ผู้บันทึก : นางวิลาสินี แผ้วชนะ | |
กลุ่มงาน : งานจัดการศึกษาและหลักสูตร | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 7 ธ.ค. 2553 ถึงวันที่ : 9 ธ.ค. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก | |
จังหวัด : นนทบุรี | |
เรื่อง/หลักสูตร : การพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ (TQF) | |
วันที่บันทึก 20 ก.พ. 2554 | |
|
|
รายละเอียด | |
การอภิปรายเรื่อง “ผลการใช้หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๕๒ ในมุมมองของผู้เกี่ยวข้อง” ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์พจนา ปิยะปกรณ์ชัย นางศิริวันต์ ยิ้มเลี้ยง รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลพิจิตร บัณฑิตที่จบออกไปหลัง พ.ศ. ๒๕๔๕ พบว่า – ทักษะการปฏิบัติการพยาบาลมีน้อย – มีความเสี่ยงในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น – การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ มีน้อย – เก่งวิชาการ แต่ไม่แกร่ง และกล้า – ไม่สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือเครื่องใช้ได้ หากมีอุปกรณ์ไม่เหมือนที่เรียนมา – บางส่วนไม่มีใจรักในวิชาชีพ ถูกบังคับให้เรียน – ขาดการคิดเชิงบวก – สถาบันควรเน้นให้มีใจเป็นนักประชาธิปไตย เสียสละ อดทน ปรับตัวอยู่ในโลกของการเปลี่ยนแปลงได้ โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง มีเหตุผล พอประมาณ และมีภูมิคุ้มกัน ภายใต้การกระตือรืนร้นที่จะเรียนรู้ คิดเชิงรุกในการให้บริการเพิ่มขึ้น ให้เก่งพูด เก่งคิด เก่งทักษะ นายวิลัย วิชาชู ประธานวัฒนธรรมจังหวัดชัยนาท และประธานชมรมผู้สูงอายุ มีความเห็นว่า – นักศึกษาให้การดูแลผู้ใช้บริการดี แม้จบไปเป็นพยาบาลแล้วยังมีความผูกพันกัน เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน – สถาบันควรเพิ่มการผลิตบัณฑิตพยาบาลให้มากขึ้น ดร.ชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร ผู้อำนวยการ วพบ.กรุงเทพ มีความคิดเห็นในมุมมองของผู้บริหารว่า ในการนำหลักสูตรไปใช้ ผู้บริหารควร – ต้องมีการประชาสัมพันธ์ และทำความเข้าใจในหลักสูตร – การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน เช่น ห้องเรียนกลุ่มย่อย ระบบสืบค้น ห้องสมุด สื่อที่ส่งเสริมการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ อาคารเรียน หอพัก – สนับสนุน หรือส่งเสริมความรู้ของผู้สอน ในด้านวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บทบาทของผู้สอนควร – เตรียมการสอน มีการวางแผนร่วมกันในทีมผู้สอน – เลือกใช้วิธีการสอน เทคนิคที่หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ – จัดการเรียนการสอนตามแนวคิด (concept) – เลือกวิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสม บทบาทของผู้เรียนควรมี – การเรียนแบบนำตนเอง (Self directed learning) – การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ – การบริหารจัดการตนเอง – การทำงานเป็นทีม – การเชื่อมโยงความรู้จากทฤษฎี สู่การปฏิบัติ – คุณธรรมจริยธรรม ปัญหาที่พบ – ขาดทักษะการเรียนการสอนแบบบูรณาการ การอภิปรายเรื่อง “วิจัย : ผลการประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๔๕ และความพึงพอใจต่อการใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ วิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑” ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์พจนา ปิยะปกรณ์ชัย ดร.