แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้
วันที่บันทึก : 27 มกราคม 2557
ผู้บันทึก : นางนิสากร จันทวี
กลุ่มงาน : งานห้องสมุดและห้องปฏิบัติการพยาบาล
ฝ่าย : วิชาการพยาบาลพื้นฐานและพื้นฐานวิชาชีพ
ประเภทการปฏิบัติงาน: อบรม
วันที่ 14 – 17 มกราคม 2557
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : วิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์) อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
สถานที่จัด : ณ วิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์) อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
เรื่อง : การอบรมพัฒนาศักยภาพวิทยากรพี่เลี้ยงหลักสูตร ผ.บ.ก./ผ.บ.ต.
รายละเอียด
วิทยากรพี่เลี้ยง (Facilitator)
Facilitator คือใคร
Facilitator คือ ผู้รับผิดชอบในการจัดรูปแบบและวิธีการทำงานเพื่อให้ทีม/กลุ่ม/คณะ
ทำงานได้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร
ทำไมต้องมี Facilitator
- เพื่อสร้างบรรยากาศและกระบวนการทำงานของทีม/เสริมพลังศักยภาพการทำงาน
ของหัวหน้าทีมและสมาชิกในทีม
- เพื่อกระตุ้นและสร้างบรรยากาศของการพัฒนาคุณภาพให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
- เพื่อประสานนโยบายคุณภาพองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย
เป้าหมายของ Facilitator
- เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของทีม
- เพิ่มการมีส่วนร่วมของทีม
- นำความคิดที่มีค่าออกมาจากสมาชิกให้ได้มากที่สุด
- นำไปสู่การยอมรับข้อสรุปร่วมกันของทีม
- การเสริม เติมเต็มองค์ความรู้จากสมาชิกสู่ทีม
กลยุทธ์ของ Facilitator
- สร้างบรรยากาศและกระบวนการเรียนรู้ในทีม
คุณสมบัติของ Facilitator
- มีมนุษยสัมพันธ์ดี /ความสามารถในการสื่อสาร
- มีความมุ่งมั่น เสียสละ ทุ่มเท อุทิศตน
- เป็นผู้นำทีมได้ สามารถสร้างบรรยากาศการทำงานเป็นทีม และกระตุ้นการเรียนรู้ในทีมได้
ภาระหน้าที่ของ Facilitator
- เกริ่นนำ
- กำกับทิศทางการทำงานของกลุ่ม
- ดุแลกระบวนการกลุ่ม
- ประเมินผลและกำกับกระบวนการประชุม
บทบาทของ Facilitator
- จัดเตรียม และสื่อสาร เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะมีวัฒนธรรมของการมีส่วนร่วมด้วยการสื่อสาร 2 ทาง ภายในทีม โดยมีความเชี่ยวชาญพิเศษในเรื่องพลวัตของกลุ่ม
- จัดโครงสร้างการประชุม/การมีส่วนร่วม แต่ไม่เข้าไปยุ่งกับเนื้อหา
- ผู้เสริมสร้างให้เกิดการเรียนรู้
- ผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคนิควิธี
- ผู้สนับสนุนให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน
- ผู้สร้างความร่วมมือภายในกลุ่ม
- ผู้ช่วยเหลืออำนวยความสะดวก
- ผู้ช่วยแก้ปัญหาบางเรื่อง
- เป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยนระหว่างมนุษย์
- เป็นผู้ให้/ผู้รับความรู้
- เป็นโค้ช คอยชี้แนะ สะท้อนกลับ
- เป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อแรงกดดันของอำนาจใดๆ
- เป็นผู้นำกองคาราวาน (กระบวนการ) ดูแลทิศทาง
- เป็นผู้ให้กำลังใจในการเปลี่ยนแปลง
- เป็นผู้คุมกฎ ดูแลความพร้อม/ระเบียบ
- เป็นผู้วิเคราะห์ สรุปประเด็น ติดตามเชื่อมโยงสู่สิ่งใหม่ๆ
- สนับสนุนกระบวนการ “การมีส่วนร่วมทางความคิด”
- เป็นผู้รับผิดชอบต่อความสำเร็จของกระบวนการ
คุณลักษณะของ Facilitator ที่ดี
- ทักษะที่พึงมีของ Facilitator
