การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย
เรื่อง: พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหมจังหวัดนครศรีธรรมราช
วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
เวลา 13.00-16.00 น.
ณ ห้องกลุ่มวิชา
โดย นางยุพิน ทรัพย์แก้ว
ผู้ร่วมสังเคราะห์องค์ความรู้
นางยุพิน ทรัพย์แก้ว
นางสาวยุพาวดี ขันทบัลลัง
นางสาวดาลิมา สำแดงสาร
นางสาวมลิวัลย์ บุตรดำ
นางสาววรนิภา กรุงแก้ว
นางสาววิชชุตา สนธิเมือง
สรุปการสังเคราะห์องค์ความรู้
ชื่องานวิจัย พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหมจังหวัดนครศรีธรรมราช
องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย
เป็นงานวิจัยที่สำคัญต่อศูนย์ผู้สูงอายุ เนื่องจากศูนย์ผู้สูงอายุจำเป็นต้องทราบข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่ เพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ซึ่งผลการวิจัยทำให้ทราบปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่องด้วยชุมชนแห่งนี้เป็นเครือข่ายหนึ่งกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช การได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพจากการบริการวิชาการและจากการที่เป็นแหล่งฝึกปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล จึงพบว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับดี
การนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้
ด้านการเรียนการสอน
ในรายวิชาที่นักศึกษาต้องลงชุมชน เช่น รายวิชาสร้างเสริมสุขภาพ สามารถนำข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในกลุ่มผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนสำหรับนักศึกษา การได้ทราบข้อมูลเบื้องต้นด้านปัจจัยและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ทำให้นักศึกษาสามารถนำไปวางแผนต่อยอดในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ การให้ข้อมูลด้านสุขภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและนักศึกษาที่ต้องทำการวินิจฉัยชุมชน เพื่อจัดทำโครงการแก่ชุมชน หากนักศึกษาสนใจในกลุ่มผู้สูงอายุเขาสามารถนำข้อมูลพื้นฐานจากงานวิจัยนี้ เพื่อนำมาจัดทำโครงการได้เลย
ด้านวิชาชีพ
นำไปใช้ในการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม ในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ และจากข้อมูลถึงแม้ บางปัจจัยพบปัญหาน้อย ก็ต้องให้ความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ นักศึกษาต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น ค้นหาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุและเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมพฤติกรรมผู้สูงอายุของรัฐบาล
ด้านชุมชน
ส่งต่อข้อมูลที่ได้ให้กับอบต.หรือรพสต. เพื่อให้ทราบภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุว่าเป็นอย่างไร เพื่อ ให้สามารถนำข้อมูลส่วนนี้ไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาหรือส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุต่อไป
ด้านการบริหาร
ได้ข้อมูลพื้นฐานซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับศูนย์ผู้สูงอายุ เพื่อวางแผนในการจัดกิจกรรมให้ตอบสนองความต้องการและสอดคล้องกับปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน โดยทั่วไปรพสต.จะปรับเปลี่ยนข้อมูลของผู้สูงอายุทุก ๆ ปี จึงต้องมีการทำงานประสานกันระหว่างศูนย์ผู้สูงอายุกับรพสต. เพื่อส่งต่อข้อมูลระหว่างกันในการวางแผนทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุต่อไป
(356)