ผู้บันทึก : นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ และนางเกษรา วนโชติตระกูล | |
กลุ่มงาน : งานจัดการศึกษาและหลักสูตร | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : สัมมนา | |
เมื่อวันที่ : 7 ต.ค. 2553 ถึงวันที่ : 8 ต.ค. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก | |
จังหวัด : สงขลา | |
เรื่อง/หลักสูตร : สัมมนาพยาบาลพี่เลี้ยงในแหล่งฝึก ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ | |
วันที่บันทึก 28 ธ.ค. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
การบรรยายเรื่อง “บทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง” โดย อาจารย์พจนา ปิยะปกรณ์ชัย พยาบาลพี่เลี้ยง คือ พยาบาลที่ยินดีแบ่งปันความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลต่อผู้เรียน มีบทบาทดังนี้ 1. พบนักศึกษา และอาจารย์ของสถาบัน ทบทวนวัตถุประสงค์ของการเรียน และความคาดหวังของนักศึกษาภายใน 2 สัปดาห์แรกของการฝึกปฏิบัติ 2. จัดให้นักศึกษามีประสบการณ์ หรือให้คำแนะนำเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์การเรียน 3. สนับสนุนให้นักศึกษามีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วย/บุคคลร่วมกับพยาบาลประจำการ 4. ร่วมในการประชุมระหว่างนักศึกษา และพยาบาลประจำการ สัปดาห์ละครั้ง จัดให้มีการเรียนรู้ และนิเทศความก้าวหน้าให้แก่นักศึกษา ทั้งด้านความรู้ ทักษะ 5. ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักศึกษาตามที่กำหนด 6. พบกับอาจารย์จากสถาบันร่วมกับนักศึกษา เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานเมื่อสิ้นสุด การเรียน กระบวนการของพยาบาลพี่เลี้ยง แบ่งเป็น 5 ระยะ ได้แก่ 1. Anticipating มีการกำหนดวัตถุประสงค์ ทำความเข้าใจในบทบาท โดยการมีส่วนร่วมกันระหว่างพยาบาลพี่เลี้ยง อาจารย์ และนักศึกษา 2. Intiating พยาบาลพี่เลี้ยงจัดหาโอกาสและประสบการณ์ให้กับนักศึกษา ยอมรับในความสามารถ ข้อจำกัดของนักศึกษา รวมทั้งการสาธิตหากนักศึกษาไม่สามารถปฏิบัติได้ 3. Trusting ให้นักศึกษาปฏิบัติตามอิสระ ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ประเมินผลซึ่งกันและกัน 4. Collaboration พยาบาลพี่เลี้ยงและนักศึกษามีการปฏิบัติร่วมกัน นิเทศและให้ข้อแนะนำ ประเมินและให้กำลังใจ 5. Terminating ระยะสิ้นสุด มีการประเมินผลร่วมกัน คุณสมบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงตามทัศนะของนักศึกษา มีดังนี้ 1. เห็นอกเห็นใจ ดูแลให้ความอบอุ่น 2. ยุติธรรม ยืดหยุ่น 3. อารมณ์คงที่ กระตือรือร้น สนใจ 4. ให้การยอมรับ 5. มีความสุขในการสอน 6. สนใจในการเรียนของนักศึกษา 7. แสดงบทบาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ 8. มีภาวะผู้นำ 9. มีทักษะ การสื่อสารที่ชัดเจน 10. เป็นนักแก้ปัญหา 11. สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้ การประชุมกลุ่มย่อย เพื่อทำความเข้าใจ ทบทวนกิจกรรมใน ร่างคู่มือการฝึกปฏิบัติแบบเข้ม โดยการแลกเปลี่ยนกับพยาบาลพี่เลี้ยงและวิทยากร โดยการชี้แจงวัตถุประสงค์ในการฝึก ปฏิบัติแบบเข้ม นักศึกษาจะต้อง 1. ปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวม บนพื้นฐานความเอื้ออาทรแก่บุคคล ครอบครัว และชุมชน สอดคล้องกับวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมโดยยึดหลักจริยธรรมและสิทธิมนุษยชน 2. แสดงบทบาทพยาบาลวิชาชีพในด้านบริการ ด้านบริหาร ด้านวิชาการและประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ โดยบูรณาการความรู้ ทฤษฎี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและผลงานวิจัยมาใช้ในการดูแลสุขภาพแก่บุคคล ครอบครัวและชุมชน 3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้การปรึกษาด้านสุขภาพแก่บุคคล ครอบครัวและชุมชน สถานที่ฝึกปฏิบัติ ในโรงพยาบาลศูนย์/ โรงพยาบาลทั่วไป/ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชน/ ชุมชนในจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา และสตูล จำนวนนักศึกษาแยกตามจังหวัดที่ฝึกปฏิบัติ จำนวน 2,851 คน แบ่งออกเป็น จังหวัดนราธิวาส จำนวน 947 คน จังหวัดยะลา จำนวน 552 คน จังหวัดปัตตานี จำนวน 917 คน จังหวัดสงขลา จำนวน 276 คน จังหวัดสตูล จำนวน 159 คน