Author Archives: admin

ประชุมใหญ่และนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติเรื่อง “สหวิทยาการ : หลากหลายทางวัฒนธรรมสู่ประชาคมอาเซียน

ประชุมใหญ่และนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติเรื่อง “สหวิทยาการ : หลากหลายทางวัฒนธรรมสู่ประชาคมอาเซียน

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :23   กรกฎาคม   2557

ผู้บันทึกนางสาวขจิต บุญประดิษฐ

 กลุ่มงาน :  การพยาบาลสูติศาสตร์

 ฝ่าย :  กิจกรรมนักศึกษา


ประเภทการปฏิบัติงาน
:

วันที่   17   – 18  กรกฎาคม    2557


หน่วยงาน/สถาบันที่จัด
: หน่วยงานสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุข ภาคใต้


สถานที่จัด
:   ณ โรงแรมธรรมรินทร์ธนา จังหวัดตรัง


เรื่อง
: ประชุมใหญ่และนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติเรื่อง “สหวิทยาการ : หลากหลายทางวัฒนธรรมสู่ประชาคมอาเซียน

 

รายละเอียด

ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา  ครั้งนี้

สาระที่ได้ในวันนี้เป็นในประเด็น การวิจัยแบบสหวิชาชีพบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ซึ่งเป็นรูปแบบในการเสวนาในมุมมองในแต่ละมุมมองทางการศึกษา สังคมศาสตร์ ทรัพยากรและพัฒนามนุษย์ เน้นในเรื่องของการพัฒนาเข้าสู่อาเซี่ยน อาชีพที่เป็นที่ต้องการ และวิวัฒนาการในแต่ละวัฒนธรรมแต่ละประเทศ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในห้า ประเทศ ผู้ก่อตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งมีทั้งหมด 10 ประเทศ ประเทศไทยในฐานะเป็นผู้นำในการก่อตั้งอาเซียน เตรียมความพร้อมโดยมุ่งเน้นเรื่องการศึกษาซึ่งเป็นรากฐานการพัฒนา ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนการศึกษา การเรียนรู้ด้านศาสนา และความหลากหลายทางวัฒนธรรม สร้างความเข้าใจความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ การติดต่อสื่อสารระหว่างเพื่อนบ้าน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาจุดแข็งและเสริมสร้างโอกาสให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

การพัฒนาจุดแข็งและเสริมสร้างโอกาสที่สำคัญคือการพัฒนาด้านการวิจัย นวัตกรรมหรืองานสร้างสรรค์ เพราะผลงานวิชาการเหล่านี้สามารถนำไปสู่การกำหนดนโยบาย วางแผนงาน ปรับปรุงหรือพัฒนางาน พร้อมทั้งพัฒนาเครื่องมือและเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นบุคคลให้มีเหตุผล รู้จักคิด และค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ สามารถนำข้อมูลมาติดตามประเมินผลและพัฒนาหน่วยงานและองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้การปฏิบัติงานต่างๆเป็นไปอย่างถูกต้องและมีเหตุผลบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม

 

ความรู้ที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานของตนเอง

ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน

ส่งเสริมหรือพัฒนาตนเองให้มีงานวิจัยที่มีคุณภาพและทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเองและหน่วยงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ด้านการนำผลการพัฒนาไปใช้ประโยชน์

การวิจัยและ/ผลงานทางวิชาการ

  (341)

The 15 th Annual Pediatric Meeting of National Child Health

The 15 th Annual Pediatric Meeting of National Child Health

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :   2 กรกฎาคม 2557

ผู้บันทึกนางสาวนภาวรรณ วิริยะศิริกุล

 กลุ่มงาน :  กลุ่มงานการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และบริหารการพยาบาล

 ฝ่าย :  วิชาการ

ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม

วันที่   25  -   27   มิถุนายน   2557


สถานที่จัด
:   ณ โรงแรมแลนมาร์ค กรุงเทพมหานคร


เรื่อง
: The 15 th Annual Pediatric Meeting of National Child  Health

รายละเอียด

ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา  ครั้งนี้

          การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมวิชาการนานาชาติ ประกอบด้วยทีมสุขภาพจากประเทศญี่ปุ่น มาเลเซีย เวียดนาม ซึ่งทางสถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชินี เน้นการดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข เป้าหมายสำคัญภายในของประเทศ ๕ ปี มีดังนี้ คือ การลดอัตราการเสียชีวิตทารกแรกเกิดถึง     ๑ เดือน การลดอัตราตาบอดในเด็กไทย ห้องคลอดคุณภาพ ANC คุณภาพ ศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ ภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิด เด็กมีพัฒนาการสมวัย เป็นต้น

