คุณอำนวย อ. วิลาสินี แผ้วชนะ คุณลิขิต อ. อารยา วชิรพันธ์ แนวทางการจัดการความรู้การใช้กระบวนการคุณภาพในการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา ได้แนวทางในการปฏิบัติดังนี้ 1.นโยบายในการประกันคุณภาพการศึกษา 1.1 เร่งรัดให้มีการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาในทุกระดับ 1.2 เร่งรัดให้มีกลไกการดำเนินการคุณภาพการศึกษาในทุกระดับ 1.3 เร่งรัดดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัย 1.4 เร่งรัดให้มีการพัฒนาความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยกับองค์กร และหน่วยงานภายนอกในกิจกรรมประกันคุณภาพการศึกษา 1.5 เร่งรัดให้มีการบูรณาการการดำเนินงานให้สอดคล้องกับแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาในทุกพันธกิจ 1.6 เร่งรัดพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ เพื่อใช้ในการตัดสินใจและการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา 2. ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสม ควรเริ่มจากการวิเคราะห์ระบบกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา วางแผน พิจารณาแผนงาน/โครงการให้สอดคล้องกับองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ การปฏิบัติตามระบบ การตรวจสอบติดตามการดำเนินงาน การประเมินพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 3. ทบทวนกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา มีการพิจารณาผู้รับผิดชอบแต่ละตัวบ่งชี้ การนำไปใช้ ใช้ในการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพในปีการศึกษา 2554
คุณอำนวย อ. ภาวดี เหมทานนท์ คุณลิขิต อ. ธมลวรรณ แก้วกระจก ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากกการนำเสนอผลงานวิจัย จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ 1. คุณค่าการใช้ภาพยนต์เป็นสื่อในการเรียนรู้การวิจัยในชั้นเรียน ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต 2. ประสิทธิผลของการเตรียมการฝึกภาคปฏิบัติเพื่อพัฒนาทักษะการช่วยคลอดปกติของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช 3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจในการเจาะน้ำคร่ำของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการมีบุตรกลุ่มอาการดาวน์ 4. ปัจจัยบางประการที่มีความสัมพันธืกับการเลือกวิธีการคุมกำเนิดของสตรีมุสลิม กรณีศึกษา ต.นาเคียน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 5. การพัฒนาระบบอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้พิการ กรณีศึกษาในชุมชนนาเคียน อ. เมือง จ. นครศรีธรรมราช หัวข้อที่กำหนดในการเรียนรู้ คือ 1. วัตถุประสงค์ในการทำวิจัย 2. วิธีการดำเนินการวิจัย 3. ผลการวิจัย 4. ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5. การนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์
คุณอำนวย อ. จตุพร ตันตโนกิจ คุณลิขิต อ. นอลีสา สูนสละ ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค์ที่ส่งผลต่อความล่าช้า 1. ครอบครัวมีสมาชิกหลายคน ทำให้อาจารย์ที่ปรึกษารู้จักนักศึกษาไม่ครบ และขาดความสนิทสนมกับนักศึกษา 2. เมื่อนักศึกษามีปัญหามักจะเลือกปรึกษาอาจารย์ที่สนิท แต่อาจารย์ที่สนิทขาดการส่งต่อ อาจารย์ที่สนิทไม่ได้เดินตาม flow chart ทำให้อาจารย์ที่มีหน้าที่หลักเป็นแม่ในบ้าน ทราบปัญหาภายหลังที่ดำเนินไปแล้ว และจากสาเหตุข้างต้นพบว่ามีคนทราบข้อมูลนักศึกษาที่เป็นความลับโดยไม่ได้ตั้งใจ 3. อาจารย์ไม่ได้บริหารกิจกรรมการเรียน การสอน งาน ให้เหมาะสมและตรงกับข้อตกลงตามนโยบายที่วิทยาลัยกำหนด 4. ไม่ตระหนักและเห็นภึงความสำคัญของการเข้าร่วมกิจกรรมครอบครัว ทำให้มีความรู้สึกต่อต้าน ไม่ยอมรับ ไม่เปิดใจ ระบบครอบครัว 5. สมาชิกครอบครัวมีความรู้สึกว่าถูกบังคับให้เข้าครอบครัว 6. ประกาศให้ติดตามประเมินผล แนวทางที่ดีในกระบวนการให้คำปรึกษา 1. จัดทำแฟ้มประวัตินักศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมมีบันทึกรายงานผลการพบนักศึกษารายสัปดาห์และรายเดือน 2. มีเส้นทางในการส่งต่อนักศึกษา 3. สร้างความตระหนักและเจตคติที่ดี และร่วมกันหาแนวทางที่ดี เพื่อดำเนินกิจกรรมครอบครัว 4. มีการละลายพฤติกรรม ภายใต้ความเอื้ออาทร 5. ให้อาจารย์ทุกท่านนำระบบครอบครัวมาใช้ในการให้คำปรึกษา
