การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การพัฒนาการสอนโดยใช้ Simulation-Based Learning (SBL)

การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การพัฒนาการสอนโดยใช้ Simulation-Based Learning (SBL)

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :  ๑๓  สิงหาคม ๒๕๕๗

ผู้บันทึกนางสาวอรุณรัตน์ โยธินวัฒนบำรุง  นางสาววรนิภา กรุงแก้ว นางสาวจันทิมา ช่วยชุม  นางสาวนภาวรรณ วิริยะศิริกุล

นางจิตฤดี รอดการทุกข์ และดร.จามจุรี แซ่หลู่

กลุ่มงาน :  การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ  

ฝ่าย พัฒนานักศึกษา

ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม

วันที่   ๖ – ๘  สิงหาคม ๒๕๕๗   

สถานที่จัด :   ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

เรื่อง : การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การพัฒนาการสอนโดยใช้ Simulation-Based Learning (SBL)

รุ่นที่ ๒”

 รายละเอียด

๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL เป็นกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยให้ผู้เรียนลงไปเล่นในสถานการณ์ที่มีบทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่นที่สะท้อนความเป็นจริง และมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในสถานการณ์นั้น ๆ โดยใช้ข้อมูลที่มีสภาพคล้ายกับข้อมูลในความเป็นจริง ในการตัดสินใจและแก้ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งการตัดสินใจนั้นจะส่งผลถึงผู้เล่นในลักษณะเดียวกันที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง มีหลายรูปแบบ ดังนี้

๑. การใช้สถานการณ์เป็นหลัก  (paper based scenario) เป็นการเรียนโดยการประยุกต์การเรียนโดยใช้บทเรียนที่มีปัญหาเป็นหลัก  ปัญหาที่พบ ผู้เรียนไม่ได้สนใจปัญหาที่เกิดขึ้นจริง จะมุ่งแก้ปัญหาตามบทเรียนที่มีให้จึงเหมาะเป็นบางวิชา

๒. การแสดงบทบาทสมมติ (Role play) การสอนด้วยบทบาทสมมติเหมือนสถานการณ์จริง จะประกอบด้วยการที่กลุ่มนักศึกษาเขียนบทการแสดงและมอบหมายบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน เช่น พยาบาล ผู้ป่วย และผู้เรียน ๒ ใน ๓ เป็นผู้สังเกตพฤติกรรม ผู้สอนต้องควบคุมห้องเรียนโดยให้ผู้เรียนทุกคนสนใจบทบาทที่เพื่อนแสดง การสอนแบบนี้เหมาะกับการสอนเทคนิคการสื่อสาร หรือสอนผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน

๓. Single task trainer เป็นการฝึกทีละวิธีการ เป็นการสอนที่ผู้สอนจะต้องปูพื้นฐานให้ผู้เรียนมีความรู้ครบถ้วนในกิจกรรมเฉพาะและมีการสาธิต และสาธิตย้อนกลับโดยการฝึกทีละวิธีการหรือกิจกรรม

๔. Desk/Table top exercise การประชุมหารือเชิงปฏิบัติการ เป็นการที่ผู้เรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาสถานการณ์ที่สำคัญของหน่วยงานหรือประเทศที่มีการสูญเสียทางเศรษฐกิจจะส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิต

๕. Manniequin based (หุ่นมนุษย์จำลอง)  เป็นการสอนที่ผู้สอนให้ผู้เรียนได้ฝึกในสถานการณ์ต่างๆกับหุ่นจำลองที่ผู้สอนได้จำลองสถานการณ์คล้ายกับผู้ป่วยจริง

๖. Manniequin total immession (หุ่นมนุษย์จำลองแบบครบในทางการแพทย์)  เป็นการสอนที่ผู้สอนสามารถให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การแสดงอาการของผู้ป่วยในหลายระบบพร้อม ๆ กัน

๗. Environment เป็นการสอนที่จัดสิ่งแวดล้อมให้เสมือนจริง เช่น เป็นการสอนที่มีการจำลองคล้ายกันในหอผู้ป่วย ผู้ป่วยรวมหลายเชื้อชาติ หลายโรค ให้ผู้เรียนฝึกการดูแล บริหารจัดการในหอผู้ป่วย