          Bronchail hygiene therapy สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก cystic fibrosis, Primary ciliary dyskinesis, infections, bronchiectasis, COPD, smoking, lung transplantation

          Bronchail hygiene therapy หมายถึง Non-invasive airway clearance technique designed to help mobilize and remove airway secretions and improve gas exchange มีหลายวิธีดังนี้

 ๑) traditional: postural drainage, percussion, vibration ๒) handheld devices: PEP, flutter

  ๓) machine: Cough assist, chest vest ๔) cough or breathing training: direct cough, huff cough, autogenic drainage, active cycle breathing technique

สำหรับ Key factors in selecting a Bronchail hygiene strategy ประกอบด้วย patient’s motivation, patient’s goals, physician/caregiver goals, effectiveness of technique, patient’s age, patient’s ability to concentrate, ease of learning and teaching เป็นต้น

          นอกจากนี้ได้เน้นเรื่องการกระทำรุนแรงกับเด็กที่มีเพิ่มขึ้น Child abuse เป็นอีกงานที่ท้าทายมาก ในการดูแลเด็กเหล่านี้ ทีมสุขภาพเด็ก โดยเฉพาะพยาบาลมีความสำคัญมาก เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดเด็กที่รับไว้ในโรงพยาบาลตลอด ๒๔ ชั่วโมง จึงต้องรู้แนวคิดความเชื่อเกี่ยวกับคน มีดังนี้ ๑) มาจากพลังชีวิตที่สากลเป็นหนึ่งเดียวกัน ๒) กระบวนการการเป็นคนนั้นเป็นสากล ๓)โดยพื้นฐานแล้วทุกคนเป็นคนดี ๔) ผู้คนเชื่อมโยงกันด้วยความเหมือน ๕) ผู้คนพัฒนาเติบโตด้วยความแตกต่าง ๖) ความสัมพันธ์ที่ดีอยู่บนรากฐานของคุณค่าที่เท่าเทียมกัน ๗) ทุกคนเป็นเจ้าของอารมณ์ความรู้สึกตัวเอง ๘) พ่อแม่มักทำซ้ำโดยใช้สิ่งที่ตัวเองเรียนรู้มา และ ๙) คนส่วนใหญ่ทำดีที่สุดเท่าที่ทำได้ ณ เวลานั้นๆ  ส่วนแนวคิดเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว ประกอบด้วย ๑) ทั้ง ๒ ฝ่ายไม่สามารถเข้าถึงพลังชีวิตด้านบวกของตนเอง ๒) ผู้บำบัดต้องมีความสอดคล้องกลมกลืน ๓) ผู้บำบัดต้องทำให้ทั้ง ๒ ฝ่ายรู้สึกปลอดภัย ๔) ผู้บำบัดให้ความใส่ใจและยอมรับเขา ๕) ไม่ตัดสินเขา และ ๖) แยกความเป็นคนออกจากพฤติกรรม

          ประวัติที่ได้จากผู้ดูแลเด็กในกรณีของ Child abuse คือ low-height fall และ No history of injury แต่สิ่งที่ต้องระลึกคือ shaken baby syndrome ซึ่งทำให้เกิดการฉีกขาดของเส้นเลือดดำที่ผิวสมอง และเกิดการกระชากออกจากกันของเนื้อสมอง ทำให้สมองซ้ำ เด็กมาด้วยอาการความดันในกะโหลกศีรษะสูง, อาเจียน และชัก สิ่งที่ตรวจพบคือ subdural hematoma, posterior interhemisspheric SDH, big black brain และ change in 24-48 hrs

ความรู้ที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานของตนเอง

ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน

เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลเด็ก รวมทั้งมีเครือข่ายในการทำงานด้านการดูแลผู้ป่วยเด็กร่วมกับพยาบาลโรงพยาบาลอื่นๆ ต่อไป

ด้านการนำผลการพัฒนาไปใช้ประโยชน์

การเรียนการสอนรายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑ , ๒ และ ๓

การสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันการเจ็บป่วย

ด้านสมรรถนะ

              ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคในทารก เด็ก และการพยาบาล เพื่อเป็นแนวทางในการสอนให้กับนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑ , ๒ และ ๓ ตลอดจนเป็นการทบทวนวิชาการ รวมทั้งได้รับความรู้เกี่ยวกับวิทยาการ

 

  (360)

“ประชุมเชิงปฏิบัติการ: การสรุปและอภิปรายผลงานด้านผู้สูงอายุและเขียนต้นฉบับ(Manuscript) ”

“ประชุมเชิงปฏิบัติการ: การสรุปและอภิปรายผลงานด้านผู้สูงอายุและเขียนต้นฉบับ(Manuscript) ”

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :  8    กรกฎาคม  2557

ผู้บันทึกนางสาวภาวดี  เหมทานนท์

 กลุ่มงาน :  ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

ประเภทการปฏิบัติงาน

วันที่   6 กรกฎาคม 2557

 

สถานที่จัด :   ณ ห้องประชุมปีบทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

เรื่อง : “ประชุมเชิงปฏิบัติการ: การสรุปและอภิปรายผลงานด้านผู้สูงอายุและเขียนต้นฉบับ(Manuscript)

รายละเอียด

          แนวทางการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุในประเทศเยอรมัน ประเด็นทางด้านกฎหมาย

(Professor Dr. Dr.h.c. Dieter C. Umbach, University of Ponsdam, Germany)

๑)   เน้นการอยู่ที่บ้านให้นานที่สุด และมีระบบการให้ความรู้แก่ผู้ดูแลที่บ้าน เพราะหากเข้ารับการดูแลในสถานที่ของรัฐจะเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่สูงมาก

๒)   มีการเพิ่มการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ ในหลักสูตรพยาบาล ๒ ปี บ้าง ๓ ปีบ้าง ซึ่งต่างกับประเทศไทยที่เน้นเฉพาะหลักสูตร ๔ ปี และเฉพาะทาง

๓)      มีสวัสดิการเป็นเงินให้ผู้สูงอายุ โดยสามารถเลือกรับบริการเองได้ (รัฐยังขาดการสนับสนุนด้านนี้เช่นเดียวกับประเทศไทย)

๔)   กฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุยังคงเป็นนามธรรม ซึ่งถ้าหากต้องการให้เป็นรูปธรรมสู่การปฏิบัติ นั้น เคยมีการฟ้องร้องเรียกร้องสิทธิกับสถาบันทางกฎหมาย (ไม่ใช่การลงโทษ แต่เป็นการฟ้องร้องให้เกิดการกระทำ) ซึ่งวิทยากรก็เสนอแนะว่าประเทศไทยน่าจะฟ้องร้องศาลปกครองได้

 

 

 

ผลสรุปการทำร่วม ในประเด็น เจตคติต่อผู้สูงอายุ และผู้ป่วยหลอดเลือดสมองของนักศึกษาพยาบาล

๑)      มี ๒ ชุดโครงการ

๒)   แต่ละวิทยาลัยที่เข้าร่วม โดยแต่ละชื่อเรื่องจะมีการทำวิจัยร่วมกัน หลายวิทยาลัย กำหนดให้มีผู้ร่วมวิจัย ๖ คนต่อเรื่อง กรณีที่ทำร่วมกับต่างประเทศ มีจำนวนผู้ร่วมวิจัยมากกว่า ๖ คนได้ (แต่ละวิทยาลัยให้ส่งชื่อผู้ร่วมวิจัย ๖  ชื่อ  หากไม่ครบ จะขอใช้ชื่อซ้ำ)

๓)   วิทยาลัยที่รับผิดชอบหลักในชื่อเรื่องใด ให้เขียนโครงร่างวิจัยขอทุนสนับสนุนการทำวิจัยจากหน่วยงานต้นสังกัด และสมทบทุนการเก็บรวมรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ให้กับส่วนกลางคือ วพบ. นครราชสีมา ชื่อเรื่องละอย่างน้อย ๕,๐๐๐ บาท

