การพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยสังกัดสถาบัน พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

การพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยสังกัดสถาบัน พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย

เรื่อง: การพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยสังกัดสถาบัน

พระบรมราชชนก  กระทรวงสาธารณสุข

วันที่ 26  พฤษภาคม  พ.ศ. 2557

          โดย  นางเบญจวรรณ     ถนอมชยธวัช

ผู้ร่วมสังเคราะห์องค์ความรู้

ดร.รัถยานภิศ              พละศึก

นางธมลวรรณ              แก้วกระจก

นางเบญจวรรณ            ถนอมชยธวัช

นางสาวบุญธิดา            เทือกสุบรรณ

นางสาวเบญจมาศ         จันทร์อุดม

สรุปการสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย

1. องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากงานวิจัย 

กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาแต่ละองค์ประกอบที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ มีกระบวนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาตามระบบการประกันคุณภาพ  3 องค์ประกอบดังนี้ 1)ปัจจัยนำเข้าประกอบด้วยนโยบาย  ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ  ระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ  บุคลากร  งบประมาณ  ทรัพยากร  และการบริหารจัดการ  2) กระบวนการผลิต  ประกอบด้วยการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ  การประเมินคุณภาพ และการพัฒนาคุณภาพ 3) ผลผลิตประกอบด้วย  การผลิตบัณฑิต  การวิจัย  การบริการวิชาการ  และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม  ส่วนกระบวนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา  แต่ละองค์ประกอบดำเนินงานตามกระบวนการ  PDCA

องค์ประกอบที่ 1 ปรัชญา  ปณิธาน  วัตถุประสงค์  และแผนการดำเนินงาน  ทั้งนี้วิทยาลัยที่มีแนวปฏิบัติที่ดี  (best  practice)  ได้กำหนดนโยบายด้านการประกันคุณภาพการศึกษา  มีระบบและกลไกการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาตัวบ่งชี้อัตลักษณ์คือ“บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์”  ซึ่งหมายถึงการให้บริการที่เป็นมิตร  มีความรัก ความเมตตา             ใส่ใจในปัญหาและความทุกข์ของผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้อง  ให้บริการตามปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการที่เป็นจริง  โดยรับฟังความคิดเห็นของผุ้รับบริการเป็นหลัก  มีจิตบริการ  ใช้การคิดวิเคราะห์ในการให้บริการ  และเน้นการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ  สำหรับกระบวนการวางแผนการดำเนินงานตาม ปรัชญา  ปณิธาน  วัตถุประสงค์   และแผนการดำเนินงานของวิทยาลัย  มีการนำแผนงาน  QA  และแผนปฏิบัติการอื่นมาร่วมด้วย  การทำแผนยุทธศาสตร์มีการนำ KPI  ของแผนกลยุทธ์  และ  KPI ของงาน QA  มารวมกัน  กระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์บุคลากรในวิทยาลัยทุกระดับมีส่วนร่วม  มีการทบทวน ปรัชญา  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  ร่วมกับการวิเคราะห์ความสอดคล้องของแผนกลยุทธ์กับกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี  แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 10  การทำแผนกลยุทธ์เป็นแผน 5 ปี มีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของแผน  ค่าเป้าหมาย             มีการกำหนดงบประมาณเป็นรายปีชัดเจน  ตอบตัวบ่งชี้การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา (Quality  Assurance)  มากน้อยอย่างไร  และก่อนนำแผนปฏิบัติการมาใช้  ได้มีการทำประชาพิจารณ์โดยบุคคลภายนอกทั้งภาครัฐและภาคเอกชน  เพื่อปรับทิศทางการดำเนินงานตามทิศทางการดำเนินของจังหวัดและภาคเอกชน  การวางแผนการดำเนินงานตามทิศทางที่กำหนดทำให้วิทยาลัยสามารถจัดทำ ESAR  ได้เลย  ทำให้รู้การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการในแต่ปีงบประมาณว่า            บรรลุเป้าหมายหรือไม่   และการจัดทำโครงการ  จะดำเนินการตาม  Plan  Do  Check  Act

องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต  วิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ผลิตบัณฑิตตามความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข  ในแต่ละปีกระทรวงสาธารและสถาบันพระบรมราชชนกมีการกำหนดเป้าหมายการผลิต  และมอบหมายให้วิทยาลัยดำเนินการผลิต  มีการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมกำกับให้มีการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาและเป็นไปตามเกณฑ์ของสภาวิชาชีพ  มีระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน         ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง  มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน  มีระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษาตามคุณลักษณะบัณฑิต  มีการพัฒนานักศึกษาด้านวิชาการโดยมีการติวนักศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1  ผ่านโครงการพี่สอนน้อง  เพื่อนสอนเพื่อน  รุ่นพี่          ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วสอนน้อง  สอนโดยอาจารย์  ในแต่ละวิชาตามโครงสร้างของหลักสูตรที่กำหนด มีระบบการพัฒนาอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนชัดเจนและครอบคลุมในการดำเนินงาน

องค์ประกอบที่ 3  กิจกรรมพัฒนานักศึกษา  มีระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา  โดยการจัดให้นักศึกษาได้ศึกษาดูงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาทักษะทุกๆด้าน  และส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้และทักษะการประกันคุณภาพไปใช้ในการจัดกิจกรรมแต่ละชั้นปี  ครอบคลุมทั้ง 5 ประเภทตามที่สกอ.กำหนด  ในการดำเนินกิจกรรมใช้กระบวนการ PDCA  ทั้งกิจกรรมที่วิทยาลัยจัดให้นักศึกษา  รวมถึงกิจกรรมที่จัดโดยนักศึกษา  มีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้นักศึกษาในด้านการประกันคุณภาพการศึกษา  สำหรับ           การกำหนดพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาแต่ละวิทยาลัยมีการกำหนดที่แตกต่างกันบ้างตามนโยบายของแต่ละวิทยาลัย

องค์ประกอบที่ 4 การวิจัย  ทุกวิทยาลัยมีระบบและกลไกในการพัฒนางานวิจัย  และมีการดำเนินการตามระบบ  มีระบบการช่วยเหลือนักวิจัยที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กรแต่ละที่

เช่นการเสริมแรงการทำวิจัยโดยการให้รางวัลสำหรับผู้ที่นำเสนองานวิจัย  หรือกำหนดเป็น KPI  มีงบสนับสนุนงานวิจัยเต็มที่   มีการสนับสนุนจากผู้บริหาร  มีระบบการช่วยเหลือนักวิจัย  เช่นงานวิเทศน์ช่วยเขียน Abstract  และมีระบบการติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานวิจัยทุกเดือน  หาก            มีปัญหาในการบริหารเวลาเพื่อทำงานวิจัย  สามารถลาเพื่อทำวิจัยได้ครั้งละ 1 เดือน  โดยเอาผลงานมาแสดง  ประเด็นการทำวิจัยเน้นการตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น  ภูมิปัญญา

องค์ประกอบที่ 5  การบริการวิชาการแก่สังคม  ทุกวิทยาลัยดำเนินการบริการวิชาการแก่สังคมในระดับดีมาก  โดยมีการดำเนินงานตามระบบและกลไกการบริการวิชาการแก่สังคม  กระบวนการบริการวิชาการเน้นการเกิดประโยชน์ต่อสังคม  มีการชี้นำสังคม  โดยใช้ความเชี่ยวชาญของอาจารย์เป็นฐานความรู้และความเชี่ยวชาญของวิทยาลัย  ซึ่งการดำเนินการ บริการวิชาการเน้นการบูรณาการทั้งด้านการเรียนการสอนและการวิจัย  และการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานอื่นๆ

