แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้
ผู้บันทึก : นางวันดี แก้วแสงอ่อน และ นางนิสากร จันทวี
กลุ่มงาน : ห้องสมุดและห้องปฏิบัติการ
ประเภทการปฏิบัติงาน: อบรมระยะสั้นต่างประเทศ
วันที่จัด: วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๗
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
สถานที่จัด : ณ NortumbriaUniversity สหราชอาณาจักร
เรื่อง :การพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอน : Clinical Simulation
รายละเอียด
๑. การจําลองสถานการณ์ (Simulation) มีหลายรูปแบบ ดังนี้
๑.๑ การเรียนจากบทเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก (Paper based scenario) :
เป็นการเรียนโดยการประยุกต์การเรียนโดยใช้บทเรียนที่มีปัญหาเป็นหลัก (ใน ๑ กลุ่มจะมีผู้สอนประมาณ ๒ คน ในการสอนกลุ่มนักศึกษา ๖ คน ของทีมมหาวิทยาลัย Nortumbria)ปัญหาที่พบ : ผู้เรียนไม่ได้สนใจปัญหาที่เกิดขึ้นจริง จะมุ่งแก้ปัญหาตามบทเรียนที่มีให้
๑.๒ การแสดงบทบาทสมมติ (Role play) : การสอนด้วยบทบาทสมมติเหมือนสถานการณ์จริง จะประกอบด้วยการที่กลุ่มนักศึกษาเขียนบทการแสดงและมอบหมายบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน เช่น
พยาบาล ผู้ป่วย และผู้เรียน ๒ ใน ๓ เป็นผู้สังเกตพฤติกรรม ผู้สอนต้องควบคุมห้องเรียนโดยให้ผู้เรียนทุกคนสนใจในบทบาทที่เพื่อนแสดง การสอนแบบนี้เหมาะกับการสอนเทคนิคการสื่อสาร หรือสอนผู้ป่วยก่อน กลับบ้าน
๑.๓ Single task trainer : เป็นการฝึกทีละวิธีการ
เป็นการสอนที่ผู้สอนจะต้องปูพื้นฐานให้ผู้เรียนมีความรู้ครบถ้วนในกิจกรรมเฉพาะและมีการสาธิตและสาธิตย้อนกลับโดยการฝึกทีละวิธีการหรือกิจกรรม เช่น การใส่สายสวนปัสสาวะ ผู้สอนจะสอนถึงอุปกรณ์ที่ใช้ การทํา ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น มีการสาธิตให้ดูและให้ผู้เรียนปฏิบัติเพียงทีละ ๑
๑.๔ Desk/Table top exercise : การประชุมหารือเชิงปฏิบัติการ
เป็นการที่ผู้เรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาสถานการณ์ที่สําคัญของหน่วยงานหรือประเทศที่มีการสูญเสียทางเศรษฐกิจจะส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิตเช่น การระบาดของไข้หวัดนก ภัยพิบัติ และการฝึกการเป็นผู้นํา
๑.๕ Manniequin based (หุ่นมนุษย์จําลอง) :
เป็นการสอนที่ผู้สอนให้ผู้เรียนได้ฝึกในสถานการณ์ต่างกับหุ่นจําลองที่ผู้สอนได้จําลองสถานการณ์คล้ายกับผู้ป่วยจริง เช่น การสอนในการดูแลผู้ป่วย Asthma attack ผู้เรียนได้ฟังเสียงการหายใจแบบ Wheezing จากปอด ได้ฝึกการให้ออกซิเจน และการให้ยาในผู้ป่วย
๑.๖ Manniequin total immession (หุ่นมนุษย์จําลองแบบครบในทางการแพทย์) :
เป็นการสอนที่ผู้สอนสามารถให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การแสดงอาการของผู้ป่วยในหลายระบบพร้อมๆกัน เช่น การสอนในการดูแลผู้ป่วย Shock หรือ Cardiac arrest
๑.๗ Environment : เป็นการสอนที่จัดสิ่งแวดล้อมให้เสมือนจริง เช่น
เป็นการสอนที่มีการจําลองคล้ายกันในหอผู้ป่วย ผู้ป่วยรวมหลายเชื้อชาติ หลายโรค ให้ผู้เรียนฝึกการดูแล
๑.๘ Virtual reality : ระบบเสมือนจริง เป็นการสอนที่ใช้ประโยชน์จาการสร้างสื่อผสม
ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองหรือเป็นกลุ่มได้ โดยนําเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ สามารถเคลื่อนย้าย
โต้ตอบในสิ่งแวดล้อม มีที่แสดงหรือดูในรายละเอียดได้เช่น การสอนในวิชา Anatomy ที่มหาวิทยาลัย
Northumbria จะมีการควบคุมระบบโดยใช้ SMOTS โดยใช้กล้องหลายๆตัวในแต่ละห้อง มีทั้งห้อง ICU เด็ก
๒. หลักสูตรการเรียนการสอน NortumbriaUniversity
ประยุกต์แนวคิดการฝึกทักษะ (Skills Acquisitions) จากหลักสูตรของประเทศสหรัฐอเมริกา
Does
ลงมือปฏิบัติ
Show How
เรียนรู้สถานการณ์เสมือนจริง
Know How
จาการกระทํา กรณีศึกษา สัมมนา
D Knows
Mixed modality ใช้วิธีแบบผสมผสานในแต่ละเรื่อง โดยเริ่มจากการบรรยาย เช่น เรื่อง Shock
โดยการสัมมนาเรื่อง Shock ก่อนการทดลองกับผู้ป่วยจนไปปฏิบัติจริง
๓. หลักสูตรการสอนที่เกี่ยวข้องกับ Simulation
นักศึกษาพยาบาล ปี ๑ จะเป็นการฝึกทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล
กรณีถ้าใช้อุปกรณ์เฉพาะพัฒนาทักษะทางการพยาบาล (Focus on skill development) โดยวิธีการสาธิต
(Demonstration) ผู้สอนต้องดูแลอย่างใกล้ชิด (Support complete) เช่น การสอนแบบบรรยาย การสาธิต นักศึกษาพยาบาล ปี ๒ ใช้การสอนแบบ Coached Simulated Scenario ผู้สอนจะเป็นแนะนําวิธีการ เป็นผู้คอยชี้แนะในกาศึกษาหุ่น เช่น สถานการณ์ผู้ป่วย เจ็บหน้าอก ช็อค หรือ การฟื้นคืนชีพ ผู้สอนจะเป็นพี้เลี้ยงหรือผู้ชี้แนวทาง (Guide/Mentor)นักศึกษาพยาบาล ปี ๓ ผู้เรียนต้องใช้ประสบการณ์ที่ได้เรียนมาทํางานเป็นทีม บริหารจัดการหอผู้ป่วยได้ เช่น ใช้ข้อมูลจากการซักประวัติ การตรวจร่างกาย มากอบกับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและผลตรวจพิเศษ ผู้สอนทําหน้าที่ Facilitator/Role player
๔. การสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง (Simulation delivery )
๒๐ นาที ๒๐ นาที ๓๐ นาที
Scenarioการปฏิบัติตามที่มีในสถานการณ์การสรุปบทเรียนใช้เวลา ๕ นาทีเรียนรู้ทําไม จําเป็นอย่างไรแนะนําเข้าสู่ Simulation Related to real ward experience เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งการเล่าหรือการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จริงที่พบในผู้ป่วย กับผู้เรียนมีความสําคัญมากการสอนสถานการณ์จําลองเสมือนจริงที่ NortumbriaUniversity จะเน้นไปใน ๓ กิจกรรม ได้แก่
โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็น ๔ กลุ่ม กลุ่มละ ๖ – ๗ คน (กรณีที่มี ๒๕ คน) ใช้เวลาประมาณ ๓ ชม. โดยมีการหมุนเวียนกันในกลุ่ม และแต่ละกลุ่มทํา Simulation ๒ สถานการณ์ และแบ่งผู้ Observe ๒
กลุ่มสลับกัน ผู้ Observe จะเป็นผู้ปฏิบัติในสถานการณ์นั้นด้วย เช่น Shock และ Asthma attackทฤษฎีที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน คือ ทฤษฎีการเรียนรู้ที่จะค่อยๆเสริมความรู้ใหม่ที่ละน้อย
เพื่อให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการทํา เสริมความรู้ และทําให้เกิดความมั่นใจ ขั้นตอน Debrief แบ่งออกเป็น ๓ ระยะ ดังนี้
ระยะที่ ๑ Descriptive Phase (การบรรยาย) : เป็นการถามถึงความรู้สึกของผู้เรียน
ระยะที่ ๒ Analysis Phase (การวิเคราะห์) : ครูสะท้องผู้เรียนในสิ่งที่ผู้เรียนทําได้ดี
ระยะที่ ๓ Application Phase (การนําไปประยุกต์ใช้) : จะนําไปใช้จริงอย่างไร ให้ทําจนผู้เรียนเกิดความมั่นใจที่จะสามารถนําไปปฏิบัติได้หลักการในการทํา Debrief โดยใช้หลัก ๖PA (Performance Agreement)
Immediate Phase ขั้นตอนการประเมินและระบุปัญหาที่พบ
Planning Phase การวางแผนว่า ใครควรทําอะไร ตามบทบาทหน้าที่อะไร
Assessment Phase การประเมินสภาพ และการระบุปัญหา
Action Phase การลงมือปฏิบัติ เช่น การให้เลือด ให้ยา ฯลฯ
Maintenance Phase ดูผลการประเมิน เช่น การให้สารน้ําทางหลอดเลือดดํา
Deterioration Phase วิเคราะห์ประเมินคุณภาพ การออกซิเจน ถ้าผลการประเมินดีให้คงสภาพดังกล่าวไว้หรืออาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมหากไม่ได้ผลเป็นไปตามที่กําหนดไว้ให้กลับไปประเมินขั้นต้นใหม่ในขั้น Debrief ผู้สอนจะสะท้อนหรือประเมินในวันที่ผู้เรียนทําได้ดีก่อน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจ เช่น มีการดูแลแบบเอื้ออาทร เข้าไปซักถามความรู้สึกของผู้ป่วย จับมือหรือสัมผัสตัวผู้ป่วยไว้ เป็นต้น แล้วถึงประเมินจุดที่บกพร่อง บอกเหตุผล และบอกแนวทางการแก้ไข
๕.Recognition Rescue (คุณค่าและความสําคัญของการช่วยเหลือให้รอดชีวิต)
Failure to rescue : ความล้มเหลวในการช่วยเหลือผู้ป่วยให้รอดชีวิตยังมีความสําคัญมาก ซึ่งการช่วยเหลือมีการดูแลอยู่ ๒ แบบ คือ
- Technical : มีเทคนิคหรืออุปกรณ์ช่วย เช่น การประเมินโดยใช้แบบวัด
- Non Technical : การไม่ใช้อุปกรณ์ หรือเทคนิคเฉพาะทางการแพทย์ เช่น การพูดคุยกับผู้ป่วย การทํางานเป็นทีม การตระหนักถึงความสําคัญ การรับรู้สิ่งที่อยู่รอบตัวที่ประเทศอังกฤษ มีหน่วยงานที่ดูแลเฉพาะ คือ NPSA (National Patient Save Agency) มีการประเมินโดยใช้แบบประเมิน Early Warning Score (EWS) เป็นการประเมินใช้ ๖ ตัวชี้วัด ดังนี้
Respiratory Rate การวัดอัตราการหายใจ
saturation เป็นตัวชี้วัดสําคัญเป็นตัวที่ประเมินปัญหาในระบบทางเดินหายใจ
Temperature อุณหภูมิกาย
Systolic Blood Pressure ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว
Heart Rate อัตราการเต้นของหัวใจ หรือชีพจร
Level of Conscious ประเมินตาม AVPU (Alert, Response to voice, Response to Pain, Unresponsive)NPSA มีเกณฑ์ในการแบ่งคะแนน ดังนี้
คะแนน ๓ ๒ ๑ ๐ ๑ ๒ ๓RR ๑๒-๒๐
แต่ในการประเมินก็ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของพยาบาลด้วย เช่น ถ้าเป็นนักกีฬาหรือผู้ป่วยที่มีปัยหาโรคปอดเรื้อรัง จะมี HR ที่ต่ํา เป็นต้นในผู้ป่วยเด็กมีแบบประเมินเฉพาะ คือ PEWS for Children เพราะเด็กจะเกิด Respiratory failure
Child Arrest
Loss fluid Fluid maldistribution Respiratory distress Respiratory
Circulatory failure Respiratory failure
Cardiac arrest
การใช้ PEWS chart จะใช้เฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า ๑๗ ปี โดยแบ่งช่วงอายุเป็น ๑ -๔ ปี, ๕ – ๗ ปี และ ๘ – ๑๖ ปี เพราะค่าที่ประเมินได้จะมีความแตกต่างกัน
๖.Simulation technology ประกอบด้วย
1. SMOT โดยการสังเกตผ่านวีดีโอ เพื่อดูพฤติกรรมของผู้เรียนว่าสามารถทําได้ดีหรือต้องมีข้อแก้ไขโดยจะมีกลุ่มที่สังเกตพฤติกรรมและให้การสะท้อนพฤติกรรมกลุ่มที่อยู่ใน Simulation room
1. Safety เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ป่วย ก่อนที่จะปฎิบัติจริงต้องฝึกฝนจนผู้เรียนเกิดความมั่นใจการทํากับหุ่นสามารถทําซ้ําและหยุดได้เป็นช่วงๆ และยังช่วยฝึกการปรับตัวก่อนเผชิญกับสถานการณ์จริง ในเรื่องของความตรึงเครียด และกดดัน เป็นต้น
2. Experience เป็นการเพิ่มทักษะให้กับผู้เรียน เพื่อไม่ให้เกิดความกลัว
ความตื่นตระหนก ร้องไห้ และความเครียด เช่น การฝึกของนักบิน ก่อนการบิน เพื่อให้เกิดทักษะ และสามารถเผชิญกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้
3. Practice การฝึกต้องใส่เครื่องแบบเพื่อแสดงความเป็นเป็นวิชาชีพ
และเพื่อให้ผู้เรียนมีการเตือนตัวเองว่าจะทําอะไรต้องคํานึงถึงวิชาชีพ และให้ผู้เรียนดึงความรู้ที่เรียนออกมาใช้
4. Benefits การฝึกทํากับหุ่นสามารถหยุดและให้ข้อเสนอแนะ และเริ่มทําซ้ําใหม่ได้ อันจะทําให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้เรียนความคาดหวังจากการใช้หุ่น (Expectation simulation) มีเป้าหมายดังนี้
1. ให้ผู้เรียนตระหนักรู้ถึงอาการแสดงที่เปลี่ยนไปของผู้ป่วยในทางที่แย่ลง
2. การประเมินสภาพโดยใช้ A=Airway B= Breathing C=Circulation D= Disability E=
Exposure เป็นกรอบแนวคิดในการประเมิน
3. การรายงานผลและส่งต่อ โดยใช้เครื่องมือ SBAR (SBAR Tool)
Simulation ต้องประกอบด้วย การ Lecture, Practicals, Seminar และ Practice placement
(การทดสอบการปฏิบัติ) ที่จะทําให้การเรียนด้วย Simulation มีความสมบูรณ์
ขั้นตอนการเรียน Simulation ต้องประกอบด้วย
a. การแบ่งผู้เรียนออกเป็น 4 กลุ่ม
b. ให้เวลากลุ่มสังเกตการณ์ศึกษาสถานการณ์ และศึกษาบทบาทการทํางานที่กําหนด
และการแสดงบทบาทของเพื่อนที่อยู่ใน simulation room
โดยใช้การอภิปรายจากการบันทึกพฤติกรรมจากกลุ่มที่สังเกตการณ์ได้
c. ครูจะเข้ามาพบผู้เรียนในห้องสังเกตการณ์ ภายหลังจากจบกลุ่ม scenario
d. กลุ่มที่อยู่ในห้องสังเกตการณ์จะให้ข้อมูลย้อนกลับ และประเมินผลในตอนท้าย
ผู้อํานวยความสะดวก (facilitator) – ผู้ให้คําปรึกษา (mentor)
ผู้เรียน (student) – นักศึกษาพยาบาล (a student nurse)
-ห้องสังเกตการณ์ (Observation room)
เครื่องวัดความดันโลหิต ออกซิเจน โทรศัพท์
การ De-briefing โดยใช้โมเดลของ Steinwachs (1992) แบ่ง 3 ระยะ คือ
๑. Descriptive phase ให้ผู้เรียนบอกความรู้สึกว่ารู้สึกอย่างไรกับสถานการณ์
๒. Analysis phase ผู้สอนจะเป็นผู้บอกข้อดี และข้อบกพร่อง
โดยต้องไม่ให้ผู้เรียนรู้สึกผิดและใช้การเสริมแรงทางบวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดกําลังใจ
๓. Application phase การนําไปใช้ในสถานการณ์จริง โดยต้องเน้นย้ําให้ผู้เรียนตระหนักถึงคุณธรรม
จริยธรรม (etiquette) ในการปฏิบัติกับหุ่น โดยคํานึงถึง
- การเคารพ (Respectful) ในการปฏิบัติกับหุ่นให้เสมือนกับการปฏิบัติผู้ป่วยจริง
- การทํางานเป็นทีม ต้องพยายามดึงผู้เรียนที่ไม่กล้าแสดงออกให้เข้ามา
ส่วนผู้เรียนที่คอยชี้นํากลุ่มให้ดึงออกไปจากกลุ่ม
1. แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 4 กลุ่ม โดยกลุ่มสังเกตการณ 6 คน และกลุ่ม scenario 6 คน
2. Pre-debrief โดยผู้สอนจะบอกถึงวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน อุปกรณ์
และข้อมูลผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับมีข้อมูลดังนี้
กรณีศึกษา ผู้ป่วยอายุ 61 ปี มีประวัติเป็นมะเร็งลําไส้ หลังผ่าตัดมะเร็งลําไส้ on radivac drain
discharge ออก 200 cc แรกรับมีอาการเหนื่อย on oxygen 2 L/min retained foley’s catheter urine
1. ครูบอกวิธีการปฏิบัติ โดยเน้นย้ําให้ผู้เรียนนําความรู้มาใช้
2. ผู้เรียนในกลุ่ม Simulation จะต้องประเมินผู้ป่วยโดยใช้หลัก ABCDE โดยใช้ความรู้
ประสบการณ์ และรายงานผลโดยใช้ SBAR TOOL
3. ขณะที่อยู่ในสถานการณ์ผู้สอนควรสังเกตผู้เรียน
หากพบผู้เรียนปฏิบัติไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติในเวลาที่กําหนด ผู้สอนจะหยุด และถามคําถาม
ยกตัวอย่างเช่น ทําไมถึงเปลี่ยนการให้ Oxygen cannula เป็น Oxygen mark
หากผู้เรียนไม่สามารถบอกได้ ผู้สอนต้องเสริมความรู้ให้กับผู้เรียน หรือให้ไปหาความรู้มาตอบ
และที่สําคัญควรไม่ให้ผู้เรียนรู้สึกผิด และหากสถานการณ์นั้นมีการตามแพทย์แล้วแพทย์ไม่มา
พยาบาลควรใช้คําถามที่ชี้นําหรือให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา (Proactive)
ร่วมกัน โดยครูถามว่ารู้สึกอย่างไรกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ตามหลัก de- brief ดังอธิบายข้างต้น
4. กลุ่มสังเกตการณ์ (observe) ให้สังเกตพฤติกรรมและจดบันทึก และมา de- brief
๘. Pre-Brief from idea to reality
1. เพื่อทบทวน หาข้อสรุปในประเด็นการทํา Pre-brief โดยต้องชัดเจนเรื่องวัตถุประสงค์,
2. ทบทวนเนื้อหาและประเด็นโครงสร้าง (องค์ประกอบของการทํา Pre-brief
3. ทบทวนกระบวนการทํา Pre-brief
4. การเตรียมร่างกายของการทํา Pre-brief เครื่องมือ อุปกรณ์
ความคาดหวังของผู้สอนและบทบาทของผู้เรียน
2. ความคาดหวังของนักศึกษา
3. บทบาทของผู้เรียน ทําให้เป็นคล้ายพยาบาลวิชาชีพ