๔)   ให้ผู้รับผิดชอบแต่ละชื่อเรื่องขอผลการวิจัยจากทีมการวิเคราะห์ข้อมูล และเขียนบทคัดย่อทั้งภาษาอังกฤษ และไทย ให้เสร็จโดยเร็วที่สุด และส่งไปที่ วพบ. นครราชสีมา และให้ระบุด้วยว่าจะเผยแพร่ แหล่งใด เพื่อทางทีมจะได้สนับสนุนช่วยเหลือ หากต้องการนำเสนอที่ญี่ปุ่น บทคัดย่อกำหนดส่งภายใน ๑๕ ก.ค. ๕๗

๕)   ในเบื้องต้นนี้ ให้วิทยาลัยที่เข้าร่วมประชุม วิทยาลัยละ ๑ เรื่อง และทาง วพบ. นครราชสีมาจะแจ้งให้วิทยาลัยที่มีนักศึกษาทำแบบสอบถามเยอะ ว่ามีความสนใจหรือไม่ หากไม่มีวิทยาลัยใดสนใจเพิ่มก็จะให้วิทยาลัยที่เข้าประชุมเพิ่มเป็น ๒ เรื่อง คือ ผู้สูงอายุ ๑ เรื่อง หลอดเลือดสมอง ๑ เรื่อง

ชุดโครงการที่ ๑ เจคติของนักศึกษาพยาบาลต่อผู้สูงอายุ มีชื่อเรื่อง และผู้รับผิดชอบดังนี้

๑)      หาความเชื่อมั่นของแบบวัด (วพบ. นครราชสีมา)

๒)      เจตคติของนักศึกษาพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกต่อผู้สูงอายุ (วพบ. สระบุรี)

๓)      ปัจจัยที่มีผลต่อเจตคติของนักศึกษาพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกต่อผู้สูงอายุ (วพบ. อุดรธานี)

๔)  อิทธิพลของการสื่อสารต่อเจตคติของนักศึกษาพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกต่อผู้สูงอายุ (วพบ. นครศรีธรรมราช)

๕)      การเปิดรับสื่อกับเจตคติของนักศึกษาพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกต่อผู้สูงอายุ (วพบ. สุราษฏร์ธานี)

๖)      เจตคติของนักศึกษาพยาบาลไทย/ อินโดนีเซีย/ พม่า ต่อผู้สูงอายุ (วพบ. จักรีรัช)

๗)      เปรียบเทียบการเปิดรับสื่อของนักศึกษาพยาบาลไทย/ อินโดนีเซีย/ พม่า (อ.จันทิมา)

๘)      เปรียบเทียบเจตคติต่อผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาลกับสาธารณสุข (วพบ. ชลบุรี)

๙)      ปัจจัยที่มีผลต่อเจตคติของนักศึกษาพยาบาลไทย/ อินโดนีเซีย/ พม่า (วพบ. ขอนแก่น)

๑๐) เปรียบเทียบเจตคติของนักศึกษาพยาบาลไทย/ อินโดนีเซีย/ พม่า ต่อผู้สูงอายุ (วพบ. นครราชสีมา)

ชุดโครงการที่ ๒ โรคหลอดเลือดสมอง (รอผู้รับผิดชอบ)

๑)      ความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง

๒)      ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง

๓)      อิทธิพลของการเปิดรับสื่อต่อความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง

๔)   เปรียบเทียบความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองของนักศึกษาพยาบาลไทย/ พม่า/ อินโดนีเซีย (Total score)

๕)      เปรียบเทียบความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองของนักศึกษาพยาบาล/ สาธารณสุข

๖)   ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองของนักศึกษาพยาบาลไทย/ พม่า/ อินโดนีเซีย

๗)   เปรียบเทียบความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองของนักศึกษาพยาบาลไทย/ พม่า/ อินโดนีเซีย (รายข้อ)

๘)   ความสัมพันธ์ของแหล่งข้อมูลข่าวสารกับความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองของนักศึกษาพยาบาลไทย

๙)   ความสัมพันธ์ของแหล่งข้อมูลข่าวสารกับความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองของนักศึกษาพยาบาลไทย/ พม่า/ อินโดนีเซีย

 

ความรู้ที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานของตนเอง

๒.๑ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน

การเรียนการสอน

การพัฒนานาบุคลากร และนักศึกษา

การวิจัย

๒.๒  ด้านการนำผลการพัฒนาไปใช้ประโยชน์

การเรียนการสอนในทุกรายวิชา

การบริการวิชาการ

การพัฒนาบุคลากร

การวิจัยและ/ผลงานทางวิชาการ

การพัฒนานักศึกษา

๓. ด้านสมรรถนะ

ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ  การทำผลงานวิจัย

 