1. ทักษะการจัดแจงฉาก
2. ทักษะการสร้างบรรยากาศกลุ่ม
3. ทักษะการสื่อสาร
4. ทักษะการฟัง
5. ทักษะการตั้งประเด็นคำถาม
6. ทักษะการเสริมสร้างกำลังใจ
7. ทักษะการกระตุ้นให้ผู้ร่วมเวทีตื่นตัว
8. ทักษะการสังเกต
9. ทักษะการควบคุมประเด็นและคลี่คลายข้อขัดแย้ง
10.ทักษะการสรุปบทเรียน
- สิ่งที่ควรและไม่ควรทำ/เป็นของบทบาท Facilitator
ควรทำ (Do) |
ไม่ควรทำ (Don’t) |
1.รับฟังความคิดเห็นสมาชิกกลุ่ม | 1.ใช้ความคิดของตนเป็นหลัก |
2.กระตุ้นให้สมาชิกเล่าเรื่องจาก ประสบการณ์ตนเอง | 2.ใช้คำพูดชี้นำออกนอกเรื่อง |
3.สร้างบรรยากาศที่ดีในการพูดคุย | 3.เปิดโอกาสให้มีกลุ่มย่อย/ไม่มีกติกา |
4.พูดจาสุภาพ | 4.ขัดจังหวะการเล่าเรื่อง/ไม่สนใจฟัง |
5.ศึกษาประเด็นที่จะมาพูดคุย | 5.ปล่อยให้สมาชิกเล่าเรื่องออกนอกประเด็น |
6.ถ้าสมาชิกเล่าเรื่องออกนอกประเด็นพยายามซักถามและนำเข้าสู่ประเด็น | 6.เปลี่ยนประเด็นเร็ว/ไม่เชื่อมโยง |
7.ควบคุมเวลาในการพูด | 7.ควบคุมกำกับตึงไป/หย่อนไป |
การเตรียมการล่วงหน้าก่อนการประชุม
๑) รู้กลุ่มเป้าหมาย
- มาจากที่ใด ทำงานอะไร ลักษณะการรวมกลุ่มจากหน่วยเดียวกัน จากผู้ปฏิบัติงานหน้าที่เดียวกัน จากประเภทของกิจกรรมที่กลุ่มต้องดำเนินการ จากผู้มีความสนใจร่วมกันในเรื่องนั้นๆ
๒) รู้ว่าผู้เข้าร่วมประชุมต้องการอะไร
- ความประสงค์ ความตั้งใจ ความคาดหวัง
๓) รู้ว่าผู้เข้าร่วมประชุมรู้อะไรมาแล้วบ้าง
- ความรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหา ความรู้พื้นฐานในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ความรู้เชี่ยวชาญพิเศษในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
๔) รู้ว่าอาจมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในเรื่องใดได้บ้าง
- ความขัดแย้งระหว่างบุคคล
- ความขัดแย้งอันเกิดจากเนื้อหาของเรื่องที่กำลังประชุม
- ความขัดแย้งที่เกิดจากภาวะตึงเครียด
๕) รู้ว่าจะเกิดผลอะไรเมื่อการประชุมเสร็จสิ้นแล้ว
- การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์กร พลังและการมีส่วนร่วมในการดำเนินการแก้ปัญหา กลุ่มมีสมรรถนะในการตัดสินใจที่จำเป็นในการดำเนินการเพียงใด
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Based Learning)
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Based Learning) หรือ PBL หมายถึงกระบวนการเรียนการสอนซึ่งใช้ปัญหา เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะค้นคว้าหาข้อมูลและองค์ความรู้มาช่วยแก้ปัญหาหรือทำให้ปัญหานั้นกระจ่าง มองเห็นแนวทางแก้ไขทำให้เกิดการเรียนรู้และสามารถที่จะผสมผสานความรู้นั้นๆ ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การเรียนรู้แบบ PBL เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน ให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Self directed learning : SDL) เป็นการเรียนรู้ที่ถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Centered Learning) ผู้เรียนจะใช้ทั้ง Hand Heart และ Hand พร้อมๆกัน คือใช้สมองในการคิด ใช้หัวใจในการทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้และใช้มือในการจดบันทึกและค้นคว้า ซึ่งการเรียนแบบ PBLจะเกิดประโยชน์และได้ผลดีเมื่อเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย (Small Group Learning) ไม่เกิน ๑๕ คน โดยสมาชิกที่มีประสบการณ์ที่หลากหลายมีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก คือเพื่อพัฒนาผู้เรียนด้าน
๑) พัฒนาสมรรถนะกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
๒) พัฒนาสมรรถนะในการแก้ปัญหา
๓) พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
๔) พัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่ม
ขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL
ขั้นตอนที่ ๑ ทำความเข้าใจในความหมายของคำหรือประเด็นต่างๆในTrigger ให้เข้าใจ
ขั้นตอนที่ ๒ ค้นหาปัญหาและกำหนดปัญหาให้ชัดเจน
ขั้นตอนที่ ๓ วิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาสาเหตุและตั้งสมมติฐาน
ขั้นตอนที่ ๔ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมโดยวิทยากรพี่เลี้ยงและข้อมูลที่ค้นคว้าจากสถานการณ์จริง
ขั้นตอนที่ ๕ วิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง
ขั้นตอนที่ ๖ กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้
ขั้นตอนที่ ๗ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองและวิทยากรหรือผู้รู้
ขั้นตอนที่ ๘ แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสมาชิกและกลุ่ม/สรุปเนื้อหาและประสบการณ์ การเรียนรู้
ขั้นตอนที่ ๙ สรุปผลการศึกษา โดยการนำเสนอผลการศึกษาและจัดทำเอกสารรายงาน
เงื่อนไขในการเรียนรู้แบบ PBL
๑) กระตุ้นความรู้เดิม (Activation of prior knowledge) ความรู้เดิมที่เป็นพื้นฐานนั้นมีประโยชน์มาก ผู้เรียนต้องพยายามนำเอาความรู้เดิมจากความทรงจำออกมาใช้ให้มากที่สุด วิทยากรพี่เลี้ยงหรือเพื่อนสมาชิกในกลุ่มจะต้องกระตุ้นให้เพื่อนสมาชิกนำความรู้เดิมออกมาให้กับกลุ่ม
๒) เสริมความรู้ใหม่ (Encording specificity) การที่ผู้เรียนนำความรู้ที่แสวงหามาได้ใหม่เสริมกับความรู้เดิมจะทำให้เกิดความเข้าใจ ใคร่ครวญและฉุกคิด และเกิดความความคิดกว้างไกล สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
๓) ต่อเติมความเข้าใจให้สมบูรณ์ (Elaboration of knowledge) หากผู้เรียนได้มีโอกาสต่อเติมความเข้าใจให้สมบูรณ์ โดยวิธีอภิปรายกับเพื่อนในกลุ่ม สรุป ตั้งคำถาม และพิสูจน์สมมติฐานการปฏิบัติดังกล่าวจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ เป็นความรู้เก็บกักไว้ในความทรงจำได้นาน และสามารถนำออกมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน
- การสร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของทีม
- การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Based Learning)
ด้านการนำผลการพัฒนาไปใช้ประโยชน์
R การพัฒนาบุคลากร
R การบริหารงาน
R การพัฒนานักศึกษา
R อื่นๆโปรดระบุ การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ
ด้านสมรรถนะ
- พัฒนาศักยภาพบทบาทวิทยากรพี่เลี้ยงหลักสูตรผ.บ.ก./ผ.บ.ต. โดยใช้การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Based Learning)
- พัฒนาสมรรถนะในการแก้ปัญหา
- พัฒนาการใช้ทักษะกระบวนการกลุ่ม
.ด้านอื่น ๆ
- การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก สามารถนำมาเป็นเครื่องมือในจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ทำให้สามารถพัฒนาตัวผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนที่ถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
(548)