แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้
วันที่บันทึก : 6 มกราคม, 2556
ผู้บันทึก : นางมณฑิรา มังสาทอง
กลุ่มงาน : กลุ่มงานการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และบริหารการพยาบาล
ฝ่าย : วิชาการ
ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม
วันที่ 29 กรกฎาคม 2556 ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2556
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
สถานที่จัด : วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
เรื่อง : การอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางผู้สูงอายุ
รายละเอียด
ผู้สูงอายุคือ มนุษย์ที่มีอายุอยู่ในช่วงปลายของชีวิต มีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 60 ปีขึ้นไป ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่ได้มีการสั่งสมวิชาความรู้ต่างๆมามากมายตลอดชีวิต เมื่ออายุมากขึ้น สภาพร่างกาย จิตใจ ตลอดจนการดำรงอยู่ในสังคมของผู้สูงอายุ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากวัยอื่น เนื่องจากมีความเสื่อมของการทำงานระบบต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบขับถ่าย ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบกระดูก และกล้ามเนื้อ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ มักจะเกิดขึ้นช้าๆ ในภาวะปกติอวัยวะของระบบต่างๆยังทำหน้าที่ได้อย่างปกติ แต่ในภาวะบีบคั้น ไม่ว่าจะเกิดจากทางอารมณ์ หรือทางร่างกาย หรือสังคม จะทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถรักษาสภาวะสมดุลของร่างกายไว้ได้ ทำให้เกิดอาการผิดปกติ และทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ง่าย ผู้ที่ร่วงเข้าวัยผู้สูงอายุนั้น จำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ทั้งอาหารการกิน ความเป็นอยู่ การรักษาตัว การตรวจสุขภาพ สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ตลอดจนการเอาใจใส่ของบุตรหลานเพื่อให้พวกเขาทั้งหลายสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขมีสภาวะจิตร่าเริงสดใสและไม่เป็นภาระของสังคม ดังนั้น ในเว็บไซต์นี้จึงได้รวบรวมเรื่องราวที่มีความจำเป็นต่อผู้สูงอายุ อาทิ บทบาทของผู้สูงอายุ, ปัญหาที่พบบ่อยในวัยผู้สูงอายุ, การดูแลผู้สูงอายุ, สิทธิของผู้สูงอายุ เป็นต้น ทั้งนี้
อาจเป็นประโยชน์ ต่อตัวผู้สูงอายุเอง และ/หรือ ผู้ที่ต้องการข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ผู้จัดทำหวังว่า เว็บไซต์นี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจไม่มากก็น้อยประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุ (Aging society) ผู้สูงอายุมีอายุยืนขึ้นเฉลี่ยในผู้หญิง 74.5 ปี และผู้ชาย 69.9 ปี แม้ว่าผู้สูงอายุจะมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นแต่คุณภาพชีวิตมิได้ดีขึ้นตามด้วย เนื่องจากสภาพร่างกายที่เสื่อมลงประกอบกับสังคม ที่เปลี่ยนแปลงทำให้ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งสวนทางกับ ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้สูงอายุ 1 คนต้องมีผู้ดูแลมากถึง9 คนเลยทีเดียว นักวิชาการณ์คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2568 ไทยจะก้าวกระโดดมีผู้สูงอายุมากถึง 14.4 ล้านคน และในปี พ.ศ.2593 ผู้สูงอายุจะล้นเมือง มีจำนวนมากถึงร้อยละ 27 ของพลเมืองทั้งประเทศความชราภาพเป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงอันยาวนานทางกายภาพ
(physiology) อารมณ์ (emotional) พุทธิปัญญา (cognition) ความสัมพันธ์
(interpersonal) และฐานะทางการเงิน (economic) จึงไม่แปลกที่ยิ่งชราภาพมากยิ่งพบ ความแตกต่างมากตามไปด้วย (As we grow older, we become unlike each other) ซึ่งจะมีอยู่หลายทฤษฎีที่อธิบายความชราภาพนี้ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
ทฤษฎีทางชีวภาพ (Biological theory) Genetic theory : ความชราภาพมีกรรมพันธุ์เป็นตัวควบคุมและกำหนด ถ่ายทอดหลายชั่วอายุคน แสดงออกทางกายภาพ เช่น ผมหงอก หัวล้าน เป็นต้น Error catastrophe theory :ความเสื่อมของเนื้อเยื่อและการทำงานที่ผิดพลาดของเซลล์ที่ชรา ทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานลดลง Collagen theory : การหดตัวของคอลลาเจนไฟเบอร์ทำให้เกิดริ้วรอย ความเหี่ยวย่นของผิวหนังและความผุกร่อนของกระดูก Auto-Immune theory : ภูมิคุ้มกันที่ทำงานถดถอย ทำให้ร่างกายต้านทานต่อเชื้อโรคและสิ่ง แปลกปลอมได้ไม่ดี จึง พบความเจ็บป่วย Free Radical theory : อนุมูลอิสระ เป็นตัวการของความผิดปกติของยีน คอลลาเจนและอีลาสตินซึ่งอนุมูลอิสระพบมากตามวัยทฤษฎีทางจิต (Psychological theory) Personality theory : พัฒนาการทางจิตและสัมพันธภาพในอดีตส่งผลต่อความสุขในบั้นปลายชีวิต Intelligence theory : ความปราดเปรื่องจากการสะสมประสบการณ์ชีวิตและการเรียนรู้อย่างไม่หยุดนิ่ง
Erickson’s theory :ความมั่นคงและคุณค่าแห่งตนเป็นผลจากความสำเร็จของช่วงชีวิตที่ผ่านมาทฤษฎีทางสังคม
(Social theory) Role theory : ความสำเร็จในแต่ละช่วงวัยที่ผ่าน มานำมาซึ่งการยอมรับความชราเมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ
Activity theory : กิจกรรมและการเคลื่อนไหวนำพาความสุขและคุณค่าแห่งตนแก่ผู้สูงอายุ
Disengagement theory : การถอนตัวหลีกหนีจากสังคมเพื่อลดความตึงเครียดหรือความกดดัน
Continuity theory : การปรับตัวและพฤติกรรมของผู้สูงอายุต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งรอบข้าง เช่น การจากไปของคู่สมรส การลดน้อยลงของรายได้ โดย รูปแบบการปรับตัวแตกต่างกันตามบุคลิกภาพเดิม Age stratification theory :อายุเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมทางสังคม เช่น อายุเกณฑ์ทหาร อายุเกษียณ การส่งเสริมพลังทางปัญญาผู้สูงอายุและการ เตรียมตัวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ผู้สูงอายุ “แก่อย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีความสุข” คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี กำหนดแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) โดยมียุทธศาสตร์ 5 ด้านในการก่อเกิดสังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพในอนาคต ดังนี้
1. ด้านการเตรียมความพร้อมของประชาชนเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ
2. ด้านระบบการคุ้มครองทางสังคมสำหรับ ผู้สูงอายุ
3. ด้านการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุระดับชาติและการพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุ
ด้านการประมวลและพัฒนาองค์ความรู้ ผู้สูงอายุระดับชาติและการติดตามประเมินผลการดำเนินการตามแผน
ประการสำคัญที่สุด ผู้สูงอายุควรต้อง เข้าใจ ยอมรับในการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตของการดำเนินชีวิต และตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม ผู้สูงอายุจึงยังควรต้องรับฟังข่าวสาร และเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆที่เหมาะสมกับวัย และพยายามปรับตัวเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตที่เหลืออยู่ได้อย่างมีคุณภาพ การเข้าใจทั้งเขาและเรา การยอมรับ และการเรียนรู้ จะนำมาซึ่งอารมณ์ที่แจ่มใส การมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีนำไปสู่การยังคงเป็นที่เคารพนับถือ เป็นที่พึ่งพิงทางอารมณ์ จิตใจ ช่วยผ่อนคลายปัญหาทั้งด้านร่างกาย และด้านจิตใจทั้งของตนเอง ของครอบครัว และของสังคมได้ ควรต้องตระหนักเสมอว่า ถึงแม้จะเป็นผู้สูงอายุ ก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวและของสังคม ผู้สูงอายุ ควรมีส่วนร่วม และให้ความร่วมมือในการดูแลตนเองในด้านต่างๆดัง กล่าวแล้ว ได้แก่ ด้านอาหาร การเคลื่อนไหวร่างกาย การออกกำลังกาย การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน การควบคุมโรคเรื้อรังต่างๆของตนเอง การลดอุบัติเหตุของตน เองทั้งในบ้าน และนอกบ้าน การช่วยเสริมสร้างความน่าอยู่ หรือ สิ่งแวดล้อมในบ้าน และรอบๆบ้าน รวมทั้งของชุมชน สังคม และพยายามดูแลสุขภาพจิตของตนเอง ซึ่งทั้งหมด เกิดได้จากความเข้าใจ การยอมรับ การเรียนรู้ การรู้ว่าตนเองยังสามารถทำอะไรได้บ้าง การปฏิบัติตามแพทย์/พยาบาลแนะนำ และตามคำแนะนำที่เป็นประโยชน์จากครอบครัว พยายามปฏิบัติตนเพื่อสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะ สมตามวัย และเพื่อไม่เป็นภาระต่อครอบครัว ซึ่งการดูแลตนเองได้ และไม่เป็นภาระต่อผู้อื่นจนเกินไป จะช่วยเพิ่มความเคารพนับถือตนเอง และลดอาการซึมเศร้าของผู้ สูงอายุได้เป็นอย่างดี ผู้สูงอายุควรตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง และดำรงคุณค่านั้นไว้เสมอ เช่น การเป็นสายใยของครอบครัว เป็นผู้ที่มีวัยวุฒิ คุณวุฒิ ที่สามารถให้คำปรึกษา คำ แนะนำ ให้การอบรมสั่งสอน การเป็นที่พึ่งพิงทางอารมณ์ เป็นกำลังใจให้กับครอบ ครัว และการช่วยคลี่คลายปัญหาชีวิตทั้งของตนเอง และของครอบครัว
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
สามารถนำความรู้เกี่ยวกับนโยบายสุขภาพและการพยาบาลผู้สูงอายุ ในด้าน มโนทัศน์พื้นฐานเกี่ยวกับผู้สูอายุ การพยาบาลผู้สูงอายุ คุณภาพการดูแลผู้สูงอายุ ทฤษฎีการสูงอายุ กระบวนการสูงอายุ และการเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ ลักษณะความเจ็บป่วย ปัญหาการเจ็บป่วยที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ การใช้ยาการสร้างเสริมแลการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุ สิทธิผู้สูงอายุ ตลอดจนกฎหมาย และจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ มาใช้ในการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ เพื่อพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุขององค์กร
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ
R การเรียนการสอนรายวิชา พย.1207 การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย
R การบริการวิชาการ การพัฒนานักศึกษาการพัฒนาบุคลากร R การวิจัยและ/ผลงานทางวิชาการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริหารงาน
Rอื่นๆโปรดระบุ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
พัฒนาด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในอาชีพ
(601)