื่อให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน

สถานที่ บนหอผู้ป่วยที่ผู้เรียนฝึกปฏิบัติงาน

บรรยากาศ บรรยากาศการสอนควรเป็นกัลยาณมิตร และควรดึงศักยภาพพยาบาลพี่

เลี้ยงมามีส่วนร่วมในการสอน

บรรณานุกรม 

กนกนุช  ขำภักตร์.(2549).เทคนิคการประชุมปรึกษาทางการพยาบาล ใน

Naval Nursing College Newsletter. Vol 5 No.2 May-August.

 มณฑาทิพย์  ไชยศักดิ์.(2543). ระเบียบวิธีการสอนการพยาบาลในคลินิก.นนทบุรี:

บริษัทยุทธรินทร์การพิมพ์จำกัด 

รายนามผู้จัดทำ

 อาจารย์กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และบริหารการพยาบาล 

1.นางยุพิน  ทรัพย์แก้ว

2.นางชุติมา  รักษ์บางแหลม

3.นางสาวลักษณ์นนท์  เดชบุญ

4.นางสาววรนิภา  กรุงแก้ว

5.นางสาวอรุณรัตน์  โยธินวัฒนบำรุง

6.นางสาววิลาสินี  แผ้วชนะ

7.นางมณฑิรา  มังสาทอง

8.นางวันดี  แก้วแสงอ่อน

9.นางพิมพวรรณ  เรืองพุทธ

10.นางเกษรา  วนโชติตระกูล

11.นางสาวจามจุรี  แซ่หลู่

12.นางนอลิสา  สูนสละ

13.นางสาวนภาวรรณ  วิริยะศิริกุล

  (5445)

สองทศวรรษสถาบันพระบรมราชชนก ตามรอยพระราชบิดา ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ

สองทศวรรษสถาบันพระบรมราชชนก ตามรอยพระราชบิดา ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ

 

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 วันที่บันทึก :    28    ธันวาคม    2556

 ผู้บันทึก :    นางสาวจามจุรี  แซ่หลู่

 กลุ่มงานกลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุและบริหารการพยาบาล

 ฝ่ายวิชาการ

 ประเภทการปฏิบัติงานประชุม

 วันที่      26    ธันวาคม    2556

 หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนนก

 สถานที่จัดณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์  คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

 เรื่อง : สองทศวรรษสถาบันพระบรมราชชนก ตามรอยพระราชบิดา ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ

 รายละเอียด

                            พระกรุณาธิคุณพระบรมราชชนกต่อการสาธารณสุขไทย

                      สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 69 ในพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 7 ใน สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ปีเถาะ ขึ้น 3 ค่ำ (ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2434 ตามปฏิทินเก่า ถ้านับตามปฏิทินสากลต้องเป็น พ.ศ. 2435) ในเบื้องต้น ทรงเข้าศึกษา ณ โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง และเข้าเรียนโรงเรียนนายร้อยชั้นประถม เมื่อ พ.ศ. 2447 หลังจากนั้นได้เสด็จไปศึกษาต่อในสหราชอาณาจักร พร้อมด้วยนักเรียนทุนหลวงในสมัยนั้นหลายพระองค์และหลายคนด้วยกัน และเข้าศึกษาในโรงเรียน Harrow ในกรุงลอนดอน อังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2448 ในปี พ.ศ. 2450 เข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมนายร้อยปรัสเซีย ในเมืองพอทสดัม ประเทศเยอรมนี ตามพระประสงค์ของพระราชบิดา และศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยในกรุงเบอร์ลิน แล้วทรงเข้าศึกษาวิชาทหารเรือมือร์วิคในเมืองเฟนส์บวก และทรงได้ออกแบบเรือดำน้ำประกวดจนได้รับรางวัลและเมื่อ พ.ศ.2455 ทรงได้รับยศนายเรือตรีทั้งในกองทัพเรือแห่งเยอรมัน และแห่งราชนาวีสยาม    ในปี พ.ศ. 2457(ค.ศ.1914) สมเด็จพระบรมราชชนกทรงลาออกจากกองทัพเรือเยอรมัน เสด็จนิวัติกลับประเทศไทย เนื่องจากการอุบัติสงครามโลกครั้งที่ 1 พระองค์ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงทหารเรือในตำแหน่งสำรองราชการ กรมเสนาธิการทหารเรือได้รับพระราชทานยศเป็นนายเรือโท ตั้งแต่วันที่ 2  เมษายน   พ.ศ.2458 หลังจากทรงศึกษาวิธีบริหารราชการจาก และระเบียบราชการทหารเรือ จากกรมเสนาธิการทหารเรือ ประมาณ ๔ เดือนแล้ว ก็ทรงย้ายไปรับตำแหน่งในกองอาจารย์นายเรือ แผนกตำรากรมยุทธศึกษาทหารเรือ   ในปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) สมเด็จกรมพระยาชัยนาทนเรนทร ผู้ทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองและ ผู้บัญชาการราชแพทยาลัย ทรงพิจารณาเห็นว่า โรงเรียนแพทย์อยู่ในฐานะล้าหลังมาก เมื่อเทียบกับโรงเรียนในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวิทยาศาสตร์ ดังนั้นทรงตกลงพระทัยที่จะปรับปรุงเป็นการใหญ่ แต่ก็ต้องประสบปัญหาว่าหาผู้ที่มีวิชามาเป็นอาจารย์ไม่ได้ จึงได้ทรงพยายามชักชวนผู้รู้มาร่วมงาน พร้อมทั้งได้ขอร้องให้กระทรวงธรรมการติดต่อกับมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ ให้ช่วยจัดอาจารย์ในวิชากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยาและศัลยกรรมมา หลังจากนั้นสมเด็จกรมพระยาชัยนาทนเรนทร ได้เสด็จเข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมราชชนก ให้ทรงหันมาสนพระทัยการแพทย์ และสาธารณสุข ที่พระองค์ทรงได้เคยศึกษามา โดยพระองค์ทรงออกอุบายเชิญสมเด็จพ่อเสด็จประทับเรือยนต์ประพาสทางน้ำ ไปตามคลองบางกอกใหญ่ คลองบางกอกน้อย พอถึงปากคลองบางกอกน้อย จึงทูลเชิญขอให้ทรงแวะที่ศิริราชพยาบาล และเมื่อพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นโรงคนไข้ ซึ่งเป็นเรือนไม้หลังคาจากมีที่ ไม่พอรับคนไข้ มีคนไข้นั่งรอนอนรออยู่ตามโคนไม้ และขาดแคลนอุปกรณ์ทางแพทย์ สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงทราบถึงความยากลำบากและขาดแคลนของ   ศิริราช ทรงสลดพระทัยเป็นอย่างยิ่ง กรมพระยาชัยนาทนเรนทรจึงกราบทูลวิงวอนให้สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงเข้ามาช่วยจัดการการศึกษาแพทย์ โดยมีสาเหตุดังนี้ เพราะสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ทรงเป็นเจ้าฟ้าชั้นสูง ถ้าทรงเข้ามาจัดการเรื่องนี้จะทำให้กิจการแพทย์เด่นขึ้น มีผู้โดยเสด็จช่วยเหลืองานมากขึ้น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ทรงมีรายได้สูงเพียงพอที่จะใช้ในการบำเพ็ญพระกุศลสาธารณะ ทรงเป็นเจ้าฟ้าที่มีพระปัญญาหลักแหลม มีความเพียรกล้า ทรงทำจริงไม่ย่อท้อ จะทำให้กิจการทางการแพทย์เจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว และในที่สุดพระองค์ก็ทรงตกลงพระทัยที่จะทรงช่วยในการปรับปรุงการแพทย์ของประเทศไทย โดยจะเสด็จไปทรงศึกษาวิชาเฉพาะ เพื่อจะให้งานได้ผลจริงๆ และได้ดี

