คุณอำนวย อ. วรัญญา จิตรบรรทัด
คุณลิขิต อ. เกษร ปิ่นทับทิม

การใช้กระบวนการคุณภาพในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้

ผู้รับผิดชอบ นางวรัญญา จิตรบรรทัด และ นางเกสร ปิ่นทับทิม

ความเป็นมาและความสำคัญ
การจัดการความรู้ในองค์กรถือเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ในองค์กรให้เป็นหมวดหมู่ และเผยแพร่สู่บุคลกรทุกคนในองค์กรให้รับทราบทั่วถึงกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดแนวปฏิบัติงานที่ดี หรือความรู้ใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ขึ้นมาได้ ในปีการศึกษา ๒๕๕๒ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช ได้จัดให้บุคลากรดำเนินการในเรื่องการจัดการความรู้ขึ้น พบว่าได้รับแนวทางปฏิบัติที่ดีและสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้ แต่ยังไม่ทั่วถึงทั้งองค์กร ในปีการศึกษา ๒๕๕๓ ผู้รับผิดชอบได้จัดการความรู้ในเรื่อง “การใช้กระบวนการคุณภาพในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้” จึงได้จัดประชุมขึ้นเพื่อต่อยอดการจัดการความรู้ให้ครอบคลุมบุคลากรในองค์กร

วิธีการดำเนินการ
ในการดำเนินการจัดการความรู้ครั้งนี้ใช้แนวคิดของระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา ดังนี้
Plan ประกอบด้วย
๑. กำหนดแผนการจัดการความรู้เรื่อง เรื่อง “การใช้กระบวนการคุณภาพในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้”
๒. ประชาสัมพันธ์และชี้แจงการดำเนินการแก่ผู้เกี่ยวข้อง
Do ประกอบด้วย
๑. จัดประชุมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
๒. สกัดแนวปฏิบัติในการจัดการความรู้
๓. มีบุคลากรรับผิดชอบในการจัดการความรู้ขององค์กร
Check ประกอบด้วย
๑. ผู้รับผิดชอบแต่ละการจัดการความรู้ ดำเนินงานการจัดการความรู้
๒. สรุปผลการจัดการความรู้ประจำปีขององค์กร
Act ประกอบด้วย
๑. การนำเสนอผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย
๒. กำหนดแนวทางในปฏิบัติในองค์กร

สรุปผลที่ได้
จากการจัดการความรู้การใช้กระบวนการคุณภาพในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ดังนี้
๑.ประสบการณ์จากการทำ KM
ข้อดี
– ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้
– ได้ประโยชน์ การเล่าให้ผู้อื่นเป็นการทบทวนตัวเอง
– ได้ข้อมูลจริง ทำให้ได้แนวทางในการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติงาน
– ได้แสดงความคิดเห็นที่เป็นแนวทางในการนำไปปฏิบัติได้
– ได้เห็นปัญหาชัดเจนขึ้นและได้ร่วมหาแนวทางในการแก้ไข
– เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
ข้อด้อย
– เวลาไม่ตรงกัน อาจารย์มีภารกิจมาก
๒. KM มีประโยชน์อย่างไร
– หาแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน
– ได้ Good Practice
– ได้รู้ปัญหาที่แท้จริง วางแนวทางปฏิบัติได้ชัดเจนขึ้น
– เป็นกระบวนการทบทวนการทำงานให้ดีขึ้น
– เอาประสบการณ์มาแชร์ร่วมกัน
๓. อุปสรรค์สำคัญของการทำ KM
– การบริหารเวลาของบุคลากร
– ใจไม่ยอมรับ 100 %
– ไม่เห็นความสำคัญ
– เปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรใหม่ ไม่ตำหนิกัน ให้มองว่าทุก KV เป็นของเราหมด
๔. บทบาทหน้าที่ในการจัดทำ KM
– ส่วนที่ ๑ KV (Knowledge Vision) เปรียบเสมือน “หัวปลา”
– ตาที่แหลมคม (KV) เป็นเป้าหมายขององค์กร เป็นตัวกำหนดเป้าหมายให้องค์กรสำเร็จ
– คุณเอื้อทำให้ทำให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
– คุณอำนวยคอยช่วยเหลือให้ KV สำเร็จ
– คุณกิจเป็นเจ้าของ KV นำความรู้มาแลกเปลี่ยนกัน
– คุณลิขิตทำหน้าที่ถอดบทเรียน สรุปสกัดองค์ความรู้ และจดบันทึก นำข้อมูลมาแสดงให้ทุกคนเห็น
– ส่วนที่ ๒ KS (Knowledge Sharing) เปรียบเสมือน “ตัวปลา”
– กระเพาะปลา หรือ ตัวปลา คือ คุณกิจที่ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ออกมา ผ่านการกระตุ้นโดยคุณอำนวย
– Sharing ดี KM ประสบความสำเร็จ
– ส่วนที่ ๓ KA (Knowledge Assess) เปรียบเสมือน “หางปลา”
– คือ คลังความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
– คุณลิขิตต้องจดทุกคำพูด เพราะทุกคำพูดมีความหมาย
– คุณกิจต้องช่วยกันสรุป สกัดเป็นองค์ความรู้
๕.เราจะทำอย่างไรให้ KV ประสบความสำเร็จ
– มีนโยบายและแผนการจัดการความรู้ที่ชัดเจน ให้ทุกคนรับทราบและเข้าใจตรงกัน
– ตระหนักถึงความสำคัญและเห็นคุณค่าของตนเองในการทำให้ KVประสบผลสำเร็จ
– เสริมสร้างแรงจูงใจในการดำเนินงานตลอดกระบวนการ ให้เห็นเป็นรูปธรรม
– กำหนด วัน เวลา ที่ชัดเจน แล้วดำเนินการตามแผนอย่างต่อเนื่อง
– ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานเป็นระยะๆ
– เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระและสร้างสรรค์
– เคารพกติกาของกลุ่มและยอมรับกติกาซึ่งกันและกัน
– สร้างบรรยากาศให้มีความสุขในการดำเนินงาน
– รับผิดชอบในบทบาทของตนเองให้เต็มที่อย่างต่อเนื่อง

การนำไปใช้
นำไปใช้ในการดำเนินงาน/จัดทำ/ปรับปรุง/พัฒนาการจัดการความรู้องค์กรประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