ความสำเร็จ นวัตกรรมและการจัดการปัญหาโรคเรื้อรัง

ความสำเร็จ นวัตกรรมและการจัดการปัญหาโรคเรื้อรัง
 ผู้บันทึก :  นางสาวยุพาวรรณ ทองตะนุนาม และ นางพิมพวรรณ เรืองพุทธ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 18 พ.ย. 2553   ถึงวันที่  : 19 พ.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สมาคมพยาบาลสาธารณสุขไทย ฯ ร่วมกับ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  ความสำเร็จ นวัตกรรมและการจัดการปัญหาโรคเรื้อรัง
  วันที่บันทึก  15 ก.พ. 2554


 รายละเอียด
               ๑. ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา ครั้งนี้ ๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ จากการสำรวจสุขภาพของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 ระหว่างเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2551 – เดือนมีนาคม 2552 พบภาวะภาวะอ้วน ในชาย 28.4% และในหญิง 40.7% นอกจากนั้นยังพบผู้ป่วยโรคเบาหวาน 6.9 % โดย 1 ใน 3 ของบุคคลเหล่านี้ไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเบาหวานมาก่อน และพบผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานสูงกว่าผู้ชาย พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 21.4 % มีผู้ป่วยมีภาวะไขมันในเลือดสูง 19.1 % ผู้่ป่วยโรคทาง Metabolic Syndrome 21.7% ผู้ป่วยในภาวะซึมเศร้า 2.8% ซึ่งความชุกของผู้ป่วยเหล่านี้สูงขึ้นจากการสำรวจครั้งที่ 3 นอกจากนั้นยังพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังอย่างน้อย 2-3 โรค ซึ่งทำให้เห็นว่าแนวโน้มโรคเรื้อรังในประเทศไทยเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้ให้ บริการสุขภาพไม่สามารถละเลยได้ ในอดีตการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังจะเกิดขึ้นในโรงพยาบาล โดยเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลเป็นผู้ให้บริการเชิงรับมากกว่าเชิงรุก ในปัจจุบันการบริการสุขภาพแบบปฐมภูมิเข้ามามีบทบาทในการสร้างเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรคมากขึ้น ทำให้ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังได้รับการดูแลไม่ให้เกิดโรค และผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังได้รับการดูแลเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ เหตุผลที่ทำให้ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิเหมาะสมกับโรคเรื้อรัง คือ (1) ระบบปฐมภูมิสามารถตอบสนองความต้องการเกี่ยวกับการให้ความรู้ ทักษะในการจัดการสุขภาพตนเองแก่ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังได้ (Self Management Education) เนื่องจากผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่วนใหญ่มีระดับความรู้ ความเข้าใจและพลังใจส่วนบุคคลที่แตกต่างกันในการควบคุมดูแลสุขภาพหรือ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในระดับทุติยภูมิ ดังนั้นระบบบริการในระดับปฐมภูมิจึงมีความคล่องตัวในการให้การดูแลที่เหมาะ สมกับความแตกต่างของแต่ละบุคคล (2) เมื่อผู้ป่วยเรื้อรังกลับมาใช้ชีวิตที่บ้านหรือในชุมชน บุคคลเหล่านี้จะได้รับผลกระทบในการดูแลตนเองจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อมทางสังคม ประเพณี วัฒนธรรม เศรษฐานะทางสังคม ที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในระบบบริการปฐมภูมิซึ่งอยู่ในพื้นที่ จึงมีความเข้าใจและสามารถให้คำแนะนำที่สอดคล้องกับปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพล ต่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยเรื้อรังเหล่านี้ Chronic Care Model (CCM) ซึ่งได้พัฒนาขึ้นโดย MacColl Institute for Health Care Innovation ซึ่งเป็นกลุ่มนักวิจัยนำโดย Edward H Wagner รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังนี้ได้สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความชัดเจน เกี่ยวกับประเภทมาตรการและสร้างต้นแบบการดูแลโรคเรื้อรัง โดยได้ให้คำจำกัดความ “ภาวะป่วยเรื้อรัง” คือ ภาวะใดๆที่ต้องอาศัยกิจกรรมและการตอบสนองต่อเนื่องจากผู้ป่วย ผู้ดูแลและระบบบริการการแพทย์ ภาวะนี้ครอบคลุมมิติทางกาย ใจ และพฤติกรรม องค์ประกอบของ CCM ประกอบไปด้วย 6 องค์ประกอบที่ไม่แยกสามารถออกจากกันได้ ได้แก่ (1) การสนับสนุนการดูแลตนเอง (Self-management support) (2) การออกแบบระบบบริการ (delivery system design) (3) การช่วยเหลือสนับสนุนจากทีมบริการสุขภาพในการดูแลสุขภาพ (Decision support) (4) การใช้เทคโนโลยีในการให้ความรู้และติดตามผลการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรค เรื้อรัง (Clinical Information System) (5) การทำความตกลงให้มีการร่วมใช้ทรัพยากรองค์กรต่างๆในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูง สุด (Community Resources Linkage) (6) การดำเนินงานขององค์กร (Health System Organization) จากการศึกษาแบบสังเกตการณ์ของวิทยากร นพ. ชูชัย ศรชำนิ พบว่าในองค์กรที่มีผู้นำที่ไม่ได้แต่งตั้งเป็นทางการแต่ได้รับการยอมรับและ เชื่อถือจากชุมชน หรือ ที่เรียกว่า ผู้นำระดับสูง (Senior Leadership) สามารถเป็นแกนนำให้แผนการดำเนินต่อไปได้ หากองค์กรนั้นได้กำหนดการดูแลโรคเรื้อรังอยู่ในวิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กรหรือเป็นแผนระยะยาวไว้แล้ว นอกจากนี้การกระจายอำนาจให้ผู้รับผิดชอบหลักของโครงการและผู้รับผิดชอบส่วน ย่อยของโครงการและกลไกการให้ค่าตอบแทนตามภาระ และคุณภาพของงานจะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ในการประชุมวิชาการครั้่งนี้ได้มีการนำเสนอผลงานวิชาการการดูแลผู้ป่วยโรค เรื้อรังที่น่าสนใจ ดังนี้ (1) Evidence-Based Practice การจัดโครงการป้องกันปัญหาโรคเบาหวานในชุมชน (2) Evidence-Based Practice การจัดโครงการป้องกันปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือด (3) รูปแบบและแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย ในชุมชน (4) รูปแบบและแนวทางการควบคุมปัจจัยเสี่ยงจากการบริโภคยาสูบในชุมชน (5) โครงการสร้างชุมชนปลอดบุหรี่ (6) โครงการสร้างหุ้นส่วนสุขภาพในการดูแลผู้ที่มีปัญหาโรคเบาหวานในชุมชน (7) โครงการส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคหอบหืดในชุมชน และ (8) โครงการการดูแลและส่งเสริมสมรรถภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การเรียนการสอนรายวิชา.การส่งเสริมสุขภาพและการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ การบริการวิชาการ ประยุกต์ใช้ในการสร้างความเข็มแข็งของชุมชน


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              นำแนวคิด ที่ได้รับจากการประชุมครั้งนี้มาร่วมวางแนทางการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังใน ชุมชนพระพรหมร่วมกับเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพและผู้นำชุมชน ในโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้พระพรหม และโครงการสร้างชุมชนต้นแบบ


(432)

Comments are closed.