“ประชุมเชิงปฏิบัติการ: การสรุปและอภิปรายผลงานด้านผู้สูงอายุและเขียนต้นฉบับ(Manuscript) ”

“ประชุมเชิงปฏิบัติการ: การสรุปและอภิปรายผลงานด้านผู้สูงอายุและเขียนต้นฉบับ(Manuscript) ”

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :  8    กรกฎาคม  2557

ผู้บันทึกนางสาวภาวดี  เหมทานนท์

 กลุ่มงาน :  ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

ประเภทการปฏิบัติงาน

วันที่   6 กรกฎาคม 2557

 

สถานที่จัด :   ณ ห้องประชุมปีบทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

เรื่อง : “ประชุมเชิงปฏิบัติการ: การสรุปและอภิปรายผลงานด้านผู้สูงอายุและเขียนต้นฉบับ(Manuscript)

รายละเอียด

          แนวทางการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุในประเทศเยอรมัน ประเด็นทางด้านกฎหมาย

(Professor Dr. Dr.h.c. Dieter C. Umbach, University of Ponsdam, Germany)

๑)   เน้นการอยู่ที่บ้านให้นานที่สุด และมีระบบการให้ความรู้แก่ผู้ดูแลที่บ้าน เพราะหากเข้ารับการดูแลในสถานที่ของรัฐจะเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่สูงมาก

๒)   มีการเพิ่มการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ ในหลักสูตรพยาบาล ๒ ปี บ้าง ๓ ปีบ้าง ซึ่งต่างกับประเทศไทยที่เน้นเฉพาะหลักสูตร ๔ ปี และเฉพาะทาง

๓)      มีสวัสดิการเป็นเงินให้ผู้สูงอายุ โดยสามารถเลือกรับบริการเองได้ (รัฐยังขาดการสนับสนุนด้านนี้เช่นเดียวกับประเทศไทย)

๔)   กฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุยังคงเป็นนามธรรม ซึ่งถ้าหากต้องการให้เป็นรูปธรรมสู่การปฏิบัติ นั้น เคยมีการฟ้องร้องเรียกร้องสิทธิกับสถาบันทางกฎหมาย (ไม่ใช่การลงโทษ แต่เป็นการฟ้องร้องให้เกิดการกระทำ) ซึ่งวิทยากรก็เสนอแนะว่าประเทศไทยน่าจะฟ้องร้องศาลปกครองได้

 

 

 

ผลสรุปการทำร่วม ในประเด็น เจตคติต่อผู้สูงอายุ และผู้ป่วยหลอดเลือดสมองของนักศึกษาพยาบาล

๑)      มี ๒ ชุดโครงการ

๒)   แต่ละวิทยาลัยที่เข้าร่วม โดยแต่ละชื่อเรื่องจะมีการทำวิจัยร่วมกัน หลายวิทยาลัย กำหนดให้มีผู้ร่วมวิจัย ๖ คนต่อเรื่อง กรณีที่ทำร่วมกับต่างประเทศ มีจำนวนผู้ร่วมวิจัยมากกว่า ๖ คนได้ (แต่ละวิทยาลัยให้ส่งชื่อผู้ร่วมวิจัย ๖  ชื่อ  หากไม่ครบ จะขอใช้ชื่อซ้ำ)

๓)   วิทยาลัยที่รับผิดชอบหลักในชื่อเรื่องใด ให้เขียนโครงร่างวิจัยขอทุนสนับสนุนการทำวิจัยจากหน่วยงานต้นสังกัด และสมทบทุนการเก็บรวมรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ให้กับส่วนกลางคือ วพบ. นครราชสีมา ชื่อเรื่องละอย่างน้อย ๕,๐๐๐ บาท

๔)   ให้ผู้รับผิดชอบแต่ละชื่อเรื่องขอผลการวิจัยจากทีมการวิเคราะห์ข้อมูล และเขียนบทคัดย่อทั้งภาษาอังกฤษ และไทย ให้เสร็จโดยเร็วที่สุด และส่งไปที่ วพบ. นครราชสีมา และให้ระบุด้วยว่าจะเผยแพร่ แหล่งใด เพื่อทางทีมจะได้สนับสนุนช่วยเหลือ หากต้องการนำเสนอที่ญี่ปุ่น บทคัดย่อกำหนดส่งภายใน ๑๕ ก.ค. ๕๗

