การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย เรื่อง: การออกแบบและผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย เรื่อง: การออกแบบและผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย

เรื่อง: การออกแบบและผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนการสอน

ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 

วันที่ 26  พฤษภาคม  พ.ศ. 2557 

          โดย  ดร.รัถยานภิศ                 พละศึก

นางสาวอุทุมพร            ดุลยเกษม

นางชุติมา                  รักษ์บางแหลม

ดร.ยุพาวรรณ              ทองตะนุนาม

ผู้ร่วมสังเคราะห์องค์ความรู้

ดร.รัถยานภิศ              พละศึก

นางธมลวรรณ              แก้วกระจก

นางเบญจวรรณ            ถนอมชยธวัช

นางสาวบุญธิดา            เทือกสุบรรณ

นางสาวเบญจมาศ         จันทร์อุดม

          สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการสังเคราะห์

1. องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากงานวิจัย 

การเรียนการสอนในศตวรรษ  ไม่เน้นการเรียนการสอนโดยครูเป็นผู้บรรยาย  ผู้เรียนเป็นเพียงผู้ฟังเท่านั้น  แต่ใช้การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  และใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย  มีการเลือกใช้วิธีการสอนที่เหมาะกับผู้เรียนแต่ละกลุ่ม  โดยผู้สอนมีการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล เพื่อการเลือกใช้เทคนิคและวิธีการสอนที่เหมาะสม  ซึ่งวิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ที่มีการใช้ในเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้และ โรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ  ราชาวลี  เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย (Rajawali  School  Health  Science  Bandung, Indonesia)      ประกอบด้วย

  1. Inguiry-based  learning  (การสอนแบบสืบสวน)
  2. Authentic  learning (การศึกษาสภาพจริง)
  3. Situation  analysis  (การวิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือการวิเคราะห์ภาพยนตร์)
  4. Problem  -based  learning (การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน)
  5. Small group  learning  (การเรียนรู้กลุ่มย่อย)
  6. E- learning (การเรียนโดยใช้สื่อออนไลน์)
  7. Jigsaw  technique  (การเรียนโดยใช้เทคนิคจิกซอร์)
  8. Role  play (การเรียนโดยใช้บทบาทสมมติ)
  9. Make  an  individual  (การเรียนโดยผู้เรียนกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้  และความคาดหวังเชิงวิชาการและเชิงวิจัยด้วยตนเอง)
  10. Active learning  (……..)

การออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ผู้สอนในวิทยาลัยพยาบาลและ

วิทยาลัยการสาธารณสุข ได้ใช้ทีมผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนให้น่าสนใจ   มีการดึงดูดความสนใจ  และเกิดประสิทธิภาพอย่างแท้จริง  โดยทีมผู้สอนต้องมีความเชี่ยวชาญในเนื้อหา  มีความเชี่ยวชาญในการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่ดึงดูดความสนใจของผู้เรียน  และมีความสามารถในการสรุปข้อความรู้ให้ผู้เรียนอย่างครอบคลุม  และการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญผู้สอนต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ  ทำเป็น  และวิเคราะห์ได้  และกระตุ้นผู้เรียนให้กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ด้วยตนเองตามที่กำหนดอย่างครอบคลุม  ถ้าผู้เรียนเป้าหมายการเรียนรู้ได้ไม่ครอบคลุมครูต้องทำหน้าที่เป็น Facilitator  ช่วยให้ผู้เรียนได้กำหนดเป้าหมาย    การเรียนรู้ให้ครอบคลุม   และบริหารเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ตามการมอบหมายงานในห้องเรียนอย่างสมบูรณ์  ภายหลังการเรียนการสอน  ให้ผู้เรียนได้สะท้อนความรู้สึก  ทัศนคติ  และประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้รับจากการใช้เทคนิคการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของผู้สอน  ซึ่งจากการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สะท้อนคิด ได้ข้อสรุปว่าการเรียนการสอนโดยใช้ผู้สอนเป็นทีมและใช้การเรียนการสอนแบบกลุ่มย่อยดีกว่าการเรียนการสอนโดยผู้สอนคนเดียว  เนื่องจากการเรียนการสอน        ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่มีประสิทธิภาพ  มีการจัดการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดี   ใช้เทคโนโลยี  และอุปกรณ์  สื่อการเรียนการสอน ที่เหมาะสม  ใช้สถานการณ์ตัวอย่างที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้  ส่งเสริมให้ผู้เรียน  1) กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างครอบคลุม  2) ผู้เรียนวางแผนการจัดการเรียนรู้ตามลำดับความยากง่าย  3) ผู้เรียนสามารถบริหารเวลาได้เหมาะสม ทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ทันตามเวลาในชั่วโมงเรียน 4) มีแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้สำเร็จจากการกระตุ้น (Motivate) ของผู้สอน 5) สามารถสะท้อนคิดเกี่ยวกับความรู้สึก  และทัศนคติ                   และประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ภายหลังการเรียนได้