ทั้งนี้แต่ละจังหวัดนักศึกษาจะเลือกประสบการณ์ในแต่ละแหล่งฝึกที่สนใจหรือ ตามความต้องการของจังหวัดที่จะให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติในสาขาที่จะต้องกลับไป ปฏิบัติงาน กิจกรรมการเรียนรู้ 1. กิจกรรมนักศึกษา ในโรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไป / โรงพยาบาลชุมชน 1) ทำ Learning plan ส่งในวันแรกของการฝึกปฏิบัติในทุกแหล่งฝึก และวางแผนร่วมกับพยาบาลพี่เลี้ยง 2) ให้ Bedside nursing care และเรียนรู้งานพยาบาลในบทบาทพยาบาลวิชาชีพ 3) วางแผนการพยาบาล (Kardex plan) ใช้แบบฟอร์มภาคผนวก ง ในผู้ป่วยที่ดูแลอย่างต่อเนื่อง 1 รายต่อสัปดาห์ 4) ฝึกการบริหารการพยาบาลเป็นหัวหน้าเวร หัวหน้าทีมไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง หรือตามความเหมาะสมของแหล่งฝึก 5) กรณีศึกษาและอภิปราย (Case conference) ร่วมกับอาจารย์พี่เลี้ยงแหล่งฝึกอย่างน้อย 1 ครั้ง 6) ฝึกปฏิบัติการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ก่อนคลอด ระยะคลอด และหลังคลอด 7) ให้การดูแลผู้ป่วย (เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ) ที่มีปัญหาสุขภาพของระบบต่างๆ ไม่น้อยกว่า 5 ราย 8) ฝึกทำหัตถการและทักษะที่จำเป็นและสอดคล้องกับปัญหาสุขภาพ ได้แก่ การประเมินภาวะสุขภาพ, การใส่สายยางและการให้อาหารทางสายยาง, การให้ยา สารน้ำทางหลอดเลือดดำ, การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจน, การสวนปัสสาวะ, การดูแลบาดแผล, การให้คำแนะนำทางสุขภาพ, การเขียนบันทึกทางการพยาบาลสอดคล้องกับปัญหาสุขภาพ 9) ฝึกการแก้ไขปัญหาในผู้ป่วยฉุกเฉินบาดเจ็บ หรือมีปัญหาสุขภาพที่เฉียบพลันอย่างน้อยกว่า 5 ราย (กรณีแหล่งฝึกในห้องฉุกเฉิน) 10) สนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในปัญหาสุขภาพและการดูแลตนเองกับผู้ป่วยและญาติ พร้อมให้คำแนะนำเพิ่มเติมโดยสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมและศาสนา อย่างน้อย 2 ราย 11) สอนเสริม / ทบทวนความรู้ทางวิชาชีพอย่างน้อย 2 เรื่อง 2. กิจกรรมนักศึกษา ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล / ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชน / สถานีอนามัย 1) ทำ Learning plan ส่งในวันแรกของการฝึกปฏิบัติ และวางแผนร่วมกับพยาบาลพี่เลี้ยง 2) ฝึกปฏิบัติการพยาบาลและมีส่วนร่วมในสร้างเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาของครอบ ครัวและชุมชนทั้ง 4 มิติ เช่น การสร้างเสริมสุขภาพ การเยี่ยมบ้าน การแก้ไขปัญหาสุขภาพ การเฝ้าระวังโรคระบาดในชุมชน และการส่งต่อ เป็นต้น 3) ฝึกปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น 4) การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายชุมชน 3. กิจกรรมอาจารย์พี่เลี้ยง 1) ปฐมนิเทศการฝึกปฏิบัติงานแก่นักศึกษา 2) ตรวจสอบแผนการเรียนรู้ (Learning plan) และวางแผนการเรียนรู้ร่วมกับนักศึกษา 3) จัดประสบการณ์ให้นักศึกษารับผิดชอบตามความเหมาะสม เช่น การมอบหมายผู้ป่วย การมอบหมายหน้าที่พิเศษ 4) ประชุมปรึกษาก่อนและหลังให้การพยาบาล (Pre – post conference) 5) สอน แนะนำและนิเทศการปฏิบัติการพยาบาล 6) เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติการพยาบาลในบทบาทพยาบาลวิชาชีพ 7) สอนในคลินิกหรือชุมชน (Clinical teaching) 8) ประเมินผลการฝึกปฏิบัติหลังเสร็จสิ้นการฝึกภาคปฏิบัติตามแบบประเมิน การประเมินผล 1. ผลสัมฤทธิ์การฝึกประสบการณ์พยาบาลแบบเข้ม ร้อยละ 80 2. การประชุมปรึกษาทางการพยาบาล ร้อยละ 20 การตัดสินผลการฝึกปฏิบัติมี 2 ระดับ ดังนี้ S (Satisfied) หมายถึง นักศึกษาต้องมีผลการปฏิบัติงานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และ/ หรือฝึกปฏิบัติในรายวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาฝึกปฏิบัติงาน U (Unsatisfied) หมายถึง นักศึกษาต้องมีผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าร้อยละ 70 และ/ หรือฝึกปฏิบัติในรายวิชาน้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาฝึกปฏิบัติงาน
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
การฝึกปฏิบัติแบบเข้ม สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
การฝึกปฏิบัติแบบเข้ม สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต |
(462)