แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้
วันที่บันทึก : 2 กรกฎาคม 2557
ผู้บันทึก : นางสาวนภาวรรณ วิริยะศิริกุล
กลุ่มงาน : กลุ่มงานการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และบริหารการพยาบาล
ฝ่าย : วิชาการ
ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม
วันที่ 25 - 27 มิถุนายน 2557
สถานที่จัด : ณ โรงแรมแลนมาร์ค กรุงเทพมหานคร
เรื่อง : The 15 th Annual Pediatric Meeting of National Child Health
รายละเอียด
ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา ครั้งนี้
การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมวิชาการนานาชาติ ประกอบด้วยทีมสุขภาพจากประเทศญี่ปุ่น มาเลเซีย เวียดนาม ซึ่งทางสถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชินี เน้นการดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข เป้าหมายสำคัญภายในของประเทศ ๕ ปี มีดังนี้ คือ การลดอัตราการเสียชีวิตทารกแรกเกิดถึง ๑ เดือน การลดอัตราตาบอดในเด็กไทย ห้องคลอดคุณภาพ ANC คุณภาพ ศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ ภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิด เด็กมีพัฒนาการสมวัย เป็นต้น
Bronchail hygiene therapy สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก cystic fibrosis, Primary ciliary dyskinesis, infections, bronchiectasis, COPD, smoking, lung transplantation
Bronchail hygiene therapy หมายถึง Non-invasive airway clearance technique designed to help mobilize and remove airway secretions and improve gas exchange มีหลายวิธีดังนี้
๑) traditional: postural drainage, percussion, vibration ๒) handheld devices: PEP, flutter
๓) machine: Cough assist, chest vest ๔) cough or breathing training: direct cough, huff cough, autogenic drainage, active cycle breathing technique
สำหรับ Key factors in selecting a Bronchail hygiene strategy ประกอบด้วย patient’s motivation, patient’s goals, physician/caregiver goals, effectiveness of technique, patient’s age, patient’s ability to concentrate, ease of learning and teaching เป็นต้น
นอกจากนี้ได้เน้นเรื่องการกระทำรุนแรงกับเด็กที่มีเพิ่มขึ้น Child abuse เป็นอีกงานที่ท้าทายมาก ในการดูแลเด็กเหล่านี้ ทีมสุขภาพเด็ก โดยเฉพาะพยาบาลมีความสำคัญมาก เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดเด็กที่รับไว้ในโรงพยาบาลตลอด ๒๔ ชั่วโมง จึงต้องรู้แนวคิดความเชื่อเกี่ยวกับคน มีดังนี้ ๑) มาจากพลังชีวิตที่สากลเป็นหนึ่งเดียวกัน ๒) กระบวนการการเป็นคนนั้นเป็นสากล ๓)โดยพื้นฐานแล้วทุกคนเป็นคนดี ๔) ผู้คนเชื่อมโยงกันด้วยความเหมือน ๕) ผู้คนพัฒนาเติบโตด้วยความแตกต่าง ๖) ความสัมพันธ์ที่ดีอยู่บนรากฐานของคุณค่าที่เท่าเทียมกัน ๗) ทุกคนเป็นเจ้าของอารมณ์ความรู้สึกตัวเอง ๘) พ่อแม่มักทำซ้ำโดยใช้สิ่งที่ตัวเองเรียนรู้มา และ ๙) คนส่วนใหญ่ทำดีที่สุดเท่าที่ทำได้ ณ เวลานั้นๆ ส่วนแนวคิดเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว ประกอบด้วย ๑) ทั้ง ๒ ฝ่ายไม่สามารถเข้าถึงพลังชีวิตด้านบวกของตนเอง ๒) ผู้บำบัดต้องมีความสอดคล้องกลมกลืน ๓) ผู้บำบัดต้องทำให้ทั้ง ๒ ฝ่ายรู้สึกปลอดภัย ๔) ผู้บำบัดให้ความใส่ใจและยอมรับเขา ๕) ไม่ตัดสินเขา และ ๖) แยกความเป็นคนออกจากพฤติกรรม
ประวัติที่ได้จากผู้ดูแลเด็กในกรณีของ Child abuse คือ low-height fall และ No history of injury แต่สิ่งที่ต้องระลึกคือ shaken baby syndrome ซึ่งทำให้เกิดการฉีกขาดของเส้นเลือดดำที่ผิวสมอง และเกิดการกระชากออกจากกันของเนื้อสมอง ทำให้สมองซ้ำ เด็กมาด้วยอาการความดันในกะโหลกศีรษะสูง, อาเจียน และชัก สิ่งที่ตรวจพบคือ subdural hematoma, posterior interhemisspheric SDH, big black brain และ change in 24-48 hrs
ความรู้ที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานของตนเอง
ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน
เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลเด็ก รวมทั้งมีเครือข่ายในการทำงานด้านการดูแลผู้ป่วยเด็กร่วมกับพยาบาลโรงพยาบาลอื่นๆ ต่อไป
ด้านการนำผลการพัฒนาไปใช้ประโยชน์
การเรียนการสอนรายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑ , ๒ และ ๓
การสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันการเจ็บป่วย
ด้านสมรรถนะ
ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคในทารก เด็ก และการพยาบาล เพื่อเป็นแนวทางในการสอนให้กับนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑ , ๒ และ ๓ ตลอดจนเป็นการทบทวนวิชาการ รวมทั้งได้รับความรู้เกี่ยวกับวิทยาการ
(359)