แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้
วันที่บันทึก : 4 สิงหาคม 2557
ผู้บันทึก : นางนิศารัตน์ นรสิงห์นางสาวนงรัตน์ โมปลอด ดร.จามจุรี แซ่หลู่
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช และกลุ่มวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน
ประเภทการปฏิบัติงาน: การประชุมเชิงปฏิบัติการ
วันที่ 20 สิงหาคม 2557 ถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2557
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก
สถานที่จัด : โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต รังสิต กรุงเทพมหานคร
เรื่อง : การพัฒนาผู้บริหารและอาจารย์ด้านบริหารจัดการหลักสูตร ของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก
ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
รายละเอียด
1. นโยบายการจัดการศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนกในทศวรรษหน้า
คุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ มี ๔ ประการ คือ
1) วิถีทางคิด : ความคิดสร้างสรรค์ คิดวิจารณญาณ ความสามารถในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ
2) วิถีทางของการทํางาน คือ มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารและการร่วมมือ
3) เครื่องมือสําหรับการทํางาน คือ สารสนเทศ และเทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆ
4) ทักษะสําหรับดํารงชีวิตในโลกปัจจุบัน คือ ความเป็นพลเมืองดี มีทักษะชีวิตและอาชีพ และมีความสามารถในการเรียนรู้และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมการพัฒนาเด็กในยุคศตวรรษที่ ๒๑ ใน ๕ ด้าน
1) สมองด้านวิชาการและวินัย
2) สมองด้านสังเคราะห์
3) สมองด้านสร้างสรรค์
4) สมองด้านเคารพ ให้เกียรติ (Respectful mind) วิชาการศึกษาทั่วไปต้องสอนให้เกิด ดังนั้นควรให้ผู้มีความรู้เฉพาะสาขานี้มาสอน
5) สมองด้านจริยธรรม (Ethical mind) ทักษะเพื่อการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑
1) ความตระหนักในการเป็นส่วนหนึ่งของโลก (Global Awarness)
2) ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economic,
Business, Entrepreneurial Literacy)
3) ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
4) ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
5) ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)
คุณภาพบัณฑิตบุคลากรสุขภาพ
- มีความรู้ความสามารถทางเทคนิควิชาชีพที่ดี
- มีความสามารถในการทํางานเป็นทีมในระบบสุขภาพ
- เข้าใจระบบสุขภาพ
- เคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- มีศักยภาพในการเรียนรู้ต่อเนื่องได้ตลอดชีวิตการปฏิรูปใหญ่การศึกษาของบุคลากรสุขภาพ
- ยึดถือผู้ป่วยและประชากร (ชุมชน) เป็นศูนย์กลาง
- ใช้หลักสูตรแบบ Competency Based
- จัดการศึกษาแบบ Interprofessional & Team –based เพื่อบ่มเพาะทักษะและนิสัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างวิชาชีพ
- ใช้ IT ช่วยเสริมการเรียนรู้
- ปลูกฝังทักษะด้านนโยบาย การจัดการ และภาวะผู้นําปัญหาการจัดการศึกษาในวิชาชีพสุขภาพ
1) การพัฒนาหลักสูตร โดยมากเน้นเรื่องการพัฒนาความรู้ ทักษะทางวิชาการ โดยเฉพาะขาดความเชื่อมโยงกับพลวัตระบบสุขภาพ และสถานการณ์ของประเทศ อาจารย์ไม่ต้องกังวลว่านักศึกษาจะได้ความรู้ไม่ครบตามเนื้อหา แต่ต้องฝึกให้ค้นคว้าความรู้ด้วยตนเองเพื่อเติมเต็มตนเองได้
2) การปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพเป็นปัญหาที่หลายฝ่ายให้ความสําคัญแต่มุมมองและวิธีแก้ปัญหายังอยู่ในกรอบของวิชาชีพของตน ขาดความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับพลวัตของระบบสุขภาพ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมแนวทางการจัดการศึกษาในทศวรรษหน้า
• ยึดถือผู้ป่วยและประชากร (ชุมชน) เป็นศูนย์กลาง
• จัดการเรียนการสอนที่เน้น competency-based ไม่ใช่ content-base
• จัดการศึกษาแบบ inter professional & team-based เพื่อบ่มเพาะทักษะและนิสัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างวิชาชีพ
• ปฏิรูปการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดระบบการศึกษาที่มีความร่วมมือและเกี่ยวโยงกันเป็นเครือข่
• ใช้ IT ช่วยเสริมการเรียนรู้
• การพัฒนาอาจารย์ ให้มีความรู้ทางวิชาการความเป็นครู
2. แนวทางการคํานวณภาระงานสอนของอาจารย์สําหรับวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขพบว่า มีความแตกต่างในหลักการคํานวณ FTES และภาระงานด้านการสอนของอาจารย์ประจํา จึงขอให้สถาบันพระบรมราชชนกจัดทําข้อตกลงกับทุกวิทยาลัยและควรใช้เป็นแนวทางเดียวกัน โดยมีแนวทางเลือก ดังนี้สืบเนื่องจากที่สภาการพยาบาลได้ดําเนินการประเมินเพื่อรับรองสถาบัน คํานวณตามระยะเวลาการปฏิบัติงานจริงที่อาจารย์พยาบาลประจําดําเนินการจัดการเรียนการสอนทุกร
แบบที่ ๒ คํานวณเต็มเวลาสําหรับรายวิชาในหมวดวิชาชีพแม้ไม่ได้สอนครบทุกบท และหากอาจารย์พยาบาลประจําดําเนินการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่อยู่ในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป และหมวดพื้นฐานวิชาชีพด้วยในบางบท/หัวช้อ ให้คํานวณเพิ่มเติมตามระยะเวลาที่ปฏิบัติงานจริงและหากอาจารย์พยาบาลประจําดําเนินการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่อยู่ในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป และหมวดพื้นฐานวิชาชีพด้วยในบางบท/หัวช้อด้วยก็ตาม ภาระงานส่วนนี้จะไม่ใช่ด้านการเรียนการสอน แต่เป็นภาระงานด้านการบริการวิชาการ ถือเป็นเสมือนอาจารย์พิเศษ
แบบที่ ๓ คํานวณเต็มเวลาเฉพาะรายวิชาในหมวดวิชาชีพแม้ไม่ได้สอนครบทุกบท
ความรู้ที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
1. เทคนิคการบริหารวิชาการ เพื่อการดําเนินงานตามตัวบ่งชี้ผลการดําเนินงานของหลักสูตรตามกรอบ
TQF เพื่อการประเมินคุณภาพหลักสูตร
2. การเตรียมการเพื่อรองรับการประเมินผลและรายงานผลการดําเนินงานตามหลักสูตร (มคอ.๗)การพัฒนานักศึกษาให้สอดคล้องกับเด็กในยุคศตวรรษที่ ๒๑ ใน ๕ ด้าน
1) ด้านวิชาการและวินัย
8) ด้านเคารพ ให้เกียรติ (Respectful mind) วิชาการศึกษาทั่วไปต้องสอนให้เกิด ดังนั้นควรให้ผู้มีความรู้เฉพาะสาขานี้มาสอน
9) ด้านจริยธรรม (Ethical mind) และการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตบุคลากรสุขภาพ
- มีความรู้ความสามารถทางเทคนิควิชาชีพที่ดี
- มีความสามารถในการทํางานเป็นทีมในระบบสุขภาพ
- เข้าใจระบบสุขภาพ
- เคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- มีศักยภาพในการเรียนรู้ต่อเนื่องได้ตลอดชีวิตโดยการพัฒนาวิธีการสอนที่ เน้นอาจารย์ไม่ต้องกังวลว่านักศึกษาจะได้ความรู้ไม่ครบตามเนื้อหา แต่ต้องฝึกให้ค้นคว้าความรู้ด้วยตนเองเพื่อเติมเต็มตนเองได้ และเชื่อมโยงความรู้ที่สอดคล้องกับพลวัตของระบบสุขภาพ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคม
(431)