นิชดา สารถวัลย์แพศย์ วพบ.จังหวัดนนทบุรี จากการผลวิจัย พบว่า โครงสร้างหลักสูตร ไม่สอดคล้องกับตารางวิเคราะห์หลักสูตร (Blue print) ของสภาการพยาบาล และขาดตำราที่สอดคล้องกับหักสูตรบูรณาการ อ.โสภิต สุวรรณเวลา วพบ.ตรัง จากการผลวิจัย พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ การบรรยายเรื่อง “แนวทางการปรับหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญา ตรี สาขาพยาบาลศาสตร์” โดย รศ.ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ เหตุผลที่ต้องมีการปรับหลักสูตร เนื่องจาก – หลักสูตรมีอายุ – มีข้อบังคับใช้ กฎหมายใหม่ งบประมาณ – ผลการประเมินหลักสูตร ในประเด็น ความต้องการในการเปลี่ยนแปลงและกระบวนการที่เกี่ยวข้อง แรงขับดันจากภายนอก วิเคราะห์ความร่วมมือจากฝ่ายบริการพยาบาล วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของการพยาบาลที่มีผลต่อการเปลี่ยนทัศนคติ ของอาจารย์ นักศึกษา และผู้บริโภค เหตุที่ทำให้กระบวนการปรับเปลี่ยนหลักสูตร ยากที่จะสำเร็จ – Faculty commitment ที่จะเป็นผู้ริเริ่มการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร – การเห็นร่วมกันในประเด็นต่างๆของกระบวนการ – การพัฒนาปรัชญา กรอบแนวคิดและระดับของวัตถุประสงค์ ตลอดจนการนำไปปฏิบัติ – การพัฒนาเครื่องมือประเมินผล – การสื่อสารกระบวนการพัฒนาหลักสูตรต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง ช่น อาจารย์ นักศึกษา แหล่งฝึก – การมีเวลาเพียงพอต่อการพัฒนาหลักสูตร หน้าที่ของอาจารย์ในการปรับปรุงหลักสูตร – วางแผน ปฏิบัติและประเมินหลักสูตรอย่างเป็นระบบ – ระบุแรงขับดันต่อการเปลี่ยนแปลง และการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง – หาความต้องการทางวิชาการ และใช้ที่ปรึกษา – แจ้งการเปลี่ยนแปลงให้ผู้อื่นทราบทุกที่ ทุกเวลา และเมื่อจำเป็น – แจกแจงผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง – พัฒนาทักษะในกระบวนการกลุ่มและการใช้หลักการเปลี่ยนแปลง ระบบการสนับสนุนกระบวนการหลักสูตร – ผู้บริหาร และประธานหลักสูตรทีมีประสิทธิภาพ – ระบบบริหารจัดการที่ดี – ระบบการประเมินผลหลักสูตร การจัดการศึกษา – การสนับสนุนทางกฎหมาย และงบประมาณ – หน่วยงานรับรองสถาบัน – การสนับสนุนทางสิชาการจากวิชาชีพอื่น – การเข้าใจผลลัพธ์ของหลักสูตรจากผู้ใช้บัณฑิตและวิชาชีพอื่นๆ – ระบบข้อมูลย้อนกลับที่ชัดเจน – อาจารย์มีความรู้และเป็นแหล่งประโยชน์ได้ – แหล่งฝึกงานในโรงพยาบาล และชุมชน หลักการสำคัญในการพัฒนา มคอ.๒ – ต้องสอดคล้องกับ มคอ.๑ – สะท้อนความเป็นสถาบันของเจ้าของหลักสูตร เช่น อัตลักษณ์ของสถาบัน คุณลักษณะของบัณฑิต การบริหารหลักสูตร – แต่ละส่วนของ มคอ.