                            เมื่อปี พ.ศ. 2460 สมเด็จพระบรมราชชนกได้เสด็จเข้าศึกษาวิชาสาธารณสุขที่ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น พระองค์ทรงได้พระราชทานทุนให้แก่นักเรียนแพทย์ ไปศึกษาที่สหรัฐอเมริกาจำนวน 2 ทุน ซึ่งทางโรงเรียนแพทย์ได้คัดเลือกออกมา ปรากฏว่าได้นักเรียนพยาบาลมา 2 คน คือสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และนางลิปิธรรม ศรีพยัตต์ สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงดูแลเอาใจใส่นักเรียนทั้ง 2 ของพระองค์อย่างดี ทั้งทรงแนะนำวิธีการดำเนินชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณีของต่างประเทศ และทรงรับสั่งเตือนสติเสมอว่า เงินที่ฉันได้ใช้ออกมาเรียนหรือให้พวกเธอออกมาเรียนนี้ไม่ใช่เงินของฉัน แต่เป็นเงินของราษฏรเขาจ้างให้ออกมาเรียน ฉะนั้นเธอต้องตั้งใจเรียนให้ดี ให้สำเร็จเพื่อจะได้กลับไปทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ และขอให้ประหยัดใช้เงิน เพื่อฉันจะได้มีเงินเหลือไว้ช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป ขณะทรงศึกษาวิชาสาธารณสุขชั้นปีที่ 3 ที่สมเด็จพระบรมราชชนกได้เสด็จกลับมาร่วมงาน ถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวงเมื่อวันที่  10 ตุลาคม พ.ศ. 2463 สมเด็จพระบรมราชชนกได้อภิเษกสมรสกับนางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี)

                             เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2468  สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงสำเร็จการศึกษา และได้รับประกาศนียบัตรการสาธารณสุข ดังนั้นพระองค์พร้อมพระชายาจึงเสด็จยุโรปประทับที่เมืองเอดินเบอร์กสก็อตแลนด์ ทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการเจรจากับมูลนิธิร็อกกี เฟลเลอร์ เกี่ยวกับการช่วยเหลือด้านการศึกษาวิชาแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งบรรลุผลสำเร็จให้กับรัฐบาลไทย ถึงแม้จะมีการเจรจากันหลายครั้งก็ตาม การเสด็จสหราชอาณาจักรครั้งนี้ทรงตั้งพระทัยจะศึกษาวิชาแพทย์ให้จบ แต่เนื่องจากมีอุปสรรคได้ประชวรด้วยโรคของพระวักกะ(ระบบไต) ประกอบกับที่อังกฤษมีอากาศชื้นและหนาวเย็น ไม่เหมาะกับโรค ดังนั้นพระบรมราชชนกจึงต้องเสด็จนิวัติกลับพระนคร เพราะมีพระราชโองการจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยและรับตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466      ในวันที่ 24  มิถุนายน พ.ศ   2468   สมเด็จพระบรมราชชนกพร้อมพระชายาและพระธิดาเสด็จยุโรปเพื่อไปศึกษาเรื่องแพทย์ต่อ โดยได้ทรงเลือกวิชากุมารเวชศาสตร์ และพระองค์ก็ได้ทรงเสด็จกลับเมื่อวันที่ 13   ธันวาคม พ.ศ. 2471               สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จถึงจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2472 ทรงประทับกับครอบครัวผู้อำนวยการโรงพยาบาลและทรงมีมหาดเล็กเพียงคนเดียว พระบรมราชชนกทรงมีความเอาใจใส่ในการรักษาประชาชนอย่างมาก ชาวเมืองเชียงใหม่จึงขนานพระนามของพระองค์ว่า หมอเจ้าฟ้า สมเด็จพระบรมราชชนกได้ประทับที่เมืองเชียงใหม่ประมาณ 3 สัปดาห์ ก็ต้องเสด็จกลับกรุงเทพในวันที่ 18  พฤษภาคม พ.ศ. 2472   เนื่องในพระราชพิธี ถวายพระเพลิง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชหลังจากนั้นทรงมีพระราชประสงค์จะเสด็จกลับไปเมืองเชียงใหม่ แต่ก็มิได้เป็นไปตามพระราชประสงค์ เนื่องจากทรงประชวรต้องประทับในพระตำหนักวังสระปทุม พร้อมด้วยพระมารดา โดยไม่ได้เสด็จออกจากวังอีกเลย และเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2472 เวลา 16.45  น. พระบรมราชชนกก็ได้เสด็จทิวงคตด้วยโรคพระอาการบวมน้ำที่พระปับผาสะ(ปอด) พระชนมายุได้ 38  พรรษา หลังจากทรงทนทรมานอยู่ได้ 3  เดือนครึ่ง