๘. Virtual reality ระบบเสมือนจริง เป็นการสอนที่ใช้ประโยชน์จากการสร้างสื่อผสม ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองหรือเป็นกลุ่มได้ โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ สามารถเคลื่อนย้าย โต้ตอบในสิ่งแวดล้อมมีที่แสดงหรือดูในรายละเอียดได้

แนวคิด

          การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL ประยุกต์แนวคิดการฝึกทักษะ (Skills Acquisitions) โดยเริ่มจากบรรยาย เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ เรียนรู้และฝึกทักษะจากสถานการณ์จำลอง ก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติในหอผู้ป่วยทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจ และลดภาวะความเครียด ความวิตกกังวลก่อนขึ้นฝึกปฏบัติบนหอผู้ป่วยจริง ดังแผนภาพ

Knows : Knowledge ความรู้จากการ lecture การบรรยาย [  Know How ความรู้จากการกระทำ กรณีศึกษา สัมมนา  [   Show How ความรู้จากการเรียนรู้สถานการณ์เสมือนจริง   [   Dose ความรู้จากการลงมือปฏิบัติ

เหตุผลที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL

          ๑. Safety เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ป่วย ก่อนที่จะปฏิบัติจริงต้องฝึกฝนจนผู้เรียนเกิดความมั่นใจ การทำกับหุ่นสามารถทำซ้ำและหยุดได้เป็นช่วงๆ และยังช่วยฝึกการปรับตัวก่อนเผชิญกับสถานการณ์จริงในเรื่องของความตึงเครียด และกดดัน เป็นต้น

          ๒. Experience เป็นการเพิ่มทักษะให้กับผู้เรียน เพื่อไม่ให้เกิดความกลัว ความตื่นตระหนก ร้องไห้ และความเครียด เช่น การฝึกของนักบิน ก่อนการบิน เพื่อให้เกิดทักษะและสามารถเผชิญกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้

          ๓. Practice การฝึกต้องใส่เครื่องแบบเพื่อแสดงความเป็นวิชาชีพ และเพื่อให้ผู้เรียนมีการเตือนตัวเองว่าจะทำอะไรต้องคำนึงถึงวิชาชีพ และให้ผู้เรียนดึงความรู้ที่เรียนออกมาใช้

          ๔. Benefits การฝึกทำกับหุ่น สามารถหยุดและให้ข้อเสนอแนะ และเริ่มทำซ้ำใหม่ได้อันจะทำให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้เรียน

 ความคาดหวังจากการใช้หุ่น (Expectation simulation) มีเป้าหมาย ดังนี้

          ๑. ให้ผู้เรียนตระหนักรู้ถึงอาการแสดงที่เปลี่ยนไปของผู้ป่วยในทางที่แย่ลง

          ๒. การประเมินสภาพโดยใช้ ABCDE เป็นกรอบแนวคิดในการประเมิน  A = Airway  B = breathing C = Circulation   D = disability   E = Exposure       

๓. การรายงานผลและส่งต่อ โดยใช้เครื่องมือ SBAR (SBAR Tool)

Simulation technology

          ๑. SMOT โดยการสังเกตผ่านวีดีโอ เพื่อดูพฤติกรรมของผู้เรียนว่าสามารถทำได้ดีหรือต้องมีข้อแก้ไข โดยจะมีกลุ่มที่สังเกตพฤติกรรมและสะท้อนพฤติกรรมกลุ่มที่แสดงบทบาทที่อยู่ในห้อง Simulation

          ๒. Patient simulator

ขั้นตอนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง (Simulation delivery)

          การสอนสถานการณ์จำลองเสมือนจริง ประกอบด้วย ๓ กิจกรรม ดังนี้

          ๑. Pre-Brief (๒๐ นาที)   เป็นขั้นตอนการเตรียมการ / แนะนำ  โดยผู้สอนจะบอกวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการเรียนการสอน การเตรียมตัว บอกบทบาทของผู้เรียน และผู้สอน และการเชื่อมโยงก่อนเข้าสู่บทเรียนโดยการเล่าหรือการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จริงที่พบในผู้ป่วย

