พัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านประกันคุณภาพการศึกษา

พัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านประกันคุณภาพการศึกษา

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :  30    กันยายน   2556

 ผู้บันทึกนางนอลีสา โต๊ะยุโส๊ะ    และ   นางสาวจตุพร  ตันตะโนกิจ

กลุ่มงาน :  พัฒนานักศึกษาและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ฝ่าย :  กิจการนักศึกษา

ประเภทการปฏิบัติงาน  :  ประชุม

วันที่    28   กันยายน    2556    ถึงวันที่    29     กันยายน   2556  

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้

สถานที่จัด :   ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  สุราษฎร์ธานี

เรื่อง :    พัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านประกันคุณภาพการศึกษา

รายละเอียด

                     การประกันคุณภาพการศึกษา คือ กระบวนการจัดระบบและกลไกการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐานตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่กำหนดโดยต้นสังกัดของสถานศึกษา เพื่อให้มั่นใจได้ว่า สถาบันการศึกษาได้ดำเนินการตามภารกิจหลักอย่างมีคุณภาพและได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานภายนอก (สมศ.และสกอ.)พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีสาระบัญญัติที่กำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่ง มีการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน ความจำเป็นในการประกันคุณภาพการศึกษา โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วผลกระทบต่อคุณภาพของคนความหลากหลายในคุณภาพของบัณฑิต/สถานศึกษาการแข่งขันกันสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศความจำเป็นที่จะต้องสร้างองค์ความรู้ให้เป็นสากลเพื่อการยอมรับจากนานาชาติสร้างความมั่นใจให้แก่สังคมว่าสามารถผลิตคนที่มีคุณภาพเพื่อให้ข้อมูลแก่สาธารณะที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน ผู้จ้างงาน ผู้ปกครอง รัฐบาลและประชาชนทั่วไปให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติการบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมตามปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผลผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยอยู่บนพื้นฐาน การป้องกัน ไม่ให้เกิดการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพและผลผลิตไม่มีคุณภาพและ การส่งเสริม การดำเนินงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพส่งผลต่อผลผลิตที่มีคุณภาพ

                 บทบาทของนักศึกษาในการประกันคุณภาพการศึกษาสนับสนุนการดำเนินการตามมาตรฐานการประกันคุณภาพของวิทยาลัย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา รักษาคุณภาพตามบทบาทของนักศึกษาและบทบาทสมาชิก ที่ดีของสังคม โดยนำ PDCA มาใช้ในการทำกิจกรรมนักศึกษา ประเมินรายวิชาและประเมินการสอนของอาจารย์ และให้ข้อมูลกับคณะกรรมการประเมินคุณภาพของวิทยาลัย

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

การควบคุมคุณภาพการดำเนินโครงการขององค์การนักศึกษาและชมรมให้เป็นไปตามกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา และส่งเสริมให้นักศึกษามีการสร้างเครือข่ายประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกและมีการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งจะส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์และได้เกิดการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

การพัฒนานักศึกษา        

  (321)

Comments are closed.