 1.1.2 การปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุขและนโยบายด้านกำลังคน

                           ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับประชากรในประเทศไทยมีหลายสาเหตุ 5 สาเหตุแรกของการเจ็บป่วยที่คร่าชีวิตคนไทยสูงสุด ได้แก่ โรคหัวใจ เบาหวาน มะเร็ง การบาดเจ็บ โรคเอดส์ รวมทั้งโรคไม่ติดต่ออื่นๆ ส่วนปัญหาสุขภาพเด็ก พบปัญหาพัฒนาการไม่สมวัย สุขภาพในช่องปาก ปัญหาวัยเจริญพันธุ์กับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม รวมถึงการทำแท้ง สุขภาพวัยทำงานถูกคุกคามด้วยโรคเรื้อรัง ภัยคุกคามจากมลพิษและสารปนเปื้อน ภาวะโลกร้อน มลภาวะทางอากาศ ฝุ่นละออง ภัยอันตรายจากสิ่งปฏิกูล สารเคมีจากอุตสาหกรรมส่งผลกระทบสุขภาพชัดเจน นอกจากนี้ ในปี 2573 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุอย่างเต็มตัว ซึ่งผู้สูงอายุส่วนหนึ่งยังมีสุขภาพดีช่วยเหลือ ตนเองได้ แต่มากกว่าครึ่งมีโรคเรื้อรังประจำตัวและต้องได้รับบริการทางการแพทย์ แม้ว่าผู้สูงอายุที่ไม่มีความจำเป็น ต้องได้รับบริการทางการแพทย์ แต่ต้องพึ่งพาหรือต้องการการช่วยเหลือดูแลจากบุคคลอื่นอยู่ ขณะที่ประชากรที่เป็น วัยแรงงานและแข็งแรงจะค่อยๆ ลดลง ทั้งหมดนี้นำไปสู่ความเสี่ยงทางด้านงบประมาณในการจัดการดูแล รวมทั้งรับภาระทางการคลังในอนาคตที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว เช่น การล้มละลายของกองทุนประกันสังคม เป็นต้น  

                             การจัดงบประมาณด้านสาธารณสุขแบบ “อัตราเหมาจ่ายรายหัว” ภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยอ้างอิงตามจำนวนประชากรที่อยู่ภายใต้การดูแล แม้จะมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนย้ายทรัพยากรด้าน สาธารณสุข ทั้งบุคลากร เตียง และวัสดุเครื่องมือต่างๆ ให้เกิดความเหมาะสมในการให้บริการตามความต้องการบริการ สาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันกลับพบว่า ความไม่สามารถในการปรับตัวของสถานพยาบาล รวมทั้งลักษณะเฉพาะของพื้นที่และประชากร เช่น สถานพยาบาลที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กันดารซึ่งมีประชากรอยู่น้อย ทำให้งบประมาณที่ได้รับน้อย แต่ขณะที่ต้นทุนในการดำเนินการขั้นต่ำค่อนข้างสูง ฯลฯ ทำให้สถานพยาบาลหลายแห่งเกิด ปัญหาด้านการเงินการคลัง รายได้ของสถานพยาบาลไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่เกิดขึ้น หรือการลดลงจนถึงขั้นติดลบ ของเงินบำรุงสถานพยาบาล นอกจากนี้ การกระจายทรัพยากรทางด้านสาธารณสุขที่แตกต่างกันระหว่างพื้นที่นั้น ส่งผลให้เกิดปัญหาประสิทธิภาพในการให้บริการ และปัญหาด้านการเงินการคลังในสถานพยาบาลที่มีทรัพยากรน้อย และความ  จำกัดเฉพาะของพื้นที่ ทั้งนี้ยังเกิดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรสาธารณสุขในบางพื้นที่มากขึ้นด้วยจากความพยายามในการแก้ไขปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับกำลังคนด้านสาธารณสุขอย่างเช่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบันปัญหาเหล่านี้นำมาสู่หลากหลายคำถามเกี่ยวกับรูปแบบในการจัดสรรและบริหารงบประมาณ ตลอดจนการจัด ทรัพยากรสาธารณสุขอื่น ๆ เพื่อให้บริการได้อย่างเหมาะสม การบริหารกำลังคนที่ทำให้เกิดความเพียงพอในการให้ บริการในแต่ละพื้นที่ บุคลากรมีความพึงพอใจในการทำงานและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการวางแผน การลงทุนที่มีประสิทธิภาพที่ทำให้เกิดการรักษาความสามารถในการให้บริการ การสร้างสมดุลด้านการเงินการคลัง ของสถานพยาบาล ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านสุขภาพและการให้บริการด้านสาธารณสุขต่อไปในอนาคต ทั้งหมด ล้วนเป็นประเด็นที่สำคัญที่ต้องพิจารณาเช่นเดียวกันภารกิจ วัตถุประสงค์ รวมทั้งกฎหมายกำหนดให้กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่หลัก ประกอบด้วย การกำหนด กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุข การบังคับใช้กฎหมาย และการจัดบริการสาธารณสุขโดยหน่วยบริการในสังกัด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา คือ บทบาทการเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ด้านสาธารณสุขของกระทรวงฯ ลดลง หรือน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับการดูแลงานบริการ ซึ่งบทบาทที่หายไปนี้ส่งผลอย่างสำคัญต่อระบบสุขภาพในภาพรวม ทั้งการควบคุม ส่งเสริม กำกับให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขให้บริการหรือดำเนินงานด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การเสริมสร้างและสนับสนุนบทบาทของกระทรวงสาธารณสุขในด้านการเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ ให้มีความชัดเจนขึ้นนั้น จะช่วยทำให้การทำงานด้านสาธารณสุขในภาพรวมดีขึ้น โดยบทบาทดังกล่าวจะส่งผลกระทบ กับระบบสุขภาพในวงกว้าง โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้อย่างชัดเจน  จากแนวโน้มความรุนแรงของปัญหาดังกล่าว รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขในฐานะกลไกสำคัญของการแก้ไขปัญหา ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทย ให้เป็นระบบที่มั่นคงทั้งด้านการกำหนดนโยบาย การให้บริการ และความมั่นคงด้านการเงินการคลังของสถานพยาบาล ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่มีผลกระทบเชิงระบบในภาพรวมที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อการพัฒนาระบบสุขภาพให้ก้าวต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยเริ่มจากออกแบบโครงสร้างระบบ จากรากฐานปัญหา โครงสร้างระบบสาธารณสุขของประเทศไทยที่ควรจะเป็นควรมีลักษณะและผู้เกี่ยวข้องดังนี้ (ภายใต้หลักการการแยกบทบาทระหว่างผู้ให้บริการและผู้ซื้อบริการ รวมทั้งการแยกบทบาทการเป็นผู้กำหนดนโยบาย และการเป็นผู้ให้บริการออกจากกัน)