วัตถุประสงค์

          ๑. เพื่อทบทวน หาข้อสรุปในประเด็นการทำ pre – brief โดยต้องชัดเจนเรื่องวัตถุประสงค์ ความคาดหวังของผู้สอนและบทบาทของผู้เรียน

          ๒. ทบทวนเนื้อหาและประเด็นโครงสร้าง (องค์ประกอบของการทำ pre – brief)

          ๓. ทบทวนกระบวนการทำ pre –brief

          ๔. การเตรียมร่างกายของการทำ pre – brief  เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์

ขั้นตอนการทำ pre – brief ประกอบด้วย

๑. การวางแผน : สิ่งที่ควรคำนึงก่อนทำการสอน

              – Participant  ผู้เรียนก่อนสอนต้องรู้ เขาเป็นใคร ทำอย่างไร ระดับชั้นปีอะไร มีประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไร เพื่อเลือกวิธีการจัดการเรียนการสอนโดย Simulation

              – สิ่งแวดล้อม เวลาในช่วงไหนที่จะทำ , Ward, ICU, ER

              – อุปกรณ์ เครื่องมือ ตามประเภทของ  Simulation ให้เพียงพอ

          สิ่งที่ควรจะพิจารณา

              – ในแต่ละกลุ่มควรจะวางแผนขั้นตอนการทำ pre – brief

              – คำนึงถึงความเป็นวิชาชีพและประสบการณ์ที่ควรได้รับ

              – ควรจะทำว่า เขาเป็นใครและเป็นอย่างไร

              – นักศึกษาเป็นใคร ชั้นปีอะไร มีความรู้ ประสบการณ์, Learning style

              – จะสอนนักเรียนด้วยวิธีการอย่างไร

          ๒. บทบาท  : ผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator)   ผู้ให้คำปรึกษา (mentor)   ผู้เรียน (Student)

          ๓. สิ่งแวดล้อม : ห้อง simulation  ห้องสังเกตการณ์ (Observation room)

          ๔. อุปกรณ์  : เครื่องวัดความดันโลหิต ออกซิเจน โทรศัพท์

 ๒. Scenario (๒๐ นาที)   การปฏิบัติตามที่มีในสถานการณ์

การออกแบบและการเขียน Scenario

          ๑. การกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อคาดหวังว่าบทเรียนนี้จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้เรื่องอะไร ซึ่งต้องเขียนให้ชัดเจนว่าต้องการให้เกิดอะไร ระดับไหน

          ๒. ผลลัพธ์ของการเรียนรู้ ผู้เรียนจะต้องแสดงออกหรือมีความสามารถอะไรเมื่อสิ้นสุดในการเรียน เช่น สามารถประเมินได้ สามารถแก้ไขปัญหาได้

          ๓. ระดับความซับซ้อนของ Scenario ประกอบด้วย

             – ระดับง่าย (simple)  สถานการณ์ที่แสดงลักษณะการเปลี่ยนแปลงเพียงอย่างเดียวและมีการตอบสนอง

             – ระดับปานกลาง (Moderately difficult) แสดงลักษณะการเปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลงและมีอาการดีขึ้น

             – ระดับซับซ้อน (Complex) มีอาการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้น และมีอาการเปลี่ยนแปลงที่ตอบสนองต่อการรักษา

          ๔. การวินิจฉัยโรคจากสถานการณ์ อาจใช้ผล X-ray, scans, ผลการตรวจเลือด, ข้อมูลจากไฟล์ สื่อต่าง ๆ เสียงต่าง ๆ , ผล EKG และสามารถใส่ไฟล์ข้อมูลได้

          ๕. ต้องเลือกรูปแบบการ De – brief ให้เหมาะสม

          ๖. การเขียน Scenario

             – จะต้องมีข้อมูลที่เพียงพอ บอกสถานการณ์ผู้ป่วยให้นักศึกษารู้

             – จัดบริบทของ Scenario ให้เหมาะสมและชัดเจน

             – ให้นักศึกษารับรู้เวลาในการทำ Scenario เช่น เริ่มต้นสถานการณ์

          ๗. อุปกรณ์และเครื่องมือ   ต้องเตรียมให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่นักศึกษาจะต้องปฏิบัติ และส่งเสริมให้มีโอกาสในการตัดสินใจและเลือดใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์