 

  (338)

ประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนด้านบริหารงาน

ประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนด้านบริหารงาน

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :  7  กรกฎาคม  2557

ผู้บันทึกนางสาวขวัญหฤทัย บุญสำราญ

กลุ่มงาน :  บริหารทั่วไป

ฝ่าย : บริหารทั่วไป

ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม

วันที่   23 –  26   มิถุนายน   2557

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :

สถานที่จัด :   บุคคล  ณ โรงแรมเอ-วัน เดอะ รอยัล ครูส พัทยา  จังหวัดชลบุรี

เรื่อง : ประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนด้านบริหารงาน

รายละเอียด

1.1  ด้านเนื้อหาสาระ

ในการจัดอบรมในครั้งนี้  ทางผู้จัดมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ แก่ผู้ปฏิบัติงานสายสนับสนุนของวิทยาลัยในสังกัดให้มีความรู้

ความเข้าใจและปฏิบัติงานไปในแนวทางเดียวกัน

จากการไปประชุมอบรมครั้งนี้ข้าพเจ้าขอสรุปผลการประชุมดังนี้

ในวันที่ 23 มิถุนายน  2557  บรรยายโดยผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก  เรื่องการสร้างแรงจูงใจในการทำงานอย่างมีความสุข  โดยใช้หลัก  3 R   ดังนี้  R ตัวที่ 1 คือ โรโมเดล คือความตั้งใจ ขยัน เอาใจใส่ ธุระใช่  เช่น ถ้าเราเห็นไฟฟ้าหรือน้ำเปิดทิ้งไว้  เราต้องปิดไฟและน้ำทันที  R ตัวที่ 2 คือ รีอินฟอร์เม้น คือ เอื้อเฟื้อ สนับสนับ ดูแล ให้กำลังใจแก่ผู้ที่เราอยู่ร่วมด้วย  และ  R ตัวที่ 3 คือ รูแม๊คคูเรชั่น  ต้องอยู่ในกฎระเบียบ นอกเหนือจากกฎระเบียบก็คือ กฎของสังคม  เช่น เราต้องไม้ผิดศีล หรือที่เห็นกันได้บ่อย ๆ มีข่าวเป็นประจำก็คือ เรื่อง ชู้สาวตบกัน ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีเราไม่ควรเอามาประพฤติปฏิบัติ

ธรรมะประจำใจของคนดี

- ทำดีด้วยตนเอง

- แนะนำคนอื่นให้ทำดี

- ยินดี พอใจในการทำดี “ทำดี เพื่อ ดี”

คุณธรรมคือคุณประโยชน์  ธรรมะคือธรรมชาติ  นั้นเอง  การทำงานให้มีความสุขนั้น  สภาพร่างกายต้องพร้อมที่จะทำงาน มีน้ำใจงาม คิดดี ทำดี ทันข่าวสาร  อยู่อย่างพอเพียง ครอบครัวก็มีความสุข ฉะนั้น  คนดี เก่ง และมีความสุขก็คือ  เก่งงาน  เก่งคน  เก่งชีวิต

รับงานของรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร

ผอก.สถาบันพระบรมราชชนก ก็ได้คุยเรื่องที่ให้รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของทุกวิทยาลัยให้ดำเนินการในเรื่อง  ให้มีห้องโฮมเทียเตอร์หรือห้องคาราโอเกะ  ไว้สำหรับให้บุคลากรได้รีแร๊ก  และให้จัดทำห้องออกกำลังกาย  ห้องดูหนังฟังเพลง  ให้งบวิทยาลัยฯ ละ  1-2 ล้านบาท  และให้ดำเนินการ  ต่อด้วย

 

รับงานของหัวหน้าบริหารทั่วไป

ให้หัวหน้างานบริหารและงานบริหารงานบุคคล  ดำเนินการให้บุคลากรสายสนับสนุนเขียน

ภาระงานที่รับผิดชอบ เป็นงานประจำ  ใน  1  สัปดาห์  5  วัน ๆ ละ 7  ชั่วโมง  ว่าในแต่ละวันปฏิบัติงานอะไรบ้าง  ใช้เวลาแต่ละงานจำนวนกี่นาที กี่ชั่วโมง  และให้ทำการวิเคราะห์งานของบุคลากรสายสนับสนุน  ทุกคน  ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการให้บุคลากรสายสนับสนุนเขียนภาระงาน  ส่งกลับมายังงานบริหารบุคคล  ภายในวันที่  10  กรกฏาคม  2557  เพื่อวิเคราะห์ภาระงานต่อไป