 1. หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการกำกับ ควบคุม ดูแลระบบและนโยบายสาธารณสุข (Regulatory Body หรือ National Health Authority) ได้แก่ กลไกซึ่งทำหน้าที่กลั่นกรองและกำหนดนโยบายสาธารณสุขระดับ ประเทศ ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขและองค์กรด้านสาธารณสุขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ กำหนดนโยบาย ด้านสาธารณสุขตามขอบเขตภาระหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์กร รวมทั้งกำหนดกฎระเบียบและ มาตรฐานที่ใช้ในการดำเนินการเพื่อการสาธารณสุขและระบบสุขภาพของประเทศ ตลอดจนดำเนินการ ตามขอบเขตหน้าที่ และควบคุมการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎระเบียบและมาตรฐานเหล่านั้น

 2. หน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย (System Managerหรือ Purchaser) หมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้บริโภค (ประชาชน) ในการทำให้เกิดบริการสุขภาพที่พึงปรารถนา ปัจจุบันมีอย่างน้อย 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เป็นผู้บริหารและดำเนินการกองทุนประกันสังคม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็น ผู้บริหารและดำเนินการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกรมบัญชีกลางเป็นผู้บริหารและดำเนินการ ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

 3. หน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการรักษาพยาบาล (Service Providers หรือ NationalHospital  System Authority) ได้แก่ โรงพยาบาลและสถานพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ที่จะมี การแข่งขันในการให้บริการ และกำกับดูแลคุณภาพการให้บริการ โดยตัวชี้วัดต่างๆ เพื่อชักจูงให้มีการ พัฒนาการให้บริการให้ดีขึ้น

 บทบาทที่ควรจะเป็นของ “กระทรวงสาธารณสุข”

                             บทสังเคราะห์ข้อเสนอบทบาทกระทรวงสาธารณสุขในศตวรรษที่ 21 โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เมื่อเดือนกันยายน 2554 ซึ่งเป็นการระดมความเห็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ ได้ข้อสรุปว่า บทบาทหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขที่ครอบคลุมตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 นั้น ประกอบด้วย บทบาท 4 ระบบย่อย อันได้แก่

 1. บทบาทในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ

 2. บทบาทในการพัฒนาระบบสร้างเสริมสุขภาพ

 3. บทบาทในการพัฒนาระบบควบคุมและป้องกันโรค

 4. บทบาทในการพัฒนาระบบยาและการคุ้มครองผู้บริโภค

 จากบทบาทที่ควรจะเป็น “หน่วยงานด้านสุขภาพของประเทศ (National Health Authority: NHA) กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดการปรับเปลี่ยนการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข ที่ครอบคลุมบทบาทย่อยทั้ง 4 บทบาท ดังนี้

 1. การกำหนดนโยบายยุทธศาสตร์กลางของประเทศบนข้อมูลและฐานความรู้

 2. การสร้างและจัดการความรู้ด้านสุขภาพ

 3. การประเมินนโยบายและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ

 4. การกำหนดและรับรองมาตรฐานบริการต่าง ๆ

 5. การพัฒนาระบบกลไกการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน

 6. การพัฒนากลไกด้านกฎหมายเพื่อเป็นเครื่องมือในการดูแลสุขภาพประชาชน

 7. การพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ

 8. การกำกับดูแล ติดตาม และประเมินผลของภาครัฐ ท้องถิ่น และเอกชน

 9. การให้ข้อคิดเห็นต่อระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพของประเทศ

 10. การพัฒนาข้อมูลข่าวสารให้เป็นระบบเดียว มีคุณภาพ ใช้งานได้

 11. การกำหนดนโยบาย และจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ

                           เพื่อให้เกิดการทำงานที่สอดคล้องกับบทบาทที่ควรจะเป็นของกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวมาข้างต้น ร่วมกับแนวคิดระบบสุขภาพที่ควรจะเป็น กระทรวงสาธารณสุขควรกำหนดการทำงานที่ประกอบด้วยกลไก องค์ประกอบ ตลอดจนแนวคิดการทำงานต่างๆ ดังนี้

 กระทรวงสาธารณสุขส่วนกลาง ประกอบด้วย

 1. “สำนักงานคณะกรรมการยุทธศาสตร์สาธารณสุข” หรือ Policy Office ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และเสนอนโยบายสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายและแผนการทำงานต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถทำหน้าที่กำกับ ดูแลระบบสาธารณสุขได้ โดยกลไกในการกำหนดนโยบายเหล่านี้จะอยู่ในรูปของคณะกรรมการ ซึ่งปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมีหน่วยงานและกลไกที่ทำหน้าที่ในการสนับสนุนการกำหนดนโยบายอยู่พอสมควร ทั้งที่มีลักษณะเป็นราชการ และองค์กรรูปแบบอื่นๆ ดังนั้นสิ่งที่ควรดำเนินการ มีดังนี้