          ๘. บทบาท

             บทบาทผู้เรียน ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า นักศึกษาอยู่ในสถานการณ์นี้อยู่ในบทบาทอะไร เช่น Register nurse เป็นต้น

             บทบาท Facilitator เป็นผู้เอื้ออำนวยการในการให้นักศึกษาปฏิบัติในสถานการณ์ จะต้องดูแลและคอยสังเกตดูนักศึกษา ถ้านักศึกษาทำไม่ได้ต้องให้การช่วยเหลือ

          ๓. Debrief (๓๐ นาที)   การประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้ง ๓ ระยะ คือ

             ระยะที่ ๑ Descriptive phase ให้ผู้เรียนบอกความรู้สึกว่ารู้สึกอย่างไรกับสถานการณ์

             ระยะที่ ๒ Analysis phase ผู้สอนจะเป็นผู้บอกข้อดี และข้อบกพร่อง โดยต้องไม่ให้ผู้เรียน

รู้สึกผิดและใช้การเสริมแรงทางบวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดกำลังใจ

             ระยะที่ ๓ Application phase การนำไปใช้ในสถานการณ์จริง โดยต้องเน้นย้ำให้ผู้เรียน

ตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรม (etiquette) ในการปฏิบัติกับหุ่น โดยคำนึงถึง

- การเคารพ ในการปฏิบัติกับหุ่นให้เสมือนกับการปฎิบัติผู้ป่วยจริง

- การทำงานเป็นทีม ต้องพยายามดึงผู้เรียนที่ไม่กล้าแสดงออกให้เข้ามา ส่วนผู้เรียนที่คอยชี้นำกลุ่มให้ดึงออกไปจากลุ่ม

หลักการในการทำ Debrief โดยใช้หลัก ๖ PA (Performance Agreement)  ได้แก่

          Immediate Phase       ขั้นตอนการประเมินและระบุปัญหาที่พบ

          Planning Phase          การวางแผนว่า ใครควรทำอะไร ตามบทบาทหน้าที่อะไร

          Assessment Phase      การประเมินสภาพ และการระบุปัญหา

          Action Phase             การลงมือปฏิบัติ เช่น การให้เลือด ให้ยา เป็นต้น

          Maintenance Phase    ดูผลการประเมิน เช่น การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ  ให้ออกซิเจน ถ้าผล

การประเมินดี ให้คงสภาพดังกล่าวไว้ หรืออาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

Deterioration Phase    วิเคราะห์ประเมินคุณภาพ หากไม่ได้ผลเป็นไปตามที่กำหนดไว้ ให้กลับไปประเมินขั้นต้นใหม่

การประเมินการเรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง

          ๑. สิ่งที่ต้องประเมินคืออะไรบ้าง   

                   – เทคนิคการปฏิบัติงานในคลินิก เช่น การประเมินสภาพผู้ป่วย การสังเกตอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย

                   – Human factors ปัจจัยทางบุคคล เช่น การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำ

                   – การตัดสินใจและการใช้เหตุผลทางคลินิก

                   – ประเมินความรู้และการใช้ความรู้

๒. ประเมินเมื่อใด

          – ประเมินในขณะที่อยู่ในสถานการณ์จำลอง

          – ประเมินภายหลังสถานการณ์จากการบันทึกวิดีโอ

          – ประเมินโดยการซักถาม

๓. ประเมินอย่างไร

          – Checklist

          – Global rating

          – Rubics

มาตรฐานการประเมิน

          ๑. นักศึกษาจะต้องมีสถานการณ์ที่เหมือนกัน เครื่องมือ ความซับซ้อนของโจทย์เหมือนกัน

          ๒. โจทย์สถานการณ์อาจมีความแตกต่างกัน

          ๓. ใช้การประเมินโดยใช้วิธีการผ่าน / ตก

          ๔. หุ่นจะต้องมีควบคุมให้ได้มาตรฐานเดียวกัน แตกต่างกันได้ไม่เกิน ๑๐%

          ๕. ต้องมีแผนผังห้องสถานการณ์จำลอง

          ๖. ต้องมีแนวทางและคำแนะนำให้กับนักศึกษา

          ๗. มีการสนับสนุนอื่น ๆ เช่น ป้ายขั้นตอนการประเมิน SBAR, การประเมิน ABCD

การเตรียม

          ๑. แบบประเมินต้องมีคุณภาพ (ความเที่ยงและความตรง)