๕)   ในเบื้องต้นนี้ ให้วิทยาลัยที่เข้าร่วมประชุม วิทยาลัยละ ๑ เรื่อง และทาง วพบ. นครราชสีมาจะแจ้งให้วิทยาลัยที่มีนักศึกษาทำแบบสอบถามเยอะ ว่ามีความสนใจหรือไม่ หากไม่มีวิทยาลัยใดสนใจเพิ่มก็จะให้วิทยาลัยที่เข้าประชุมเพิ่มเป็น ๒ เรื่อง คือ ผู้สูงอายุ ๑ เรื่อง หลอดเลือดสมอง ๑ เรื่อง

ชุดโครงการที่ ๑ เจคติของนักศึกษาพยาบาลต่อผู้สูงอายุ มีชื่อเรื่อง และผู้รับผิดชอบดังนี้

๑)      หาความเชื่อมั่นของแบบวัด (วพบ. นครราชสีมา)

๒)      เจตคติของนักศึกษาพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกต่อผู้สูงอายุ (วพบ. สระบุรี)

๓)      ปัจจัยที่มีผลต่อเจตคติของนักศึกษาพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกต่อผู้สูงอายุ (วพบ. อุดรธานี)

๔)  อิทธิพลของการสื่อสารต่อเจตคติของนักศึกษาพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกต่อผู้สูงอายุ (วพบ. นครศรีธรรมราช)

๕)      การเปิดรับสื่อกับเจตคติของนักศึกษาพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกต่อผู้สูงอายุ (วพบ. สุราษฏร์ธานี)

๖)      เจตคติของนักศึกษาพยาบาลไทย/ อินโดนีเซีย/ พม่า ต่อผู้สูงอายุ (วพบ. จักรีรัช)

๗)      เปรียบเทียบการเปิดรับสื่อของนักศึกษาพยาบาลไทย/ อินโดนีเซีย/ พม่า (อ.จันทิมา)

๘)      เปรียบเทียบเจตคติต่อผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาลกับสาธารณสุข (วพบ. ชลบุรี)

๙)      ปัจจัยที่มีผลต่อเจตคติของนักศึกษาพยาบาลไทย/ อินโดนีเซีย/ พม่า (วพบ. ขอนแก่น)

๑๐) เปรียบเทียบเจตคติของนักศึกษาพยาบาลไทย/ อินโดนีเซีย/ พม่า ต่อผู้สูงอายุ (วพบ. นครราชสีมา)

ชุดโครงการที่ ๒ โรคหลอดเลือดสมอง (รอผู้รับผิดชอบ)

๑)      ความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง

๒)      ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง

๓)      อิทธิพลของการเปิดรับสื่อต่อความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง

๔)   เปรียบเทียบความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองของนักศึกษาพยาบาลไทย/ พม่า/ อินโดนีเซีย (Total score)

๕)      เปรียบเทียบความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองของนักศึกษาพยาบาล/ สาธารณสุข

๖)   ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองของนักศึกษาพยาบาลไทย/ พม่า/ อินโดนีเซีย

๗)   เปรียบเทียบความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองของนักศึกษาพยาบาลไทย/ พม่า/ อินโดนีเซีย (รายข้อ)

๘)   ความสัมพันธ์ของแหล่งข้อมูลข่าวสารกับความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองของนักศึกษาพยาบาลไทย

๙)   ความสัมพันธ์ของแหล่งข้อมูลข่าวสารกับความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองของนักศึกษาพยาบาลไทย/ พม่า/ อินโดนีเซีย

 

ความรู้ที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานของตนเอง

๒.๑ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน

การเรียนการสอน

การพัฒนานาบุคลากร และนักศึกษา

การวิจัย

๒.๒  ด้านการนำผลการพัฒนาไปใช้ประโยชน์

การเรียนการสอนในทุกรายวิชา

การบริการวิชาการ

การพัฒนาบุคลากร

การวิจัยและ/ผลงานทางวิชาการ

การพัฒนานักศึกษา

๓. ด้านสมรรถนะ

ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ  การทำผลงานวิจัย

 

 

  (337)

Comments are closed.