การจัดทำข้อสอบความรู้รวบยอด หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2556 ของสถาบันพระบรมราชชนก

การจัดทำข้อสอบความรู้รวบยอด หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2556 ของสถาบันพระบรมราชชนก

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :    6    พฤศจิกายน    2556

ผู้บันทึก :   นางนิศารัตน์ นรสิงห์  และ   น.ส .อุษา จันทร์แย้ม

กลุ่มงาน :   กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

ฝ่าย :   วิชาการ

ประเภทการปฏิบัติงาน :    การประชุม

วันที่    4   พฤศจิกายน 2556      ถึงวันที่    5    พฤศจิกายน 2556

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก

สถานที่จัด : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฏร์ธานี

เรื่อง : “การจัดทำข้อสอบความรู้รวบยอด หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2556 ของสถาบันพระบรมราชชนก”

รายละเอียด

การสร้างแบบทดสอบมาตรฐาน  มีขึ้นตอนดังนี้

                   1. สร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร หรือตามรางวิเคราะห์เนื้อหาและพฤติกรรม

                   2. เขียนข้อสอบตามตามรางวิเคราะห์หลักสูตร

                   3. นำข้อสอบไปทดลองใช้ (Try out)

                   4.  วิเคราะห์ข้อสอบ

                   5. ปรับปรุงข้อสอบที่มีคุณภาพไม่ดี แล้วนำไปทดลองใช้ (ทำดังข้อ 3-5 ไปเรื่อย ๆ จนกว่าทุกข้อจะมีคุณภาพดีตามเกณฑ์)

การสร้างข้อสอบตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้

1. คำถามประเภทความรู้ความจำ

   1.1 คำถามด้านความรู้ในเนื้อเรื่อง การถามถึงเรืองราวและความจริง ความสำคัญต่างๆ ของเนื้อหา

   1.2 คำถามเกี่ยวกับศัพท์และนิยาม ถามความหมายของศัพท์ คำจำกัดความของคำและความหมาย

ของสัญลักษณ์ หรือภาพ อักษรย่อและเครื่องหมายต่างๆ

-          ถามชื่อ  ถามคำแปล  ถามความหมาย  ถามตัวอย่าง ถามตรงข้าม

   1.3 คำถามเกี่ยวกับสูตร กฎ ความจริง ความสำคัญ ถามเนื้อหา เช่น ลักษณะอาการใด ที่แสดงว่า ออกกำลังกายมากเกินไป ถามขนาดจำนวน ถามสถานที่ ถามเวลา ถามคุณสมบัติ ถามวัตถุประสงค์ ถามสาเหตุ และ ผลที่เกิดขึ้น ถามประโยชน์และคุณโทษ ถามหน้าที่ เช่น นักจิตวิทยาทำหน้าที่อะไรในทีมจิตเวช

   1.4 คำถามด้านวิธีดำเนินการ ถามวิธีประพฤติปฏิบัติ และ วิธีดำเนินการในกิจการงาน และเรื่องราว

ต่างๆ

             1.5ถามเกี่ยวกับระเบียบแบบแผน ถามแบบแผนแบบฟอร์ม เช่น ในห้องรักษาด้วย ECTควรมีอุปกรณ์ใดบ้าง ถามธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม วิธีการปฏิบัติ

   1.6 ถามเกี่ยวกับลำดับขั้นและแนวโน้ม เช่น ระยะของการชัก ถามแนวโน้ม เช่น โรคชนิดใดมีแนวโน้มสูงขึ้น ในระยะ 2-3 ปีนี้

   1.7 ถามเกี่ยวกับการจัดประเภท ถามเข้าพวก ถามต่างพวก ถามชนิดประเภท เช่น ข้อใดเป็นการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด

   1.8 ถามเกี่ยวกับเกณฑ์ เช่น การพักผ่อนที่ดีมีลักษณะอย่างไร

   1.9 ถามเกี่ยวกับวิธีการ การปฏิบัติ การเปรียบเทียบ

   1.10 คำถามด้านความรู้รวบยอด

             1.11 ถามเกี่ยวกับหลักวิชาและการขยายหลักวิชา ถามให้บอกคติหรือหลักวิชาของเรื่องนั้น

   1.12 ถามเกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง

2. คำถามประเภทความเข้าใจ เป็นการถามความสามารถในการผสมแล้วขยายความรู้ความจำให้ไกลออกไปจากเดิมอย่างสมเหตุสมผล

   2.1 คำถามด้านการแปลความ

                  1) ถามให้แปลความหมายของคำและข้อความ

       2) แปลความหมายของภาพและสัญลักษณ์

       3) แปลถอดความ

   2.2 คำถามด้านการตีความ

       1) ตีความหมายของเรื่อง เช่น จากสถานการณ์นี้ หมายถึงอย่างไร ?