            ความตรง

                   – ประเมินได้จากเครื่องมือ เช่น การทำงานเป็นทีม สามารถวัดได้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม

                   – ประเมินโดยตรงจากการนำไปใช้กับผู้ป่วย ญาติ

            ความเที่ยง

                   – ผู้ประเมินแต่ละคนจะต้องประเมินการปฏิบัติของนักศึกษาได้เหมือนกัน เป็นแนวทางเดียวกัน

                    – การวัดซ้ำของผู้วัดแต่ละคน ต้องมีความเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน สามารถหาความเชื่อมั่นได้ โดยประเมินจากการดูวิดีโอ จะต้องมีการประเมินหรือให้คะแนนที่เหมือนกัน

          ๒. นักศึกษารับรู้การประเมินล่วงหน้า (No Surprises)

          ๓. ระบุเกณฑ์ในการวัดประเมินผลไว้อย่างชัดเจน

          ๔. ผู้เรียนมีโอกาสฝึกปฏิบัติมาก่อน รวมทั้งการฝึกปฏิบัติอย่างอิสระ

          ๕. ระบุการประเมินผลทุกชนิดที่ผู้เรียนจะถูกประเมิน

          ๖. ผู้เรียนได้รับเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประเมินครบถ้วน รวมทั้ง charts, scenarios  เป็นต้น

ข้อควรคำนึงในการประเมินผล

          ความผิดพลาดสามารถเกิดขึ้นได้ : หากผู้เรียนทราบว่า ปฏิบัติผิดพลาด และระบุได้ ควรได้รับโอกาสแก้ไขให้ถูกต้อง ได้รับโอกาสขอเริ่มต้นสอบใหม่

          ความผิดพลาดไม่ได้เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเสมอไป : หากผู้เรียนอธิบายความเสี่ยง/อันตรายได้ถูก ต้องควรให้การปฏิบัติดำเนินได้ต่อไป

ทักษะการ Facilitation simulation skills

          วัตถุประสงค์ คือ กำหนดบทบาทในการทำ simulation  ซึ่งประกอบด้วย บทบาทที่สำคัญ ๓ อย่าง คือ facilitator, participant /team, และ observer

บทบาทของผู้เรียน (participant/team)

          – การทำงานสอดคล้องกันหรือไม่

          – มีคนที่ทำหน้าที่ช่วยเหลืออย่างเดียวหรือไม่

          – มีคนทำหน้าที่คิดอยู่อย่างเดียวหรือไม่

          – มีการปฏิบัติหลาย ๆ ทักษะเข้าด้วยกันหรือไม่ อย่างไร

          – มีการสื่อสารทั้งวัจนภาษา หรืออวัจนภาษา หรือไม่อย่างไร

          – มีการเคารพซึ่งกันและกันหรือไม่

          – มีการเสนอความคิดร่วมกันหรือไม่

          – มีการปฏิบัติ โดยร่วมกันคิดเป็นความเห็นของกลุ่มหรือไม่ อย่างไร

          – ผู้เรียนที่ผ่านการทำ simulation มีการคาดการณ์ถึงความถูกต้อง หรือแย่ลงหรือไม่ อย่างไร

บทบาทของผู้สอน (Facilitator)

