แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL (Problem Base Learning) ในศตวรรษที่ 21 ขั้นเตรียมสอน ขั้นสอน ขั้นประเมินผล                             ปิดโจทย์ปัญหา 7. Synthesize and test the newly acquired and identify information generalization and principles derived from studying this problem กลุ่มกลับมาพบกันใหม่ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน และสรุปเป็นหลักการสำหรับนำไปใช้ต่อไปในอนาคต ศึกษาหาความรู้ 6. Collect additional information outside the group รวบรวมข้อมูลนอกกลุ่ม …
แนวปฏิบัติสำหรับการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างในการทำวิจัย ความสำคัญของการคำนวณขนาดตัวอย่าง           การมีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้องสามารถลดอคติ (Systematic error) เกิดขึ้นจากกระบวนการวิจัยและส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ การคำนวณหาขนาดตัวอย่างเป็นขั้นตอนที่สำคัญในระเบียบวิธีวิจัยเพื่อให้ได้มาของขนาดตัวอย่าง (Sample size) ที่เหมาะสมและเพียงพอ กลุ่มตัวอย่าง หมายถึงกลุ่มคน เหตุการณ์ หรือสิ่งที่ผู้วิจัยสนใจศึกษา สำหรับการวิจัยทางสาธารณสุขกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ ประชาชน กลุ่มผู้ป่วย หรือผู้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข และได้รับคัดเลือกด้วยวิธีการที่เหมาะสมจากกลุ่มประชากร (Population of the study) เพื่อเป็นตัวแทน (Representative) หรือเพื่ออ้างอิง (Generalization) สู่ประชากรที่ศึกษา โดยทั่วไปการคำนวณหาขนาดตัวอย่างมีความสำคัญในทุกรูปแบบการศึกษาวิจัย ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างเป็นตัวสะท้อนถึงลักษณะของประชากร โดยเป็นการอ้างอิง(Generalization)สู่กลุ่มประชากรที่ทำการศึกษา การศึกษารูปแบบเชิงพรรณนา ผลการศึกษาที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างมักเป็นการประมาณค่า และเป็นค่าที่ดีที่สุดสำหรับกลุ่มประชากรที่ทำการศึกษา โดยนำเสนอผลการศึกษาในลักษณะของอัตราความชุก อุบัติการณ์ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การพิจารณาการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง           การคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในระเบียบวิธีวิจัย ซึ่งส่งผลต่อความน่าเชื่อถือและอคติที่อาจเกิดขึ้น การคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมและเพียงพอ ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถเตรียมการ วางแผนและจัดการในขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูลได้เป็นอย่างดี หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาสำหรับการคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างมีดังนี้ ระดับความเชื่อมั่น (Confidence level ) จากพื้นฐานทางทฤษฎีแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (Central limit theorem) …
แนวปฏิบัติในการนำระบบกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา นิสิตนักศึกษาสามารถมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพตามภารกิจต่างๆของสถาบันอุดมศึกษาและในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษา ดังนี้ ด้านการเรียนการสอน นิสิตนักศึกษาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการริเริ่มวางแผนการเรียนรู้ของตนเอง กำกับการดำเนินการตามแผน ประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองและร่วมทำงานกับอาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองนำความรู้ด้านประกันคุณภาพการศึกษาที่มีอยู่ไปใช้ในการจัดกิจกรรม ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การให้บริการต่างๆแก่ชุมชนและสังคม และนิสิตนักศึกษาควรมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านต่างๆแก่ชุมชนและสังคม และนิสิตนักศึกษาควรมีส่วนร่วมในการดำเนินการด้านต่างๆของสถาบันเพื่อเป็นการเรียนรู้และฝึกฝนตนเอง เป็นการส่งเสริมการเรียนการสอนกิจกรรมดังกล่าว ได้แก่ กิจกรรมส่วนกลาง (องค์การนิสิตนักศึกษาหรือสโมสรนักศึกษา) กิจกรรมวิชาการ (ชมรมหรือชุมนุมทางวิชาการ เช่น ชมรมภาษาอังกฤษ ชมรมคอมพิวเตอร์) กิจกรรมกีฬา (ชมรมกีฬาประเภทต่างๆ เช่น ชมรมฟุตบอล ชมรมกรีฑา) กิจกรรมศิลปะและวัฒนธรรม(ชมรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและวัฒนธรรม เช่น ชมรมดนตรีไทย ชมรมดนตรีสากล ชมรมศาสตร์สัมพันธ์) กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ (ชมรมกิจกรรมเพื่อการช่วยเหลือสังคม เช่น ชมรมค่ายอาสาพัฒนา ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) กิจกรรมนันทนาการ (การสร้างสรรค์ การออกกำลังกาย การเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ การเล่นกีฬา) สามารถนำความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาไปสู่การทำกิจกรรมนิสิตนักศึกษาในแต่ละประเภทซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักศึกษาและสถาบันอุดมศึกษา ตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมของนิสิตนักศึกษามีจำนวน 9 ตัวบ่งชี้ โดยนิสิตนักศึกษาจะมีบทบาทในการดำเนินการในแต่ละตัวบ่งชี้ ตามตารางดังนี้ ตารางที่ 3บทบาทนิสิตนักศึกษากับการประกันคุณภาพการศึกษาในภารกิจด้านการเรียนการสอน ตัวบ่งชี้ ตัวอย่างการแสดงบทบาทของนิสิตนักศึกษา 2.1 …
PAGE TOP