 

งานพัฒนาบุคลากร

ดร.ผกาวรรณ  จันทร์เพิ่ม  ได้ชี้แจงเรื่องการทำเรื่องไปประชุม  อบรม  ขณะนี้ระบบได้ปรับปรุงและเพิ่มแบบบันทึกการมอบหมายงานให้เรียบร้อยแล้ว  แต่ละวิทยาลัยสามารถเรียกรายงานได้เป็นปกติแล้ว  เอกสารที่พริ้นจะมี 2 แผ่น  แผ่นแรกจะเป็นบันทึกข้อความขออนุมัติไปราชการ/ประชุม/อบรม  แผ่นที่ 2 จะเป็นแบบบันทึกการมอบหมายงาน  และข้าพเจ้าได้ชี้แจงให้  อ.เกษรา  วนโชติตระกูลและ  นางสาวจุฑารัตน์  พลายด้วง  รับทราบแล้ว

 

งานบริหารบุคคล

1. การขอใช้ตำแหน่งว่าง การคัดเลือก บรรจุ แต่งตั้ง รับโอน รับย้ายบุคคลลงตำแหน่งว่าง  ขณะนี้ของวิทยาลัยฯ มี 4 ตำแหน่งที่ยังไม่ได้ใช้คือ  ตำแหน่งเลขที่ 2668  นักจัดการงานทั่วไป  ขออนุมัติใช้ตำแหน่งว่างไปแล้ว   ตำแหน่งเลขที่ 46002 ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ  ปฏิบัติการ/ชำนาญการ  ขอใช้ตำแหน่งว่าง เพื่อรับย้าย นางสาวอรวรรณ  ฤทธิ์มนตรี  ส่วนเลขที่ 2378 และ 2673  สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขอนุมัติให้ใช้แล้ว อยู่ระหว่างคัดเลือก ว.34 โดยจะประกาศรับสมัครตั้งแต่วันที่ 11 – 25 กรกฎาคม 2557)  ตามที่วิทยาลัยแจ้งตอนขอใช้ตำแหน่งว่าง และ สบช. แจ้งว่า สป. อนุมัติให้ใช้แล้ว รอรับเรื่องแล้วให้ดำเนินการต่อไป

2. ฐานข้อมูลบุคลากร  ซึ่งได้แก่  จัดการรับราชการ  ข้อมูล ก.พ. 7  การลาต่าง ๆ  บันทึกข้อมูลการขอใช้ตำแหน่งว่าง  ส่วนในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล งานบริหารบุคคล  ได้ดำเนินการประกาศทางระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ให้อาจารย์และข้าราชการเข้าไปตรวจสอบในหัวข้อการจัดการข้อมูลส่วนตัวเพราะยังมีบางส่วนที่งานบริหารบุคคลไม่สามารถกรอกให้ได้ และให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายในวันที่ 18 ก.ค. 57    และจะเริ่มใช้ปฏิบัติจริงในวันที่ 1 ตุลาคม 2557  เป็นต้นไป

 

3. ระบบบุคลากรการเลื่อนเงินเดือน

จัดการการประเมินผลตามตัวชี้วัด จะต้องดำเนินการดังนี้

1. กำหนดหัวข้อการประเมิน

2. กำหนดผู้รับการประเมินและผู้ประเมิน

3. จัดการชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของผู้ประเมิน  (ใช้รหัสตัวเดิมของฐานข้อมูลบุคลากร)