5. เน้นเคารพครู เพื่อนร่วมทีม เปิดใจรับฟัง มีความซื่อสัตย์ ยอมรับข้อบกพร่องของตนเอง
เพื่อปรับปรุงแก้ไขโดยอาศัยแหล่งข้อมูล Technology เช่น มาตรฐานต่างๆ ของ INACSL
- International Nursing Association for Clinical Simulation and Learnin
- Professional Standards & Guideline (NMC, 2011) Simulation Learning
การวางแผน : สิ่งที่ควรคํานึงก่อนทําการสอน
1. Participant ผู้เรียนก่อนสอนต้องรู้ เขาเป็นใคร ทําอย่างไร ระดับชั้นปีอะไร
2. สิ่งแวดล้อม เวลาในช่วงไหนที่จะทํา, Ward , ICU , ER
3. อุปกรณ์ เครื่องมือ ตามประเภทของ Simulation ให้เพียงพอ
มีประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไร เพื่อเลือกวิธีการจัดการเรียนการสอนโดย Simulation
1. ในแต่ละกลุ่มควรจะวางแผนขั้นการทํา Pre-brief
2. คํานึงถึงความเป็นวิชาชีพและประสบการณ์ที่ควรได้รับ
3. ควรจะทําว่า เขาเป็นใครและเป็นอย่างไร
4. Who : นักศึกษาเป็นใคร ชั้นปีอะไร มีความรู้ ประสบการณ์ , Learning style
5. How : จะสอนนักเรียนด้วยวิธีการอย่างไร
Standard of Best Practice Simulation ให้ Search จากทาง Internet เช่น Simulation
in Health โดยมาจากหนังสือ โดยเฉพาะ ทางโรงพยาบาลของ UK มีการใช้ Simulation
เพื่อใช้ทดสอบพยาบาล ก่อนที่จะรับเข้าทํางานโดยมี Standard ของโรงพยาบาล
๙. Designing and Writing Scenario
การออกแบบและการเขียน Scenario หลักการสําคัญต้องประกอบไปด้วย
๑. วัตถุประสงค์ ท่านคาดหวังว่าบทเรียนนี้จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้เรื่องอะไร
ซึ่งต้องตั้งให้ชัดเจนว่าต้องการให้เกิดอะไร ระดับไหน
๒. ผลลัพธ์ของการเรียนรู้ ผู้เรียนจะต้องแสดงออกหรือมีความสามารถอะไรเมื่อสิ้นสุดในการเรียน
เช่น สามารถประเมินได้ สามารถแก้ไขปัญหาได้
3. ระดับความซับซ้อนของ Scenario ประกอบด้วย ๓ แบบ คือ
สถานการณ์ที่แสดงลักษณะการเปลี่ยนแปลงเพียงอย่างเดียวและมีการตอบสนอง
- ระดับง่าย (Simple) :
- ความยากง่ายระดับปานกลาง (Moderately difficult) :
แสดงลักษณะการเปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลงและมีอาการดีขึ้น
- ซับซ้อนมาก (Complex)
มีอาการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นและมีอาการเปลี่ยนแปลงที่ตอบสนองต่อการรักษา
๔. การวินิจฉัยโรคจากหุ่น อาจใช้ผล X-ray, scans, ผลการตรวจเลือด, ไฟล์ข้อมูล สื่อต่างๆ
เสียงต่างๆ, ผล EKG และสามารถใส่ไฟล์ข้อมูล X-ray, รูปภาพต่างๆ ที่แสดงอาการ เช่น อาการบวม,
neck vein engorment และผลเลือด
4. ต้องเลือกรูปแบบการ de-brief ให้เหมาะสม
- จะต้องมีข้อมูลที่เพียงพอ บอกสถานการณ์ผู้ป่วยให้นักศึกษารู้
- จัดบริบทของ Scenario ให้เหมาะสมและชัดเจน
- ให้นักศึกษารับรู้เวลาในการทํา Scenario เช่น เริ่มต้นสถานการณ์
อุปกรณ์และเครื่องมือจะต้องเตรียมให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่นักศึกษาจะต้องปฏิบัติ
และส่งเสริมให้มีโอกาสในการตัดสินใจและเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์
-บทบาทผู้เรียน ต้องกําหนดให้ชัดเจนว่านักศึกษาอยู่ในสถานการณ์นี้อยู่ในบทบาทอะไร เช่น
- บทบาท Facilitator เป็นผู้เอื้ออํานวยการในการให้นักศึกษาปฏิบัติในสถานการณ์
จะต้องดูแลและคอยสังเกตดูนักศึกษาถ้านักศึกษาทําไม่ได้ต้องให้การช่วยเหลือ
1. เขียน Scenario โดยมีแบบฟอร์มให้ดู โดยผู้ป่วยเป็นโรค COPD
2. กําหนดให้ผู้ป่วยมาด้วย chest infection and exacerbation และมีอาการแย่ลง
3. ให้เขียนข้อมูลตามหลักการ (ตามเอกสารแนบที่อาจารย์แจกให้ทํา)
1. สิ่งที่ต้องพิจารณาเสมอ เราจะนําเสนออะไร อย่างไร ในการ Pre-Brief
2. ควรมีโครงร่างอย่างชัดเจนในการ Pre-Brief
๑. การยกตัวอย่างของการ Pre-Brief
๒. นักศึกษาควรเริ่มต้นในชั้นปีที่ ๒
๓. สถานการณ์ต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนจดจ่อและอยากจะช่วยเหลือ
แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
๑o. การวางแผนออกแบบการช่วยเหลือในการเรียนโดยใช้สถานการณ์จําลอง
จุดประสงค์การเรียน เพื่อหาวิธีในการวางแผนและออกแบบศูนย์การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จําลอง
ผลลัพธ์การเรียนรู้เรื่องนี้ ผู้เรียนควรบอกได้ว่า
๑. ทําไมจึงมีความจําเป็นต้องใช้สถานการณ์จําลองและประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้จากการเรียนแบบนี้
๒. ใครจะเป็นผู้ชี้แจงและบอกจุดประสงค์ที่ผู้เรียนควรจะต้องเรียนรู้
๓. วางแผนว่าจะทําการเรียนรู้นี้ต้องใช้อุปกรณ์และจัดสถานที่ที่ไหนจึงจะเหมาะสมกับวิธีการสอนโดยใช้
๔. เมื่อไรจะเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเรียนนี้
๕. ตัดสินใจ วางแผน วางกระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีนี้อย่างไร
สาเหตุที่การเรียนในสถานการณ์จําลองมีความจําเป็นสําหรับผู้เรียน เพราะ
๒. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจในตนเอง
๔. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารกับทีมงานได้อย่างถูกต้อง เกิดความเข้าใจตรงกัน
จะเห็นได้จากความคิดเห็นจากบทความของบุคคล ดังต่อไปนี้
- Klipfel et al. (๒๐๑๔, p.๓๙) ได้กล่าวไว้ว่า
สถานการณ์จําลองทําให้บุคลากรทางสุขภาพมีความสามารถทางการสื่อสารและเกิดทักษะในการทํางานเป็นที
- Griswold et al. (๒๐๑๒)
กล่าวว่าการสอนโดยสถานการณ์จําลองมีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าเป็นการสอนที่ดีและเกิดความปลอด
ภัยต่อชีวิตผู้ป่วย การใช้หุ่นจําลองผู้ป่วยทําให้นักศึกษาเกิดความมั่นใจในตนเองและมีความรู้มากขึ้น
ทั้งตัวนักศึกษาเองและเพื่อนนักศึกษาที่อยู่ในทีมฝึกปฏิบัติงานในสถานการณ์จําลอง เพราะมีการฝึกปฏิบัติงาน การสะท้อนความคิดซึ่งทําให้การปฏิบัติงานดีขึ้นปัจจุบันประเทศที่ใช้การเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จําลอง ได้แก่ แคนาดา, อเมริกา, ยุโรป, การจัดหลักสูตรสิ่งที่ต้องคํานึงถึงคือความเชื่อมโยงระหว่างกระบวนการสอน การประเมิน
กระบวนการสอน
หุ่น : หุ่นอะไร (SimMan , SimMom), ราคา , ระบบปฏิบัติการ
อุปกรณ์ในคลินิก : set IV fluid , สายออกซิเจน, monitor, Defibrillator, เครื่องวัดความดันโลหิต
อุปกรณ์อื่นๆ : เตียง, โต๊ะ, เก้าอี้ ผ้าม่าน, ผ้าปูที่นอน, ถุงมือ ฟอร์ม
อุปกรณ์ติดผนัง : อ่างล้างมือ, ชั้นวาวชงของ, วัสดุปูพื้น
อุปกรณ์อิเลคทรอนิค : คอมพิวเตอร์, โปรแกรม, กล้องวิดิโอ
เราจะจัดการเรียนการสอนด้วย simulation เช่น ฝึกพยาบาลที่ต้องการความเชี่ยวชาญพิเศษ
หรือก่อนปฏิบัติงานกับผู้ป่วยจริงเพื่อให้เกิดความมั่นใจ และความปลอดภัยกับผู้ป่วย
งบประมาณ เรามีงบประมาณในการบริหารจัดเท่าไร งบประมาณหลัก ได้จากภายในหรือภายนอก
วิธีการ ใช้การประมูลหรือการจัดซื้อคํานึงถึงการรักษาสภาพของอุปปกรณ์ หุ่นจะรักษาให้
ใช้ได้นานเพียงใด และการพัฒนาในอนาคตฝุ่นละอองอาจทําให้เกิดการชํารุด อุปกรณ์ชํารุดไม่พร้อมใช้งานจริง มีข้อจํากัดในเรื่องพื้นที่ เสียง ใครบ้างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ Simulationการจัด Simulation เกิดจากการร่วมกันคิดว่าทําอย่างไรจึงมีความเป็นไปได้และเกิดประโยชน์
ใครเป็นทีมที่ร่วมสอน ใครเป็นผู้เรียน ต้องการแหล่งทรัพยากรใดบ้าง ทําที่ไหน ทําไมอังกฤษจึงมีนโยบายในการใช้สถานการณ์จําลองในการเรียนดูได้จากแผนภูมิการใช้เทคโนโลยีในการเรียนนี้
แผนภูมิ แสดงการใช้เทคโนโลยีในการเรียนที่เน้นการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จําลอง
ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางการให้บริการผู้ป่วยปลอดภัยมากขึ้น เพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ผลลัพธ์การเรียนรู้มีคุณภาพสูงการเรียนรู้จากสถานการณ์จําลอง เป็นการเรียนรู้ที่ซับซ้อนหลากหลายเพราะการเรียนรู้จากสถานการณ์จําลอง เป็นการเรียนรู้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงที่หลากหลาย สามารถกลับมาทําซ้ําได้ จากสภาพการเรียนรู้และจากปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างที่เรียน อาจกล่าวได้ว่า ผู้เรียนจะถูกคาดหวัง ในการประเมินผลการปฏิบัติงานเช่นเดียวกับในสภาพการณ์จริง จัดสิ่งแวดล้อมที่คํานึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก และเพิ่มความสามารถของนักศึกษาโดยให้มีการปฏิบัติงานซ้ําๆ จนนักศึกษาสามารถมีความรู้และทักษะที่พร้อมจะปฏิบัติงานในสถานการณ์จริงได้
การวางแผนเกี่ยวกับศูนย์ Simulation ควรจะต้องมีความครอบคลุมและเกิดความร่วมมือจากภาคส่วนอื่น โดยคํานึงถึง เพราะอะไรจึงจําเป็นต้องมีศูนย์ Simulation ใครเป็นผู้ใช้ ต้องการแหล่งทรัพยากรใดบ้าง ใครจะเป็นผู้สร้างหรือดําเนินการ และจะพัฒนาเมื่อไรผู้ที่ควรจะต้องเรียนรู้โดยใช้ Scenario ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของหน่วยงาน บางทีอาจจะต้องใช้ Scenario ในหน่วยงานทางการศึกษา เกี่ยวกับการพยาบาลหรือทางด้านคลินิคที่ต้องมีความชํานาญเฉพาะทาง กลุ่มคนที่ต้องการพัฒนาการทํางาน เป็นทีม ลดปัจจัยเสี่ยงในการดูแลคนไข้ นอกจากนี้ผู้ที่ควรใช้ Scenario แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม ผู้ที่จะต้องดูแลผู้ป่วย การจัดนิทรรศการเพื่อให้บุคคลภายนอกได้เรียนรู้ในสถานการณ์ต่างๆ
เกี่ยวกับคนไข้ในลักษณะต่างๆ เกี่ยวกับวิธีการช่วยเหลือ เป็นต้น
1. กลุ่มภายนอก เช่น นักเรียนที่อบรมระยะสั้น อายุน้อยกว่า ๑๘ ปี นักเรียนแพทย์
2. กลุ่มภายใน เช่นนักเรียนพยาบาล แผนกเด็ก ผู้ใหญ่ จิตเวช ผดุงครรภ์ นักกายภาพบําบัด และที่สําคัญคือ ผู้สอน Scenario ต้องมีทีมที่คอยอํานวยความสะดวกและมีประสบการณ์ซึ่งประสบความสําเร็จได้ต้องมีผู้สนับสนุนให้โอกาส และให้ความร่วมมือในการสอน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ก็ช่วยให้เกิดการพัฒนาให้เกิดความชํานาญ การทํางานเป็นทีมและมีเครือข่ายในการทํางาน การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Scenario เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยต้องมีดังนี้
การดําเนินงาน และเนื้อหา และโปรแกรมการจัดการเรียนการสอน
1. การบริหารจัดการ ต้องมีการมอบหมายงาน มีผู้ที่รับผิดชอบ ต้องแต่ โครงการ
2. การบํารุงรักษา ผู้ดูแลวัสดุอุปกรณ์ สามารถที่จะบํารุงรักษาและซ่อมแซมได้
3. การพัฒนา
ต้องมีกลุ่มทํางานที่จะคอยสนับสนุนในด้านเทคโนโลยีและต้องทันสมัยตลอดเวลาต้องมีการวางแผนห้องจะใช้ที่ไหน ขนาดเท่าไร บุคคลที่จะเข้ามาใช้ จะใช้ Scenario ในหลักสูตรในชั้นปีไหนบ้าง ซึ่งความจําเป็นในการใช้ในแต่ละแผนกที่แตกต่างกัน เช่น ลักษณะห้องสมุด ICU ,Ward ห้องผ่าตัด สิ่งแวดล้อมภายในบ้าน สถานที่ในการฝึกการล้างมือ การช่วยฟื้นคืนชีพ ซึ่งแต่ละสถานการณ์ ลักษณะห้องก็จะมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ สถานที่สําหรับผู้สอนในกรณีใช้สอนการ Debrief จะใช้ที่ไหนได้บ้าง เช่น ใช้ในห้องเรียน ห้องควบคุม ซึ่งจะต้องประยุกต์การใช้ห้องเรียนให้เหมาะสมกับจํานวนผู้เรียนและขนาดของห้องเรียนที่จะใช้
๑๑.วิธีการลง Scenario ในโปรแกรม Sim-Man
๑. Double click ที่ Sim-man icon เข้าระบบโดยการเลือกชื่อและใส่password หรือ ไปที่ผู้ใช้รายใหม่
๒. หากต้องการปรับค่าต่างๆเป็นระบบ manual control สามารถทําได้โดย เลือก click และปรับเพิ่ม/ ลด
D อุณหภูมิร่างกาย (เลือด/ส่วนปลาย)
F เสียงต่างๆ เช่น ไอ จาม การตอบโต้ ด้วยคําพูด
H กระเพาะปัสสาวะ ตําแหน่งอยู่ที่รูปคน
A B
F
G
I H
E
๓.ขั้นตอนการสร้างเฟรมเหตุการณ์ต่อเนื่อง ให้ไปที่ Menu bar เลือก edit เลือก drop down และ ไปที่
๔ .เมื่อปรากฏหน้าต่าง Laerdal Scenario Editor for Simulation ( new scenario SimMan)
ซึ่งเป็นหน้าต่างที่จะใช้เพื่อสร้างสถานการณ์ต่อเนื่อง จะมีหน้าต่างสามารถสร้างได้เป็นช่วงๆ
โดยจะใช้วิธีการเลือกระบุข้อมูลเหมือนกันในทุกช่วงสถานการณ์ (Frame)
และนํามาเชื่อมโยงเป็นสถานการณ์ที่ต้องการซึ่งจะกล่าวถึงในข้อถัดไป วิธีการสร้างสถานการณ์แต่ละช่วง
สถานการณ์เริ่มต้นช่วงที่ ๑(Frame ๑:F๑) หาก Click ที่คําว่า
Patient จะเปิดหน้าต่างข้อมูลเบื้องต้นของผู้ป่วย (Patient description : A๑)
โดยจะสามารถใส่รูปข้อมูลเบื้องต้นของผู้ป่วย (ที่ผู้สอนมีเก็บไว้ใน hard drive หรือ thump drive)
เพื่อให้ผู้เรียนได้อ่านจากหน้าจอแสดงเมื่อเริ่ม Scenario (หรือจะใช้วิธีการเขียนข้อมูลลงกระดาษ และ/
A1
1
๕. วิธีการเลือกข้อมูลให้ปรากฏบน Monitor ของผู้เรียน
หากต้องการจะเลือกแสดงผลข้อมูลบางส่วนที่จําเป็น บนจอ Monitor สําหรับผู้เรียน
สามารถทําได้โดย Click ที่คําว่า Monitor (ลูกศรสีส้ม) จะปรากฏ หน้าต่าง Default
Layout (A๒) ให้เลือกข้อมูลที่ปรากฏจากแถบพารามิเตอร์สีดํา จากนั้นข้อมูลจะไปยังช่อง
Available parameters ด้านขวามือ (ลูกศรสีเหลือง) ให้เลือกข้อมูลที่ไม่ต้องการซึ่งอยู่ในช่องนี้
จากนั้นกดที่ (ลูกศรสีเขียว) เพื่อส่งข้อมูลไปที่ Unavailable parameters จากนั้นคลิกที่
OKข้อมูลที่ไม่ต้องการจะหายไปจากหน้าจอแสดงผลของผู้เรียน
หมายเหตุ ด้านซ้ายมือของหน้าต่าง Monitor setup จะมี wave form ในรูปแบบต่างๆ
ที่ต้องการแสดงให้ผู้เรียนเห็น สามารถเลือกรูปแบบ wave form ตามรูปที่ต้องการได้แล้ว คลิก OK
A2
1
๖. การใส่ข้อมูลต่างๆ ในแต่ละช่วงสถานการณ์ ทําได้โดยเลือกที่ไอคอน Action
และเลือกตั้งค่าตามที่ผู้สอนต้องการ เมื่อตั้งค่าได้ตามที่กําหนดให้คลิก OK
จากนั้นข้อมูลที่เลือกจะปรากฏในเฟรม (F๑)
ข้อมูลการกําหนดค่าต่างๆ มีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้
ค่าออกซิเจนในเลือด อุณหภูมิกาย
เสียงต่างๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ประโยคโต้ตอบ (ใส่ได้เฟรมละ ๑ อย่างเท่านั้น)
การเชื่อมต่อข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ภาพ x ray, CT scan
การกําหนดการเชื่อมต่อเฟรม
การเชื่อมต่อระหว่างสถานการณ์
๗. การเชื่อมสถานการณ์แต่ละช่วงให้ต่อเนื่อง ทําได้โดยคลิกที่
เพื่อเพิ่มชื่อสถานการณ์ที่ต้องการการเชื่อมโยง จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง Edit
Menu (ลูกศรสีแดง) เลือก add event จากนั้นไปที่ช่อง Miscellaneous
(ลูกศรสีเขียว) คลิกขวาเพื่อเพิ่มเส้นทางให้กับสถานการณ์ว่าจะดีขึ้น หรือ
แย่ลงโดยสามารถตั้งชื่อที่แตกต่างกันเพื่อให้ง่ายแก้การจดจําในแต่ละช่วงสถานการณ์
๘.การสร้างสถานการณ์ช่วงถัดไป สามารถเพื่อช่วงสถานการณ์ (Frame) ได้ ด้วยการคลิกที่
เพื่อเพิ่มเฟรม และดําเนินการตั้งค่าต่างๆ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงตามวิธีการในข้อที่ ๖
๙. การเชื่อมสถานการณ์ทําได้โดยไปที่ไอคอน
แล้วเลือกชื่อสถานการณ์ที่ต้องการซึ่งได้ทําการเชื่อมต่อไว้
จากนั้นนํามาใส่ในช่องส่วนท้ายของเฟรมที่จะเชื่อมไปสถานการณ์ถัดไป (ลูกศรสีเขียว) หลังจากนั้นให้คลิกที่ เพื่อทําการลากเส้นเชื่อมโยงระหว่างชื่อสถานการณ์จากไอคอนก่อนหน้าไปสู่เฟรมที่ต้องการถัดไป
