แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้
วันที่บันทึก : 3 กรกฎาคม 2556
ผู้บันทึก : นางนอลีสา โต๊ะยุโส๊ะ และ นางสาวนภาวรรณ วิริยะศิริกุล
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุและบริหารการพยาบบาล
ฝ่าย : วิชาการ
ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม
วันที่ 26 มิถุนายน 2556 ถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2556
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างวันที่
สถานที่จัด : ณ โรงแรมเซ็นจูรี พาร์ค
เรื่อง : ประชุมวิชาการกุมารเวชศาสตร์ สุขภาพเด็กแห่งชาติ ครั้งที่ 14
รายละเอียด
ปัญหาสุขภาพเด็ก ที่กระทรวงสาธารณสุขมอบเป็นนโยบายในการแก้ไข และการบริหาร
จัดการที่เป็นรูปธรรม คือ ปัญหากลุมที่มีผลต่ออัตราทารกเสียชีวิตในขวบปีแรก อาทิ birth defect, birth asphyxia,prematurity ปัญหากลุ่ม emergency and critical care และปัญหากลุ่ม emerging and re emerging diseae และความก้าวหน้าในการให้การรักษาพยาบาล จากสหสาขาวิชาชีพ ด้านการผ่าตัด ด้านการดมยา ด้านเภสัชกรรม ด้านทันตกรรม ด้านการฟื้นฟูสุขภาพความพิการแต่กำเนิด มีแนวทางการป้องกัน ดังนี้ 1. การให้ความรู้แก่ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ 2. การวางแผนครอบครัวที่ดี 3. การเสริมอาหารที่เหมาะสม 4. หลีกเลี่ยงสารก่อให้เกิดความพิการแต่กำเนิด 5. ให้การดูแลสุขภาพมารดาที่มีโรคเรื้อรัง 6. การตรวจกรองทารกแรกเกิด แนวทางการรักษา ประกอบด้วย
1. การรักษาทางการแพทย์
2. การรักษาด้วยการผ่าตัดโรคอุบัติใหม่ และโรคอุบัติซ้ำ มีปัจจัยดังนี้ คือ
1. การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิต
2. ผลของความก้าวหน้าในเทคโนโลยีของการรักษา
3. ปัญหาสิ่งแวดล้อม
4. การอุตสาหกรรมผลิตอาหาร
5. การค้าขายระดับสากล
6. ศึกสงคราม ความขัดแย้ง
การใช้ยานอนหลับและยาลดความปวดในไอซียูเด็ก ถ้าได้รับไม่เพียงพอจะทำให้เด็กเกิดความทุกข์ทรมาน ความกังวล ชีพจรเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง และอาจส่งผลให้ท่อช่วยหายใจหลุดในรายที่กระวนกระวายอยู่ไม่นิ่ง หรือหากได้รับยาในขนาดที่สูงเกินไปจะกดการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ลดการทำงานของลำไส้ทำให้ท้องอืด ผู้ที่ได้รับยานานเกินไปอาจมีผลทำให้ดื้อยานอนหลับ ปัจจุบันมีการคิดค้นระบบ Scoring system เพื่อใช้ในการประเมินระดับความรู้สึกตัวผู้ป่วย ทำให้สามารถให้ยานอนหลับได้พอเหมาะกับสภาพผู้ป่วย
การพยาบาลแบบองค์รวม เป็นการช่วยเหลือหรือเยียวยาสุขภาพของบุคคลทั้งคนในรูปแบบของการบูรณาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม วัฒนธรรม และจิตวิญญาณ โดยให้ความสำคัญในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ บริบทของการให้บริการ รวมถึงสิ่งแวดล้อมด้วย ทั้งนี้การพยาบาลแบบองค์รวมต้องอาศัยทั้งความรู้ หลักการ ทฤษฎี ประสบการณ์และสามัญสำนึกที่ดีของพยาบาล
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
การนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงานวิชาการในการวางแผนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 3 บทที่ 4 การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับสมองและไขสันหลังทั้งในระยะวิกฤติ เฉียบพลันและเรื้อรัง รายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 บทที่ 3 การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะทั้งในระยะวิกฤติ เฉียบพลันและเรื้อรัง
การเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1,3
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ
(324)