๒ มีความสอดคล้องกัน ทั้ง ๘ ส่วน เริ่มต้นจากการพัฒนาปรัชญา มีการทบทวนความเชื่อของคณาจารย์ในสถาบัน อาจคงเดิม หรือปรับเปลี่ยน เนื่องจากปรัชญา เป็นสิ่งที่จะนำทางหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน การผลิตบัณฑิตพยาบาลของแต่ละสถาบัน เมื่อปรัชญาเปลี่ยน หลักสูตรก็ต้องเปลี่ยน – ในการทบทวนปรัชญา ต้องให้ทุกคนมีส่วนร่วม และทำอย่างรอบคอบ – ปรัชญาของแต่ละวิทยาลัย ต้องสอดคล้องกับสถาบันพระบรมราชชนก เป็นรากฐานของหลักสูตร อธิบายบทบาทของพยาบาลที่เปลี่ยนแปลงไปและภาพในอนาคต ต้องเป็นจริงและปฏิบัติได้ อธิบายระบบสุขภาพในปัจจุบัน และอนาคต เขียนสั้นๆ กระชับเนื้อความ – องค์ประกอบของปรัชญา ได้แก่ คน สังคม สุขภาพ การพยาบาล และการเรียนรู้ การปรับปรุงหลักสูตร – ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรตามที่กำหนดในมคอ.๑ – จัดเตรียมข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ – กำหนดประเด็นที่จะใช้ในการปรับปรุงหลักสูตร เพื่อเตรียมเสนอต่อคณะกรรมการ – จัดประชุมคณะกรรมการ เพื่อวางกรอบการทำงาน – กรรมการภายในสถาบันดำเนินการ การประชุมกลุ่มย่อย เครือข่ายภาคใต้ (SC-Net) ๑. โครงสร้างหลักสูตรที่ปรับปรุง คงจำนวนหน่วยกิต ๑๔๔ หน่วยกิต แบ่งเป็น หมวดการศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต หมวดวิชาชีพเฉพาะ ๑๐๘ หน่วยกิต กลุ่มพื้นฐานวิชาชีพ ๓๐ หน่วยกิต กลุ่มวิชาชีพ ๗๘ หน่วยกิต แบ่งเป็น ทฤ ๕๑ นก. ปฏิบัติ ๒๗ นก. หมวดวิชาเลือกเสรี ๖ หน่วยกิต ๒. รายวิชาที่มีการเปลี่ยนแปลง – มนุษย์ สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ ลดหน่วยกิตเหลือ ๒ นก. – ชีวเคมี ลดหน่วยกิตเหลือ ๒ นก. – จุลชีววิทยา ลดหน่วยกิตเหลือ ๒ นก. – การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต เพิ่มหน่วยกิตเป็น ๓ นก. – การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ เพิ่มหน่วยกิต และเนื้อหาเกี่ยวกับผู้สูงอายุ. สรุปผลการประชุมกลุ่มย่อยทุกเครือข่ายภาค พบว่า – จำนวนหน่วยกิต คงเดิม ๑๔๔ – จำนวนหน่วยกิตหมวดวิชาชีพเฉพาะ พบว่า กลุ่มพื้นฐานวิชาชีพอยู่ในช่วง ๓๐-๓๖ นก.และกลุ่มวิชาชีพอยู่ในช่วง ๗๖-๗๙ หน่วยกิต – ประเด็นสำคัญคือ วิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ทุกเครือข่ายภาคต้องการให้แยกเป็นวิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ – อย่าลืม รายวิชาที่ สบช. ต้องการคงไว้ คือ รายวิชามนุษย์ สุขภาพ สิ่งแวดล้อม รายวิชากระบวนการคิด และรายวิชาการสื่อสารทางการพยาบาล – เอกลักษณ์หลักสูตรสบช. ใช้การสร้างเสริมสุขภาพ ให้ความสำคัญกับชุมชน ยึดการดูแลแบบองค์รวมบนพื้นฐานการดูแลแบบเอื้ออาทร ใช้กระบวนการพยาบาลในการแก้ปัญหาสุขภาพ ยึดหลักจริยธรรมและสิทธิมนุษยชน บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เลือกใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีที่เหมาะสม – ทุก วพบ. ต้องทำหลักสูตรให้เรียบร้อย ภายในเดือน มีนาคม ๒๕๕๔
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน พัฒนาหลักสูตร
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน พัฒนาหลักสูตร |
(574)