หมายเหตุ สามารถเปลี่ยนชื่อในสถานการณ์แต่ละช่วงให้ไปที่ชื่อเฟรม (ลูกศรสีเหลือง)
คลิกขวาแล้วเปลี่ยนชื่อสถานการณ์ได้จากนั้น กด enter
๙.การเริ่มเล่น Scenario ไปที่ Menu bar เลือกที่ file และ click ที่ Start scenario
จากนั้นระบบจะเริ่มเล่น ตามค่าที่ได้ตั้งไว้ เมื่อต้องการเปลี่ยนช่วงสถานการณ์ไปสู่ช่วงต่อไป ให้เลือกที่
Miscellaneous (ลูกศรสีส้ม) แล้วเลือกช่วงสถานการณ์ที่ตั้งค่าไว้
หมายเหตุ การเลือกช่วงสถานการณ์จะต้องมีการเชื่อมต่อสถานการณ์ไว้ โดยห้ามเลือกข้ามขั้นตอนเช่น
จากเฟรมที่ ๑ ไปเฟรมที่ ๓ โดยที่ไม่ผ่านเฟรมที่สอง ซึ่งจะเลือกสถานการณ์จากเฟรมที่ ๑
ไปเฟรมที่ ๓ ได้เมื่อมีการเชื่อมโยงเฟรม ที่ ๑ ไปหาเฟรมที่ ๓ เท่านั้น และการเชื่อมโยงสถานการณ์
สามารถเชื่อมโยงได้มากกว่าหนึ่งเส้นทาง ดังรูป
Moulage มาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า การทําต้นแบบ เป็นการทํา Trauma effect
เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกประเมินผู้ป่วยที่มีบาดแผลลักษณะเสมือนจริง
1. เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย
2. เพื่อฝึกทําต้นแบบ : ซีด เขียว มีเหงื่อออก ผื่นแดง แผลฟกช้ํา แผลฉีกขาด
- ควรล้างมือให้สะอาดเพื่อลดการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์
- Trauma effect product มีความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามควรให้คําแนะนํากับผู้ที่แพ้ง่าย
- ระมัดระวังเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์บริเวณรอบดวงตา จมูก และปาก
- ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์บริเวณผิวหนังที่มีบาดแผล
- Trauma effect product ทุกชนิดสามารถล้างออกได้ แต่อาจใช้เสื้อผ้าที่เก่าแล้ว
- ควรถอด contact lenses เพื่อลดอันตรายและการระคายเคืองต่อดวงตา
- Wooden spatula ไม่ควรใช้ปนกัน
- Sponge wedges ควรใช้แยกกันแต่ละคน
- Eye makeup applicators และไม่พันสําลี ใช้ single use
- Sponge wedges applicator
- Sweat Applicator Sponge
วิธีทํา ทา shock color cream ให้ทั่วใบหน้า ใช้ wooden spatula ตัก blue bruise gel
เล็กน้อยป้ายไว้บนหลังมือ แล้วใช้นิ้วมือป้ายเจลลงบนปลายจมูก ริมฝีปาก รอบดวงตา และโหนกแก้ม
หากใช้ปริมาณมากเกินไป sponge wedges ซับออก หลังจากนั้นใช้ sweat applicator sponge
วิธีทํา ใช้ wooden spatula ตัก red bruise gel เล็กน้อยป้ายไว้บนหลังมือ
วิธีทํา ใช้ wooden spatula ตัก red bruise gel เล็กน้อยป้ายไว้บนหลังมือ
ทาและตบเบาๆลงบนบริเวณที่ต้องการทําแผลฟกช้ํา ใช้ blue bruise gel ป้ายทับลงไปให้เกิดเงาของสี ใช้
bruise wheel ป้ายทับลงไปให้เกิดสีคล้ําชัดเจนขึ้น ใช้ wet wipe ซับออก
วิธีทํา ทําเช่นเดียวกับแผลฟกช้ํา (Bruise) แล้วใช้ plastic spatula ตัก scab/scratch product
เล็กน้อย แล้วกรีดลงบนแผลบนบริเวณที่ต้องการ เพื่อให้แผลดูมีความลึก และเติม sticky blood
ลงไปบนรอยแผลที่สร้างไว้ เพื่อให้ดูเสมือนมีเลือดไหลออกมาจากแผล
วิธีทํา ทําเช่นเดียวกับแผลฟกช้ํา จากนั้นสร้างแผลเพิ่มเติมให้มีลักษณะของแผลพุพอง โดยใช้ yellow
bruise gel ป้ายลงไปบนแผลเป็นวงกลม รอให้น้ําระเหยเพื่อให้แผลดูเสมือนจริง เติม sticky blood
ลงบนแผล พ่น black spray และใช้ wet wipe เช็ดสเปรย์บางส่วนออก แผลจะดูเสมือนจริงมากขึ้น
เทคนิคการสร้างบาดแผลโดยใช้ scar wax วิธีทํา ปั้น wax ให้เป็นรูปทรงยาวแล้วแปะลงบนผิวหนัง
กดขอบให้เรียบไปกับผิวหนัง จากนั้นใช้ plastic spatula กรีดลงบน wax ป้าย sticky blood
ให้ดูเสมือนเป็นลิ่มเลือดอยู่บนปากบาดแผล เติม face blood หรือเศษกระจกปลอม
นอกจากนี้ ยังมีบาดแผลสําเร็จรูปทําจากซิลิโคนที่มีลักษณะนิ่ม
ใช้สร้างบาดแผลที่เป็นลักษณะของCompound fracture หรือ Gun shot wound วิธีทํา ใช้บาดแผลซิลิโคน
ทากาวและแปะลงบนผิวหนัง ให้แนบสนิท จากนั้นสร้างแผลให้เสมือนจริงโดยเติม fresh scab/scratch
product ขั้นตอนสุดท้าย เติม face blood ให้ดูเสมือนมีเลือดไหลออกจากแผล
๑๒.ทักษะการ Facilitation simulation skills
วัตถุประสงค์คือ กําหนดบทบาทในการทํา simulation ซึ่งประกอบด้วย บทบาทที่สําคัญ 3 อย่างคือ
facilitator, participant/ team และ observer (ใช้เกมต่อหลอดให้สูงที่สุดมาสะท้อนเป็นความรู้ในการเป็น
บทบาทของผู้เรียน (participant/ team)
- การทํางานสอดคล้องกันหรือไม่
- มีคนที่ทําหน้าที่ช่วยเหลืออยู่คนเดียวหรือไม่
- มีคนทําหน้าที่คิดอยู่อย่างเดียวหรือไม่
- มีการปฏิบัติหลายๆ ทักษะเข้าด้วยกันหรือไม่ อย่างไร
- มีการสื่อสารทั้งวัจนภาษา หรืออวัจนภาษา หรือไม่อย่างไร
- มีการเคารพซึ่งกันและกันหรือไม่
- มีการเสนอความคิดร่วมกันหรือไม่
- มีการปฏิบัติ โดยร่วมกันคิดเป็นความเห็นของกลุ่มหรือไม่ อย่างไร
- ผู้เรียนที่ผ่านการทํา simulation มีการคาดการณ์ถึงความถูกต้อง หรือแย่ลงหรือไม่อย่างไร
ทั้งนี้บทบทของ facilitator อาจมีหลายรูปแบบ เช่น
- มีการกระตุ้นกลุ่มหรือไม่ อย่างไร ทําให้กลุ่มเกิดความมั่นใจหรือไม่อย่างไร
- มีการรบกวน หรือขัดขางการทํางานของทีมหรือไม่อย่างไร
- ผู้ที่เป็น facilitator มีประโยชน์มากน้อยเพียงใด
- มีการเสริมแรง ให้กําลังใจอย่างไรหรือไม่ หรือให้ข้อเสนอแนะที่ชัดเจนหรือไม่
- มีการหยุดเกม time out หรือไม่ หรือทํากี่ครั้ง
- ขณะดําเนินการอภิปรายกลุ่มมีความปลอดภัย หรือไม่ มีสิ่งที่ท้าทายต่างๆ หรือไม่
- มีการให้ข้อเสนอแนะ หรือให้คําแนะนําหรือไม่
- มีการคิดก่อนให้ข้อเสนอแนะต่อกลุ่มหรือไม่
- เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติตามที่ได้เรียนผ่านมาแล้ว
มีทักษะมาก่อนหรือนําความรู้มาปฏิบัติเพียงใด
1. ให้คําแนะนําระหว่างแสดงสถานการณ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ หรือขัดขวางการเรียนรู้
2. ปรับบทบาทตามสถานการณ์ที่เหมาะสมต่อผู้เรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้มากขึ้น
3. คิดถึงผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือวัตถุประสงค์การเรียนรู้
อย่างไรก็ตามบทบาทของ facilitator จะต้องใช้หลาย ๆ ทักษะ เช่น
ทักษะการสื่อสารเพื่อเอื้อให้ผู้เรียนปฏิบัติได้
หรือคอยช่วยเหลือกรณีผู้เรียนไม่ชอบการฝึกโดยใช้รูปแบบนี้
บทบาทของ ผู้สังเกตการณ์ (Observer)
- สังเกตการณ์แบ่งงานในกลุ่มอย่างไร ใครเป็นผู้เรียน ผู้สอน
- มีใครกลัวการเล่นหรือไม่แสดงออกอย่างไร
- มีการแก้ปัญหาหรือไม่เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อกลุ่มอย่างไร
- มีการปฏิบัติเพื่อการช่วยเหลืออย่างไร
- การแสดงเป็นไปตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้หรือไม่
- กลุ่มมีการจัดการอย่างไรในผู้ที่มีอาการโกรธ ไม่อยากทํา
- ผู้เรียนมีความแตกต่างของความรู้กับสิ่งที่ต้องปฏิบัติหรือไม่ อย่างไร
- บางครั้งกลุ่มอาจไม่สามารถแสดงการดูแลได้อย่างเหมาะสม
เนื่องมาจากขาดการเตรียมการของผู้สอน
๑๓. เรื่องปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ Simulation
๑. ปัญหาการใช้หุ่นและเทคโนโลยีสถานการณ์ SBL เป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ ผู้สอนใน SBL
จําเป็นต้องการทราบวิธีที่จะแก้ไขเมื่อพบว่ามีปัญหาที่เกิดขึ้น ปัญหาที่พบได้บ่อย ได้แก่
I. ทรวงอกของหุ่นไม่เคลื่อนไหวตามการหายใจ
II. ค่า Blood Pressure ที่วัดได้แตกต่างจากที่กําหนดไว้ในสถานการณ์
III.จอภาพดับและหุ่นไม่ทํางาน
VI.สถานการณ์ (Scenario) ไม่ได้ดําเนินไปตามที่กําหนดไว้
1. ทรวงอกของหุ่นไม่เคลื่อนไหวตามการหายใจ แก้ไขได้โดย
- ตรวจสอบว่าวาล์วสีน้ําเงินเปิดอยู่
- ปล่อยลมออกจากเครื่องปั้มลม (compressor)
เนื่องจากบางครั้งอาจมีลมค้างอยูในเครื่องอาจทําให้เครื่องไม่ทํางาน
การปล่อยลมทําได้โดยการเปิดวาล์วสีแดงและเปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง
- ตรวจสอบท่อและข้อต่อระหว่างเครื่องปั้มลมและหุ่นให้เสียบเข้าด้วยกัน
- ตรวจดูว่า Software กําลังทํางานอยู่โดยดูจาก Linkbox
2. ปัญหาการวัดค่า Blood Pressure ที่วัดได้แตกต่างจากที่กําหนดไว้ในสถานการณ์
ในบางครั้งมีวัตถุประสงค์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนสามารถประเมินค่าความดันโลหิตให้ถูกต้อง
แต่อาจพบได้ว่านักเรียนวัดค่าได้ไม่ตรงกับที่กําหนดไว้ที่หุ่น ให้ดําเนินการดังนี้
- ตรวจดูการตั้งค่า Korotkoff Sounds ให้ตั้งค่าเสียงให้ดังที่สุด
- Calibrate ค่าแรงดัน Systolic และ Diastolic ที่หุ่นและที่โปรแกรมให้ตรงกัน
- Auscultatory Gap on/off feature ตรวจสอบหูฟังว่ามีการเปิดหรือปิด
- วิธีการ Calibrate ค่าความดันโลหิต ดําเนินโดยใช้คน 2 คน
ว่ามีไฟสีแดงขึ้นแสดงว่าเครื่องทํางานอยู่
คนแรกเข้าไปในโปรแกรมควบคุมหุ่น ไปที่เมนู แล้ว click Calibrate
เพื่อกําหนดค่าความดันโลหิตให้ตรงกับสถานการณ์ และคนที่สอง ให้บีบ cuff BP
ค้างไว้ให้ได้ค่าตรงกับที่กําหนดไว้ที่หุ่น
3. จอภาพดับและหุ่นไม่ทํางาน ให้ดําเนินการดังนี้
- ตรวจสอบที่ Linkbox ว่ามีไฟแดงสว่างขึ้นหรือไม่ และดูการเชื่อมต่อของสายระหว่าง
Linkbox กับว่ามีการเชื่อมต่อหรือไม่
- ตรวจสอบสายการเชื่อมต่อของสายระหว่างหุ่นกับจอภาพ
- Reboot หุ่นและเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมกัน
4. ไม่มีเสียงออกจากหุ่น ให้ไปที่โปรแกรมและดําเนินการดังนี้
- คลิกเมนู Edit ที่มุมซ้ายบน
- เลือก รูปไมโครโฟน
- คลิกเลือก ไมโครโฟน In use “Primary Sound Capture Driver”
- กําหนดค่าความดังของเสียง
- ตรวจสอบที่ปุ่มลําโพงที่มุมล่างขวา
5. จอภาพผู้ป่วยค้าง ดําเนินแก้ไขโดยใช้โปรแกรม elo เมื่อปุ่มไอคอนโปรแกรมนี้
จะปรากฏอยู่ที่มุมล่างซ้ายของเมนู bar ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และให้ดําเนินการดังนี้
- Double คลิกที่ไอคอน elo และคลิกที่ปุ่ม “รูปเป้าปืน” และกด “esc” ที่คีย์บอร์ด
- สัมผัสที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของผู้ป่วยตามต้องการที่จะให้ปรากฏค่า EKG หรือ HR
6. สถานการณ์ (Scenario) ไม่ได้ดําเนินไปตามที่กําหนดไว้
มักเกิดจากการออกแบบสถานการณ์ไม่ถูกต้อง Scenario จะดําเนินการไปข้างหน้า
โดยไม่สามารถย้อนกลับสู่สถานการณ์เดิมได้ ดังนั้นหากต้องการให้ผู้ป่วยดีขึ้นหรือแย่ลง
จะต้องกําหนด Frame สถานการณ์ใหม่และคลิกเชื่อมสถานการณ์ให้ถูกต้อง ต่อเนื่องกัน
แก้ไขทําได้โดยการกลับเข้าไปแก้ไขและออกแบบสถานการณ์ใหม่อีกครั้ง
สถานการณ์จําลอง และการประเมินการเรียนรู้
การประเมินการเรียนรู้ในสถานการณ์จําลอง
1. สิ่งที่ต้องประเมินคืออะไรบ้าง
- เทคนิคการปฏิบัติงานในคลินิก เช่นการประเมินสภาพผู้ป่วย
การสังเกตอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย ฯลฯ
- Human factors ปัจจัยทางบุคคล เช่น การสื่อสาร การทํางานเป็นทีม ภาวะผู้นํา
- การตัดสินใจและการใช้เหตุผลทางคลินิก
- ประเมินความรู้และการใช้ความรู้
- ประเมินในขณะที่อยู่ในสถานการณ์จําลอง
- ประเมินภายหลังสถานการณ์จากการบันทึกวีดิโอ
- ประเมินโดยการซักถาม
4. การประเมินตามสภาพจริง
- Mueller (2006) กล่าวว่า การประเมินตามสภาพจริง มาจากความคิดที่ว่า
บัณฑิตจะต้องเป็นผู้ทีมีความสามารถในการปฏิบัติงาน
ดังนั้นการประเมินตามสภาพจริงเป็นวิธีที่ทําให้นักศึกษาได้ฝึกฝนและท้าทายให้เผชิญกับโลก
- การประเมินตามสภาพจริงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและยากที่จะดําเนินการ
- การจัดการเรียนการสอน Simulation จําเป็นต้องประเมินตามสภาพจริง
- ใช้ในการประเมินการทํางาน
- เป็นการประเมินแบบบูรณาการในเรื่องความรู้ ทักษะการปฏิบัติ การแก้ปัญหา
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
- ประเมินนักศึกษาได้อย่างรวดเร็วจากสิ่งที่นักศึกษาทํา
1. นักศึกษาจะต้องมีสถานการณ์ที่เหมือนกัน เครื่องมือ ความซับซ้อนของโจทย์เหมือนกัน
2. โจทย์สถานการณ์อาจมีความแตกต่างกัน
3. ใช้การประเมินโดยใช้วิธีการผ่าน/ตก
4. หุ่นจะต้องมีมาตรฐานเดียวกันแตกต่างกันได้ไม่เกิน 10%
5. ต้องมีแผนผังห้องสถานการณ์จําลอง
6. ต้องมีแนวทางและคําแนะนําให้กับนักศึกษา
7. มีการสนับสนุนอื่นๆเช่น ป้ายขั้นตอนการประเมิน SBAR , การประเมินABCD
ความตรงและความเชื่อมั่นของเครื่องมือประเมิน
1. ระดับของการประเมินได้จากเครื่องมือ เช่น การทํางานเป็นทีมสามารถวัดได้โดยกลุ่ม
2. ประเมินการตรงจากการแสดงสีหน้า
3. ความตรงด้านเนื้อหา
1. ผู้ประเมินแต่ละคนจะต้องประเมินการปฏิบัติของนักศึกษาได้เหมือนกัน เป็นแนวทางเดียวกัน
2. การวัดซ้ําของผู้วัดแต่ละคน
ต้องมีความเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันสามารถหาความเชื่อมั่นได้โดยประเมินจากการดูวีดิโอ
จะต้องมีการประเมินหรือให้คะแนนที่เหมือนกัน
1. จะต้องให้นักศึกษารับรู้การประเมิน
2. ต้องให้คําแนะนํากับนักศึกษาก่อนว่าจะมีการทดสอบอะไร แจ้งวัตถุประสงค์ของการประเมิน
3. ต้องให้นักศึกษามีโอกาสได้ฝึกประสบการณ์ก่อนการทดสอบ
4. มีโอกาสที่จะฝึกประสบการณ์ด้วยตนเอง
5. นักศึกษาต้องได้รับการฝึกและให้คําแนะนําที่ครอบคลุมประเด็นที่ถูกประเมินทุกเรื่อง
6. เอกสารทุกชนิดเช่น แฟ้มผู้ป่วย โจทย์สถานการณ์ ฯลฯ
จะต้องถูกเตรียมให้กับนักศึกษาเป็นการล่วงหน้าทุกคน
ข้อควรรู้ แนวทางการประเมินเมื่อนักศึกษาทําผิดพลาด
- นักศึกษาก็สามารถผิดพลาดได้ (ทําผิดหรือลืมทํา)
- บอกข้อผิดพลาด
- บอกข้อควรแก้ไขและปฏิบัติใหม่
ความผิดพลาดบางอย่างไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายแต่
- ความผิดพลาดสามารถที่จะแก้ไขได้
(ความผิดพลาดลดหรือขจัดความเสี่ยงได้)
-
นักศึกษาสามารถอธิบายความเสี่ยงที่จะเกิดกับผู้ป่วยไ
ด้
การสอนให้รู้จักและรู้จักแก้ไขความผิดพลาดเป็นทั
๑๔. การประเมินทักษะทางคลินิก (Objective structured clinical examination :OSCE) OSCE
ประกอบด้วย ฐานการประเมินสั้นๆ 5-10 นาที
ที่ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องถูกสอบเป็นรายบุคคลในแต่ละฐาน ทั้งในผู้ป่วยหรือผู้ป่วยจําลอง
(นักแสดงหรือหุ่น) แต่ละฐานจะต้องมีความแตกต่างในการทดสอบและหมุนเวียนผ่านแต่ละฐาน
1. Multiple unrelated systems
จัดได้ตั้งแต่ 1-9 ฐาน ขึ้นอยู่กับหัวข้อการประเมินและความซับซ้อนในการประเมิน
รูปแบบการสอนแบ่งผู้เรียนเป็น ๔ กลุ่ม กลุ่มละประมาณ ๙-๑๑ คน โดยแบ่งกันฝึกปฏิบัติสถานการณ์
(scenario) จํานวนทั้งหมด ๔ สถานการณ์ ได้แก่
1. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke)
2. การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease ; COPD)
3. การพยาบาลผู้ป่วยโรคภาวะหัวใจเลือดคั่ง (Congestive heart failure)
4. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีลมในเยื่อหุ้มปอด (Pneumothrorax)
ทั้งนี้ในการฝึกแต่ละสถานการณ์มีหลักการในรูปแบบเดียวกัน จึงขอยกตัวอย่างสถานการณ์ 1
สถานการณ์ (scenario) : การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke)
ผู้ป่วยชายชื่อ นายแสตนลี่ อายุ 76 ปี อาศัยตามลําพังในบ้านพัก
ต่อมามีอาการล้มป่วยซึ่งผู้ดูแลบ้านพักมาพบเห็นในเวลา 09.00 น.
