การพัฒนาคุณภาพข้อสอบวัดความรู้รายวิชาการพยาบาล ครั้งที่ ๒

การพัฒนาคุณภาพข้อสอบวัดความรู้รายวิชาการพยาบาล ครั้งที่ ๒
 ผู้บันทึก :  นางพนิดา รัตนพรหม, นางนิศารัตน์ นรสิงห์ และ นางสาวขจิต บุญประดิษฐ์
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 2 ส.ค. 2553   ถึงวันที่  : 6 ส.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาคุณภาพข้อสอบวัดความรู้รายวิชาการพยาบาล ครั้งที่ ๒
  วันที่บันทึก  11 ส.ค. 2553


 รายละเอียด
               วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๓ หัวข้อ “ความจำเป็นในการสอบรวบยอดนักศึกษาพยาบาลก่อนสำเร็จการศึกษา (Exit exam) บรรยายโดย นางสาวส่งศรี กิตติรักษ์ตระกูล รองผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก สาระโดยสรุป กล่าวถึงความจำเป็นในการพัฒนามาตรฐานบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ให้มีความเท่าเทียมกัน โดยการประเมินความรู้ก่อนสำเร็จการศึกษา ซึ่งการประชุมในครั้งที่ ๒ นี้ เน้นการคัดเลือกข้อสอบที่มีคุณภาพและครอบคลุมสาระสำคัญต่างๆ โดยผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งมาจากสาขาวิชาต่างๆ ดำเนินการคัดเลือกข้อสอบที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกมาแล้วจำนวนหนึ่งจากการ ประชุมในครั้งแรก และในครั้งที่ 2 ให้พิจารณา test blue print ซึ่งสามารถปรับให้ครอบคลุมสาระสำคัญ หรือประเด็นที่เห็นว่าควรจะต้องมี และดำเนินการสร้างข้อสอบที่สอดคล้องกับระดับการวัดและสาระ จำนวน 1 ฉบับ หัวข้อ “หลักการสร้างข้อสอบรอบยอดเพื่อทดสอบนักศึกษา (exit exam)” โดย รศ.ดร.สมบูรณ์ ชิตพงศ์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต สาระโดยสรุป 1. ระบบการศึกษา ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ได้แก่ – ปรัชญา – หลักสูตร – การจัดการเรียนรู้ – การวัดและประเมิน – การวิจัย ซึ่งส่วนนี้จะให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อนำไปพัฒนาทุกๆ ส่วนสำคัญของระบบการศึกษา ทั้งนี้การวัดและประเมิน เป็นการตรวจสภาพการพัฒนาของผู้เรียน บทบาทการวัดและประเมินจึงคล้ายกับเป็นตัวช่วยในการ “ค้น” (Discovery) ให้พบจุดเด่น – ด้อย ในแต่ละคน เพื่อช่วยให้สามารถ “พัฒนา” Development” ในการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุพฤติกรรมตามเป้าหมาย ได้อย่างตรงจุด นั้นต้องอาศัยผลจากการวัดและประเมินเป็นฐานข้อมูล ในการกำกับแนวทางการพัฒนาให้มุ่งตรงไปสู่เป้าหมาย ได้ตรงจุดอยู่เสมอ ตามรูปแบบพื้นฐานของการจัดการเรียนรู้ กล่าวได้ว่าการจัดการเรียนรู้ในหน่วยใดก็ตาม ผู้สอนต้องกำหนดจุดมุ่งหมายขึ้นไว้เสียก่อน จากนั้นจึงมาพิจารณาดูว่าผู้เรียนมีพฤติกรรมพื้นฐานหรือมีความพร้อมเพียงพอ ต่อการที่จะเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายนั้นแล้วหรือยัง ถ้ายังต้องพัฒนาให้พร้อมเสียก่อน จึงค่อยจัดการเรียนรู้ (สอดคล้องกับพื้นฐานของแต่ละคน) จากนั้นจึงดำเนินการตรวจสอบว่ากิจกรรมที่จัดให้ผลอย่างไร ซึ่งทุกขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ ต้องอาศัยการวัดและประเมินถึง สามขั้นตอน ดังนี้ 1. การวัดและประเมินก่อนจัดการจัดการเรียนรู้ (Pre-assessment) เป็นการวัดและประเมินพฤติกรรมพื้นฐานหรือความพร้อมของผู้เรียน อย่างน้อย 3 ประการ คือ พื้นฐานความรู้ที่จำเป็นในสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนบรรลุ เช่น หลักการ ทฤษฏีฯ ความสามารถทางสมองอันเป็นพัฒนาการทางด้านปัญญา และความสนใจของผู้เรียน ซึ่งหากยังบกพร่องในพื้นฐานเรื่องใด ก็จำเป็นต้องสร้างให้พร้อมในด้านนั้นๆ เสียก่อน 2. การวัดและประเมินขณะดำเนินการจัดการเรียนรู้ (Formative-assessment) เป็นการวัดและประเมินการเปลี่ยนแปลงในแต่ละระยะของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการวัดความรอบรู้ (Mastered) และไปตามลำดับ (Hierarchy) ของโครงสร้างในหน่วยการเรียนรู้นั้นๆ การวัดประเมินในช่วงนี้จึงถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาผู้เรียน เพื่อบรรลุสู้เป้าหมายในการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่สามารถสังเกตและวัดได้ หรือจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม และสามารถทำให้ผู้เรียนบรรลุได้ในแต่ละคาบเวลา เรียน 3. การวัดและประเมินหลังจากการจัดการเรียนรู้ (Summative assessment) เป็นการประเมินความรู้รวบยอดของการเรียนรู้ทั้งหมด ซึ่งพฤติกรรมที่ต้องการวัดมีอย่างน้อย 2 ประการคือ พฤติกรรมเชิงบูรณาการ (Integration) และ พฤติกรรมเด่นที่ต้องการเน้น 2. พฤติกรรมตามจุดมุ่งหมายทางการศึกษา (Taxonomy of Education Objectives) จุดมุ่งหมายที่ต้องการให้ผู้เรียนบรรลุ มีอยู่ 3 ด้าน ตามลำดับขั้นของการเรียนรู้ ดังนี้ 2.1 ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นความสามารถด้านการคิด ได้แก่ เชาวน์ปัญญา ความถนัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ฯ พฤติกรรมที่บ่งการกระทำ 2.2. ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นความรู้สึก (Feeling) ทางจิตใจ อารมณ์ ได้แก่ ความสนใจ ค่านิยม ความซาบซึ้ง เจตคติ ความเชื่อถือ ศรัทธา ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรมต่างๆ 2.3. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นความสามารถในการกระทำ (Doing) ซึ่งต้องอาศัยความสัมพันธ์ร่วมกัน (Coordination) ของจิตใจ กับส่วนประกอบต่างๆ ของร่างกายในการปฏิบัติการต่างๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 3. ลักษณะเครื่องมือวัดที่ดี แหล่งข้อมูลที่นำมาใช้ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัด มี 3 แหล่ง คือ 3.1 ผู้รู้ในสาขาวิชา (Subject Matter Specialist) 3.2 ผู้รู้ในเทคนิคในการถาม (Test Technician) 3.3 ผู้สอบ (Consumer) ทำหน้าทีสะท้อนว่าข้อคำถามใดเหมาะสมกับผู้สอบหรือไม่ ซึ่งเกณฑ์ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัด ได้แก่ 1. Validity (ความตรง) หมายถึงว่าเครื่องมือวัดพฤติกรรมหรือคุณลักษณะที่สอดคล้องกับเป้าหมายที่ ต้องการวัด โดยทั่วไปมี 3 ชนิดที่สำคัญคือ 1) Content Validity (ตรงตามเนื้อหา) คือวัดในเนื้อหาที่มีในหลักสูตร /รายวิชา 2) Construct Validity (ตรงตามโครงสร้าง) คือวัดในพฤติกรรมหรือคุณลักษณะตามจุดมุ่งหมายที่ระบุในหลักสูตร /รายวิชา 3) Criterion-related Validity แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ a. Concurrent Validity (ตรงตามสภาพ) คือวัดได้สอดคล้องกับความเป็นจริงที่เป็นอยู่ของบุคคลนั้นในขณะนั้น b. Predictive Validity (ตรงตามพยากรณ์) คือวัดได้สอดคล้องกับความเป็นจริง ที่จะเกิดขึ้นของบุคคลนั้นในอนาคต 2. Reliability (ความเที่ยง) หมายถึงความคงเส้นคงวาในการได้คะแนนของบุคคล ซึ่งถ้าไม่มีเงื่อนไขใดเปลี่ยนแปลงไป ข้อสอบนี้ วัดกี่ครั้งก็ตาม แต่ละคนไม่ควรได้คะแนนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม 3. Objective (ความเป็นปรนัย) คือความถึงซึ่งคุณสมบัติ 3 ประการคือ c. เข้าใจตรงกัน ผู้เข้าสอบคิดตรงกันว่า ข้อคำถามนั้นถามอะไร หรือถามให้ตอบในแง่ใด d. ตรวจให้คะแนนตรงกัน ในคำตอบหนึ่งๆ ใครก็ตามที่ตรวจให้คะแนนคำตอบข้อนั้นของผู้สอบคนหนึ่งคะแนนที่ผู้สอบคนนั้น ไม่ควรแตกต่างกัน e. แปลคะแนนตรงกัน ในค่าคะแนนหนึ่ง ๆ ใครก็ตามที่ได้คะแนนนั้น ทุกคนบอกได้ตรงกันว่า ผู้ได้คะแนนเป็นคนอย่างไร (เก่ง – อ่อน, ได้ – ตก) สรุป เครื่องมือวัดที่ขาดคุณสมบัติทั้ง 3 ข้อ แสดงว่าเครื่องมือวัดนั้นมีความเป็นอัตนัย (Subjectivity ) สูงนั้นเอง


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การจัดทำข้อสอบในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 และ 2


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การวัดและประเมินผลในรายวิชาที่รับผิดชอบ

(276)

Comments are closed.