การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย
เรื่อง: ทัศนคติของนักศึกษาพยาบาลต่อการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ต่อผล สัมฤทธิ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
เวลา 13.00-16.00 น.
ณ ห้องประชุมเสาวรส
โดย นางสาวอุทุมพร ดุลยเกษม
ผู้ร่วมสังเคราะห์องค์ความรู้
นางสาวอุทุมพร ดุลยเกษม
นางสาวบุญธิดา เทือกสุบรรณ
นางสาวเบญจมาศ จันทร์อุดม
นางสาววิชชุตา สนธิเมือง
นางชุติมา รักษ์บางแหลม
นางสาวดาลิมา สำแดงสาร
สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการสังเคราะห์
ชื่องานวิจัย : ทัศนคติของนักศึกษาพยาบาลต่อการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ต่อผล สัมฤทธิ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ได้แก่ การมอบหมายงาน (Assignment Technique) การใช้กรณีศึกษา (Case Study) การประชุมกลุ่มย่อย ( Small Group Discussion) การทำผังความคิดรวบยอด (Concept Mapping) และการสาธิตและการสาธิตย้อนกลับ (Demonstration & Return Demonstration) สามารถพัฒนานักศึกษาพยาบาลให้เกิดการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีในด้านคุณธรรม
จริธรรม ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะ การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตามลำดับ นอกจากนี้การทำ Reflection ของนักศึกษาพบว่าการเรียนการสอนแบบมอบหมายงานทำให้เกิดผลลัพธ์ทางด้านความรู้และด้านทักษะทางปัญญาน้อย
กว่าการเรียนการสอนแบบสาธิตและสาธิตย้อนกลับและนักศึกษายังแสดงความรู้สึกว่าการเรียนแบบ Active Learning ทำให้มีความรับผิดชอบในการเตรียมตัวก่อนเข้าชั้นเรียนมากขึ้นเพราะมิฉะนั้น จะไม่มีความรู้ที่จะนำสามารถนำมาอภิปรายกับเพื่อนในกลุ่มได้ และช่วยในการรู้จักบริหารเวลาให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งทำให้ได้ฝึกแก้ปัญหาให้แก่ผู้รับบริการก่อน ขึ้นฝึกงาน ซึ่งจะเป็นผลดีเวลาไปฝึกปฏิบัติงานจริงๆว่าเคยผ่านการฝึกแก้ปัญหาแบบนี้มาก่อนช่วยลดความตื่นเต้นลงได้
นำไปใช้ประโยชน์ในด้าน
ด้านการเรียนการสอน
สามารถใช้เป็นวิธีการเรียนการสอนในรายวิชาอื่นๆได้ซึ่งทำให้ผู้สอนและผู้เรียนมีความพึงพอ ใจโดยผู้สอนจะต้องมีเทคนิคเตรียมความรู้ในเรื่องที่สอนรวมทั้งต้องทราบวัตถุประสงค์ในการสอนใน เรื่องนั้นๆซึ่งจะ มีจุด weak คือหากผู้สอนไม่มีความถนัดในเรื่องที่สอนจะไม่สามารถตั้งคำถามผู้เรียน เพื่อให้มีการกระตุ้นการคิด การเชื่อมโยง และการสรุปในเนื้อหานั้นๆได้
ด้านวิชาชีพ
-ฝึกฝนการคิดอยู่ตลอดเวลา การแก้ปัญหาก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยซึ่งทำให้สามารถนึกภาพออกว่า จะเลือกใช้วิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไรและต้องให้การช่วยเหลืออย่างไรและตัดสินใจเชิงวิชาชีพได้ (สามารถ เชื่อมโยงได้)
-เป็นการหล่อหลวมบุคคลที่จะพัฒนาเป็นพยาบาลที่มีคุณภาพในด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล ซึ่งพยาบาลจำเป็นต้องมีทักษะด้านนี้
ด้านบริหาร
-เป็นรูปแบบวิธีการสอนที่ผู้ประสานรายวิชาอื่นๆสามารถนำไปใช้ได้
-เป็นข้อมูลที่ใช้ประกอบเพื่อการเตรียมสิ่งสนับสนุนในการเรียนการสอน เช่นห้อง Lab
-เป็นวิธีการที่ผู้สอนรายวิชาอื่นๆนำไปพิจารณาว่าจะใช้บทเรียนใดในรายวิชาสอนด้วยวิธี Active learning
-หากจะใช้วิธีการเรียนการสอนวิธีนี้ควรมีการเตรียมผู้สอนก่อน เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญและสามารถให้ คำชี้แนะผู้เรียนได้
ด้านชุมชน
เป็นวิธีการที่นำไปให้คำแนะนำแก่ชุมชนเมื่อมีการจัดทำโครงการที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนในภาพรวม
โดยการหาที่มาของปัญหาต่างๆก่อนเริ่มโครงการ อาจใช้วิธีการหลายๆวิธี เช่น small group, สาธิต, concept map เป็นต้น
(536)