การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย เรื่อง:พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย เรื่อง:พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย

เรื่อง:   พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช  

วันที่  30  พฤษภาคม  พ.ศ. 2557

เวลา 13.00-16.00 น.

ณ  ห้องกลุ่มวิชา

            โดย  นางยุพิน  ทรัพย์แก้ว

  ผู้ร่วมสังเคราะห์องค์ความรู้

นางยุพิน  ทรัพย์แก้ว

นางสาวยุพาวดี  ขันทบัลลัง

นางสาวดาลิมา  สำแดงสาร

นางสาวมลิวัลย์  บุตรดำ

นางสาววรนิภา  กรุงแก้ว

นางสาววิชชุตา  สนธิเมือง

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการสังเคราะห์

ชื่องานวิจัย: รูปแบบการปลูกฝังจิตสาธารณะในนักศึกษาพยาบาล

องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย

          กระบวนการสร้างจิตสาธารณะในนักศึกษาพยาบาล 5 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่1. ขั้นก่อนสำนึกว่าจะทำความดี ระยะนี้จะต้องมีความชัดเจนว่าการทำความดีคืออะไรโดยนักศึกษา ต้องประเมินตนเองด้านจิตสาธารณะก่อน

ขั้นที่ 2. ขั้นนี้ยอมรับว่าสิ่งที่ทำคือสิ่งที่ดี  ไม่กลัวการถูกว่า โดยให้นักศึกษาตนเองว่ามีจิตสาธารณะ อย่างไรบ้างเช่นสถานการณ์การฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย

ขั้นที่3. ขั้นนี้จัดให้การทำกิจกรรม และให้สะท้อนว่ากิจกรรมที่ทำแล้วมีประโยชน์อย่างไรโดยผู้สอน  จะ

เป็นผู้กำหนดสถานการณ์จิตสาธารณะแล้วให้นักศึกษาวิเคราะห์

ขั้นที่ 4. ขั้นนี้ให้นักศึกษารู้สำนึกว่าผลที่ตามมากับผู้อื่นได้อะไรบ้างจากการกระทำของนักศึกษา

ขั้นที่ 5. นำการทำจิตสาธารณะไปขยายกับบุคคลอื่นๆที่กว้างขึ้น เช่น ทำกับบุคคลหลายๆคน  กับชุมชน

ในหอพัก  ที่บ้าน เป็นต้น

นำไปใช้ประโยชน์ในด้าน

ด้านการเรียนการสอน

          ใข้ในกระบวนการเรียนการสอน โดยผู้สอนต้องมีจิตสาธารณะก่อนที่จะไปพัฒนานักศึกษา

 

ด้านวิชาชีพ

ใช้ในการปลูกฝังจิตสาธารณะแก่นักศึกษาโดยใช้กระบวนการสร้างจิตสาธารณะ 5 ขั้นตอน โดยให้ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องคืองานวิชาการและกิจการนักศึกษาจะต้องมีร่วมปรึกษาร่วมกันเพื่อนำเข้าสู่การปฏิบัติ

ด้านบริหาร

          -ฝ่ายบริหารจัดให้มี Motto ตามสถานที่ต่างๆที่นักศึกษาเดินผ่านภายในวิทยาลัยพยาบาล

-จัดให้มีสื่อเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในจิตสาธารณะ ได้แก่ ภาพยนต์  VDO เป็นต้น

ด้านชุมชน

-นำนักศึกษาเข้าไปวิเคราะห์สถานการณ์จิตสาธารณะในชุมชน เช่น บ้านที่มีผู้สูงอายุที่ไม่มีผู้ดูแล หรือมีผู้ดูแลไม่เพียงพอ จะทำอย่างไร (312)

Comments are closed.