4.  ตรวจสอบผู้รับการประเมิน

ซึ่งใช้ 2 องค์ประกอบด้วยกันคือ   องค์ประกอบที่ 1 : ผลสัมฤทธิ์ของงาน   70%   องค์ประกอบที่ 2 : พฤติกรรมการปฏิบัติราชการ (สมรรถนะ) 30%  ค่าถ่วงน้ำหนักแต่ละข้อ  20%  ผู้อำนวยการกลุ่มอำนวยการ  นางสุพรรณ  กาญจนเจตนี  ขอชี้แจงทำความเข้าใจกับวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก  ว่า  สมรรถนะ  ขอให้ใช้ 5 ตัว ที่ ก.พ. กำหนดและบังคับใช้ตามระเบียบ ก.พ. รับรอง   และตามนโยบายของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข   หากวิทยาลัยใด ๆ ทำเกิน 5 ข้อ ขอให้ทำหนังสือขออนุมัติใช้จากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขก่อน

ขอย้ำให้ใช้ 5 ตัวที่ ก.พ. กำหนด  และในการประเมิน ณ วันที่ 1 ต.ค. 57  นี้  ขอให้ประเมินในระบบบุคลากรการเลื่อนเงินเดือน ในหัวข้อ จัดการการประเมินผลตามตัวชี้วัด

 

ในการคำนวณเวลาราชการหรืออายุราชการ บำเหน็จ บำนาญปกติ  

งานบริหารบุคคล ได้ประกาศแจ้งให้อาจารย์  ข้าราชการ และลูกจ้างประจำ  ที่ประสงค์จะ

คำนวณเวลาราชการหรืออายุราชการบำเหน็จบำนาญปกติ  สามารถดาวโหลดแบบคิดคำนวณสูตร

ได้ที่หน้าเว็บไซด์วิทยาลัย  หัวข้อข่าวประชาสัมพันธ์ทั่วไป  ตั้งแต่วันที่ 4 ก.ค. 57  ตามแบบฟอร์มดังนี้

1. ตรวจสอบสิทธิการรับบำเหน็จบำนาญปกติสำหรับข้าราชการที่ไม่เป็นสมาชิก กบข. หรือ

เป็นสมาชิก กบข.

2. คำนวณเวลาราชการหรืออายุราชการเปรียบเทียบกรณีข้าราชการที่ไม่เป็นสมาชิก กบข.

หรือเป็นสมาชิก กบข.

3. การคำนวณเงินเดือน 60 เดือนเฉลี่ยสุดท้ายสำหรับข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข.

4. คำนวณเวลาราชการหรืออายุราชการ บำเหน็จบำนาญปกติ สำหรับข้าราชการที่ไม่เป็น

สมาชิก กบข.

5. คำนวณเวลาราชการหรืออายุราชการ บำเหน็จบำนาญปกติ สำหรับข้าราชการที่เป็น

สมาชิก กบข.

6. คำนวณเวลาทำงาน (อายุราชการ) บำเหน็จปกติ และบำเหน็จรายเดือน สำหรับ

ลูกจ้างประจำ

 

ข้อเสนอแนะและแนวทางเพิ่มเติมจากการไปประชุม

กรณีวันลาของลูกจ้างเหมาบริการของวิทยาลัย  วิทยาลัยสามารถอนุโลมให้ได้ในกรณี     ไม่หักค่าจ้าง  แต่ต้องกำหนดว่าจะให้ลากี่วันในสัญญาจ้าง  ถ้าเกินจากที่กำหนดให้หักค่าจ้างได้  ของ สบช. จะให้  16  วัน  ใน 1 ปี  ส่วนของวิทยาลัยแล้วแต่ผู้บริหารจะให้กี่วัน

ผู้อำนวยการกลุ่มอำนวยการ  อ.สุพรรณ  แจ้งว่า  วิทยาลัยที่จ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุขที่จ้างไม่ถึงขั้นต่ำตอนนี้  สบช. กำลังดำเนินการปรับค่าจ้างให้ โดยไม่ต้องกำหนด 10% ของค่าจ้างทั้งหมด

กรณีอาจารย์ที่เงินเดือนเต็มขั้น  (ซี 7)  สบช. กำลังดำเนินการขออนุมัติให้เป็นชำนาญการพิเศษ  ซึ่งรอเข้าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่อยู่  ส่วนของสถานบริการได้รับอนุมัติแล้ว

ความรู้ที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานของตนเอง

2.1 ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน  

สามารถนำความรู้ที่ไปอบรมมาใช้ในการปฏิบัติงานและเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ แก่

ผู้ปฏิบัติงานสายสนับสนุนของวิทยาลัยในสังกัดให้มีความรู้ ความเข้าใจ ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในการปฏิบัติที่เป็นแนวทางเดียวกันเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่เกิดจากข้อผิดพลาดหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้

