ผู้บันทึก : นางจิตฤดี รอดการทุกข์ | |
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 28 เม.ย. 2553 ถึงวันที่ : 30 เม.ย. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ศิริราชพยาบาล | |
จังหวัด : นครราชสีมา | |
เรื่อง/หลักสูตร : โครงการประชุมวิชาการกายวิภาคศาสตร์ ประจำปี ครั้งที่ 33 | |
วันที่บันทึก 15 มิ.ย. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
การประชุม ครั้งนี้จัดในรูปของการนำเสนองานวิจัย ในรูปแบบ นำเสนอปากเปล่า และ โปสเตอร์ ซึ่งมีหลายเรื่องมาก สรุปในส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านการจัดการเรียนการสอน วิชากายวิภาค คือ เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา 2 ระบบสืบพันธุ์ โดยใช้บทเรียน สำหรับนักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข เป็นการเปรียบเทียบผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา 2 ระบบสืบพันธุ์และเรียนด้วยวิธีบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า คะแนนหลังเรียนของทั้ง สองกลุ่มสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัย สำคัญ แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ของคะแนน ก่อนเรียน แต่คะแนนหลังเรียนของการเรียนด้วยวิธีบรรยาย สูงกว่าการเรียนบนเว็บ อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม การเรียนบนเว็บ ก็สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีของการขาดแคลนอาจารย์ผู้สอน รายวิชานี้ เนื่องจากสามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนได้ เรื่องการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์พื้นฐานระบบประสาทที่มีความซับซ้อนและยาก ต่อการจำและเข้าใจสำหรับผู้ที่เริ่มศึกษาวิชานี้ในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรบทเพลง เพื่อนำไปใช้ประกอบในการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาระบบประสาท และคาดหวังว่า สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนในระดับคลินิก เช่น การตรวจร่างกายระบบประสาท การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบประสาท ตลอดจนเรียนเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติได้
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
๑. การจัดการเรียนการสอนที่สามารถให้นักศึกษาเรียนเสริมเพื่อประกอบความเข้าใจ เนื่องจากได้มีการวาง E-learning ในรายวิชาดังกล่าว บนเว็บ ของวิทยาลัย ซึ่งผลการวิจัยดังกล่าวจะเป็นข้อมูลสนับสนุนว่า นักศึกษาสามารถ เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ ๒. ทำบทเพลงกายวิภาคศาสตร์พื้นฐานระบบประสาทสามารถนำมาใช้ในการประกอบการสอน เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจในเนื้อหา มากขึ้นและเพื่อง่ายต่อการจำทำให้เกิดความบันเทิง
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
การจัดการเรียนการสอนรายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา |
(349)