       2) ตีความหมายของข้อเท็จจริง

   2.3 คำถามด้านการขยายความ

      1) ขยายความแบบจินตภาพ เช่น เหตุการณ์ เกิดขึ้นที่ไหน

       2) ขยายความแบบพยากรณ์ เช่น พยาบาล ก ควรใช้เทคนิคใดในการสนทนาต่อไป

      3) ขยายความสมมติ เช่น ถ้าใช้พยาบาลปฏิเสธ นาย ก ผลที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นเช่นไร

      4) ขยายความแบบอนุมาน เช่น เมื่อถูกเลี้ยงดูโดยการปล่อยปละละเลยเด็กจะเกิดปัญหาใดตามมา

3. คำถามประเภทการนำไปใช้ ความสามารถในการนำเอาความรู้และความเข้าใจในเรื่องราวใดๆ ไปแก้ปัญหาที่แปลกใหม่ ทำนองนั้นของเรื่องนั้นได้

1) ถามความสอดคล้องระหว่างหลักวิชากับการปฏิบัติ

2) ถามขอบเขตของหลักวิชาและการปฏิบัติ

- ถามขอบเขตและเงื่อนไขของหลักวิชาและการปฏิบัติ

- ถามข้อยกเว้นของหลักวิชาและการปฏิบัติ

3) ถามให้อธิบายหลักวิชา

- ถามให้อธิบายเรื่องราว ปรากฏการณ์และการกระทำต่างๆ ตามหลักวิชาว่ามีเหตุผล หรือ

หลักวิชาใด

4) ถามให้แก้ปัญหา เป็นขั้นนำความรู้ไปใช้ในสภาพจริงกันโดยตรง โดยการตั้งคำถามเป็นเรื่องราว

หรือเหตุการณ์สมมติใดๆ ก็ได้แล้วให้ตอบแก้ปัญหาเหล่านั้นด้วยความคิดของตนเอง

5) ถามเหตุผลของการปฏิบัติเรื่องนั้นๆ ควรปฏิบัติอย่างไร และเพราะเหตุใดจึงปฏิบัติเช่นนั้น

     4. คำถามประเภทการคิดวิเคราะห์

          1) วิเคราะห์ความสำคัญ

- ถามให้วิเคราะห์ชนิด เช่น จากสถานการณ์เป็นการบำบัดชนิดใด

- จากสถานการณ์ผู้ป่วยมีความผิดปกติในเรื่องใด

- ถามให้วิเคราะห์สิ่งสำคัญที่สุด

          2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ เช่น ข้อความนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับอะไรมากที่สุด

          3) วิเคราะห์หลักการ

           - วิเคราะห์โครงสร้าง เช่น สิ่งต่อไปนี้มีสิ่งใดแตกต่างกัน?

- วิเคราะห์หลักการ เช่น คำสรุปนี้ยังไม่สมบูรณ์เพราะเหตุใด?

    5. คำถามประเภทสังเคราะห์ วัดความสามารถในการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป เพื่อให้

กลายเป็นสิ่งสำเร็จรูปขึ้นใหม่ ที่มีลักษณะแปลกไปจากส่วนประกอบย่อยของเดิม

1) สังเคราะห์ข้อความ

- สังเคราะห์ข้อความโดยการพูด เช่น ให้แสดงความคิดเห็นอิสระของตนต่อเรื่องราวที่

กำหนดให้ ชี้แจง ขยายความของเรื่องใดๆ ให้กระจ่างชัดกว่าเดิม ให้สรุปสิ่งที่เป็นแก่นสารหัวใจของเรื่องโดยภาษาของตนเอง หาข้อยุติจากการอภิปราย การวิจารณ์เปรียบเทียบความดีงาม เด่นด้อยของเรื่องต่างๆ

- สังเคราะห์ข้อความโดยการเขียน ให้เขียนตอบบรรยายเรื่องราวต่างๆ เช่น ให้แสดงความคิดเห็น

ว่าเหมาะสม หรือดี เลวเพียงใด ให้ขยาย สรุป และเปรียบเทียบสิ่งนั้นกับอะไรอื่นอีกอย่างหนึ่ง

- สังเคราะห์ข้อความจากการแสดง ใช้รูปภาพ หรือวัตถุสิ่งของ เสียง หรือการแสดง

โดยนำสิ่งนั้นมาให้ดู แล้วให้แต่ละคนพูดหรือเขียนบรรยายเรื่องราวตามภาพที่เห็น หรือให้แสดงความ

คิดเห็นต่อสิ่งนั้น

2) สังเคราะห์แผนงาน การกำหนดแนวทางและขั้นตอนของการปฏิบัติงานใดๆ ล่วงหน้า เพื่อให้การดำเนินงานราบรื่น และบรรลุผลตรงตามเกณฑ์ ที่กำหนดไว้

          3) สังเคราะห์ความสัมพันธ์ เอาความสำคัญและหลักการต่างๆ มาผสมให้เป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้

เกิดเป็นสิ่งสำเร็จรูปใหม่ๆ ที่มีความสัมพันธ์แปลกไปจากเดิม เช่น พยาบาลที่เข้าใจผู้ป่วยเป็นพยาบาลที่ดี แต่ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น เขาจะต้องปฏิบัติอะไรอีก?

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

ด้านการนำผลการพัฒนามาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานสามารถนำหลักการออกข้อสอบไปใช้ในการพัฒนาแนวทางการทำข้อสอบเพื่อวัดและประเมินผลนักศึกษา ให้ตรงตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ และมีประสิทธิภาพ

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

แนวทางการออกข้อสอบ

มีความสามารถในการบริหารแนวทางการวัดและประเมินผลเพิ่มขึ้น

  (753)

Comments are closed.