จึงได้โทรศัพท์ตามรถฉุกเฉินเพื่อนําส่งโรงพยาบาล
ผู้นําส่งประเมินว่านายแสตนลี่น่าจะเกิดปัญหาจากโรคหลอดเลือดสมอง
ปฏิเสธการแพ้ยา มีปัญหาความดันโลหิตสูงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990
มีภาวะเจ็บหน้าอกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998
มีภาวะ Heart attack ในปี ค.ศ. 1995 และ 1998
การรักษา – Isosorbide Mononitrate 20 mg วันละ 2 ครั้ง
- Amlodipine 5 mg วันละครั้ง
- Co-codom0l (500) / 8 mg เมื่อมีอาการ
ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติในบทบาทพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยและการประเมินเพื่อรวบรวมข้อมูลที่เป็นปั
ญหาของผู้ป่วยโดยยึดหลักการประเมินตาม ABCDE ซึ่งปฏิบัติดังนี้
1. A = Airway ซักประวัติถามอาการ ประเมินทางเดินหายใจ
2. B = Breathing ดูลักษณะการหายใจ ฟังปอดและวัด O2
3. C = Circulation วัดสัญญาณชีพ ดู capillary refill ฟังเสียงหัวใจ ตรวจประเมินคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
4. D = Disability ประเมิน Neurological signs (EVM)
5. E = Exposure จากการตรวจร่างกายที่ฟังปอดพบ wheezing O2
หลังจากพบปัญหาให้การช่วยเหลือโดยรายงานแพทย์เพื่อการรักษาโดยการรายงานยึดหลัก
1. S = situation แนะนําชื่อพยาบาลที่รายงานแพทย์ ชื่อหอผู้ป่วย ชื่อผู้ป่วย
2. B = Background ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน โรคประจําตัว การผ่าตัด
3. A = Assessment ระบุปัญหาที่พบและการพยาบาลที่ให้หรือไปแล้ว เช่น O2
พบว่าผู้ป่วยสามารถพูดคุยได้แต่สับสน ไม่มีอาการอุดกั้นทางเดินหายใจ
mask c bag 15 LPM
saturation พบว่าค่า O2
saturation ต่ํา ร่วมกับผล
Lab ABG ที่พบว่ามีภาวะ respiratory acidosis
ประเมินแล้วมีปัญหาอะไรบ้าง
การรักษาก่อนมานอนโรงพยาบาล
mask c bag 15 LPM
4. R = Recommendation
เสนอแนะแพทย์ให้เห็นความสําคัญที่ต้องรีบมาดูอาการผู้ป่วยให้ทันท่วงที
ผู้สอนบอกผู้เรียนให้ทราบรายละเอียดผู้ป่วย เช่น ประวัติผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
ขณะทํากิจกรรมผู้สอนจะกระตุ้นให้ผู้เรียนปฏิบัติตามหลักกระบวนการ ABCDE โดยการตั้งคําถามนํา
เมื่อผู้ป่วยมาด้วย stroke จะประเมิน A อย่างไรและจะประเมิน B ด้วยวิธีใด
ผู้ป่วยมีความผิดปกติของ ABG จะตัดสินใจรายงานแพทย์หรือยัง
ความผิดปกติของ stroke จะตรวจพบจากอาการอะไรบ้าง
เมื่อรายงานแพทย์แล้วคิดว่าแพทย์จะมีแผนการรักษาอย่างไรต่อไป
การฟังปอดที่พบ wheezing ใน stroke และผู้ป่วยมีไข้ร่วมด้วย น่าจะเกิดจากปัญหาใด
และจะจัดการด้วยวิธีใด
saturation ต่ํา จะจัดการอย่างไร
กระบวนการ Debrief ผู้เรียนต้องการเวลาที่จะบอกความรู้สึก
การบริหารจัดการ การแบ่งหน้าที่ การสื่อสารในกลุ่มเล็กจะดีกว่ากลุ่มใหญ่
จํานวนคนที่เข้าเรียนควรเป็นกลุ่มเล็ก
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ที่ดีและแสดงศักยภาพได้เต็มที่
การทําให้เสมือนจริงถูกต้องและแม่นยํา
การทําให้เสมือนจริงต้องทําให้หุ่นสามารถพูดคุยโต้ตอบได้ ใช้หุ่นให้เหมือนสถานการณ์จริง
ซึ่งการทําให้เสมือนจริงถูกต้องและแม่นยําประกอบด้วย
1. Environmental Fidelity การจัดสถานการณ์บรรยากาศห้อง ให้เสมือนจริง เช่นเสียงโทรศัพท์ดัง
2. Equipment Fidelity การใช้หุ่นที่เสมือนจริง เช่นพูดได้ ร้องไห้ได้ กระพริบตา ฟังเสียงปอดได้
ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้เรียนและถ้าแสดงให้เห็นจริงจะส่งผลให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและคิดว่าเห
ข้อจํากัดของการทําให้เสมือนจริง
1. ด้านสิ่งแวดล้อม ห้องสําหรับการสอน Simulation อาจจะไม่เสมือนจริงโดยการใช้ห้องแทนกัน
เช่นการใช้ห้องฉุกเฉินแทนห้องผู้ป่วยหนัก แต่อย่างไรก็ตามต้องใช้ห้องให้เกิดความคุ้มค่า
ดังนั้นการจะรายงานสถานการณ์ต่างก็ต้องดูว่าขณะนี้อยู่วอร์ดอะไร
จะให้เหมือนที่โรงพยาบาลหมดทุกอย่างจะเป็นไปได้ค่อนข้างยากหรืออาจจะเป็นไปไม่ได้
เพราะการซื้อของบางอย่างอาจจะใช้คําสั่งแพทย์
ดังนั้นอาจจะขอความอนุเคราะห์จากโรงพยาบาลนําอุปกรณ์ที่ไม่ใช้แล้วมาใช้ในห้อง Simulation
3. ด้านอารมณ์และจิตใจ เนื่องจากหุ่นไม่ใช่คนจริง
อาจจะยากในการเข้าถึงจิตใจที่แท้จริง ดังนั้นการที่จะทําให้นักศึกษาคิดว่าได้อยู่ในสถานการณ์จริง
โดยให้ไปศึกษาจากสถานการณ์จริงหรืออาจจะให้นักศึกษาที่มีประสบการณ์ตรงเล่าให้เพื่อนคนอื่นๆ ฟัง
การที่จะแสดงให้เหมือนจริง ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้เรียน รวมถึงผู้สอนและหุ่น
การมีปฏิสัมพันธ์กับหุ่น เช่น เมื่อหุ่นพูดแล้วนักศึกษาพูดตอบโต้ได้ จะทําให้มีความเสมือนจริงมากยิ่งขึ้น
การเขียน Scenario ให้มีความน่าสนใจและเสมือนจริงต้องมีภาพประกอบ
เพื่อบอกถึงประวัติของผู้ป่วยต้องเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของผู้เรียนให้คล้ายกับสถานการณ์จริง
โดยการเขียนสถานการณ์ต้องเสมือนจริง ต้องดูว่าโรคที่เขียนเป็นโรคที่พบบ่อยหรือไม่
และอาการจะต้องตรวจพบอะไร CXR พบปอดผิดปกติอย่างไร และการฟังเสียงปอดต้องสอดคล้องกับผล CXR
การกําหนดบทบาทของผู้เรียนต้องสัมพันธ์กับสถานการณ์ที่มีของโรงพยาบาล
CPR ผู้สอนสร้างสถานการณ์ให้นักศึกษาได้ฝึกจะทําให้ผู้เรียนลดความกลัว ความวิตกกังวล
การกําหนดสถานการณ์จะต้องดูประสบการณ์ของผู้เรียน เช่นนักศึกษาไม่เคย
และสิ่งที่สําคัญการเขียน Scenario ไม่ควรเขียนสถานการณ์ให้ผู้ป่วยอาการแย่ลงจนกระทั่งเสียชีวิต
เพราะจะทําให้นักศึกษาขาดความเชื่อมั่นและมีประสบการณ์ที่ไม่ดีต่อการเรียน
- ต้องกระตุ้นผู้เรียน เช่นสอนเรื่อง Sepsis ต้องอธิบายว่ามีคนเสียชีวิตเพราะ Sepsis ทุก 3 วินาที
จะทําให้ผู้เรียนเห็นความสําคัญมากยิ่งขึ้น
- สถานการณ์ต้องให้ตรงกับความเป็นจริง ภาพที่ใช้ประกอบต้องสอดคล้อง เช่น เสมหะ
สีของเสมหะต้องสอดคล้องกับโรคที่เป็นอยู่
- หุ่นต้องมีการแต่งตัว เช่น ใส่หมวกกันน๊อคในสถานการณ์อุบัติเหตุต้องมีการถอดหมวกกันน๊อค
การสรุปบทเรียนที่ผ่านมาแล้วนําไปสอนผู้เรียน โดยได้แจ้งข้อมูลให้ผู้เรียนว่า
กําลังจะนําเข้าสู่การเรียนการสอนวิชาอะไร บอกวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนกับผู้เรียน
แล้วทําไมถึงต้องจัดการเรียนการสอนโดยใช้ simulation สิ่งที่จะได้รับจากการนํา SimMan Senario มาใช้
1. ความปลอดภัย ของผู้ป่วย และตัวผู้เรียน
2. ประสบการณ์ของผู้เรียนที่ได้รับจากสถานการณ์
ทําให้ผู้เรียนสามารถดูแลให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้ดีขึ้น ให้การช่วยเหลือพยาบาลได้อย่างถูกต้อง
3. ผู้เรียนมีทักษะ ความชํานาญในการดูแลให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้ดี
4. มีประโยชน์ทั้งผู้เรียนและผู้ป่วย นอกจากนี้ ในการดูแลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
เป็นการฝึกให้ผู้เรียนในการตัดสินใจการให้การช่วยเหลือผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤตรวมถึงการทํางานเป็
๑๕. SimMan Senario มีความสําคัญอย่างไร?มีการเปิด VDO จําลองการเกิดเหตุการณ์ขึ้นกับสายการบิน โดยให้ศึกษาวิธีการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในภาวะวิกฤต การสื่อสารข้อมูลระหว่างนักบินกับหอบังคับการบิน นักบินได้แจ้งเครื่องลงจอดแต่มีปัญหาเนื่องจากมีฝูงนกบินรบกวนจํานวนมาก ทําให้ไม่สามารถนําเครื่องลงจอดสนามบินได้ จึงได้นําเครื่องบินบินรอบสนามบินหลายรอบจนเครื่องบินน้ํามันหมด แต่ก็ไม่สามารถลงจอดได้ประกอบกับสนามบินไม่มี runway ว่างให้เครื่องลงจอดได้
ซึ่งนักบินได้มีการสื่อสารอย่างมีสติไม่ตื่นตระหนก และลดความตึงเครียดจึงได้ตัดสินใจนําเครื่องลงจอดแม่น้ํา
Hudson river จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้สอน ชี้ประเด็นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสาร การตัดสินใจ การควบคุมสติ เวลาเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้นบอกให้เห็นว่าประโยชน์ของการนํา SimMan Senario มาใช้มีอะไรบ้าง? มีการศึกษาวิจัย Pilot study พบว่า นักศึกษา 12 คน ส่วนใหญ่บอกว่า เขามีอาการตื่นเต้นในระยะแรกแต่หลังจากนั้นก็สามารถนําความรู้ที่ได้เรียนมามาใช้ได้
และทุกคนเห็นตรงกันว่าทําให้เขามีทักษะ สามารถรู้ได้ว่าผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงแย่ลง หรืออาการเลวลงจากเดิมได้ และทุกคนใน Pilot study มีความมั่นใจมากขึ้น และได้มีการยกตัวอย่างคําพูดของนักศึกษาว่า “ มีความมั่นใจเมื่อเกิดสถานการณ์ในห้องฉุกเฉิน และมีความมั่นใจที่จะเรียนรู้ต่อไปในอนาคต ในวิชาที่มีความซับซ้อนหรือวิชาที่มีความยากมากขึ้นกว่าเดิม การบอกวัตถุประสงค์ของผู้สอนที่จะทําการสอน SimMan Senario ต้องชัดเจน เช่น ถ้าต้องการให้ผู้เรียนตระหนักหรือสามารถประเมินอาการผู้ป่วยได้ว่ามีอาการแย่ลงจากเดิม ผู้เรียนสามารถประเมินผู้ป่วยได้ถูกต้องโดยประเมินจาก ABCD สามารถรายงานข้อมูลและการส่งต่อผู้ป่วยใช้หลัก SBARการทํา SimMan Scenario อาจได้มาจากจากนั้นอาจารย์ได้ให้สมาชิกในชั้นเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มได้มีการใช้กระบวนการทั้งหมดที่ได้เรียนมา มาจําลองใช้กับหุ่นในห้องปฏิบัติ
ตั้งแต่การวางแผนร่วมกันกับสมาชิกในทีม โดยอาจารย์ได้กําหนดสถานการณ์มาให้ทํา ทีมได้มีการวางแผนตั้ง กําหนดบทบาทหน้าที่ ใครจะทําหน้าที่อะไร เช่น ผู้เรียน ครูผู้สอน Facilitator ผู้บันทึกข้อมูล
มีการ Pre-Brief และจะต้องแจ้งผู้เรียนทุกครั้งว่าจะมีการ Debrief ด้วย ในการ Debrief จะมี 3 Phase
1. ให้นักศึกษาบอกความรู้สึกของตนเอง
2. ชื่นชมให้กําลังใจแก่ผู้เรียนในสิ่งที่ทําได้ดีขึ้นก่อน
จากนั้นถ้าพบว่าผู้เรียนทําไม่ถูกต้องก็สามารถบอกให้ข้อแนะนํา ชี้ข้อบกพร่องให้แก่ผู้เรียนได้
ทําให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนในขณะนั้นได้เลย ไม่ต้องรอสรุปสุดท้าย ผู้สอนก็สามารถทําได้
3. การเคารพความคิดเห็นการปฏิบัติของเพื่อนร่วมทีมทุกคน
เพราะถ้าสมาชิกทุกคนในทีมทําให้เสมือนจริง และมีความเชื่อเดียวกันว่าจะทําให้เสมือนจริงมากที่สุด
ผู้สอนต้องตระหนักถึงความสําคัญ แม้นว่าบางครั้งอาจมีการกระทําอะไรไม่ถูกต้อง จากนั้นได้มีการทดลองให้แต่ละกลุ่มแยกย้ายฝึกปฏิบัติกับอาจารย์ผู้สอนแต่ละกลุ่มก็ได้มีการทําตามขั้นตอนตามที่ได้เรียนมาตามบทบาทที่ได้วางแผนกําหนดร่วมกับทีมตั้งแต่เริ่มต้นหลังจากนั้น อาจารย์ได้ให้สถานการณ์จําลองของผู้ป่วยมา โดยให้ครูผู้สอนได้ให้ข้อมูลสถานการณ์กับผู้เรียน ผู้เรียนได้รับข้อมูลก็เริ่มแสดงตามบทบาท และให้การช่วยเหลือผู้ป่วย การสังเกตอาการผู้ป่วยที่แย่ลงจากเดิม การให้การช่วยเหลือร่วมกับทีมโดยมีการแบ่งหน้าที่ มีหัวหน้าทีม Facilitator, Observer, เสมือนกับได้ดูแลผู้ป่วยบนหอผู้ป่วยจริงๆ ตั้งแต่พบผู้ป่วยของผู้เรียนครั้งแรก จนถึงการดูแลการให้การช่วยเหลือ การนึกถึงโรคที่อาจคลาดเคลื่อน ผู้สอนอาจจะ Time out และชี้แนะ ให้ผู้เรียนกลับมาจากการคาดการณ์ที่อาจเข้าใจผิด (อาการแสดงของผู้ป่วยที่พบกับสิ่งที่ส่งตรวจต้องสัมพันธ์กันกับความน่าจะเป็นของโรค) ให้นึกถึงความน่าจะเป็นโรคของผู้ป่วยมากที่สุด ถ้าผู้เรียนสามารถเข้าใจถูกทางแล้ว ก็ให้ดําเนินการต่อจนสิ้นสุด หลังจากนั้นผู้สอนได้มีการ Debrief ให้กับผู้เรียน และให้ผู้เรียนแสดงความรู้สึกจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การเรียนรู้ที่ได้รับ การแสดงความคิดเห็น เป็นต้น และผู้สังเกตการณ์ได้ให้ข้อมูลสะท้อนกลับต่อการช่วยเหลือผู้ป่วยกับสถานการณ์จําลองที่ให้มา รวมถึง หลังจากนั้นอาจารย์ผู้สอนได้มีการสรุปภาพรวมของแต่ละกลุ่มทั้ง 4 กลุ่ม ได้ชี้แนะ ให้กําลังใจ ชื่นชมแต่ละกลุ่ม และได้เพิ่มเติมบทบาทที่ดีของครู ต้องมีความชัดเจน ระหว่างห้องฝึกปฏิบัติกับห้อง Control การประเมินผู้ป่วย ABCD การตรวจร่างกายตั้งแต่ Head to toe ขึ้นอยู่กับสถานการณ์แต่ละสถานการณ์ ครูผู้สอน 2 คนต้องรู้ข้อมูลเหมือนกันว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอาการของผู้ป่วยในสถานการณ์ตอนไหน ครูผู้สอนต้องสามารถควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ดี ให้มีการดําเนินการไปอย่างราบรื่น ให้การฝึกปฏิบัติเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ควรกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากที่จะเรียนรู้ และไม่ควรยากหรือง่ายเกินไป
การวางแผนในการนํา Simulation ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนหลังจากที่ได้เรียนฝึกอบรมในครั้งนี้
1. ท่านจะนําความรู้อะไรที่ได้รับในครั้งนี้ไปใช้ในการเรียนการสอนวิชาอะไรกับนักศึกษาชั้นปีไหน?
2. ท่านจะสอนอะไรบ้างและทักษะที่สําคัญจะนํามาใช้กับ Simulation ?
3. ต้องการอุปกรณ์ เครื่องมืออะไรบ้าง ในการฝึก Simulation ?
4. ต้องการ Staff ที่จะมาช่วยในการฝึกปฏิบัติให้กับผู้เรียน จํานวนมากน้อยแค่ไหน?
5. มีการประเมินนักศึกษาจากการฝึกอย่างไร?