 ระยะสั้น: อาจเริ่มจากการปรับบทบาท และรูปแบบการทำงานของหน่วยงานเหล่านั้น รวมทั้งการจัดหา บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถจากหน่วยงานอื่น ๆ เพิ่มเติม

 ระยะยาว: ควรมีการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรที่สอดคล้อง และพิจารณารูปแบบของกลไกที่เป็นทางการเพื่อ สนับสนุนการทำงานของกลไกนี้ในระยะยาว เช่น ระบบการบริหารจัดการที่มีความคล่องตัว เพื่อสามารถดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพเอาไว้ในระบบ เป็นต้น

 2. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปรับบทบาทการทำงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินการของกระทรวงสาธารณสุขในภาพรวม เช่น การบริหารงาน ระหว่างประเทศ และงานด้านการบริหารกำลังคนในภาพรวม เป็นต้น เนื่องจากหากมีการแยกบทบาทผู้ให้บริการออกจากผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลระบบสาธารณสุข การให้สถานพยาบาลสังกัดกับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ก็อาจไม่เหมาะสม และควรนำไปสู่การกำหนดองคาพยพที่สามารถกำกับดูแลการทำงานได้อย่างเหมาะสมต่อไป

 3. กรมวิชาการ ทำงานตามภารกิจในส่วนกลางตามกฎหมาย ทั้งในส่วนการให้ความเห็น คำแนะนำกลั่นกรอง และ กำหนดนโยบาย รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม บทบาทเหล่านี้จะมีการปรับการทำงานให้สอดคล้องตามบทบาทที่พึงประสงค์ของกระทรวงสาธารณสุขตามขอบเขตความรับผิดชอบของแต่ละ หน่วยงาน อย่างไรก็ตาม เพื่อทำให้การทำงานในส่วนภูมิภาคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ กรมวิชาการ สามารถจัดสรรบุคลากร และทรัพยากรไปปฏิบัติหน้าที่ในภูมิภาค โดยทำงานร่วมกับองคาพยพในการบริหารส่วน ภูมิภาค ภายใต้การกำกับตัวชี้วัด และเป้าหมายการทำงานของหน่วยงานต้นสังกัดและของกระทรวงสาธารณสุข

 4. กลไกเชื่อมโยงการทำงานและนโยบายของส่วนกลางไปสู่ภูมิภาคเพื่อให้การเชื่อมโยงระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเป็นไปอย่างมีระบบ และเกิดการแยกบทบาทระหว่างการ เป็นผู้กำหนดนโยบาย และการกำกับดูแล ออกจากการเป็นผู้ให้บริการ กลไกที่จะสามารถประสานการทำงาน ระหว่างส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคได้อย่างรวดเร็ว คือ สำนักบริหารการสาธารณสุข (สบรส.) และกรมสนับสนุน บริการสุขภาพ (สบส.) โดยการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานทั้งสองเข้าด้วยกัน เพื่อทำหน้าที่ประสานและ ส่งต่อนโยบายสาธารณสุขที่ครอบคลุมบทบาทย่อยทั้ง 4 ของกระทรวงสาธารณสุขให้ไปดำเนินการภายในพื้นที่อย่าง มีประสิทธิภาพ กำหนดกรอบแนวทาง กติกาในการดำเนินงานภายในพื้นที่ที่เป็นมาตรฐาน ได้แก่

 • กำหนดกรอบแผนงาน และยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานของพื้นที่

 • กำหนดระเบียบหรือหลักเกณฑ์ในการบริหารงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเพื่อดำเนินการภายในพื้นที

 ซึ่งแตกต่างกันตามประเภทของงบประมาณที่ได้รับจัดสรร

 • กำหนดกฎระเบียบมาตรฐานที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลภายในพื้นที่

 • กำหนดกรอบการประเมินผลการทำงานของพื้นที่และทำหน้าที่ในการประเมินผล โดยต้องกำหนดตัวชี้วัด ผลสัมฤทธิ์เพื่อการปฏิบัติงานในพื้นที่ให้บรรลุตามเป้าหมายนโยบายในระดับประเทศ

 กระทรวงสาธารณสุขส่วนภูมิภาค

                           ในการระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทที่ควรจะเป็นของกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า การทำงานในส่วนภูมิภาคควรมีโครงสร้างการบริหารแบบ “เขตสุขภาพ” (Area Health) หรือการจัดระบบสุขภาพระดับพื้นที่ (Locality Level) โดย

 • มีการกำหนดพื้นที่และประชากรรับผิดชอบที่ชัดเจน

 • มีกิจกรรมการซื้อและจัดบริการสุขภาพ ที่ตอบสนองต่อความต้องการที่จำเป็นของประชากรในพื้นที่

 • มีบริการที่เหมาะสมและผสมผสานทั้งด้านบริการสุขภาพส่วนบุคคล บริการในโรงพยาบาล และบริการสังคม

                              ในปี 2555 กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดกรอบการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในรูปแบบเครือข่ายบริการ ภายใต้หลักการ “เครือข่ายบริการที่ไร้รอยต่อ” ที่เชื่อมโยงบริการทุกระดับเข้าด้วยกัน ประกอบด้วยการทำงานในพื้นที่ 4-8 จังหวัด มีจำนวนประชากรเฉลี่ยในความดูแลประมาณ 5 ล้านคน รวมการจัดเป็นเครือข่ายบริการได้จำนวน 12 เครือข่าย (ไม่รวมพื้นที่กรุงเทพมหานคร) นำไปสู่การกำหนดเขตพื้นที่ตรวจราชการใหม่ ที่จำนวนประชากร เฉลี่ยของแต่ละพื้นที่มีขนาดที่ใกล้เคียงกันและเชื่อมโยงหลายจังหวัดเข้ามาร่วมกัน ทำให้ทรัพยากรมีการกระจายตัวที่ไล่เลี่ยกัน ซึ่งช่วยลดปัญหาการจัดสรรทรัพยากร และสามารถแก้ไขปัญหาด้านการเงินการคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสอดคล้องกับการจัดเขตบริการสุขภาพที่กำหนดโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งถือว่า เป็นการพัฒนาในส่วนของผู้จัดบริการ (Service Provider) ร่วมด้วยองค์ประกอบของเขตสุขภาพ