คุณอำนวย อ. เกษรา วนโชติตระกูล คุณลิขิต อ. ปิยะรัตน์ จินาพันธ์ ประเด็นการจัดทำ มคอ๓ และมคอ.๔ ได้แนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้ 1. ฝ่ายวิชาการจัดทำแบบฟอร์ม มคอ.๓ และ มคอ.๔ เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกัน 2. กลุ่มวิชามอบหมายให้ผู้ประสานงานรายวิชาจัดทำมคอ.๓ และมคอ.๔ โดยพิจารณาการกระจายความรับผิดชอบผลการเรียนรู้แต่ละรายวิชา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดผลการเรียนรู้ที่ต้องการ วิธีการวัดผล การประเมินผล 3. คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณา มคอ.๓ และ มคอ.๔ ในประเด็นความครอบคลุม ความเหมาะสม ความสอดคล้องของกิจกรรม จำนวนชิ้นงาน การบูรณาการกับการบริการวิชาการ การวิจัย สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 4. ผู้ประสานงานรายวิชาดำเนินการบริหารรายวิชาตามแผน รวมทั้ง ควบคุม ติดตาม กำกับการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอน 5. คณะกรรมการบริหารหลักสูตรควบคุม ติดตาม กำกับการดำเนินการจัดการเรียนการสอน 6. ผู้ประสานงานรายวิชาจัดทำรายงาน มคอ.๕ และ มคอ.๖ ภายใน 30 …
คุณอำนวย อ. จามจุรี แซ่หลู่ อ. จรรยา ศรีมีชัย คุณลิขิต อ. ขจิต บุญประดิษฐ ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์เพื่อเพิ่มคุณภาพการใช้กระบวนการพยาบาล ผู้รับผิดชอบ นางสาวจามจุรี แซ่หลู่ และนางจรรยา ศรีมีชัย ความเป็นมาและความสำคัญ กระบวนการพยาบาลเป็นกระบวนการที่สำคัญที่พยาบาลต้องนำไปใช้ในการปฏิบัติเพื่อเพิ่มคุณภาพในการบริการพยาบาล เพราะเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยการประเมินสภาพผู้รับบริการ โดยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการเก็บข้อมูลจากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมทั้งผลการตรวจพิเศษต่างๆ เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงปัญหาทางการพยาบาลที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย แล้วจึงนำมาวางแผนการพยาบาล โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดวิธีการให้การพยาบาลเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และกำหนดเกณฑ์การประเมินผล และขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการพยาบาลคือ การประเมินผลเพื่อให้ทราบว่าการพยาบาลที่ให้สามารถช่วยแก้ปัญหาให้ผู้รับบริการได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ ก็ต้องปรับแผนการพยาบาลเพื่อให้เหมาะกับปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไป ในการจัดการเรียนการสอนวิชาการพยาบาล จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจในกระบวนการพยาบาลโดยการให้ความรู้ในเชิงทฤษฎี และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับผู้รับบริการโดยการนำไปฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยในการเรียนวิชาปฏิบัติทางการพยาบาล เพื่อให้นักศึกษาเกิดทั้งความเข้าใจและสามารถนำกระบวนการพยาบาลไปใช้เป็นแนวทางในการให้การพยาบาลผู้รับบริการอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อจบการศึกษาไปเป็นพยาบาลวิชาชีพ จากการจัดการเรียนการสอนในการให้ความรู้เรื่องกระบวนการพยาบาล และการฝึกปฏิบัติเรื่องการนำกระบวนการพยาบาลไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยในหอผู้ป่วย พบว่าผู้เกี่ยวข้องในขณะที่ฝึกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นตัวนักศึกษา อาจารย์พยาบาล และพยาบาลประจำการ เกิดปัญหาในการใช้กระบวนการมากมาย ดังนี้ 1) ด้านนักศึกษา ไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลผู้รับบริการได้อย่างครอบคลุม ไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้จึงส่งผลให้ไม่สามารถกำหนดปัญหาทางการพยาบาลได้ ไม่สามารถวางแผนการพยาบาลได้อย่างครอบคลุม และไม่สามารถกำหนดเกณฑ์การประเมินผลได้อย่างถูกต้อง 2) ด้านอาจารย์ อาจารย์จะเกิดความรู้สึกเหนื่อยและเบื่อที่ต้องแนะนำนักศึกษาเกี่ยวกับการใช้กระบวนการพยาบาลบ่อยครั้งแต่นักศึกษาก็ยังไม่สามารถปรับปรุงตนเองได้ และ …
PAGE TOP