จากนั้นแต่ละคนก็ฝึกทําแบบฝึกหัดตามที่อาจารย์มอบหมายให้ฝึกทํา อาจารย์คอยเข้าดูแลช่วยเหลือว่าสามารถเข้าใจในสิ่งที่มอบหมายงานให้ทํา ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ทุกสามารถทําได้ดี อาจารย์ก็ได้ชื่นชมและเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดให้กับผู้เข้ารับการอบรม
ช่วงสุดท้ายของการสิ้นสุดของการอบรมในวันนี้และครั้งนี้ Dr. Jhon และคณะ ได้ให้ผู้เข้ารับการอบรมเขียนสิ่งที่ได้รับตลอดระยะการอบรม 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา แสดงความคิดเห็น
ข้อเสนอแนะ ความรู้สึกต่อการอบรมในครั้งนี้ เพื่อที่จะนําไปปรับปรุงในการเรียนการสอนในรุ่นที่ 2 ต่อไป อาจารย์กล่าวแสดงความรู้สึกตลอดระยะเวลาที่เตรียมการและการสอนที่ผ่านมาแม้นว่าจะเหนื่อยมากแต่ก็มีพลังที่จะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆไปได้และมีความสุขมากที่ได้สอนกับผู้เข้ารับการอบรม ตัวแทนของผู้เรียนก็ได้กล่าวขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่ให้ความรู้ ชี้แนะต่างๆให้กับผู้เข้ารับการอบรม ทําให้ทุกคนมีความสุขตลอดการฝึกอบรมที่ผ่านมา และทุกคนได้เขียนความรู้สึกลงในกระดาษใหอาจารย์
ความรู้ที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน:
นําความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การจําลองสถานการณ์ (Simulation)
มาจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษาชั้นปีที่ ๓ ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๒,๓
แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้
ผู้บันทึก : นางวันดี แก้วแสงอ่อน และ นางนิสากร จันทวี
กลุ่มงาน : ห้องสมุดและห้องปฏิบัติการ
ประเภทการปฏิบัติงาน: อบรมระยะสั้นต่างประเทศ
วันที่จัด: วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๗
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
สถานที่จัด : ณ NortumbriaUniversity สหราชอาณาจักร
เรื่อง :การพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอน : Clinical Simulation
รายละเอียด
๑. การจําลองสถานการณ์ (Simulation) มีหลายรูปแบบ ดังนี้
๑.๑ การเรียนจากบทเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก (Paper based scenario) :
เป็นการเรียนโดยการประยุกต์การเรียนโดยใช้บทเรียนที่มีปัญหาเป็นหลัก (ใน ๑ กลุ่มจะมีผู้สอนประมาณ ๒ คน ในการสอนกลุ่มนักศึกษา ๖ คน ของทีมมหาวิทยาลัย Nortumbria)ปัญหาที่พบ : ผู้เรียนไม่ได้สนใจปัญหาที่เกิดขึ้นจริง จะมุ่งแก้ปัญหาตามบทเรียนที่มีให้
๑.๒ การแสดงบทบาทสมมติ (Role play) : การสอนด้วยบทบาทสมมติเหมือนสถานการณ์จริง จะประกอบด้วยการที่กลุ่มนักศึกษาเขียนบทการแสดงและมอบหมายบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน เช่น
พยาบาล ผู้ป่วย และผู้เรียน ๒ ใน ๓ เป็นผู้สังเกตพฤติกรรม ผู้สอนต้องควบคุมห้องเรียนโดยให้ผู้เรียนทุกคนสนใจในบทบาทที่เพื่อนแสดง การสอนแบบนี้เหมาะกับการสอนเทคนิคการสื่อสาร หรือสอนผู้ป่วยก่อน กลับบ้าน
๑.๓ Single task trainer : เป็นการฝึกทีละวิธีการ
เป็นการสอนที่ผู้สอนจะต้องปูพื้นฐานให้ผู้เรียนมีความรู้ครบถ้วนในกิจกรรมเฉพาะและมีการสาธิตและสาธิตย้อนกลับโดยการฝึกทีละวิธีการหรือกิจกรรม เช่น การใส่สายสวนปัสสาวะ ผู้สอนจะสอนถึงอุปกรณ์ที่ใช้ การทํา ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น มีการสาธิตให้ดูและให้ผู้เรียนปฏิบัติเพียงทีละ ๑
๑.๔ Desk/Table top exercise : การประชุมหารือเชิงปฏิบัติการ
เป็นการที่ผู้เรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาสถานการณ์ที่สําคัญของหน่วยงานหรือประเทศที่มีการสูญเสียทางเศรษฐกิจจะส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิตเช่น การระบาดของไข้หวัดนก ภัยพิบัติ และการฝึกการเป็นผู้นํา
๑.๕ Manniequin based (หุ่นมนุษย์จําลอง) :
เป็นการสอนที่ผู้สอนให้ผู้เรียนได้ฝึกในสถานการณ์ต่างกับหุ่นจําลองที่ผู้สอนได้จําลองสถานการณ์คล้ายกับผู้ป่วยจริง เช่น การสอนในการดูแลผู้ป่วย Asthma attack ผู้เรียนได้ฟังเสียงการหายใจแบบ Wheezing จากปอด ได้ฝึกการให้ออกซิเจน และการให้ยาในผู้ป่วย
๑.๖ Manniequin total immession (หุ่นมนุษย์จําลองแบบครบในทางการแพทย์) :
เป็นการสอนที่ผู้สอนสามารถให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การแสดงอาการของผู้ป่วยในหลายระบบพร้อมๆกัน เช่น การสอนในการดูแลผู้ป่วย Shock หรือ Cardiac arrest
๑.๗ Environment : เป็นการสอนที่จัดสิ่งแวดล้อมให้เสมือนจริง เช่น
เป็นการสอนที่มีการจําลองคล้ายกันในหอผู้ป่วย ผู้ป่วยรวมหลายเชื้อชาติ หลายโรค ให้ผู้เรียนฝึกการดูแล
๑.๘ Virtual reality : ระบบเสมือนจริง เป็นการสอนที่ใช้ประโยชน์จาการสร้างสื่อผสม
ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองหรือเป็นกลุ่มได้ โดยนําเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ สามารถเคลื่อนย้าย
โต้ตอบในสิ่งแวดล้อม มีที่แสดงหรือดูในรายละเอียดได้เช่น การสอนในวิชา Anatomy ที่มหาวิทยาลัย
Northumbria จะมีการควบคุมระบบโดยใช้ SMOTS โดยใช้กล้องหลายๆตัวในแต่ละห้อง มีทั้งห้อง ICU เด็ก
๒. หลักสูตรการเรียนการสอน NortumbriaUniversity
ประยุกต์แนวคิดการฝึกทักษะ (Skills Acquisitions) จากหลักสูตรของประเทศสหรัฐอเมริกา
Does
ลงมือปฏิบัติ
Show How
เรียนรู้สถานการณ์เสมือนจริง
Know How
จาการกระทํา กรณีศึกษา สัมมนา
D Knows
Mixed modality ใช้วิธีแบบผสมผสานในแต่ละเรื่อง โดยเริ่มจากการบรรยาย เช่น เรื่อง Shock
โดยการสัมมนาเรื่อง Shock ก่อนการทดลองกับผู้ป่วยจนไปปฏิบัติจริง
๓. หลักสูตรการสอนที่เกี่ยวข้องกับ Simulation
นักศึกษาพยาบาล ปี ๑ จะเป็นการฝึกทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล
กรณีถ้าใช้อุปกรณ์เฉพาะพัฒนาทักษะทางการพยาบาล (Focus on skill development) โดยวิธีการสาธิต
(Demonstration) ผู้สอนต้องดูแลอย่างใกล้ชิด (Support complete) เช่น การสอนแบบบรรยาย การสาธิต นักศึกษาพยาบาล ปี ๒ ใช้การสอนแบบ Coached Simulated Scenario ผู้สอนจะเป็นแนะนําวิธีการ เป็นผู้คอยชี้แนะในกาศึกษาหุ่น เช่น สถานการณ์ผู้ป่วย เจ็บหน้าอก ช็อค หรือ การฟื้นคืนชีพ ผู้สอนจะเป็นพี้เลี้ยงหรือผู้ชี้แนวทาง (Guide/Mentor)นักศึกษาพยาบาล ปี ๓ ผู้เรียนต้องใช้ประสบการณ์ที่ได้เรียนมาทํางานเป็นทีม บริหารจัดการหอผู้ป่วยได้ เช่น ใช้ข้อมูลจากการซักประวัติ การตรวจร่างกาย มากอบกับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและผลตรวจพิเศษ ผู้สอนทําหน้าที่ Facilitator/Role player
๔. การสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง (Simulation delivery )
๒๐ นาที ๒๐ นาที ๓๐ นาที
Scenarioการปฏิบัติตามที่มีในสถานการณ์การสรุปบทเรียนใช้เวลา ๕ นาทีเรียนรู้ทําไม จําเป็นอย่างไรแนะนําเข้าสู่ Simulation Related to real ward experience เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งการเล่าหรือการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จริงที่พบในผู้ป่วย กับผู้เรียนมีความสําคัญมากการสอนสถานการณ์จําลองเสมือนจริงที่ NortumbriaUniversity จะเน้นไปใน ๓ กิจกรรม ได้แก่
โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็น ๔ กลุ่ม กลุ่มละ ๖ – ๗ คน (กรณีที่มี ๒๕ คน) ใช้เวลาประมาณ ๓ ชม. โดยมีการหมุนเวียนกันในกลุ่ม และแต่ละกลุ่มทํา Simulation ๒ สถานการณ์ และแบ่งผู้ Observe ๒
กลุ่มสลับกัน ผู้ Observe จะเป็นผู้ปฏิบัติในสถานการณ์นั้นด้วย เช่น Shock และ Asthma attackทฤษฎีที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน คือ ทฤษฎีการเรียนรู้ที่จะค่อยๆเสริมความรู้ใหม่ที่ละน้อย
เพื่อให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการทํา เสริมความรู้ และทําให้เกิดความมั่นใจ ขั้นตอน Debrief แบ่งออกเป็น ๓ ระยะ ดังนี้
ระยะที่ ๑ Descriptive Phase (การบรรยาย) : เป็นการถามถึงความรู้สึกของผู้เรียน
ระยะที่ ๒ Analysis Phase (การวิเคราะห์) : ครูสะท้องผู้เรียนในสิ่งที่ผู้เรียนทําได้ดี
ระยะที่ ๓ Application Phase (การนําไปประยุกต์ใช้) : จะนําไปใช้จริงอย่างไร ให้ทําจนผู้เรียนเกิดความมั่นใจที่จะสามารถนําไปปฏิบัติได้หลักการในการทํา Debrief โดยใช้หลัก ๖PA (Performance Agreement)
Immediate Phase ขั้นตอนการประเมินและระบุปัญหาที่พบ
Planning Phase การวางแผนว่า ใครควรทําอะไร ตามบทบาทหน้าที่อะไร
Assessment Phase การประเมินสภาพ และการระบุปัญหา
Action Phase การลงมือปฏิบัติ เช่น การให้เลือด ให้ยา ฯลฯ
Maintenance Phase ดูผลการประเมิน เช่น การให้สารน้ําทางหลอดเลือดดํา
Deterioration Phase วิเคราะห์ประเมินคุณภาพ การออกซิเจน ถ้าผลการประเมินดีให้คงสภาพดังกล่าวไว้หรืออาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมหากไม่ได้ผลเป็นไปตามที่กําหนดไว้ให้กลับไปประเมินขั้นต้นใหม่ในขั้น Debrief ผู้สอนจะสะท้อนหรือประเมินในวันที่ผู้เรียนทําได้ดีก่อน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจ เช่น มีการดูแลแบบเอื้ออาทร เข้าไปซักถามความรู้สึกของผู้ป่วย จับมือหรือสัมผัสตัวผู้ป่วยไว้ เป็นต้น แล้วถึงประเมินจุดที่บกพร่อง บอกเหตุผล และบอกแนวทางการแก้ไข
๕.Recognition Rescue (คุณค่าและความสําคัญของการช่วยเหลือให้รอดชีวิต)
Failure to rescue : ความล้มเหลวในการช่วยเหลือผู้ป่วยให้รอดชีวิตยังมีความสําคัญมาก ซึ่งการช่วยเหลือมีการดูแลอยู่ ๒ แบบ คือ
- Technical : มีเทคนิคหรืออุปกรณ์ช่วย เช่น การประเมินโดยใช้แบบวัด
- Non Technical : การไม่ใช้อุปกรณ์ หรือเทคนิคเฉพาะทางการแพทย์ เช่น การพูดคุยกับผู้ป่วย การทํางานเป็นทีม การตระหนักถึงความสําคัญ การรับรู้สิ่งที่อยู่รอบตัวที่ประเทศอังกฤษ มีหน่วยงานที่ดูแลเฉพาะ คือ NPSA (National Patient Save Agency) มีการประเมินโดยใช้แบบประเมิน Early Warning Score (EWS) เป็นการประเมินใช้ ๖ ตัวชี้วัด ดังนี้
Respiratory Rate การวัดอัตราการหายใจ
saturation เป็นตัวชี้วัดสําคัญเป็นตัวที่ประเมินปัญหาในระบบทางเดินหายใจ
Temperature อุณหภูมิกาย
Systolic Blood Pressure ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว
Heart Rate อัตราการเต้นของหัวใจ หรือชีพจร
Level of Conscious ประเมินตาม AVPU (Alert, Response to voice, Response to Pain, Unresponsive)NPSA มีเกณฑ์ในการแบ่งคะแนน ดังนี้
คะแนน ๓ ๒ ๑ ๐ ๑ ๒ ๓RR ๑๒-๒๐
แต่ในการประเมินก็ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของพยาบาลด้วย เช่น ถ้าเป็นนักกีฬาหรือผู้ป่วยที่มีปัยหาโรคปอดเรื้อรัง จะมี HR ที่ต่ํา เป็นต้นในผู้ป่วยเด็กมีแบบประเมินเฉพาะ คือ PEWS for Children เพราะเด็กจะเกิด Respiratory failure
Child Arrest
Loss fluid Fluid maldistribution Respiratory distress Respiratory
Circulatory failure Respiratory failure
Cardiac arrest
การใช้ PEWS chart จะใช้เฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า ๑๗ ปี โดยแบ่งช่วงอายุเป็น ๑ -๔ ปี, ๕ – ๗ ปี และ ๘ – ๑๖ ปี เพราะค่าที่ประเมินได้จะมีความแตกต่างกัน
๖.Simulation technology ประกอบด้วย
1. SMOT โดยการสังเกตผ่านวีดีโอ เพื่อดูพฤติกรรมของผู้เรียนว่าสามารถทําได้ดีหรือต้องมีข้อแก้ไข
โดยจะมีกลุ่มที่สังเกตพฤติกรรมและให้การสะท้อนพฤติกรรมกลุ่มที่อยู่ใน Simulation room
1. Safety เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ป่วย ก่อนที่จะปฎิบัติจริงต้องฝึกฝนจนผู้เรียนเกิดความมั่นใจ
การทํากับหุ่นสามารถทําซ้ําและหยุดได้เป็นช่วงๆ และยังช่วยฝึกการปรับตัวก่อนเผชิญกับสถานการณ์จริง ในเรื่องของความตรึงเครียด และกดดัน เป็นต้น
2. Experience เป็นการเพิ่มทักษะให้กับผู้เรียน เพื่อไม่ให้เกิดความกลัว
ความตื่นตระหนก ร้องไห้ และความเครียด เช่น การฝึกของนักบิน ก่อนการบิน เพื่อให้เกิดทักษะ และสามารถเผชิญกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้
3. Practice การฝึกต้องใส่เครื่องแบบเพื่อแสดงความเป็นเป็นวิชาชีพ
และเพื่อให้ผู้เรียนมีการเตือนตัวเองว่าจะทําอะไรต้องคํานึงถึงวิชาชีพ และให้ผู้เรียนดึงความรู้ที่เรียนออกมาใช้
4. Benefits การฝึกทํากับหุ่นสามารถหยุดและให้ข้อเสนอแนะ และเริ่มทําซ้ําใหม่ได้ อันจะทําให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้เรียนความคาดหวังจากการใช้หุ่น (Expectation simulation) มีเป้าหมายดังนี้
1. ให้ผู้เรียนตระหนักรู้ถึงอาการแสดงที่เปลี่ยนไปของผู้ป่วยในทางที่แย่ลง
2. การประเมินสภาพโดยใช้ A=Airway B= Breathing C=Circulation D= Disability E=
Exposure เป็นกรอบแนวคิดในการประเมิน
3. การรายงานผลและส่งต่อ โดยใช้เครื่องมือ SBAR (SBAR Tool)
Simulation ต้องประกอบด้วย การ Lecture, Practicals, Seminar และ Practice placement
(การทดสอบการปฏิบัติ) ที่จะทําให้การเรียนด้วย Simulation มีความสมบูรณ์
ขั้นตอนการเรียน Simulation ต้องประกอบด้วย
a. การแบ่งผู้เรียนออกเป็น 4 กลุ่ม
b. ให้เวลากลุ่มสังเกตการณ์ศึกษาสถานการณ์ และศึกษาบทบาทการทํางานที่กําหนด
และการแสดงบทบาทของเพื่อนที่อยู่ใน simulation room
โดยใช้การอภิปรายจากการบันทึกพฤติกรรมจากกลุ่มที่สังเกตการณ์ได้
c. ครูจะเข้ามาพบผู้เรียนในห้องสังเกตการณ์ ภายหลังจากจบกลุ่ม scenario
d. กลุ่มที่อยู่ในห้องสังเกตการณ์จะให้ข้อมูลย้อนกลับ และประเมินผลในตอนท้าย
ผู้อํานวยความสะดวก (facilitator) – ผู้ให้คําปรึกษา (mentor)
ผู้เรียน (student) – นักศึกษาพยาบาล (a student nurse)
-ห้องสังเกตการณ์ (Observation room)
เครื่องวัดความดันโลหิต ออกซิเจน โทรศัพท์
การ De-briefing โดยใช้โมเดลของ Steinwachs (1992) แบ่ง 3 ระยะ คือ
๑. Descriptive phase ให้ผู้เรียนบอกความรู้สึกว่ารู้สึกอย่างไรกับสถานการณ์
๒. Analysis phase ผู้สอนจะเป็นผู้บอกข้อดี และข้อบกพร่อง
โดยต้องไม่ให้ผู้เรียนรู้สึกผิดและใช้การเสริมแรงทางบวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดกําลังใจ
๓. Application phase การนําไปใช้ในสถานการณ์จริง โดยต้องเน้นย้ําให้ผู้เรียนตระหนักถึงคุณธรรม
จริยธรรม (etiquette) ในการปฏิบัติกับหุ่น โดยคํานึงถึง
- การเคารพ (Respectful) ในการปฏิบัติกับหุ่นให้เสมือนกับการปฏิบัติผู้ป่วยจริง
- การทํางานเป็นทีม ต้องพยายามดึงผู้เรียนที่ไม่กล้าแสดงออกให้เข้ามา
ส่วนผู้เรียนที่คอยชี้นํากลุ่มให้ดึงออกไปจากกลุ่ม
1. แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 4 กลุ่ม โดยกลุ่มสังเกตการณ 6 คน และกลุ่ม scenario 6 คน
2. Pre-debrief โดยผู้สอนจะบอกถึงวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน อุปกรณ์
และข้อมูลผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับมีข้อมูลดังนี้
กรณีศึกษา ผู้ป่วยอายุ 61 ปี มีประวัติเป็นมะเร็งลําไส้ หลังผ่าตัดมะเร็งลําไส้ on radivac drain
discharge ออก 200 cc แรกรับมีอาการเหนื่อย on oxygen 2 L/min retained foley’s catheter urine
1. ครูบอกวิธีการปฏิบัติ โดยเน้นย้ําให้ผู้เรียนนําความรู้มาใช้
2. ผู้เรียนในกลุ่ม Simulation จะต้องประเมินผู้ป่วยโดยใช้หลัก ABCDE โดยใช้ความรู้
ประสบการณ์ และรายงานผลโดยใช้ SBAR TOOL
3. ขณะที่อยู่ในสถานการณ์ผู้สอนควรสังเกตผู้เรียน
หากพบผู้เรียนปฏิบัติไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติในเวลาที่กําหนด ผู้สอนจะหยุด และถามคําถาม