 1. กลไกในการบริหารเขตสุขภาพ ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย กำกับดูแล ติดตามและประเมินผลภายในเขตสุขภาพ โดยอาจอยู่ในรูปของคณะกรรมการบริหารเขตสุขภาพ ที่มีส่วนประกอบของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งนี้มีการ สนับสนุนทางด้านวิชาการและนโยบายจากหน่วยงานวิชาการ และกระทรวงสาธารณสุข

 2. กลไกในการจัดบริการ กลไกการทำงานร่วมของหน่วยบริการทั้งหมดที่อยู่ภายในเขตสุขภาพ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางด้านสาธารณสุข และทางด้านการแพทย์ภายในพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 3. กลไกในการซื้อบริการ กลไกการซื้อบริการสาธารณสุขโดยหน่วยงานต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้แทนในการจัดหาบริการสาธารณสุข ตามความต้องการของประชาชนในเขตสุขภาพ ซึ่งในปัจจุบัน กลไกเหล่านี้ ประกอบด้วย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม กรมบัญชีกลาง และระบบความคุ้มครองทาง ด้านสุขภาพอื่น ๆ

 4. กลไกในการติดตามและประเมินผล เพื่อให้การทำงานของเขตสุขภาพสอดคล้องกับการทำงานตามเป้าหมายนโยบายสาธารณสุขในภาพรวม ของประเทศด้วย จึงควรมีกลไกจากภายนอกเขตสุขภาพ เพื่อทำการติดตามประเมินผลความสามารถ ในการจัดการเขตสุขภาพจากภายนอก โดยกระทรวงสาธารณสุขส่วนกลางบทบาทของเขตสุขภาพ บทบาทในระยะสั้น ควรมีการทำงานใน 2 บทบาท ดังต่อไปนี้

 1. การพัฒนากลไกในการบริหารเขตสุขภาพ หรือการเป็นผู้กำหนดนโยบายและดูแลของเขต โดยควรมีการ ปรับการทำงานของคณะกรรมการประสานการพัฒนางานสาธารณสุขระดับเขต: คปสข. (ภายใต้คำสั่ง กระทรวงสาธารณสุขที่ 209/2555 เรื่อง การบริหารจัดการเครือข่ายบริการสุขภาพ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555) ที่เป็นกลไกบริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพ ให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ดังนี้

 • การกำหนดแผนดำเนินงานด้านสาธารณสุขของเขตสุขภาพ ซึ่งอ้างอิงกับนโยบาย และเป้าหมายใน การพัฒนาด้านสาธารณสุขของประเทศและกระทรวงสาธารณสุข โดยถ่ายทอดเป้าหมายตัวชี้วัดจาก ส่วนกลางสู่การแปลงเป็นแผนดำเนินงานของเขตสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมจากฝ่ายต่างๆ โดย แผนมีความครอบคลุมบทบาทย่อยทั้งสี่ที่พึงประสงค์ของกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่ นำไปสู่การ พัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชากรในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

• การกำหนดแผนการจัดสรรทรัพยากรทางด้านสาธารณสุข ซึ่งครอบคลุมทั้งบุคลากรและทรัพยากร ทางด้านสาธารณสุขอื่นๆ ที่เกิดความเหมาะสม ในการจัดบริการและการทำงานด้านสาธารณสุข ในเขตสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 • การแก้ไขปัญหาการเงินการคลังภายในเขตสุขภาพ

  • การกำกับดูแล และประเมินผลภายใน เพื่อให้การทำงานในเขตสุขภาพสามารถบรรลุเป้าหมายการ พัฒนาในภาพรวม

 2. การทำงานในส่วนของการเป็นผู้ให้บริการ จากกลไกดังกล่าวข้างต้น เป็นการเริ่มพัฒนาการจัดบริการในพื้นที่ ซึ่งมีความครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ โดยในระยะยาวต้องขยายความครอบคลุมออกไปสู่หน่วยบริการ อื่น ๆ นอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้เกิดเครือข่ายการให้บริการอย่างแท้จริงต่อไป

                         นอกจากนี้ ในอนาคต เมื่อมีการขยายความครอบคลุมของเครือข่ายการให้บริการภายในเขตสุขภาพให้ มีความครอบคลุมผู้ให้บริการทั้งหมด และเกิดประสิทธิภาพในการทำงานที่น่าพึงพอใจแล้ว กลไก (ในส่วน คปสข.) นี้ควรแยกออกไปทำงานอย่างอิสระ เพื่อให้เกิดการแยกส่วนการทำงานระหว่างผู้กำหนดนโยบาย และผู้ให้บริการที่ชัดเจนขึ้นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปบทบาทกระทรวงสาธารณสุขครั้งนี้ ภายใต้แนวคิดเรื่องเขตสุขภาพคือการเปลี่ยนแปลงบนฐานความรู้ ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างมีทิศทาง และส่งผลให้เกิดการปฏิรูประบบสุขภาพที่มั่นคง และยั่งยืนต่อไป เป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง ย่อมไม่มีสิ่งใดสำคัญไปกว่า “ประโยชน์ของประชาชน” ไม่ว่าจะเป็น การได้รับ บริการที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการบริการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ที่จะทำให้ประชาชนสุขภาพดี ไม่มีโรค ประหยัดเงินค่าใช้ จ่ายเพื่อสุขภาพ หรือในกรณีที่เจ็บป่วย หากต้องมาโรงพยาบาลก็จะได้รับการบริการที่ดี ทั้งหมอดี ยาดี เครื่องมือดี รวมถึงถ้าป่วยหนัก โรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา ไม่สามารถรักษาได้ ก็จะถูกส่งต่อเพื่อการรักษาที่ดีที่สุด พร้อมมี ความสะดวกและคล่องตัวมากขึ้น

  ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

การบริหารการจัดการเรียนการสอนให้ผลผลิตคือนักศึกษาพยาบาล เป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีคุณภาพต่อไป

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

การเรียนการสอนและการพัฒนาอัตลักษณ์ของนักศึกษา

 

 

  (346)

การอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางผู้สูงอายุ

การอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางผู้สูงอายุ

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :   6    มกราคม,   2556

ผู้บันทึก :   นางมณฑิรา  มังสาทอง

กลุ่มงานกลุ่มงานการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และบริหารการพยาบาล

 ฝ่าย : วิชาการ

ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม

วันที่     29    กรกฎาคม  2556      ถึงวันที่    15    พฤศจิกายน    2556

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย

 สถานที่จัดวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย

เรื่อง : การอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางผู้สูงอายุ

รายละเอียด

                       ผู้สูงอายุคือ มนุษย์ที่มีอายุอยู่ในช่วงปลายของชีวิต มีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 60 ปีขึ้นไป ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่ได้มีการสั่งสมวิชาความรู้ต่างๆมามากมายตลอดชีวิต เมื่ออายุมากขึ้น สภาพร่างกาย จิตใจ ตลอดจนการดำรงอยู่ในสังคมของผู้สูงอายุ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากวัยอื่น เนื่องจากมีความเสื่อมของการทำงานระบบต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบขับถ่าย ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบกระดูก และกล้ามเนื้อ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ มักจะเกิดขึ้นช้าๆ ในภาวะปกติอวัยวะของระบบต่างๆยังทำหน้าที่ได้อย่างปกติ แต่ในภาวะบีบคั้น ไม่ว่าจะเกิดจากทางอารมณ์ หรือทางร่างกาย หรือสังคม จะทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถรักษาสภาวะสมดุลของร่างกายไว้ได้ ทำให้เกิดอาการผิดปกติ และทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ง่าย ผู้ที่ร่วงเข้าวัยผู้สูงอายุนั้น จำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ทั้งอาหารการกิน ความเป็นอยู่ การรักษาตัว การตรวจสุขภาพ สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ตลอดจนการเอาใจใส่ของบุตรหลานเพื่อให้พวกเขาทั้งหลายสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขมีสภาวะจิตร่าเริงสดใสและไม่เป็นภาระของสังคม ดังนั้น ในเว็บไซต์นี้จึงได้รวบรวมเรื่องราวที่มีความจำเป็นต่อผู้สูงอายุ อาทิ บทบาทของผู้สูงอายุ, ปัญหาที่พบบ่อยในวัยผู้สูงอายุ, การดูแลผู้สูงอายุ, สิทธิของผู้สูงอายุ เป็นต้น ทั้งนี้

                         อาจเป็นประโยชน์ ต่อตัวผู้สูงอายุเอง และ/หรือ ผู้ที่ต้องการข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ผู้จัดทำหวังว่า เว็บไซต์นี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจไม่มากก็น้อยประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุ (Aging  society) ผู้สูงอายุมีอายุยืนขึ้นเฉลี่ยในผู้หญิง 74.5 ปี และผู้ชาย 69.9 ปี แม้ว่าผู้สูงอายุจะมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นแต่คุณภาพชีวิตมิได้ดีขึ้นตามด้วย เนื่องจากสภาพร่างกายที่เสื่อมลงประกอบกับสังคม    ที่เปลี่ยนแปลงทำให้ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งสวนทางกับ  ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้สูงอายุ 1 คนต้องมีผู้ดูแลมากถึง9 คนเลยทีเดียว นักวิชาการณ์คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2568 ไทยจะก้าวกระโดดมีผู้สูงอายุมากถึง 14.4 ล้านคน และในปี พ.ศ.2593 ผู้สูงอายุจะล้นเมือง มีจำนวนมากถึงร้อยละ 27 ของพลเมืองทั้งประเทศความชราภาพเป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงอันยาวนานทางกายภาพ

(physiology)  อารมณ์ (emotional) พุทธิปัญญา (cognition) ความสัมพันธ์

(interpersonal) และฐานะทางการเงิน (economic) จึงไม่แปลกที่ยิ่งชราภาพมากยิ่งพบ  ความแตกต่างมากตามไปด้วย (As we grow older,   we become unlike each other) ซึ่งจะมีอยู่หลายทฤษฎีที่อธิบายความชราภาพนี้ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

                          ทฤษฎีทางชีวภาพ (Biological theory) Genetic theory : ความชราภาพมีกรรมพันธุ์เป็นตัวควบคุมและกำหนด ถ่ายทอดหลายชั่วอายุคน แสดงออกทางกายภาพ เช่น ผมหงอก หัวล้าน เป็นต้น Error catastrophe theory :ความเสื่อมของเนื้อเยื่อและการทำงานที่ผิดพลาดของเซลล์ที่ชรา ทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานลดลง Collagen theory : การหดตัวของคอลลาเจนไฟเบอร์ทำให้เกิดริ้วรอย ความเหี่ยวย่นของผิวหนังและความผุกร่อนของกระดูก Auto-Immune theory : ภูมิคุ้มกันที่ทำงานถดถอย ทำให้ร่างกายต้านทานต่อเชื้อโรคและสิ่ง   แปลกปลอมได้ไม่ดี จึง พบความเจ็บป่วย Free Radical theory : อนุมูลอิสระ เป็นตัวการของความผิดปกติของยีน คอลลาเจนและอีลาสตินซึ่งอนุมูลอิสระพบมากตามวัยทฤษฎีทางจิต (Psychological theory) Personality theory : พัฒนาการทางจิตและสัมพันธภาพในอดีตส่งผลต่อความสุขในบั้นปลายชีวิต Intelligence theory : ความปราดเปรื่องจากการสะสมประสบการณ์ชีวิตและการเรียนรู้อย่างไม่หยุดนิ่ง