          – มีการกระตุ้นกลุ่มหรือไม่ อย่างไร ทำให้กลุ่มเกิดความมั่นใจหรือไม่อย่างไร

          – มีการรบกวน หรือขัดขวางการทำงานของทีมหรือไม่อย่างไร

          – ผู้ที่เป็น facilitator มีประโยชน์มากน้อยเพียงใด

          – มีการเสริมแรง ให้กำลังใจหรือไม่ อย่างไร หรือให้ข้อเสนอแนะที่ชัดเจนหรือไม่

          – มีการหยุดเกม time out หรือไม่ หรือทำกี่ครั้ง

          – ขณะดำเนินการอภิปรายกลุ่มมีความปลอดภัย หรือไม่ มีสิ่งที่ท้าทายต่าง ๆ หรือไม่

- มีการให้ข้อเสนอแนะ หรือให้คำแนะนำหรือไม่

- มีการคิดก่อนให้ข้อเสนอแนะต่อกลุ่มหรือไม่

- เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติตามที่ได้เรียนผ่านมาแล้ว มีทักษะมาก่อนหรือนำความรู้มาปฏิบัติเพียงใด

ทั้งนี้บทบาทของ Facilitator อาจมีหลายรูปแบบ เช่น

- ให้คำแนะนำระหว่างแสดงสถานการณ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ หรือขัดขวางการเรียนรู้

- ปรับบทบาทตามสถานการณ์ที่เหมาะสมต่อผู้เรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้มากขึ้น

- คิดถึงผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือวัตถุประสงค์การเรียนรู้

อย่างไรก็ตาม บทบาทของ facilitator จะต้องใช้หลายๆ  ทักษะ เช่น ทักษะการสื่อสารเพื่อเอื้อให้ผู้เรียนปฏิบัติได้ หรือคอยช่วยเหลือกรณีผู้เรียนไม่ชอบการฝึกโดยใช้รูปแบบนี้

บทบาทของผู้สังเกตการณ์ (Observer)

          – สังเกตการณ์แบ่งงานในกลุ่มอย่างไร ใครเป็นผู้เรียน ผู้สอน

          – มีใครกลัวการเล่นหรือไม่ แสดงออกอย่างไร

          – มีการแก้ปัญหาหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อกลุ่มอย่างไร

          – มีการปฏิบัติเพื่อการช่วยเหลืออย่างไร

          – การแสดงเป็นไปตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้หรือไม่

          – กลุ่มมีการจัดการอย่างไรในผู้ที่มีอารมณ์โกรธ ไม่อยากทำ

          – ผู้เรียนมีความแตกต่างของความรู้กับสิ่งที่ต้องปฎิบัติหรือไม่ อย่างไร

          – บางครั้งกลุ่มอาจไม่สามารถแสดงการดูแลได้อย่างเหมาะสม เนื่องมาจากขาดการเตรียมการของผู้สอน

          การเรียนรู้จากสถานการณ์จำลอง เป็นการเรียนรู้ที่ซับซ้อนหลากหลาย เพราะการเรียนรู้จากสถานการณ์จำลอง สามารถกลับมาทำซ้ำได้ จากสภาพการเรียนรู้และจากปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างที่เรียน อาจกล่าวได้ว่า ผู้เรียนจะถูกคาดหวังในการประเมินผลการปฏิบัติงานเช่นเดียวกับในสภาพการณ์จริง การจัดสิ่งแวดล้อมที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก และเพิ่มความสามารถของผู้เรียนโดยให้มีการปฏิบัติงานซ้ำ จนผู้เรียนสามารถมีความรู้และทักษะที่พร้อมจะปฏิบัติงานในสถานการณ์จริงได้

สรุปเนื้อหาจากการเรียนรู้ด้านใด

          วิชาการ

 

ความรู้ที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานของตนเอง

       ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน

- พัฒนาการเรียนการสอน โดยการใช้สถานการณ์จริงกับหุ่นจำลอง (simulation) ในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤตและฉุกเฉิน   รายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑, ๓  ทั้งภาคทฤษฎี  และภาคปฏิบัติ

          – ฝึกการเขียนสถานการณ์  โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย (หุ่น Sim)

          – พัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้เป็นงานวิจัยในชั้นเรียน หรือ เขียนเป็นตำรา ผลงานทางวิชาการ

       ด้านการนำผลการพัฒนาไปใช้ประโยชน์

การเรียนการสอน

การวิจัยและ/ผลงานทางวิชาการ

      ด้านสมรรถนะ

การวางแผนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่รับผิดชอบ

 

 

  (3571)

Comments are closed.