ยกตัวอย่างเช่น ทําไมถึงเปลี่ยนการให้ Oxygen cannula เป็น Oxygen mark
หากผู้เรียนไม่สามารถบอกได้ ผู้สอนต้องเสริมความรู้ให้กับผู้เรียน หรือให้ไปหาความรู้มาตอบ
และที่สําคัญควรไม่ให้ผู้เรียนรู้สึกผิด และหากสถานการณ์นั้นมีการตามแพทย์แล้วแพทย์ไม่มา
พยาบาลควรใช้คําถามที่ชี้นําหรือให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา (Proactive)
ร่วมกัน โดยครูถามว่ารู้สึกอย่างไรกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ตามหลัก de- brief ดังอธิบายข้างต้น
4. กลุ่มสังเกตการณ์ (observe) ให้สังเกตพฤติกรรมและจดบันทึก และมา de- brief
๘. Pre-Brief from idea to reality
1. เพื่อทบทวน หาข้อสรุปในประเด็นการทํา Pre-brief โดยต้องชัดเจนเรื่องวัตถุประสงค์,
2. ทบทวนเนื้อหาและประเด็นโครงสร้าง (องค์ประกอบของการทํา Pre-brief
3. ทบทวนกระบวนการทํา Pre-brief
4. การเตรียมร่างกายของการทํา Pre-brief เครื่องมือ อุปกรณ์
ความคาดหวังของผู้สอนและบทบาทของผู้เรียน
2. ความคาดหวังของนักศึกษา
3. บทบาทของผู้เรียน ทําให้เป็นคล้ายพยาบาลวิชาชีพ
5. เน้นเคารพครู เพื่อนร่วมทีม เปิดใจรับฟัง มีความซื่อสัตย์ ยอมรับข้อบกพร่องของตนเอง
เพื่อปรับปรุงแก้ไขโดยอาศัยแหล่งข้อมูล Technology เช่น มาตรฐานต่างๆ ของ INACSL
- International Nursing Association for Clinical Simulation and Learning
- Professional Standards & Guideline (NMC, 2011) Simulation Learning
การวางแผน : สิ่งที่ควรคํานึงก่อนทําการสอน
1. Participant ผู้เรียนก่อนสอนต้องรู้ เขาเป็นใคร ทําอย่างไร ระดับชั้นปีอะไร
2. สิ่งแวดล้อม เวลาในช่วงไหนที่จะทํา, Ward , ICU , ER
3. อุปกรณ์ เครื่องมือ ตามประเภทของ Simulation ให้เพียงพอ
มีประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไร เพื่อเลือกวิธีการจัดการเรียนการสอนโดย Simulation
1. ในแต่ละกลุ่มควรจะวางแผนขั้นการทํา Pre-brief
2. คํานึงถึงความเป็นวิชาชีพและประสบการณ์ที่ควรได้รับ
3. ควรจะทําว่า เขาเป็นใครและเป็นอย่างไร
4. Who : นักศึกษาเป็นใคร ชั้นปีอะไร มีความรู้ ประสบการณ์ , Learning style
5. How : จะสอนนักเรียนด้วยวิธีการอย่างไร
Standard of Best Practice Simulation ให้ Search จากทาง Internet เช่น Simulation
in Health โดยมาจากหนังสือ โดยเฉพาะ ทางโรงพยาบาลของ UK มีการใช้ Simulation
เพื่อใช้ทดสอบพยาบาล ก่อนที่จะรับเข้าทํางานโดยมี Standard ของโรงพยาบาล
๙. Designing and Writing Scenario
การออกแบบและการเขียน Scenario หลักการสําคัญต้องประกอบไปด้วย
๑. วัตถุประสงค์ ท่านคาดหวังว่าบทเรียนนี้จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้เรื่องอะไร
ซึ่งต้องตั้งให้ชัดเจนว่าต้องการให้เกิดอะไร ระดับไหน
๒. ผลลัพธ์ของการเรียนรู้ ผู้เรียนจะต้องแสดงออกหรือมีความสามารถอะไรเมื่อสิ้นสุดในการเรียน
เช่น สามารถประเมินได้ สามารถแก้ไขปัญหาได้
3. ระดับความซับซ้อนของ Scenario ประกอบด้วย ๓ แบบ คือ
สถานการณ์ที่แสดงลักษณะการเปลี่ยนแปลงเพียงอย่างเดียวและมีการตอบสนอง
- ระดับง่าย (Simple) :
- ความยากง่ายระดับปานกลาง (Moderately difficult) :
แสดงลักษณะการเปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลงและมีอาการดีขึ้น
- ซับซ้อนมาก (Complex)
มีอาการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นและมีอาการเปลี่ยนแปลงที่ตอบสนองต่อการรักษา
๔. การวินิจฉัยโรคจากหุ่น อาจใช้ผล X-ray, scans, ผลการตรวจเลือด, ไฟล์ข้อมูล สื่อต่างๆ
เสียงต่างๆ, ผล EKG และสามารถใส่ไฟล์ข้อมูล X-ray, รูปภาพต่างๆ ที่แสดงอาการ เช่น อาการบวม,
neck vein engorment และผลเลือด
4. ต้องเลือกรูปแบบการ de-brief ให้เหมาะสม
- จะต้องมีข้อมูลที่เพียงพอ บอกสถานการณ์ผู้ป่วยให้นักศึกษารู้
- จัดบริบทของ Scenario ให้เหมาะสมและชัดเจน
- ให้นักศึกษารับรู้เวลาในการทํา Scenario เช่น เริ่มต้นสถานการณ์
อุปกรณ์และเครื่องมือจะต้องเตรียมให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่นักศึกษาจะต้องปฏิบัติ
และส่งเสริมให้มีโอกาสในการตัดสินใจและเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์
-บทบาทผู้เรียน ต้องกําหนดให้ชัดเจนว่านักศึกษาอยู่ในสถานการณ์นี้อยู่ในบทบาทอะไร เช่น
- บทบาท Facilitator เป็นผู้เอื้ออํานวยการในการให้นักศึกษาปฏิบัติในสถานการณ์
จะต้องดูแลและคอยสังเกตดูนักศึกษาถ้านักศึกษาทําไม่ได้ต้องให้การช่วยเหลือ
1. เขียน Scenario โดยมีแบบฟอร์มให้ดู โดยผู้ป่วยเป็นโรค COPD
2. กําหนดให้ผู้ป่วยมาด้วย chest infection and exacerbation และมีอาการแย่ลง
3. ให้เขียนข้อมูลตามหลักการ (ตามเอกสารแนบที่อาจารย์แจกให้ทํา)
1. สิ่งที่ต้องพิจารณาเสมอ เราจะนําเสนออะไร อย่างไร ในการ Pre-Brief
2. ควรมีโครงร่างอย่างชัดเจนในการ Pre-Brief
๑. การยกตัวอย่างของการ Pre-Brief
๒. นักศึกษาควรเริ่มต้นในชั้นปีที่ ๒
๓. สถานการณ์ต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนจดจ่อและอยากจะช่วยเหลือ
แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
๑o. การวางแผนออกแบบการช่วยเหลือในการเรียนโดยใช้สถานการณ์จําลอง
จุดประสงค์การเรียน เพื่อหาวิธีในการวางแผนและออกแบบศูนย์การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จําลอง
ผลลัพธ์การเรียนรู้เรื่องนี้ ผู้เรียนควรบอกได้ว่า
๑. ทําไมจึงมีความจําเป็นต้องใช้สถานการณ์จําลองและประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้จากการเรียนแบบนี้
๒. ใครจะเป็นผู้ชี้แจงและบอกจุดประสงค์ที่ผู้เรียนควรจะต้องเรียนรู้
๓. วางแผนว่าจะทําการเรียนรู้นี้ต้องใช้อุปกรณ์และจัดสถานที่ที่ไหนจึงจะเหมาะสมกับวิธีการสอนโดยใช้
๔. เมื่อไรจะเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเรียนนี้
๕. ตัดสินใจ วางแผน วางกระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีนี้อย่างไร
สาเหตุที่การเรียนในสถานการณ์จําลองมีความจําเป็นสําหรับผู้เรียน เพราะ
๒. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจในตนเอง
๔. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารกับทีมงานได้อย่างถูกต้อง เกิดความเข้าใจตรงกัน
จะเห็นได้จากความคิดเห็นจากบทความของบุคคล ดังต่อไปนี้
- Klipfel et al. (๒๐๑๔, p.๓๙) ได้กล่าวไว้ว่า
สถานการณ์จําลองทําให้บุคลากรทางสุขภาพมีความสามารถทางการสื่อสารและเกิดทักษะในการทํางานเป็นที
- Griswold et al. (๒๐๑๒)
กล่าวว่าการสอนโดยสถานการณ์จําลองมีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าเป็นการสอนที่ดีและเกิดความปลอด
ภัยต่อชีวิตผู้ป่วย การใช้หุ่นจําลองผู้ป่วยทําให้นักศึกษาเกิดความมั่นใจในตนเองและมีความรู้มากขึ้น
ทั้งตัวนักศึกษาเองและเพื่อนนักศึกษาที่อยู่ในทีมฝึกปฏิบัติงานในสถานการณ์จําลอง เพราะมีการฝึกปฏิบัติงาน การสะท้อนความคิดซึ่งทําให้การปฏิบัติงานดีขึ้นปัจจุบันประเทศที่ใช้การเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จําลอง ได้แก่ แคนาดา, อเมริกา, ยุโรป, การจัดหลักสูตรสิ่งที่ต้องคํานึงถึงคือความเชื่อมโยงระหว่างกระบวนการสอน การประเมิน
กระบวนการสอน
หุ่น : หุ่นอะไร (SimMan , SimMom), ราคา , ระบบปฏิบัติการ
อุปกรณ์ในคลินิก : set IV fluid , สายออกซิเจน, monitor, Defibrillator, เครื่องวัดความดันโลหิต
อุปกรณ์อื่นๆ : เตียง, โต๊ะ, เก้าอี้ ผ้าม่าน, ผ้าปูที่นอน, ถุงมือ ฟอร์ม
อุปกรณ์ติดผนัง : อ่างล้างมือ, ชั้นวาวชงของ, วัสดุปูพื้น
อุปกรณ์อิเลคทรอนิค : คอมพิวเตอร์, โปรแกรม, กล้องวิดิโอ
เราจะจัดการเรียนการสอนด้วย simulation เช่น ฝึกพยาบาลที่ต้องการความเชี่ยวชาญพิเศษ
หรือก่อนปฏิบัติงานกับผู้ป่วยจริงเพื่อให้เกิดความมั่นใจ และความปลอดภัยกับผู้ป่วย
งบประมาณ เรามีงบประมาณในการบริหารจัดเท่าไร งบประมาณหลัก ได้จากภายในหรือภายนอก
วิธีการ ใช้การประมูลหรือการจัดซื้อคํานึงถึงการรักษาสภาพของอุปปกรณ์ หุ่นจะรักษาให้
ใช้ได้นานเพียงใด และการพัฒนาในอนาคตฝุ่นละอองอาจทําให้เกิดการชํารุด อุปกรณ์ชํารุดไม่พร้อมใช้งานจริง มีข้อจํากัดในเรื่องพื้นที่ เสียง ใครบ้างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ Simulationการจัด Simulation เกิดจากการร่วมกันคิดว่าทําอย่างไรจึงมีความเป็นไปได้และเกิดประโยชน์
ใครเป็นทีมที่ร่วมสอน ใครเป็นผู้เรียน ต้องการแหล่งทรัพยากรใดบ้าง ทําที่ไหน ทําไมอังกฤษจึงมีนโยบายในการใช้สถานการณ์จําลองในการเรียนดูได้จากแผนภูมิการใช้เทคโนโลยีในการเรียนนี้
แผนภูมิ แสดงการใช้เทคโนโลยีในการเรียนที่เน้นการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จําลอง
ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางการให้บริการผู้ป่วยปลอดภัยมากขึ้น เพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ผลลัพธ์การเรียนรู้มีคุณภาพสูงการเรียนรู้จากสถานการณ์จําลอง เป็นการเรียนรู้ที่ซับซ้อนหลากหลายเพราะการเรียนรู้จากสถานการณ์จําลอง เป็นการเรียนรู้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงที่หลากหลาย สามารถกลับมาทําซ้ําได้ จากสภาพการเรียนรู้และจากปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างที่เรียน อาจกล่าวได้ว่า ผู้เรียนจะถูกคาดหวัง ในการประเมินผลการปฏิบัติงานเช่นเดียวกับในสภาพการณ์จริง จัดสิ่งแวดล้อมที่คํานึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก และเพิ่มความสามารถของนักศึกษาโดยให้มีการปฏิบัติงานซ้ําๆ จนนักศึกษาสามารถมีความรู้และทักษะที่พร้อมจะปฏิบัติงานในสถานการณ์จริงได้
การวางแผนเกี่ยวกับศูนย์ Simulation ควรจะต้องมีความครอบคลุมและเกิดความร่วมมือจากภาคส่วนอื่น โดยคํานึงถึง เพราะอะไรจึงจําเป็นต้องมีศูนย์ Simulation ใครเป็นผู้ใช้ ต้องการแหล่งทรัพยากรใดบ้าง ใครจะเป็นผู้สร้างหรือดําเนินการ และจะพัฒนาเมื่อไรผู้ที่ควรจะต้องเรียนรู้โดยใช้ Scenario ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของหน่วยงาน บางทีอาจจะต้องใช้ Scenario ในหน่วยงานทางการศึกษา เกี่ยวกับการพยาบาลหรือทางด้านคลินิคที่ต้องมีความชํานาญเฉพาะทาง กลุ่มคนที่ต้องการพัฒนาการทํางาน เป็นทีม ลดปัจจัยเสี่ยงในการดูแลคนไข้ นอกจากนี้ผู้ที่ควรใช้ Scenario แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม ผู้ที่จะต้องดูแลผู้ป่วย การจัดนิทรรศการเพื่อให้บุคคลภายนอกได้เรียนรู้ในสถานการณ์ต่างๆ
เกี่ยวกับคนไข้ในลักษณะต่างๆ เกี่ยวกับวิธีการช่วยเหลือ เป็นต้น
1. กลุ่มภายนอก เช่น นักเรียนที่อบรมระยะสั้น อายุน้อยกว่า ๑๘ ปี นักเรียนแพทย์
2. กลุ่มภายใน เช่นนักเรียนพยาบาล แผนกเด็ก ผู้ใหญ่ จิตเวช ผดุงครรภ์ นักกายภาพบําบัด และที่สําคัญคือ ผู้สอน Scenario ต้องมีทีมที่คอยอํานวยความสะดวกและมีประสบการณ์ซึ่งประสบความสําเร็จได้ต้องมีผู้สนับสนุนให้โอกาส และให้ความร่วมมือในการสอน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ก็ช่วยให้เกิดการพัฒนาให้เกิดความชํานาญ การทํางานเป็นทีมและมีเครือข่ายในการทํางาน การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Scenario เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยต้องมีดังนี้
การดําเนินงาน และเนื้อหา และโปรแกรมการจัดการเรียนการสอน
1. การบริหารจัดการ ต้องมีการมอบหมายงาน มีผู้ที่รับผิดชอบ ต้องแต่ โครงการ
2. การบํารุงรักษา ผู้ดูแลวัสดุอุปกรณ์ สามารถที่จะบํารุงรักษาและซ่อมแซมได้
3. การพัฒนา
ต้องมีกลุ่มทํางานที่จะคอยสนับสนุนในด้านเทคโนโลยีและต้องทันสมัยตลอดเวลาต้องมีการวางแผนห้องจะใช้ที่ไหน ขนาดเท่าไร บุคคลที่จะเข้ามาใช้ จะใช้ Scenario ในหลักสูตรในชั้นปีไหนบ้าง ซึ่งความจําเป็นในการใช้ในแต่ละแผนกที่แตกต่างกัน เช่น ลักษณะห้องสมุด ICU ,Ward ห้องผ่าตัด สิ่งแวดล้อมภายในบ้าน สถานที่ในการฝึกการล้างมือ การช่วยฟื้นคืนชีพ ซึ่งแต่ละสถานการณ์ ลักษณะห้องก็จะมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ สถานที่สําหรับผู้สอนในกรณีใช้สอนการ Debrief จะใช้ที่ไหนได้บ้าง เช่น ใช้ในห้องเรียน ห้องควบคุม ซึ่งจะต้องประยุกต์การใช้ห้องเรียนให้เหมาะสมกับจํานวนผู้เรียนและขนาดของห้องเรียนที่จะใช้
๑๑.วิธีการลง Scenario ในโปรแกรม Sim-Man
๑. Double click ที่ Sim-man icon เข้าระบบโดยการเลือกชื่อและใส่password หรือ ไปที่ผู้ใช้รายใหม่
๒. หากต้องการปรับค่าต่างๆเป็นระบบ manual control สามารถทําได้โดย เลือก click และปรับเพิ่ม/ ลด
D อุณหภูมิร่างกาย (เลือด/ส่วนปลาย)
F เสียงต่างๆ เช่น ไอ จาม การตอบโต้ ด้วยคําพูด
H กระเพาะปัสสาวะ ตําแหน่งอยู่ที่รูปคน
A B
F
G
I H
E
๓.ขั้นตอนการสร้างเฟรมเหตุการณ์ต่อเนื่อง ให้ไปที่ Menu bar เลือก edit เลือก drop down และ ไปที่
๔ .เมื่อปรากฏหน้าต่าง Laerdal Scenario Editor for Simulation ( new scenario SimMan)
ซึ่งเป็นหน้าต่างที่จะใช้เพื่อสร้างสถานการณ์ต่อเนื่อง จะมีหน้าต่างสามารถสร้างได้เป็นช่วงๆ
โดยจะใช้วิธีการเลือกระบุข้อมูลเหมือนกันในทุกช่วงสถานการณ์ (Frame)
และนํามาเชื่อมโยงเป็นสถานการณ์ที่ต้องการซึ่งจะกล่าวถึงในข้อถัดไป วิธีการสร้างสถานการณ์แต่ละช่วง
สถานการณ์เริ่มต้นช่วงที่ ๑(Frame ๑:F๑) หาก Click ที่คําว่า
Patient จะเปิดหน้าต่างข้อมูลเบื้องต้นของผู้ป่วย (Patient description : A๑)
โดยจะสามารถใส่รูปข้อมูลเบื้องต้นของผู้ป่วย (ที่ผู้สอนมีเก็บไว้ใน hard drive หรือ thump drive)
เพื่อให้ผู้เรียนได้อ่านจากหน้าจอแสดงเมื่อเริ่ม Scenario (หรือจะใช้วิธีการเขียนข้อมูลลงกระดาษ และ/
A1
1
๕. วิธีการเลือกข้อมูลให้ปรากฏบน Monitor ของผู้เรียน
หากต้องการจะเลือกแสดงผลข้อมูลบางส่วนที่จําเป็น บนจอ Monitor สําหรับผู้เรียน
สามารถทําได้โดย Click ที่คําว่า Monitor (ลูกศรสีส้ม) จะปรากฏ หน้าต่าง Default
Layout (A๒) ให้เลือกข้อมูลที่ปรากฏจากแถบพารามิเตอร์สีดํา จากนั้นข้อมูลจะไปยังช่อง
Available parameters ด้านขวามือ (ลูกศรสีเหลือง) ให้เลือกข้อมูลที่ไม่ต้องการซึ่งอยู่ในช่องนี้
จากนั้นกดที่ (ลูกศรสีเขียว) เพื่อส่งข้อมูลไปที่ Unavailable parameters จากนั้นคลิกที่
OKข้อมูลที่ไม่ต้องการจะหายไปจากหน้าจอแสดงผลของผู้เรียน
หมายเหตุ ด้านซ้ายมือของหน้าต่าง Monitor setup จะมี wave form ในรูปแบบต่างๆ
ที่ต้องการแสดงให้ผู้เรียนเห็น สามารถเลือกรูปแบบ wave form ตามรูปที่ต้องการได้แล้ว คลิก OK
A2
1
๖. การใส่ข้อมูลต่างๆ ในแต่ละช่วงสถานการณ์ ทําได้โดยเลือกที่ไอคอน Action
และเลือกตั้งค่าตามที่ผู้สอนต้องการ เมื่อตั้งค่าได้ตามที่กําหนดให้คลิก OK
จากนั้นข้อมูลที่เลือกจะปรากฏในเฟรม (F๑)
ข้อมูลการกําหนดค่าต่างๆ มีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้
ค่าออกซิเจนในเลือด อุณหภูมิกาย
เสียงต่างๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ประโยคโต้ตอบ (ใส่ได้เฟรมละ ๑ อย่างเท่านั้น)
การเชื่อมต่อข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ภาพ x ray, CT scan
การกําหนดการเชื่อมต่อเฟรม
การเชื่อมต่อระหว่างสถานการณ์
๗. การเชื่อมสถานการณ์แต่ละช่วงให้ต่อเนื่อง ทําได้โดยคลิกที่
เพื่อเพิ่มชื่อสถานการณ์ที่ต้องการการเชื่อมโยง จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง Edit
Menu (ลูกศรสีแดง) เลือก add event จากนั้นไปที่ช่อง Miscellaneous
(ลูกศรสีเขียว) คลิกขวาเพื่อเพิ่มเส้นทางให้กับสถานการณ์ว่าจะดีขึ้น หรือ
แย่ลงโดยสามารถตั้งชื่อที่แตกต่างกันเพื่อให้ง่ายแก้การจดจําในแต่ละช่วงสถานการณ์
๘.การสร้างสถานการณ์ช่วงถัดไป สามารถเพื่อช่วงสถานการณ์ (Frame) ได้ ด้วยการคลิกที่