Erickson’s theory :ความมั่นคงและคุณค่าแห่งตนเป็นผลจากความสำเร็จของช่วงชีวิตที่ผ่านมาทฤษฎีทางสังคม

(Social theory) Role theory : ความสำเร็จในแต่ละช่วงวัยที่ผ่าน มานำมาซึ่งการยอมรับความชราเมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ

Activity theory : กิจกรรมและการเคลื่อนไหวนำพาความสุขและคุณค่าแห่งตนแก่ผู้สูงอายุ

Disengagement theory : การถอนตัวหลีกหนีจากสังคมเพื่อลดความตึงเครียดหรือความกดดัน

Continuity theory : การปรับตัวและพฤติกรรมของผู้สูงอายุต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งรอบข้าง เช่น  การจากไปของคู่สมรส การลดน้อยลงของรายได้ โดย รูปแบบการปรับตัวแตกต่างกันตามบุคลิกภาพเดิม Age stratification theory :อายุเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมทางสังคม เช่น อายุเกณฑ์ทหาร อายุเกษียณ การส่งเสริมพลังทางปัญญาผู้สูงอายุและการ เตรียมตัวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ผู้สูงอายุ         “แก่อย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีความสุข” คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ 

                             สำนักนายกรัฐมนตรี กำหนดแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ  ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) โดยมียุทธศาสตร์ 5 ด้านในการก่อเกิดสังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพในอนาคต ดังนี้

1. ด้านการเตรียมความพร้อมของประชาชนเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ

2. ด้านระบบการคุ้มครองทางสังคมสำหรับ ผู้สูงอายุ

3. ด้านการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุระดับชาติและการพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุ

ด้านการประมวลและพัฒนาองค์ความรู้ ผู้สูงอายุระดับชาติและการติดตามประเมินผลการดำเนินการตามแผน

ประการสำคัญที่สุด ผู้สูงอายุควรต้อง เข้าใจ ยอมรับในการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตของการดำเนินชีวิต และตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม ผู้สูงอายุจึงยังควรต้องรับฟังข่าวสาร และเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆที่เหมาะสมกับวัย และพยายามปรับตัวเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตที่เหลืออยู่ได้อย่างมีคุณภาพ การเข้าใจทั้งเขาและเรา การยอมรับ และการเรียนรู้ จะนำมาซึ่งอารมณ์ที่แจ่มใส การมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีนำไปสู่การยังคงเป็นที่เคารพนับถือ เป็นที่พึ่งพิงทางอารมณ์ จิตใจ ช่วยผ่อนคลายปัญหาทั้งด้านร่างกาย และด้านจิตใจทั้งของตนเอง ของครอบครัว และของสังคมได้ ควรต้องตระหนักเสมอว่า ถึงแม้จะเป็นผู้สูงอายุ ก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวและของสังคม ผู้สูงอายุ ควรมีส่วนร่วม และให้ความร่วมมือในการดูแลตนเองในด้านต่างๆดัง กล่าวแล้ว ได้แก่ ด้านอาหาร การเคลื่อนไหวร่างกาย การออกกำลังกาย การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน การควบคุมโรคเรื้อรังต่างๆของตนเอง การลดอุบัติเหตุของตน เองทั้งในบ้าน และนอกบ้าน การช่วยเสริมสร้างความน่าอยู่ หรือ สิ่งแวดล้อมในบ้าน และรอบๆบ้าน รวมทั้งของชุมชน สังคม และพยายามดูแลสุขภาพจิตของตนเอง ซึ่งทั้งหมด เกิดได้จากความเข้าใจ การยอมรับ การเรียนรู้ การรู้ว่าตนเองยังสามารถทำอะไรได้บ้าง การปฏิบัติตามแพทย์/พยาบาลแนะนำ และตามคำแนะนำที่เป็นประโยชน์จากครอบครัว พยายามปฏิบัติตนเพื่อสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะ สมตามวัย และเพื่อไม่เป็นภาระต่อครอบครัว ซึ่งการดูแลตนเองได้ และไม่เป็นภาระต่อผู้อื่นจนเกินไป จะช่วยเพิ่มความเคารพนับถือตนเอง และลดอาการซึมเศร้าของผู้ สูงอายุได้เป็นอย่างดี ผู้สูงอายุควรตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง และดำรงคุณค่านั้นไว้เสมอ เช่น การเป็นสายใยของครอบครัว เป็นผู้ที่มีวัยวุฒิ คุณวุฒิ ที่สามารถให้คำปรึกษา คำ แนะนำ ให้การอบรมสั่งสอน การเป็นที่พึ่งพิงทางอารมณ์ เป็นกำลังใจให้กับครอบ ครัว และการช่วยคลี่คลายปัญหาชีวิตทั้งของตนเอง และของครอบครัว

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

                               สามารถนำความรู้เกี่ยวกับนโยบายสุขภาพและการพยาบาลผู้สูงอายุ ในด้าน มโนทัศน์พื้นฐานเกี่ยวกับผู้สูอายุ การพยาบาลผู้สูงอายุ คุณภาพการดูแลผู้สูงอายุ ทฤษฎีการสูงอายุ กระบวนการสูงอายุ และการเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ ลักษณะความเจ็บป่วย ปัญหาการเจ็บป่วยที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ การใช้ยาการสร้างเสริมแลการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุ สิทธิผู้สูงอายุ ตลอดจนกฎหมาย และจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ มาใช้ในการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ เพื่อพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุขององค์กร

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

R การเรียนการสอนรายวิชา พย.1207 การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย

R การบริการวิชาการ การพัฒนานักศึกษาการพัฒนาบุคลากร R การวิจัยและ/ผลงานทางวิชาการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริหารงาน

Rอื่นๆโปรดระบุ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

พัฒนาด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในอาชีพ

 

  (601)