ผู้บันทึก : นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ | |
กลุ่มงาน : งานจัดการศึกษาและหลักสูตร | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 2 มิ.ย. 2553 ถึงวันที่ : 2 มิ.ย. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : วพบ.สุราษฎร์ธานี | |
จังหวัด : สงขลา | |
เรื่อง/หลักสูตร : แนวทางปฏิบัติในการรับโอนย้ายนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยนครราชสีมา | |
วันที่บันทึก 10 มิ.ย. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
1. ที่ประชุมแจ้งเกี่ยวกับการรับนักศึกษาพยาบาลจากวิทยาลัยนครราชสีมาเข้าเรียน ใน SC-Net ดังต่อไปนี้ – วพบ.สุราษฎร์ธานี จำนวน ๕ คน นักศึกษาปี ๓ – วพบ.สงขลา จำนวน ๓ คน นักศึกษาปี ๓ – วพบ.นครศรีธรรมราช จำนวน ๓ คน นักศึกษาปี ๓ – วพบ.ยะลา จำนวน ๒ คน นักศึกษาปี ๔ – วพบ.ตรัง จำนวน ๒ คน นักศึกษาปี ๔ 2. หลักเกณฑ์การรับโอนย้ายนักศึกษา ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2552 เรื่องการเทียบโอนหรือรับโอนรายวิชา ต้องได้รับการอนุมัติจากภาควิชา ที่เกี่ยวข้อง (รายละเอียดปรากฏในระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2552 หน้า 10-11 ข้อ 14.6 และ ข้อ 15) 3. การลงทะเบียนเรียนและรายวิชาของทั้งสองสถาบันที่สามารถเทียบโอนได้ ให้พิจารณาจากจำนวนหน่วยกิต คำอธิบายรายวิชา (Course Description) และความสำคัญของรายวิชา พบว่ามีรายละเอียดของรายวิชาที่เทียบโอนได้ เทียบโอนไม่ได้ และรายวิชาที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้ 1)จากระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2552 เรื่องการเทียบโอนหรือรับโอนรายวิชา ต้องได้รับการอนุมัติจากภาควิชาที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดปรากฏในระเบียบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2552 ข้อ 14.6.3) ให้มีการโอนหรือรับโอนรายวิชาได้ไม่เกินสามในสี่ของจำนวนหน่วยกิตรวมของหลัก สูตรใหม่ (ไม่เกิน108 หน่วยกิต) ดังนั้น นักศึกษาจึงไม่สามารถลงทะเบียนเรียนเฉพาะในชั้นปีที่ 4 ได้ เนื่องจากนักศึกษาไม่สามารถเรียนให้ครบ 36 หน่วยกิต 2)รายวิชาที่สามารถเทียบโอนได้ หากได้ระดับคะแนนต่ำกว่า 2.5 หรือเทียบเท่า(C+) ต้องลงทะเบียนเรียนวิชานั้นใหม่(รายละเอียดปรากฏในระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2552 ข้อ 15.2.2) 3)รายวิชาชีพเฉพาะทางการพยาบาลทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนใหม่ เนื่องจากวิชาชีพการพยาบาลเป็นวิชาชีพที่มีการปฏิบัติกับมนุษย์ เน้นการมีทักษะในการดูแลผู้รับบริการทางสุขภาพ คงไว้ซึ่งมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพและมีมาตรฐานการพยาบาล อีกทั้ง การจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นการสอนแบบ บูรณาการ ไม่สามารถเรียนแยกรายวิชาได้ เมื่อพิจารณาจำนวนหน่วยกิตและคำอธิบายรายวิชา ที่ประชุมมีมติให้ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ดังต่อไปนี้ ปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย 2(0-8-0) การพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 3(3-0-6) ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 2(0-8-0) การพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 3(3-0-6) ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 2(0-8-0) การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 3(3-0-6) ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 3(0-12-0) การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 3(3-0-6) ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 3(0-12-0) การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 3 3(3-0-6) ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 3 3(0-12-0) ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต 2(0-8-0) ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1 4(0-16-0) ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 2 2(0-8-0) ปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น 2(0-8-0) ปฏิบัติการบริหารการพยาบาล 1(0-4-0) ทั้งนี้ วิทยาลัยฯ สามารถพิจารณาให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนตามบริบทของวิทยาลัยฯ และตามความต้องการของนักศึกษา โดยมีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 144 หน่วยกิต
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
การเทียบโอนรายวิชาของนักศึกษา ต้องพิจารณาถึงความสอดคล้อง ครอบคลุมของเนื้อหาวิชาที่เรียนไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔ ของรายวิชาของวิทยาลัย และสามารถโอนได้ไม่เกิน ๓ ใน ๔ ของจำนวนหน่วยกิตทั้งหมด
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
การเทียบโอนรายวิชาของนักศึกษา หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต |
(591)