เพื่อเพิ่มเฟรม และดําเนินการตั้งค่าต่างๆ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงตามวิธีการในข้อที่ ๖
๙. การเชื่อมสถานการณ์ทําได้โดยไปที่ไอคอน
แล้วเลือกชื่อสถานการณ์ที่ต้องการซึ่งได้ทําการเชื่อมต่อไว้
จากนั้นนํามาใส่ในช่องส่วนท้ายของเฟรมที่จะเชื่อมไปสถานการณ์ถัดไป (ลูกศรสีเขียว) หลังจากนั้นให้คลิกที่ เพื่อทําการลากเส้นเชื่อมโยงระหว่างชื่อสถานการณ์จากไอคอนก่อนหน้าไปสู่เฟรมที่ต้องการถัดไป
หมายเหตุ สามารถเปลี่ยนชื่อในสถานการณ์แต่ละช่วงให้ไปที่ชื่อเฟรม (ลูกศรสีเหลือง)
คลิกขวาแล้วเปลี่ยนชื่อสถานการณ์ได้จากนั้น กด enter
๙.การเริ่มเล่น Scenario ไปที่ Menu bar เลือกที่ file และ click ที่ Start scenario
จากนั้นระบบจะเริ่มเล่น ตามค่าที่ได้ตั้งไว้ เมื่อต้องการเปลี่ยนช่วงสถานการณ์ไปสู่ช่วงต่อไป ให้เลือกที่
Miscellaneous (ลูกศรสีส้ม) แล้วเลือกช่วงสถานการณ์ที่ตั้งค่าไว้
หมายเหตุ การเลือกช่วงสถานการณ์จะต้องมีการเชื่อมต่อสถานการณ์ไว้ โดยห้ามเลือกข้ามขั้นตอนเช่น
จากเฟรมที่ ๑ ไปเฟรมที่ ๓ โดยที่ไม่ผ่านเฟรมที่สอง ซึ่งจะเลือกสถานการณ์จากเฟรมที่ ๑
ไปเฟรมที่ ๓ ได้เมื่อมีการเชื่อมโยงเฟรม ที่ ๑ ไปหาเฟรมที่ ๓ เท่านั้น และการเชื่อมโยงสถานการณ์
สามารถเชื่อมโยงได้มากกว่าหนึ่งเส้นทาง ดังรูป
Moulage มาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า การทําต้นแบบ เป็นการทํา Trauma effect
เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกประเมินผู้ป่วยที่มีบาดแผลลักษณะเสมือนจริง
1. เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย
2. เพื่อฝึกทําต้นแบบ : ซีด เขียว มีเหงื่อออก ผื่นแดง แผลฟกช้ํา แผลฉีกขาด
- ควรล้างมือให้สะอาดเพื่อลดการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์
- Trauma effect product มีความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามควรให้คําแนะนํากับผู้ที่แพ้ง่าย
- ระมัดระวังเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์บริเวณรอบดวงตา จมูก และปาก
- ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์บริเวณผิวหนังที่มีบาดแผล
- Trauma effect product ทุกชนิดสามารถล้างออกได้ แต่อาจใช้เสื้อผ้าที่เก่าแล้ว
- ควรถอด contact lenses เพื่อลดอันตรายและการระคายเคืองต่อดวงตา
- Wooden spatula ไม่ควรใช้ปนกัน
- Sponge wedges ควรใช้แยกกันแต่ละคน
- Eye makeup applicators และไม่พันสําลี ใช้ single use
- Sponge wedges applicator
- Sweat Applicator Sponge
วิธีทํา ทา shock color cream ให้ทั่วใบหน้า ใช้ wooden spatula ตัก blue bruise gel
เล็กน้อยป้ายไว้บนหลังมือ แล้วใช้นิ้วมือป้ายเจลลงบนปลายจมูก ริมฝีปาก รอบดวงตา และโหนกแก้ม
หากใช้ปริมาณมากเกินไป sponge wedges ซับออก หลังจากนั้นใช้ sweat applicator sponge
วิธีทํา ใช้ wooden spatula ตัก red bruise gel เล็กน้อยป้ายไว้บนหลังมือ
วิธีทํา ใช้ wooden spatula ตัก red bruise gel เล็กน้อยป้ายไว้บนหลังมือ
ทาและตบเบาๆลงบนบริเวณที่ต้องการทําแผลฟกช้ํา ใช้ blue bruise gel ป้ายทับลงไปให้เกิดเงาของสี ใช้
bruise wheel ป้ายทับลงไปให้เกิดสีคล้ําชัดเจนขึ้น ใช้ wet wipe ซับออก
วิธีทํา ทําเช่นเดียวกับแผลฟกช้ํา (Bruise) แล้วใช้ plastic spatula ตัก scab/scratch product
เล็กน้อย แล้วกรีดลงบนแผลบนบริเวณที่ต้องการ เพื่อให้แผลดูมีความลึก และเติม sticky blood
ลงไปบนรอยแผลที่สร้างไว้ เพื่อให้ดูเสมือนมีเลือดไหลออกมาจากแผล
วิธีทํา ทําเช่นเดียวกับแผลฟกช้ํา จากนั้นสร้างแผลเพิ่มเติมให้มีลักษณะของแผลพุพอง โดยใช้ yellow
bruise gel ป้ายลงไปบนแผลเป็นวงกลม รอให้น้ําระเหยเพื่อให้แผลดูเสมือนจริง เติม sticky blood
ลงบนแผล พ่น black spray และใช้ wet wipe เช็ดสเปรย์บางส่วนออก แผลจะดูเสมือนจริงมากขึ้น
เทคนิคการสร้างบาดแผลโดยใช้ scar wax วิธีทํา ปั้น wax ให้เป็นรูปทรงยาวแล้วแปะลงบนผิวหนัง
กดขอบให้เรียบไปกับผิวหนัง จากนั้นใช้ plastic spatula กรีดลงบน wax ป้าย sticky blood
ให้ดูเสมือนเป็นลิ่มเลือดอยู่บนปากบาดแผล เติม face blood หรือเศษกระจกปลอม
นอกจากนี้ ยังมีบาดแผลสําเร็จรูปทําจากซิลิโคนที่มีลักษณะนิ่ม
ใช้สร้างบาดแผลที่เป็นลักษณะของCompound fracture หรือ Gun shot wound วิธีทํา ใช้บาดแผลซิลิโคน
ทากาวและแปะลงบนผิวหนัง ให้แนบสนิท จากนั้นสร้างแผลให้เสมือนจริงโดยเติม fresh scab/scratch
product ขั้นตอนสุดท้าย เติม face blood ให้ดูเสมือนมีเลือดไหลออกจากแผล
๑๒.ทักษะการ Facilitation simulation skills
วัตถุประสงค์คือ กําหนดบทบาทในการทํา simulation ซึ่งประกอบด้วย บทบาทที่สําคัญ 3 อย่างคือ
facilitator, participant/ team และ observer (ใช้เกมต่อหลอดให้สูงที่สุดมาสะท้อนเป็นความรู้ในการเป็น
บทบาทของผู้เรียน (participant/ team)
- การทํางานสอดคล้องกันหรือไม่
- มีคนที่ทําหน้าที่ช่วยเหลืออยู่คนเดียวหรือไม่
- มีคนทําหน้าที่คิดอยู่อย่างเดียวหรือไม่
- มีการปฏิบัติหลายๆ ทักษะเข้าด้วยกันหรือไม่ อย่างไร
- มีการสื่อสารทั้งวัจนภาษา หรืออวัจนภาษา หรือไม่อย่างไร
- มีการเคารพซึ่งกันและกันหรือไม่
- มีการเสนอความคิดร่วมกันหรือไม่
- มีการปฏิบัติ โดยร่วมกันคิดเป็นความเห็นของกลุ่มหรือไม่ อย่างไร
- ผู้เรียนที่ผ่านการทํา simulation มีการคาดการณ์ถึงความถูกต้อง หรือแย่ลงหรือไม่อย่างไร
ทั้งนี้บทบทของ facilitator อาจมีหลายรูปแบบ เช่น
- มีการกระตุ้นกลุ่มหรือไม่ อย่างไร ทําให้กลุ่มเกิดความมั่นใจหรือไม่อย่างไร
- มีการรบกวน หรือขัดขางการทํางานของทีมหรือไม่อย่างไร
- ผู้ที่เป็น facilitator มีประโยชน์มากน้อยเพียงใด
- มีการเสริมแรง ให้กําลังใจอย่างไรหรือไม่ หรือให้ข้อเสนอแนะที่ชัดเจนหรือไม่
- มีการหยุดเกม time out หรือไม่ หรือทํากี่ครั้ง
- ขณะดําเนินการอภิปรายกลุ่มมีความปลอดภัย หรือไม่ มีสิ่งที่ท้าทายต่างๆ หรือไม่
- มีการให้ข้อเสนอแนะ หรือให้คําแนะนําหรือไม่
- มีการคิดก่อนให้ข้อเสนอแนะต่อกลุ่มหรือไม่
- เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติตามที่ได้เรียนผ่านมาแล้ว
มีทักษะมาก่อนหรือนําความรู้มาปฏิบัติเพียงใด
1. ให้คําแนะนําระหว่างแสดงสถานการณ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ หรือขัดขวางการเรียนรู้
2. ปรับบทบาทตามสถานการณ์ที่เหมาะสมต่อผู้เรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้มากขึ้น
3. คิดถึงผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือวัตถุประสงค์การเรียนรู้
อย่างไรก็ตามบทบาทของ facilitator จะต้องใช้หลาย ๆ ทักษะ เช่น
ทักษะการสื่อสารเพื่อเอื้อให้ผู้เรียนปฏิบัติได้
หรือคอยช่วยเหลือกรณีผู้เรียนไม่ชอบการฝึกโดยใช้รูปแบบนี้
บทบาทของ ผู้สังเกตการณ์ (Observer)
- สังเกตการณ์แบ่งงานในกลุ่มอย่างไร ใครเป็นผู้เรียน ผู้สอน
- มีใครกลัวการเล่นหรือไม่แสดงออกอย่างไร
- มีการแก้ปัญหาหรือไม่เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อกลุ่มอย่างไร
- มีการปฏิบัติเพื่อการช่วยเหลืออย่างไร
- การแสดงเป็นไปตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้หรือไม่
- กลุ่มมีการจัดการอย่างไรในผู้ที่มีอาการโกรธ ไม่อยากทํา
- ผู้เรียนมีความแตกต่างของความรู้กับสิ่งที่ต้องปฏิบัติหรือไม่ อย่างไร
- บางครั้งกลุ่มอาจไม่สามารถแสดงการดูแลได้อย่างเหมาะสม
เนื่องมาจากขาดการเตรียมการของผู้สอน
๑๓. เรื่องปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ Simulation
๑. ปัญหาการใช้หุ่นและเทคโนโลยีสถานการณ์ SBL เป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ ผู้สอนใน SBL
จําเป็นต้องการทราบวิธีที่จะแก้ไขเมื่อพบว่ามีปัญหาที่เกิดขึ้น ปัญหาที่พบได้บ่อย ได้แก่
I. ทรวงอกของหุ่นไม่เคลื่อนไหวตามการหายใจ
II. ค่า Blood Pressure ที่วัดได้แตกต่างจากที่กําหนดไว้ในสถานการณ์
III.จอภาพดับและหุ่นไม่ทํางาน
VI.สถานการณ์ (Scenario) ไม่ได้ดําเนินไปตามที่กําหนดไว้
1. ทรวงอกของหุ่นไม่เคลื่อนไหวตามการหายใจ แก้ไขได้โดย
- ตรวจสอบว่าวาล์วสีน้ําเงินเปิดอยู่
- ปล่อยลมออกจากเครื่องปั้มลม (compressor)
เนื่องจากบางครั้งอาจมีลมค้างอยูในเครื่องอาจทําให้เครื่องไม่ทํางาน
การปล่อยลมทําได้โดยการเปิดวาล์วสีแดงและเปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง
- ตรวจสอบท่อและข้อต่อระหว่างเครื่องปั้มลมและหุ่นให้เสียบเข้าด้วยกัน
- ตรวจดูว่า Software กําลังทํางานอยู่โดยดูจาก Linkbox
2. ปัญหาการวัดค่า Blood Pressure ที่วัดได้แตกต่างจากที่กําหนดไว้ในสถานการณ์
ในบางครั้งมีวัตถุประสงค์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนสามารถประเมินค่าความดันโลหิตให้ถูกต้อง
แต่อาจพบได้ว่านักเรียนวัดค่าได้ไม่ตรงกับที่กําหนดไว้ที่หุ่น ให้ดําเนินการดังนี้
- ตรวจดูการตั้งค่า Korotkoff Sounds ให้ตั้งค่าเสียงให้ดังที่สุด
- Calibrate ค่าแรงดัน Systolic และ Diastolic ที่หุ่นและที่โปรแกรมให้ตรงกัน
- Auscultatory Gap on/off feature ตรวจสอบหูฟังว่ามีการเปิดหรือปิด
- วิธีการ Calibrate ค่าความดันโลหิต ดําเนินโดยใช้คน 2 คน
ว่ามีไฟสีแดงขึ้นแสดงว่าเครื่องทํางานอยู่
คนแรกเข้าไปในโปรแกรมควบคุมหุ่น ไปที่เมนู แล้ว click Calibrate
เพื่อกําหนดค่าความดันโลหิตให้ตรงกับสถานการณ์ และคนที่สอง ให้บีบ cuff BP
ค้างไว้ให้ได้ค่าตรงกับที่กําหนดไว้ที่หุ่น
3. จอภาพดับและหุ่นไม่ทํางาน ให้ดําเนินการดังนี้
- ตรวจสอบที่ Linkbox ว่ามีไฟแดงสว่างขึ้นหรือไม่ และดูการเชื่อมต่อของสายระหว่าง
Linkbox กับว่ามีการเชื่อมต่อหรือไม่
- ตรวจสอบสายการเชื่อมต่อของสายระหว่างหุ่นกับจอภาพ
- Reboot หุ่นและเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมกัน
4. ไม่มีเสียงออกจากหุ่น ให้ไปที่โปรแกรมและดําเนินการดังนี้
- คลิกเมนู Edit ที่มุมซ้ายบน
- เลือก รูปไมโครโฟน
- คลิกเลือก ไมโครโฟน In use “Primary Sound Capture Driver”
- กําหนดค่าความดังของเสียง
- ตรวจสอบที่ปุ่มลําโพงที่มุมล่างขวา
5. จอภาพผู้ป่วยค้าง ดําเนินแก้ไขโดยใช้โปรแกรม elo เมื่อปุ่มไอคอนโปรแกรมนี้
จะปรากฏอยู่ที่มุมล่างซ้ายของเมนู bar ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และให้ดําเนินการดังนี้
- Double คลิกที่ไอคอน elo และคลิกที่ปุ่ม “รูปเป้าปืน” และกด “esc” ที่คีย์บอร์ด
- สัมผัสที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของผู้ป่วยตามต้องการที่จะให้ปรากฏค่า EKG หรือ HR
6. สถานการณ์ (Scenario) ไม่ได้ดําเนินไปตามที่กําหนดไว้
มักเกิดจากการออกแบบสถานการณ์ไม่ถูกต้อง Scenario จะดําเนินการไปข้างหน้า
โดยไม่สามารถย้อนกลับสู่สถานการณ์เดิมได้ ดังนั้นหากต้องการให้ผู้ป่วยดีขึ้นหรือแย่ลง
จะต้องกําหนด Frame สถานการณ์ใหม่และคลิกเชื่อมสถานการณ์ให้ถูกต้อง ต่อเนื่องกัน
แก้ไขทําได้โดยการกลับเข้าไปแก้ไขและออกแบบสถานการณ์ใหม่อีกครั้ง
สถานการณ์จําลอง และการประเมินการเรียนรู้
การประเมินการเรียนรู้ในสถานการณ์จําลอง
1. สิ่งที่ต้องประเมินคืออะไรบ้าง
- เทคนิคการปฏิบัติงานในคลินิก เช่นการประเมินสภาพผู้ป่วย
การสังเกตอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย ฯลฯ
- Human factors ปัจจัยทางบุคคล เช่น การสื่อสาร การทํางานเป็นทีม ภาวะผู้นํา
- การตัดสินใจและการใช้เหตุผลทางคลินิก
- ประเมินความรู้และการใช้ความรู้
- ประเมินในขณะที่อยู่ในสถานการณ์จําลอง
- ประเมินภายหลังสถานการณ์จากการบันทึกวีดิโอ
- ประเมินโดยการซักถาม
4. การประเมินตามสภาพจริง
- Mueller (2006) กล่าวว่า การประเมินตามสภาพจริง มาจากความคิดที่ว่า
บัณฑิตจะต้องเป็นผู้ทีมีความสามารถในการปฏิบัติงาน
ดังนั้นการประเมินตามสภาพจริงเป็นวิธีที่ทําให้นักศึกษาได้ฝึกฝนและท้าทายให้เผชิญกับโลก
- การประเมินตามสภาพจริงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและยากที่จะดําเนินการ
- การจัดการเรียนการสอน Simulation จําเป็นต้องประเมินตามสภาพจริง
- ใช้ในการประเมินการทํางาน
- เป็นการประเมินแบบบูรณาการในเรื่องความรู้ ทักษะการปฏิบัติ การแก้ปัญหา
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
- ประเมินนักศึกษาได้อย่างรวดเร็วจากสิ่งที่นักศึกษาทํา
1. นักศึกษาจะต้องมีสถานการณ์ที่เหมือนกัน เครื่องมือ ความซับซ้อนของโจทย์เหมือนกัน
2. โจทย์สถานการณ์อาจมีความแตกต่างกัน
3. ใช้การประเมินโดยใช้วิธีการผ่าน/ตก
4. หุ่นจะต้องมีมาตรฐานเดียวกันแตกต่างกันได้ไม่เกิน 10%
5. ต้องมีแผนผังห้องสถานการณ์จําลอง
6. ต้องมีแนวทางและคําแนะนําให้กับนักศึกษา
7. มีการสนับสนุนอื่นๆเช่น ป้ายขั้นตอนการประเมิน SBAR , การประเมินABCD
ความตรงและความเชื่อมั่นของเครื่องมือประเมิน
1. ระดับของการประเมินได้จากเครื่องมือ เช่น การทํางานเป็นทีมสามารถวัดได้โดยกลุ่ม
2. ประเมินการตรงจากการแสดงสีหน้า
3. ความตรงด้านเนื้อหา
1. ผู้ประเมินแต่ละคนจะต้องประเมินการปฏิบัติของนักศึกษาได้เหมือนกัน เป็นแนวทางเดียวกัน
2. การวัดซ้ําของผู้วัดแต่ละคน
ต้องมีความเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันสามารถหาความเชื่อมั่นได้โดยประเมินจากการดูวีดิโอ
จะต้องมีการประเมินหรือให้คะแนนที่เหมือนกัน
1. จะต้องให้นักศึกษารับรู้การประเมิน
2. ต้องให้คําแนะนํากับนักศึกษาก่อนว่าจะมีการทดสอบอะไร แจ้งวัตถุประสงค์ของการประเมิน
3. ต้องให้นักศึกษามีโอกาสได้ฝึกประสบการณ์ก่อนการทดสอบ
4. มีโอกาสที่จะฝึกประสบการณ์ด้วยตนเอง
5. นักศึกษาต้องได้รับการฝึกและให้คําแนะนําที่ครอบคลุมประเด็นที่ถูกประเมินทุกเรื่อง
6. เอกสารทุกชนิดเช่น แฟ้มผู้ป่วย โจทย์สถานการณ์ ฯลฯ
จะต้องถูกเตรียมให้กับนักศึกษาเป็นการล่วงหน้าทุกคน
ข้อควรรู้ แนวทางการประเมินเมื่อนักศึกษาทําผิดพลาด
- นักศึกษาก็สามารถผิดพลาดได้ (ทําผิดหรือลืมทํา)
- บอกข้อผิดพลาด
- บอกข้อควรแก้ไขและปฏิบัติใหม่
ความผิดพลาดบางอย่างไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายแต่
- ความผิดพลาดสามารถที่จะแก้ไขได้
(ความผิดพลาดลดหรือขจัดความเสี่ยงได้)
-
นักศึกษาสามารถอธิบายความเสี่ยงที่จะเกิดกับผู้ป่วยไ
ด้
การสอนให้รู้จักและรู้จักแก้ไขความผิดพลาดเป็นทั
๑๔. การประเมินทักษะทางคลินิก (Objective structured clinical examination :OSCE) OSCE
ประกอบด้วย ฐานการประเมินสั้นๆ 5-10 นาที
ที่ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องถูกสอบเป็นรายบุคคลในแต่ละฐาน ทั้งในผู้ป่วยหรือผู้ป่วยจําลอง
(นักแสดงหรือหุ่น) แต่ละฐานจะต้องมีความแตกต่างในการทดสอบและหมุนเวียนผ่านแต่ละฐาน
1. Multiple unrelated systems
จัดได้ตั้งแต่ 1-9 ฐาน ขึ้นอยู่กับหัวข้อการประเมินและความซับซ้อนในการประเมิน
รูปแบบการสอนแบ่งผู้เรียนเป็น ๔ กลุ่ม กลุ่มละประมาณ ๙-๑๑ คน โดยแบ่งกันฝึกปฏิบัติสถานการณ์
(scenario) จํานวนทั้งหมด ๔ สถานการณ์ ได้แก่
1. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke)
2. การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease ; COPD)
3. การพยาบาลผู้ป่วยโรคภาวะหัวใจเลือดคั่ง (Congestive heart failure)
4. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีลมในเยื่อหุ้มปอด (Pneumothrorax)
ทั้งนี้ในการฝึกแต่ละสถานการณ์มีหลักการในรูปแบบเดียวกัน จึงขอยกตัวอย่างสถานการณ์ 1
สถานการณ์ (scenario) : การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke)
ผู้ป่วยชายชื่อ นายแสตนลี่ อายุ 76 ปี อาศัยตามลําพังในบ้านพัก
ต่อมามีอาการล้มป่วยซึ่งผู้ดูแลบ้านพักมาพบเห็นในเวลา 09.00 น.