2.2  ด้านการนำผลการพัฒนาไปใช้ประโยชน์

การพัฒนาบุคลากร

การบริหารงาน

อื่นๆโปรดระบุ  เพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอันก่อให้เกิดประโยชน์แก่บุคลากรและแก่หน่วยงานสูงสุด

3. ด้านสมรรถนะ

มีทักษะด้านการจัดการข้อมูล  ดำเนินการคีย์ข้อมูลในระบบฐานข้อมูลบุคลากรให้เป็นปัจจุบันและถูกต้องสมบูรณ์   มีความรู้ ความสามารถในระบบ IT   และสั่งสมความรู้ในอาชีพ

4. ด้านอื่น ๆ  ได้มีเครือข่ายเพื่อนร่วมงานเพิ่มขึ้น (331)

โครงการบริหารยุทธศาสตร์แบบครบวงจรทั้งองค์กรและการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโครงการและแผนปฏิบัติการ

โครงการบริหารยุทธศาสตร์แบบครบวงจรทั้งองค์กรและการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโครงการและแผนปฏิบัติการ

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

สรุปความรู้จากการประชุม โครงการบริหารยุทธศาสตร์แบบครบวงจรทั้งองค์กรและการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโครงการและแผนปฏิบัติการ

ณ โรงแรมริชมอนด์ วันที่ 2-4 กรกฎาคม 2557

ปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ

ปัจจัยภายใน

  1. การปฏิรูปกระทรวงสาธารสุข
  2. ปฏิรูปการเงินการคลัง
  3. ปฏิรูประบบข้อมูลสุขภาพ
  4. การเตรียมความพร้อมไปสู่ AC

ปัจจัยภายนอก

  1. ประเทศไทยมีคนป่วยมากขึ้น
  2. ระบบการศึกษษเปลี่ยนไปจาก Experience based สู่ Evidence based
  3. เทคฌนโลยีการแพทย์ที่ราคาแพง
  4. การเกิดโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ
  5. อุบัติภัยทางธรรมชาติ
  6. Aging society
  7. การฟ้องร้องที่สูงขึ้น

สมรรถนะที่พึงประสงค์ของบุคลากรสาธาณสุข

  1. จิตสาธารณะ
  2. การทำงานเป็นทีม
  3. รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชน
  4. ทักษะการเป็นที่ปรึกษาให้ประชาชนดูแลตนเอง
  5. เข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม
  6. การเรียนรู้ต่อตลอดชีวิต

ปัญหาที่สำคัญในระบบบริการสุขภาพของประชาชน คือ ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ

  1. ขนาดพื้นที่บริการที่เหมาะสม
  2. การส่งต่อไร้รอยต่อ
  3. การเพิ่มคุณภาพ ประสิทธิภาพ
  4. การกระจายอำนาจ

การใช้บริการสุขภาพ

  1. เข้าถึงบริการมากขึ้นแต่ยังแตกต่างระหว่างภาค
  2. ยังมีความเลื่อมล้ำของสิทธิประโยชน์ของ 3 กองทุน
  3. มีการส่งต่อการปฏิเสธการส่งต่อสูง

การอภิบาลระหว่างการเงินการคลังสุขภาพ

  1. ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงขึ้น 3.9%/GDP
  2. มีโรงพยาบาลขาดทุนระดับ 7 รุนแรงสูงสุดจำนวน 175 แห่ง

เป้าประสงค์

ระบบสุขภาพที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ สมานฉันท์ บนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพอื่ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข

มาตรการระยะเร่งด่วน

  1. ร่วมสร้างมาตระการสมานฉันท์
  2. พัฒนาระบบบริการให้ดีขึ้น
  3. สร้างขวัญกำลังใจ
  4. สร้างระบบธรรมาภิบาลและกลไกเฝ้าระวังตรวจสอบ ถ่วงดุล
  5. มาตรการบำบัดรักษา
  6. ยาเสพติด

การทดลองใช้โปรแกรมระบบจัดการแผนยุทธศาสตร์และการจัดการโครงการ ซึ่ง ม. บูรพาจะนำไปปรับปรุงอีกครั้งหลังจากทดลองใช้และผ่านการเสนอแนะจากวิทยาลัยต่างๆ

  (289)