องค์ประกอบที่  6  การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนะธรรม  ทุกวิทยาลัยมีการกำหนดระบบกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนะธรรมชัดเจนและดำเนินการภายใต้ระบบกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนะธรรมอย่างมีคุณภาพ  และบูรณาการศิลปะและวัฒนะธรรมกับพันธกิจอื่นๆ  และทุกวิทยาลัยได้พัฒนาสุนทรียภาพในมิติทางศิลปะและวัฒนะธรรมโดยการมีส่วนร่วมของทุกคน               ทำให้วิทยาลัยน่าอยู่อย่างมีสุนทรีย์และมีรสนิยม

องค์ประกอบที่  7  การบริหารและการจัดการ

การพัฒนาสถาบันสู่สถาบันการเรียนรู้  วิทยาลัยมีระบบและกลไกการจัดการความรู้ทั้ง Tacit  และ Explicit  Knowledge  และมีการดำเนินการตามระบบ  สำหรับการพัฒนาฐานข้อมูลทุกวิทยาลัยอยู่ในระหว่างการพัฒนาฐานข้อมูลจากสบช.  แต่บางวิทยาลัยพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อใช้เป็นระบบสารสนเทศในบางงานเช่นฐานข้อมูลงานการเงิน  ฐานข้อมูลบุคลากร

สำหรับด้านบริหารความเสี่ยงมีการระบุความเสี่ยง  และวิเคราะห์ความเสี่ยง  และมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงที่สามารถควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้

องค์ประกอบที่  8  การเงินและงบประมาณ  มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสถาบัน  จัดทำแนวทางการจัดหาทรัพยากรทางด้านการเงิน  มีหลักเกณฑ์การจัดสรร  และวางแผนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ  โปร่งใสตรวจสอบได้  มีการจัดแผนการใช้เงินโดยจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการในแต่ละพันธกิจ  มีหน่วยงานตรวจสอบการใช้เงินทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก  ติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่สถาบันกำหนด  และมีการติดตามการใช้เงินตามเป้าหมาย  และนำข้อมูลจากรายงานทางการเงินไปใช้ในการวางแผนการใช้เงิน

องค์ประกอบที่  9 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ  แต่ละวิทยาลัยมีการปรับปรุงระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยทั้งปัจจัยนำเข้า  กระบวนการ  ผลผลิตและผลลัพธ์

2. การนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

1) ด้านการเรียนการสอน

1.1 การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ  ต้องพิจารณาถึงปัจจัยนำเข้า  ซึ่งต้องเน้นคุณภาพ  ทั้งคุณภาพอาจารย์  สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทั้งอุปกรณ์การเรียน  สารสนเทศในการสืบค้น  สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย

1.2 อาจารย์ผู้สอน  นอกจากเน้นคุณภาพด้านวิชาการ  เทคนิคการสอนแล้ว               ยังต้องมีการทุ่มเทแรงกายแรงใจ  และให้เวลากับนักศึกษาเต็มที่

1.3 การพัฒนานักศึกษาโดยเฉพาะด้านวิชาการไม่ต้องรอเวลานักศึกชั้นปีที่ 4  สามารถพัฒนานักศึกษาได้ทุกชั้นปี ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-4

2) ด้านชุมชน  การบริการวิชาการเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน

การผลิตผลงานวิจัย  เน้นการสร้างเครือข่ายกับชุมชน  เพื่อการสนับสนุนงบประมาณ  และการนำวิจัยไปใช้ประโยชน์

3)  ด้านวิชาชีพ  กระบวนการพัฒนานักศึกษา  เน้นการพัฒนาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาและตามเกณฑ์ของสภาวิชาชีพ

4)  ด้านการบริหาร

1) ผู้บริหารกำหนดเป็นนโยบายในการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน  และปฏิบัติงานตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา

2) เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย  กำหนดเป็น  KPI ของรองผู้อำนวยการทุกฝ่าย (331)

Comments are closed.