จึงได้โทรศัพท์ตามรถฉุกเฉินเพื่อนําส่งโรงพยาบาล
ผู้นําส่งประเมินว่านายแสตนลี่น่าจะเกิดปัญหาจากโรคหลอดเลือดสมอง
ปฏิเสธการแพ้ยา มีปัญหาความดันโลหิตสูงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990
มีภาวะเจ็บหน้าอกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998
มีภาวะ Heart attack ในปี ค.ศ. 1995 และ 1998
การรักษา – Isosorbide Mononitrate 20 mg วันละ 2 ครั้ง
- Amlodipine 5 mg วันละครั้ง
- Co-codom0l (500) / 8 mg เมื่อมีอาการ
ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติในบทบาทพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยและการประเมินเพื่อรวบรวมข้อมูลที่เป็นปั
ญหาของผู้ป่วยโดยยึดหลักการประเมินตาม ABCDE ซึ่งปฏิบัติดังนี้
1. A = Airway ซักประวัติถามอาการ ประเมินทางเดินหายใจ
2. B = Breathing ดูลักษณะการหายใจ ฟังปอดและวัด O2
3. C = Circulation วัดสัญญาณชีพ ดู capillary refill ฟังเสียงหัวใจ ตรวจประเมินคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
4. D = Disability ประเมิน Neurological signs (EVM)
5. E = Exposure จากการตรวจร่างกายที่ฟังปอดพบ wheezing O2
หลังจากพบปัญหาให้การช่วยเหลือโดยรายงานแพทย์เพื่อการรักษาโดยการรายงานยึดหลัก
1. S = situation แนะนําชื่อพยาบาลที่รายงานแพทย์ ชื่อหอผู้ป่วย ชื่อผู้ป่วย
2. B = Background ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน โรคประจําตัว การผ่าตัด
3. A = Assessment ระบุปัญหาที่พบและการพยาบาลที่ให้หรือไปแล้ว เช่น O2
พบว่าผู้ป่วยสามารถพูดคุยได้แต่สับสน ไม่มีอาการอุดกั้นทางเดินหายใจ
mask c bag 15 LPM
saturation พบว่าค่า O2
saturation ต่ํา ร่วมกับผล
Lab ABG ที่พบว่ามีภาวะ respiratory acidosis
ประเมินแล้วมีปัญหาอะไรบ้าง
การรักษาก่อนมานอนโรงพยาบาล
mask c bag 15 LPM
4. R = Recommendation
เสนอแนะแพทย์ให้เห็นความสําคัญที่ต้องรีบมาดูอาการผู้ป่วยให้ทันท่วงที
ผู้สอนบอกผู้เรียนให้ทราบรายละเอียดผู้ป่วย เช่น ประวัติผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
ขณะทํากิจกรรมผู้สอนจะกระตุ้นให้ผู้เรียนปฏิบัติตามหลักกระบวนการ ABCDE โดยการตั้งคําถามนํา
เมื่อผู้ป่วยมาด้วย stroke จะประเมิน A อย่างไรและจะประเมิน B ด้วยวิธีใด
ผู้ป่วยมีความผิดปกติของ ABG จะตัดสินใจรายงานแพทย์หรือยัง
ความผิดปกติของ stroke จะตรวจพบจากอาการอะไรบ้าง
เมื่อรายงานแพทย์แล้วคิดว่าแพทย์จะมีแผนการรักษาอย่างไรต่อไป
การฟังปอดที่พบ wheezing ใน stroke และผู้ป่วยมีไข้ร่วมด้วย น่าจะเกิดจากปัญหาใด
และจะจัดการด้วยวิธีใด
saturation ต่ํา จะจัดการอย่างไรกระบวนการ Debrief ผู้เรียนต้องการเวลาที่จะบอกความรู้สึก
การบริหารจัดการ การแบ่งหน้าที่ การสื่อสารในกลุ่มเล็กจะดีกว่ากลุ่มใหญ่
จํานวนคนที่เข้าเรียนควรเป็นกลุ่มเล็ก
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ที่ดีและแสดงศักยภาพได้เต็มที่การทําให้เสมือนจริงถูกต้องและแม่นยําการทําให้เสมือนจริงต้องทําให้หุ่นสามารถพูดคุยโต้ตอบได้ ใช้หุ่นให้เหมือนสถานการณ์จริง
ซึ่งการทําให้เสมือนจริงถูกต้องและแม่นยําประกอบด้วย
1. Environmental Fidelity การจัดสถานการณ์บรรยากาศห้อง ให้เสมือนจริง เช่นเสียงโทรศัพท์ดัง
2. Equipment Fidelity การใช้หุ่นที่เสมือนจริง เช่นพูดได้ ร้องไห้ได้ กระพริบตา ฟังเสียงปอดได้
ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้เรียนและถ้าแสดงให้เห็นจริงจะส่งผลให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและคิดว่าเห
ข้อจํากัดของการทําให้เสมือนจริง
1. ด้านสิ่งแวดล้อม ห้องสําหรับการสอน Simulation อาจจะไม่เสมือนจริงโดยการใช้ห้องแทนกัน
เช่นการใช้ห้องฉุกเฉินแทนห้องผู้ป่วยหนัก แต่อย่างไรก็ตามต้องใช้ห้องให้เกิดความคุ้มค่า
ดังนั้นการจะรายงานสถานการณ์ต่างก็ต้องดูว่าขณะนี้อยู่วอร์ดอะไร
จะให้เหมือนที่โรงพยาบาลหมดทุกอย่างจะเป็นไปได้ค่อนข้างยากหรืออาจจะเป็นไปไม่ได
เพราะการซื้อของบางอย่างอาจจะใช้คําสั่งแพทย์
ดังนั้นอาจจะขอความอนุเคราะห์จากโรงพยาบาลนําอุปกรณ์ที่ไม่ใช้แล้วมาใช้ในห้อง Simulation
3. ด้านอารมณ์และจิตใจ เนื่องจากหุ่นไม่ใช่คนจริง
อาจจะยากในการเข้าถึงจิตใจที่แท้จริง ดังนั้นการที่จะทําให้นักศึกษาคิดว่าได้อยู่ในสถานการณ์จริง
โดยให้ไปศึกษาจากสถานการณ์จริงหรืออาจจะให้นักศึกษาที่มีประสบการณ์ตรงเล่าให้เพื่อนคนอื่นๆ ฟั
การที่จะแสดงให้เหมือนจริง ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้เรียน รวมถึงผู้สอนและหุ่น
การมีปฏิสัมพันธ์กับหุ่น เช่น เมื่อหุ่นพูดแล้วนักศึกษาพูดตอบโต้ได้ จะทําให้มีความเสมือนจริงมากยิ่งขึ้น
การเขียน Scenario ให้มีความน่าสนใจและเสมือนจริงต้องมีภาพประกอบ
เพื่อบอกถึงประวัติของผู้ป่วยต้องเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของผู้เรียนให้คล้ายกับสถานการณ์จริง
โดยการเขียนสถานการณ์ต้องเสมือนจริง ต้องดูว่าโรคที่เขียนเป็นโรคที่พบบ่อยหรือไม่
และอาการจะต้องตรวจพบอะไร CXR พบปอดผิดปกติอย่างไร และการฟังเสียงปอดต้องสอดคล้องกับผล CXR
การกําหนดบทบาทของผู้เรียนต้องสัมพันธ์กับสถานการณ์ที่มีของโรงพยาบาล
CPR ผู้สอนสร้างสถานการณ์ให้นักศึกษาได้ฝึกจะทําให้ผู้เรียนลดความกลัว ความวิตกกังวล
การกําหนดสถานการณ์จะต้องดูประสบการณ์ของผู้เรียน เช่นนักศึกษาไม่เคย
และสิ่งที่สําคัญการเขียน Scenario ไม่ควรเขียนสถานการณ์ให้ผู้ป่วยอาการแย่ลงจนกระทั่งเสียชีวิต
เพราะจะทําให้นักศึกษาขาดความเชื่อมั่นและมีประสบการณ์ที่ไม่ดีต่อการเรียน
- ต้องกระตุ้นผู้เรียน เช่นสอนเรื่อง Sepsis ต้องอธิบายว่ามีคนเสียชีวิตเพราะ Sepsis ทุก 3 วินาที
จะทําให้ผู้เรียนเห็นความสําคัญมากยิ่งขึ้น
- สถานการณ์ต้องให้ตรงกับความเป็นจริง ภาพที่ใช้ประกอบต้องสอดคล้อง เช่น เสมหะ
สีของเสมหะต้องสอดคล้องกับโรคที่เป็นอยู่
- หุ่นต้องมีการแต่งตัว เช่น ใส่หมวกกันน๊อคในสถานการณ์อุบัติเหตุต้องมีการถอดหมวกกันน๊อค
การสรุปบทเรียนที่ผ่านมาแล้วนําไปสอนผู้เรียน โดยได้แจ้งข้อมูลให้ผู้เรียนว่า
กําลังจะนําเข้าสู่การเรียนการสอนวิชาอะไร บอกวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนกับผู้เรียน
แล้วทําไมถึงต้องจัดการเรียนการสอนโดยใช้ simulation สิ่งที่จะได้รับจากการนํา SimMan Senario มาใช้
1. ความปลอดภัย ของผู้ป่วย และตัวผู้เรียน
2. ประสบการณ์ของผู้เรียนที่ได้รับจากสถานการณ์
ทําให้ผู้เรียนสามารถดูแลให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้ดีขึ้น ให้การช่วยเหลือพยาบาลได้อย่างถูกต้อง
3. ผู้เรียนมีทักษะ ความชํานาญในการดูแลให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้ดี
4. มีประโยชน์ทั้งผู้เรียนและผู้ป่วย นอกจากนี้ ในการดูแลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
เป็นการฝึกให้ผู้เรียนในการตัดสินใจการให้การช่วยเหลือผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤตรวมถึงการทํางานเป็
๑๕. SimMan Senario มีความสําคัญอย่างไร?มีการเปิด VDO จําลองการเกิดเหตุการณ์ขึ้นกับสายการบิน โดยให้ศึกษาวิธีการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในภาวะวิกฤต การสื่อสารข้อมูลระหว่างนักบินกับหอบังคับการบิน นักบินได้แจ้งเครื่องลงจอดแต่มีปัญหาเนื่องจากมีฝูงนกบินรบกวนจํานวนมาก ทําให้ไม่สามารถนําเครื่องลงจอดสนามบินได้ จึงได้นําเครื่องบินบินรอบสนามบินหลายรอบจนเครื่องบินน้ํามันหมด แต่ก็ไม่สามารถลงจอดได้ประกอบกับสนามบินไม่มี runway ว่างให้เครื่องลงจอดได้
ซึ่งนักบินได้มีการสื่อสารอย่างมีสติไม่ตื่นตระหนก และลดความตึงเครียดจึงได้ตัดสินใจนําเครื่องลงจอดแม่น้ํา
Hudson river จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้สอน ชี้ประเด็นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสาร การตัดสินใจ การควบคุมสติ เวลาเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้นบอกให้เห็นว่าประโยชน์ของการนํา SimMan Senario มาใช้มีอะไรบ้าง? มีการศึกษาวิจัย Pilot study พบว่า นักศึกษา 12 คน ส่วนใหญ่บอกว่า เขามีอาการตื่นเต้นในระยะแรกแต่หลังจากนั้นก็สามารถนําความรู้ที่ได้เรียนมามาใช้ได้
และทุกคนเห็นตรงกันว่าทําให้เขามีทักษะ สามารถรู้ได้ว่าผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงแย่ลง หรืออาการเลวลงจากเดิมได้ และทุกคนใน Pilot study มีความมั่นใจมากขึ้น และได้มีการยกตัวอย่างคําพูดของนักศึกษาว่า “ มีความมั่นใจเมื่อเกิดสถานการณ์ในห้องฉุกเฉิน และมีความมั่นใจที่จะเรียนรู้ต่อไปในอนาคต ในวิชาที่มีความซับซ้อนหรือวิชาที่มีความยากมากขึ้นกว่าเดิม การบอกวัตถุประสงค์ของผู้สอนที่จะทําการสอน SimMan Senario ต้องชัดเจน เช่น ถ้าต้องการให้ผู้เรียนตระหนักหรือสามารถประเมินอาการผู้ป่วยได้ว่ามีอาการแย่ลงจากเดิม ผู้เรียนสามารถประเมินผู้ป่วยได้ถูกต้องโดยประเมินจาก ABCD สามารถรายงานข้อมูลและการส่งต่อผู้ป่วยใช้หลัก SBARการทํา SimMan Scenario อาจได้มาจากจากนั้นอาจารย์ได้ให้สมาชิกในชั้นเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มได้มีการใช้กระบวนการทั้งหมดที่ได้เรียนมา มาจําลองใช้กับหุ่นในห้องปฏิบัติ
ตั้งแต่การวางแผนร่วมกันกับสมาชิกในทีม โดยอาจารย์ได้กําหนดสถานการณ์มาให้ทํา ทีมได้มีการวางแผนตั้ง กําหนดบทบาทหน้าที่ ใครจะทําหน้าที่อะไร เช่น ผู้เรียน ครูผู้สอน Facilitator ผู้บันทึกข้อมูล
มีการ Pre-Brief และจะต้องแจ้งผู้เรียนทุกครั้งว่าจะมีการ Debrief ด้วย ในการ Debrief จะมี 3 Phase
1. ให้นักศึกษาบอกความรู้สึกของตนเอง
2. ชื่นชมให้กําลังใจแก่ผู้เรียนในสิ่งที่ทําได้ดีขึ้นก่อน
จากนั้นถ้าพบว่าผู้เรียนทําไม่ถูกต้องก็สามารถบอกให้ข้อแนะนํา ชี้ข้อบกพร่องให้แก่ผู้เรียนได้
ทําให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนในขณะนั้นได้เลย ไม่ต้องรอสรุปสุดท้าย ผู้สอนก็สามารถทําได้
3. การเคารพความคิดเห็นการปฏิบัติของเพื่อนร่วมทีมทุกคน
เพราะถ้าสมาชิกทุกคนในทีมทําให้เสมือนจริง และมีความเชื่อเดียวกันว่าจะทําให้เสมือนจริงมากที่สุด
ผู้สอนต้องตระหนักถึงความสําคัญ แม้นว่าบางครั้งอาจมีการกระทําอะไรไม่ถูกต้อง จากนั้นได้มีการทดลองให้แต่ละกลุ่มแยกย้ายฝึกปฏิบัติกับอาจารย์ผู้สอนแต่ละกลุ่มก็ได้มีการทําตามขั้นตอนตามที่ได้เรียนมาตามบทบาทที่ได้วางแผนกําหนดร่วมกับทีมตั้งแต่เริ่มต้นหลังจากนั้น อาจารย์ได้ให้สถานการณ์จําลองของผู้ป่วยมา โดยให้ครูผู้สอนได้ให้ข้อมูลสถานการณ์กับผู้เรียน ผู้เรียนได้รับข้อมูลก็เริ่มแสดงตามบทบาท และให้การช่วยเหลือผู้ป่วย การสังเกตอาการผู้ป่วยที่แย่ลงจากเดิม การให้การช่วยเหลือร่วมกับทีมโดยมีการแบ่งหน้าที่ มีหัวหน้าทีม Facilitator, Observer, เสมือนกับได้ดูแลผู้ป่วยบนหอผู้ป่วยจริงๆ ตั้งแต่พบผู้ป่วยของผู้เรียนครั้งแรก จนถึงการดูแลการให้การช่วยเหลือ การนึกถึงโรคที่อาจคลาดเคลื่อน ผู้สอนอาจจะ Time out และชี้แนะ ให้ผู้เรียนกลับมาจากการคาดการณ์ที่อาจเข้าใจผิด (อาการแสดงของผู้ป่วยที่พบกับสิ่งที่ส่งตรวจต้องสัมพันธ์กันกับความน่าจะเป็นของโรค) ให้นึกถึงความน่าจะเป็นโรคของผู้ป่วยมากที่สุด ถ้าผู้เรียนสามารถเข้าใจถูกทางแล้ว ก็ให้ดําเนินการต่อจนสิ้นสุด หลังจากนั้นผู้สอนได้มีการ Debrief ให้กับผู้เรียน และให้ผู้เรียนแสดงความรู้สึกจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การเรียนรู้ที่ได้รับ การแสดงความคิดเห็น เป็นต้น และผู้สังเกตการณ์ได้ให้ข้อมูลสะท้อนกลับต่อการช่วยเหลือผู้ป่วยกับสถานการณ์จําลองที่ให้มา รวมถึง หลังจากนั้นอาจารย์ผู้สอนได้มีการสรุปภาพรวมของแต่ละกลุ่มทั้ง 4 กลุ่ม ได้ชี้แนะ ให้กําลังใจ ชื่นชมแต่ละกลุ่ม และได้เพิ่มเติมบทบาทที่ดีของครู ต้องมีความชัดเจน ระหว่างห้องฝึกปฏิบัติกับห้อง Control การประเมินผู้ป่วย ABCD การตรวจร่างกายตั้งแต่ Head to toe ขึ้นอยู่กับสถานการณ์แต่ละสถานการณ์ ครูผู้สอน 2 คนต้องรู้ข้อมูลเหมือนกันว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอาการของผู้ป่วยในสถานการณ์ตอนไหน ครูผู้สอนต้องสามารถควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ดี ให้มีการดําเนินการไปอย่างราบรื่น ให้การฝึกปฏิบัติเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ควรกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากที่จะเรียนรู้ และไม่ควรยากหรือง่ายเกินไป
การวางแผนในการนํา Simulation ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนหลังจากที่ได้เรียนฝึกอบรมในครั้งนี้
1. ท่านจะนําความรู้อะไรที่ได้รับในครั้งนี้ไปใช้ในการเรียนการสอนวิชาอะไรกับนักศึกษาชั้นปีไหน?
2. ท่านจะสอนอะไรบ้างและทักษะที่สําคัญจะนํามาใช้กับ Simulation ?
3. ต้องการอุปกรณ์ เครื่องมืออะไรบ้าง ในการฝึก Simulation ?
4. ต้องการ Staff ที่จะมาช่วยในการฝึกปฏิบัติให้กับผู้เรียน จํานวนมากน้อยแค่ไหน?
5. มีการประเมินนักศึกษาจากการฝึกอย่างไร?
จากนั้นแต่ละคนก็ฝึกทําแบบฝึกหัดตามที่อาจารย์มอบหมายให้ฝึกทํา อาจารย์คอยเข้าดูแลช่วยเหลือว่าสามารถเข้าใจในสิ่งที่มอบหมายงานให้ทํา ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ทุกสามารถทําได้ดี อาจารย์ก็ได้ชื่นชมและเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดให้กับผู้เข้ารับการอบรม
ช่วงสุดท้ายของการสิ้นสุดของการอบรมในวันนี้และครั้งนี้ Dr. Jhon และคณะ ได้ให้ผู้เข้ารับการอบรมเขียนสิ่งที่ได้รับตลอดระยะการอบรม 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา แสดงความคิดเห็น
ข้อเสนอแนะ ความรู้สึกต่อการอบรมในครั้งนี้ เพื่อที่จะนําไปปรับปรุงในการเรียนการสอนในรุ่นที่ 2 ต่อไป อาจารย์กล่าวแสดงความรู้สึกตลอดระยะเวลาที่เตรียมการและการสอนที่ผ่านมาแม้นว่าจะเหนื่อยมากแต่ก็มีพลังที่จะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆไปได้และมีความสุขมากที่ได้สอนกับผู้เข้ารับการอบรม ตัวแทนของผู้เรียนก็ได้กล่าวขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่ให้ความรู้ ชี้แนะต่างๆให้กับผู้เข้ารับการอบรม ทําให้ทุกคนมีความสุขตลอดการฝึกอบรมที่ผ่านมา และทุกคนได้เขียนความรู้สึกลงในกระดาษใหอาจารย์
ความรู้ที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน:
นําความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การจําลองสถานการณ์ (Simulation)
มาจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษาชั้นปีที่ ๓ ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๒,๓
๑.จัดทําคู่มือการเรียนการสอนโดยใช้การจําลองสถานการณ์ (Simulation)
๒. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดเรียนการสอนโดยใช้การจําลองสถานการณ์ (Simulation)
๓.นําความรู้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนสําหรับนักศึกษาชั้นปีที่ ๓
ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๒,๓ ในปีการศึกษา ๒๕๕๗
๑.จัดทําคู่มือการเรียนการสอนโดยใช้การจําลองสถานการณ์ (Simulation)
๒. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดเรียนการสอนโดยใช้การจําลองสถานการณ์ (Simulation)
๓.นําความรู้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนสําหรับนักศึกษาชั้นปีที่ ๓
ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๒,๓ ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ (2890)