หน้าที่ของผู้สอนที่มีประสิทธิภาพ

1) ผู้สอนที่มีประสบการณ์มากกว่าต้องเป็น Staff  ให้กับทีมผู้สอนน้องๆ  ได้เรียนรู้สาระสำคัญ  รวมถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  พร้อมๆกับผู้เรียน

2) ผู้สอนที่มีประสบการณ์มากกว่าต้อง KM กับทีมผู้สอนน้องๆ  เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้สอนมีความรู้มากกว่าผู้เรียน

3) ผู้สอนต้องเป็น Model ที่ดี ถ้าไม่รู้ในบางเรื่อง  จะต้องไปศึกษาเพิ่มเติมพร้อมผู้เรียน  และอธิบายเพิ่มเติมในครั้งต่อไปที่เจอกัน

4) ผู้สอนต้องเชื่อมโยงความรู้ที่ผู้เรียนศึกษาได้อย่างครอบคลุม  และต้องรู้จักผู้เรียนรายบุคคล  รู้ถึง Style การเรียนที่แตกต่างกัน  เพื่อให้ผู้เรียนมีกำลังใจที่จะเรียนรู้

 

2. การนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

1) ด้านการเรียนการสอน  ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาอาจารย์ผู้สอน ให้มีความสามารถ  และมีทักษะในการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  และพัฒนากระบวนการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย  สามารถประเมินผลการพัฒนาการเรียนรู้ได้ครอบคลุมผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนด

2) ด้านชุมชน  ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของชาวบ้าน  โดยใช้วิธีการสอนและให้คำแนะนำที่ใช้  Community  base  learning  หรือ Population  base    learning

3)  ด้านวิชาชีพ   สร้างความเชี่ยวชาญให้อาจารย์ผู้สอนทั้งความเชี่ยวชาญหลัก  และความเชี่ยวชาญรอง  เพื่อสร้าง  Team  learning  ให้เหมาะสม

 

4)  ด้านการบริหาร 

กำหนด Road map  ในการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ผู้สอนให้มีความเชี่ยวชาญ

ครอบคลุมทุกด้าน  และพัฒนาผู้สอนครอบคลุม  Competency  ตามที่วิทยาลัยกำหนด

มีการวางแผนและกำหนดงบประมาณสนับสนุนในการพัฒนา Scenario   ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้  และวางแผนกำหนดกลุ่มวิชาที่รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  กำหนดรายวิชา  หัวข้อ  กลุ่มผู้เรียนที่ชัดเจน  ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนทำให้ผู้เรียนเกิดความเหนื่อยล้า  ไม่สนใจการเรียนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

มีการวางแผนและจัดเตรียมทรัพยากร  อุปกรณ์  สื่อ  (Scenario  , CAI)  ที่เหมาะสมและเพียงพอก่อนการดำเนินการจัดการเรียนการสอน

 

  (429)

Comments are closed.